Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 พฤศจิกายน 2550
คลังซูฮก ธปท.ลดถือดอลลาร์ ส่อขาดทุนบาท 7.5 หมื่นล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




แบงก์ชาติมีแนวโน้มขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลงเหลือเพียง 7.5 หมื่นล้านบาท จากปีที่ผ่านมาขาดทุนสูงและเดิมคาดว่าปีนี้จะขาดทุนอีก 1.2 แสนล้านบาท เผยขาดทุนลดลงหลังมีการลดสัดส่วนถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐและเพิ่มสัดส่วนเงินยูโร-สกุลอื่นมากขึ้น บิ๊ก สศค.ค้าน พ.ร.บ.สถาบันการเงินให้อำนาจแบงก์ชาติปิดแบงก์ หวัง สนช.แก้ไข เพราะคลังต้องแบกหนี้เพียงผู้เดียว

นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายระบบการเงิน สำนักนโยบายระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ในปี 2550 นี้ คาดจะมีผลการดำเนินงานขาดทุนจากการบริหารนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนเงินถึง 75,000 ล้านบาท แม้จะค่อนข้างสูงแต่ถือว่าขาดทุนน้อยกว่าปี 2549 ที่ผ่านมา

สาเหตุหลักมาจาก ธปท.มีการปรับโครงสร้างสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งเดิมมีสัดส่วนถือครองสินทรัพย์ในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ในอัตราที่สูง แต่ในปีนี้ได้ปรับลดสัดส่วนการถือครองเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ลงมาเหลือประมาณ 55-58% แล้วหันมาเพิ่มสินทรัพย์ในรูปของเงินตราสกุลยูโรและเงินตราสกุลอื่นๆ แทน

ซึ่งคาดจะมีการถือครองเงินตราสกุลอื่นๆ นอกจากเงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในสัดส่วนประมาณ 45% จึงทำให้ผลการขาดทุนจากเดิมที่คาดว่าจะมีการขาดทุนสูงถึง 120,000 ล้านบาท ก็มีแนวโน้มว่าผลการขาดทุนจะปรับลดลงมามาก โดยเป็นผลจากเงินสกุลยูโรและเงินสกุลอื่นๆ ทั่วโลกได้ปรับตัวแข็งค่ามากกว่าเงินเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 2 พ.ย.ว่า อยู่ที่ 82,600 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจากสัปดาห์ก่อน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ


นโยบายการลดการถือครองดอลลาร์ลงเป็นทิศทางของธนาคารกลางทั่วโลก ได้แก่ จีนที่มีเงินสำรองระหว่างประเทศมหาศาล ได้ออกมายอมรับว่าต้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาทยอยลดสัดส่วนเงินดอลลาร์ลง 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ญี่ปุ่นก็เทขายเงินสำรองในรูปเงินดอลลาร์ไปแล้วกว่า 2 แสนล้านเหรียญ เช่นเดียวกับเวียดนามที่มีการลดสัดส่วนการถือเงินดอลลาร์ลดให้เหลือไม่เกิน 50% ขณะที่ประเทศไทย ที่ผ่านมาเน้นการเข้าแทรกแซงและออกมาตรการ (30%) แต่เงินบาทตั้งแต่ปลายปี 49 แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดค่าเงินบาทไทยเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าขึ้นที่ระดับ 5% นับตั้งแต่ต้นปี ขณะที่ค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคเทียบ ส่วนใหญ่แข็งค่าน้อยกว่าเงินบาทของไทย อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในแง่ภาพรวมพบว่าแนวโน้มค่าเงินบาทดีขึ้น เนื่องจากถ้าเทียบกับทั้งปี 49 ค่าเงินบาทของไทยเคยแข็งค่าทุบสถิติของทุกประเทศในเอเชียที่ 13.8%

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โดยเม็ดเงินที่ ธปท. นำไปเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อช่วยธุรกิจส่งออกเพียงแค่ช่วงเวลา 2 เดือนที่ผ่านมามีการแทรกแซงโดยใช้เงินกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ นายศุภวุฒิมองว่า การเก็บเงินดอลลาร์เข้ามาเพื่อพยุงค่าเงินในขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงไปเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องที่ถูกต้องนักเพราะภาระผลขาดทุนจะเกิดขึ้นอย่างไม่หยุดเนื่องจากแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์

คลังหวั่นอำนาจ ธปท.ล้นฟ้า

นายโชติชัยกล่าวถึงการพิจารณาร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถาบันการเงินและ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นแปรญัตติของกรรมาธิการ ว่า อยากให้ สนช.ได้พิจารณาถึงอำนาจของ ธปท. ในส่วนของพ.ร.บ.สถาบันการเงิน เนื่องจากมีการเสนอให้ ธปท.มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการสั่งปิดสถาบันการเงิน แต่เห็นควรให้เป็นอำนาจตัดสินใจร่วมกันกับกระทรวงการคลัง เพราะในคราวเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 หลัง ธปท.สั่งปิดสถาบันการเงิน ความเสียหายที่เกิดขึ้นกระทรวงการคลังต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

"ที่ผ่านมาแบงก์ชาติเสนอปิดแบงก์พาณิชย์ให้กระทรวงการคลังเซ็นอนุมัติ กระทรวงการคลังก็ต้องเซ็นตามที่แบงก์ชาติเสนอไม่มีโอการได้พิจารณาร่วม ทั้งที่ควรจะทำงานร่วมกันเพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นกระทรวงการคลังต้องรับผิดชอบ เรื่องแบบนี้คลังไม่ควรเป็นแค่ตรายางอีกต่อไป" นายโชติชัยระบุ

นอกจากนี้ไม่ควรให้อำนาจ ธปท.เป็นผู้อนุมัติผ่อนผันให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้าถือหุ้นในสถาบันการเงินในสัดส่วนเกิน 25% แต่ไม่ถึง 50% เห็นควรให้กระทรวงการคลังเป็นผู้อนุมัติแทน เนื่องจากนโยบายให้ต่างชาติเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมที่สำคัญควรเป็นอำนาจรัฐ และรัฐบาลสามารถใช้เป็นเครื่องมือต่อรองในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้

ส่วนร่างแก้ไข พ.ร.บ.ธปท.เห็นด้วยกับหลักการแยกหน้าที่กำกับตรวจสอบสถาบันการเงินออกจากหน้าที่ของธนาคารกลาง ซึ่งมีหน้าที่หลักดำเนินนโยบายการเงิน นอกจากนี้ไม่ควรระบุตายตัวในกฎหมาย ว่าธปท.มีอำนาจกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน แต่ควรระบุว่าอำนาจอื่นๆ นอกเหนือจากกำหนดนโยบายการเงินให้เป็นไปตามที่ปรากฎในกฎหมายอื่นๆ ที่อาจกำหนดเพิ่มเติมได้ และไม่ควรกำหนดให้ผู้ว่าการธปท. เป็นประธานกรรมการทั้ง คณะกรรมการ ธปท. คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน และคณะกรรมการระบบการชำระเงิน เนื่องจากผู้ว่าฯ ธปท.จะมีอำนาจมากเกินไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us