|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ตลท.จับมือสมาคมบจ.สำรวจมุมมองซีอีโอบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พบส่วนใหญ่เชื่อเศรษฐกิจปีหน้าจะโตจากปีนี้ 0.50% เป็น 4.5-4.9% ขณะที่การลงทุนจะเพิ่มขึ้นหลังการเลือกตั้ง ชี้ส่วนใหญ่เลือกกู้แบงก์ลงทุน เหตุขั้นตอนการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ค่อนข้างยุ่งยาก ขณะที่เอกชนส่วนใหญ่หวังรัฐบาลใหม่เดินหน้าโครงการเมกกะโปรเจกต์ ด้านสมาคมบจ.เตรียมนัดถกก.ล.ต.ลดขั้นตอนระดมทุน
วานนี้ (5 พ.ย.) สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ร่วมกับสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย แถลงผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน Thailand Economic Outlook Survey (CEO Survey) ไตรมาส 3/2550 ซึ่งประเด็นสอบถามคือแนวโน้มเศรษฐกิจ การเมือง การลงทุนของภาคเอกชน ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุนตลท. เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยฯได้มีการสอบถามผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน(บจ.)จำนวน 110 บริษัท ใน 8 อุตสาหกรรม ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวม (มาร์เกตแคป) คิดเป็น 50% ของมาร์เกตแคปรวมของทั้งตลาด โดยได้ส่งแบบสำรวจในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนตุลาคม ซึ่งผู้บริหารบจ.มองว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (GDP) ปีหน้าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 50 ประมาณ 0.50% ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 4.5-4.9% และ 5-5.4%
ทั้งนี้ เศรษฐกิจปีนี้คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 4-4.5% ซึ่งใกล้เคียงกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดไว้ซึ่งอยู่ที่ 4.3-4.8% ส่วนปัจจัยการเมืองหลังการเลือกตั้ง 50% มองว่าจะทำให้การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น ขณะที่ 32% มองว่าสถานการณ์ทางการเมืองเหมือนเดิม และ 18% มองว่าจะมีเสถียรภาพน้อยลง ขณะที่ทิศทางเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนหลังการเลือกตั้ง 75% มองว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น อีก 18% มองว่าเหมือนเดิม ส่วนอีก 7%มองว่าจะแย่ลง
สำหรับสิ่งผู้บริหารบจ.ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่มีการดำเนินการมากที่สุดนั้น ผู้บริหารจำนวน 52 บริษัท ต้องการให้เร่งการลงทุนโครงการเมกกะโปรเจกต์ ขณะที่ผู้บริหาร 44 บริษัท ต้องการให้กระตุ้นการบริโภคในประเทศ ขณะที่ผู้บริหาร 18 บริษัทต้องการให้ทางการดูแลในเรื่องค่าเงิน และผู้บริหาร 12 บริษัท ต้องการให้กระตุ้นการส่งออก ขณะที่ผู้บริหารในภาคธุรกิจส่งออกนั้นผู้บริหารจำนวน 16 บริษัท ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดูแลเรื่องความผันผวนค่าเงิน ผู้บริหารจำนวน 13 บริษัทต้องการให้เร่งโครงการเมกกะโปรเจกต์ ผู้บริหารจำนวน 9 บริษัท ต้องการให้กระตุ้นการบริโภค
นายกอบศักดิ์ กล่าวอีกว่า จากการสำรวจแนวโน้มการลงทุนของบริษัทเอกชนในอีก 12 เดือนข้างหน้าผู้บริหารบจ.66% มองว่าจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่ 29% มองว่าจะมีการลงทุนเท่าเดิม ส่วนอีก 5% มองว่าจะมีการลงทุนลดลง ซึ่งเงินที่จะใช้ในการลงทุนนั้น 76 บริษัท ตอบว่าจะมาจากการขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ในขณะที่ 64 บริษัทจะ ใช้กำไรสะสมของบริษัท ส่วนอีก 20 บริษัทมองว่าจะออกหุ้นกู้ภายในประเทศ และ 16 บริษัทมองว่าจะเพิ่มทุนหรือระดมทุนจากผู้ถือหุ้น โดยบริษัทส่วนใหญ่จะขอสินเชื่อแบงก์จากมองเศรษฐกิจดีทำให้สามารถปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
สำหรับปัจจัยที่จะกระทบต่อแผนการลงทุนมากสุด 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจภายในประเทศ รองมาปัจจัยการเมือง และอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนปัจจัยเสี่ยงจากระบบเศรษฐกิจโลกจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำของสรัฐอเมริกา (ซับไพรม์) 81% มองว่าจะมีความรุนแรงปานกลาง 11% มองว่าจะไม่รุนแรง และอีก 8% ว่ามีผลกระทบรุนแรงมาก ซึ่งผู้บริหาร บจ.มองว่าปัญหาซับไพร์มจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ 71% อีก 28% มองว่าไม่ได้รับผลกระทบ และมี 1% มองว่าจะได้รับผลกระทบมาก
นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า จากการสอบถามบริษัทที่ประกอบธุรกิจส่งออกมองถึงแนวโน้มการส่งออกในอีก 3 เดือนข้างหน้าพบว่า 47% มองว่าจะมีการส่งออกจะปรับดีขึ้น และอีก 47% มองว่าการส่งออกจะเท่าเดิมและ 6% มองว่าการส่งออกจะต่ำ ซึ่งจาการสอบถามในเรื่องผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้น 35% มองตอบว่าได้รับผลกระทบบ้าง 32% ตอบไม่มีผลกระทบ ขณะที่ 18% ตอบมีผลทางด้านบวกบ้าง ขณะที่ 11% มองว่าได้รับผลกระทบคอนข้างมาก
นอกจากนี้ จากการสอบถามในเรื่องต้นทุนการดำเนินงานและการปรับเพิ่มขึ้นราคาสินค้านั้นในไตรมาส4/50 พบว่า 78% มองว่าวัตถุดิบจะปรับตัวเพิ่มขึ้น และมองว่าราคาสินค้าที่ผลิตจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 40% แต่การปรับราคาสินค้าของผู้ประกอบการทำได้ในสัดส่วนที่ต่ำกว่าราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรขั้นต้น(มาร์จิ้น)ของบริษัทในไตรมาส4/50 หากบริษัทไม่มีการลดต้นทุนในการผลิต ส่วนการสำรวจในการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอีก 12 เดือน ซึ่งผู้บริหารส่วนใหญ่มองว่าเฉลี่ยอยู่ที่2-3% รองมามองว่าจะอยู่ที่ 3-4%
นางเพ็ญศรี สุธีรศานต์ ผู้อำนวยการ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า การที่ผู้บริการบจ.มองว่าการระดมทุนผ่านตลาดหุ้นไทยกระทำการได้ยากขึ้นเนื่องจาก มีกฎเกณฑ์ต่างๆจำนวนมาก และหลายขั้นตอนการดำเนินงาน เช่น การเพิ่มทุน จะต้องมีการจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ขณะที่การออกหุ้นกู้ต้องการการจัดอันดับเครดิตเรทติ้ง ฯลฯ ซึ่งทางสมาคมบจ.อยู่ระหว่างการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ในการลดขึ้นตอนการอนุมัติทำให้สามารถระดมทุนผ่านตราสารหนี้ทำได้สะดวกมากขึ้น ก็จะสร้างความน่าสนใจในการลงทุนมากขึ้น
|
|
|
|
|