Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2534
เพิ่มอำนาจ สวล. ไม่ใช่เรื่องง่าย             
 


   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศุภวิทย์ เปี่ยมพงศานต์
Environment




ขณะนี้ความเคลื่อนไหวในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหน่วยงาน "สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ - สวล." ให้มีบทบาทและอำนาจมากขึ้นกำลังมีการดำเนินการอย่างจริงจังหลังจากที่การถกเถียงทางด้านแนวความคิดได้ก่อตัวมานานแล้วพร้อม ๆ กับการรุกขยายตัวของปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงนั่นเอง

"แนวทางนั้นมีการเสนอกันหลายแบบ รูปแบบที่ค่อนข้างเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ก็คือ การตั้งกระทรวงสิ่งแวดล้อม อีกรูปแบบคือให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องแรกยังไม่ได้เข้าครม. การตัดสินก็ขึ้นอยู่กับระดับนั้น" ศุภวิทย์ เปี่ยมพงศานต์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษของ สวล. บอกเล่าถึงการเคลื่อนไหวที่มีอยู่

ส่วนความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปเป็นร่างจริง ๆ มากที่สุดในขณะนี้ก็คือ การแก้ไขร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2522 อันเป็นตัวให้กำเนิดและกำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน สวล.โดยตรง

ความมุ่งหมายในการปรับเปลี่ยนองค์กรทำงานด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐที่มีเพียงแห่งเดียวนี้ก็คือ เพื่อเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องของการดูแลและควบคุมเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเท่าที่ผ่านมาเต็มไปด้วยการปล่อยปละละเลยเป็นส่วนใหญ่ หรือมิเช่นนั้นก็กระทำไม่ได้จริง

สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน ได้ชื่อว่าเป็นหน่วยงานที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมโดยตรง ทว่าบทบาทหลักนั้นมีขอบเขตอยู่เพียงเฉพาะในการวางแผน และกำหนดนโยบายเท่านั้น ส่วนในแง่ของการปฏิบัติไม่อาจจะเข้าไปแทรกแซงได้ เนื่องจากมีหน่วยงานอื่น ๆ ทำหน้าที่อยู่แล้วในแต่ละเรื่อง

"ถึงที่สุดแล้ว ต้องยอมรับว่า เรื่องการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อมต้องมีผู้ปฏิบัติ แต่เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็เป็นเรื่องที่มีขอบข่ายกว้างขวาง ในต่างประเทศจะถือเป็นเรื่องของหลายหน่วยงานของไทยอาจจะมีหน่วยงานปฏิบัติดูแลอยู่เหมือนกันแต่ไม่ครบถ้วน" ศุภวิทย์ เปี่ยมพงศานต์ กล่าว

โดยทั่วไปในการจะพิจารณาเรื่องสิ่งแวดล้อมต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและเรื่องมลพิษ เรื่องของทรัพยากรธรรมชาตินั้นมีหน่วยงานที่ดูแลเป็นส่วน ๆ อยู่แล้ว เช่น กรมประมง กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรธรณี ฯลฯ

สำหรับเรื่องมลพิษเนื่องจากมีมุมมองหลายมิติ สมัยก่อนอาจจะมีเรื่องน้ำเสียเป็นเรื่องใหญ่ ขณะที่ปัจจุบันปัญหาเรื่องกากพิษกลายเป็นสิ่งสำคัญกว่าขึ้นมา มลพิษบางด้านจึงมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องอยู่แล้วเช่นกัน มีเพียงบางด้านที่ยังขาดผู้รับผิดชอบ

ประเด็นปัญหาหลักจึงไม่ได้อยู่ที่การขาดแคลนหน่วยงานปฏิบัติ แต่อยู่ที่ว่าหน่วยงานปฏิบัติมีกรอบการทำงานครอบคลุมกว้างขวางเพียงใด และโดยตัวของหน่วยงานนั้น ๆ เองให้ความสำคัญกับการปกป้องดูแลสิ่งแวดล้อมเพียงพอหรือไม่

คำตอบ คือ ไม่ !

ความหมายของการดูแลเรื่องทรัพยากรฯ สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่แล้ว ก็คือ มีฐานะเป็นผู้ใช้ประโยชน์มิใช่ผู้พิทักษ์รักษา เมื่อถึงขั้นของการจัดการหรือแม้กระทั่งการวางนโยบายบางประการ จึงไม่มีการคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทั้งหลายก็ขาดทัศนะทางด้านนี้ด้วย

"ต้นเหตุของปัญหาที่สิ่งแวดล้อมยังขาดการจัดการที่ดีมีหลายสาเหตุ บางส่วนยังไม่มีารดูแลเลย ยกตัวอย่างเช่นการขุดตักหน้าดินตามภูเขา หรือเรื่องน้ำเสียจากนากุ้ง น้ำเสียจากการเกษตร และบางเรื่องก็อยู่ระหว่างเริ่มต้น เช่น ปัญหาการก่อสร้างที่ไม่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม กรมโยธาฯ ซึ่งดูแลด้านประกาศห้ามสร้างอาคารสูงริมชายทะเล ก็เป็นสิ่งที่จะต้องค่อยริเริ่มกันไป" ศุภวิทย์ เปี่ยมพงศานต์ อธิบายถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่มีทั้งลักษณะการคงตัวและการคลี่คลายของปัญหา

สภาพเช่นนี้ถ้ามองในแง่ดีก็ถือว่า การรอคอยอาจจะเป็นคำตอบได้โดยปัญหาจะได้รับการแก้ไขไปทีละจุด เพียงแต่อาจจะไม่ทันกับวิกฤตทางด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้นเอง

การจัดตั้งองค์กรหนึ่งองค์กรใดเป็นหน่วยงานปฏิบัติหลักขึ้นมานับได้ว่าเป็นแนวทางแก้ไขในระดับกว้างทางหนึ่ง ที่จะช่วยให้การจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมเกิดความสะดวกและมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม การต้องเพิ่มอำนาจให้กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งต้องดึงเอาอำนาจจากหน่วยงานอื่นเข้ามา เท่ากับเป็นการลดทอนอำนาจของหน่วยงานนั้น ๆ ลง หรือมากกว่านั้น หากเป้นการปรับถึงขั้นที่จะรวบรวมเอาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมารวมกันไว้ทั้งหมด ก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ยอมรับกันยากทั้งในระดับของหน่วยงานย่อยนั้นเอง และโดยเฉพาะหน่วยงานใหญ่ต้นสังกัดอันได้แก่กระทรวงต่าง ๆ

"ตามหลักการเพิ่มอำนาจอาจจะ REORGANIZE ทั้งหมดใหม่หรือเพิ่มให้กับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องต่าง ๆ อยู่แล้วมีอำนาจและบทบาทหน้าที่มากขึ้นให้ดูแลให้ทั่วทุกประการ และก็จะต้องไม่ใช่เรื่องของการเพิ่มอำนาจอย่างเดียว แต่ต้องเป็นเรื่องของการผสมผสานการทำงานประจำวันของเจ้าหน้าที่แต่ละคนผสานสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาเข้าด้วยกัน" ศุภวิทย์ เปี่ยมพงศานต์ กล่าวถึงแนวทางที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด

แต่แนวทางนี้ก็ใช่จะไม่มีอุปสรรค เพราะการจะคาดหมายให้ "ผู้ใหญ่" เปลี่ยนแปลงทัศนะนั้นดูเหมือนจะเป็นความหวังที่เลือนรางพอ ๆ กับการเรียกร้องให้ไม่ยึดติดกับอำนาจนั่นทีเดียว...

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us