Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543
ชีวิตการเมืองของสถาพร มี Know-how ในการทำงานกับผู้มีอำนาจ             
 

   
related stories

สถาพร กวิตานนท์ Technocrat คนแรกๆของสังคมธุรกิจไทย
บีโอไอแฟร์ 2000 ความภูมิใจของ "สถาพร"

   
search resources

สถาพร กวิตานนท์




แม้ชีวิตของสถาพรส่วนใหญ่จะเกี่ยวพันกับภาคธุรกิจ แต่เขาก็เป็นคนที่มีความสามารถในการปรับตัว ให้ทำงานร่วมกับคนที่มีอำนาจในบ้านเมืองแต่ละยุคสมัยได้ไม่น้อย ชีวิตสถาพรเริ่มถูกดึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองครั้งแรก เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นในปี 2520 พล.อ เกรียงศักดิ์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้แต่ตั้งให้สุนทร หงส์ลดารมภ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ลิขิต หงส์ลดารมภ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ลิขิต หงส์ลดารมภ์ ซึ่งสนิทสนมกับสถาพรในขณะนั้น ได้มาชักชวนให้เข้าไปช่วยงานพ่อ โดยให้เป็นเลขานุการรองนายกรัฐมนตรี

ความจริง ก่อนหน้านี้สถาพรเคยได้มีโอกาสสัมผัสกับการเมืองมาบ้างแล้ว เนื่องจากได้รับเสนอชื่อจาก ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ให้เข้าไปเป็นสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ที่เรียกว่า สมัชชาสนามม้า ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แต่เนื่องจากอายุยังไม่ถึง จึงไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย

การเข้ามาเป็นเลขานุการของสุนทร หงส์ลดารมภ์ ในรัฐบาลเกรียงศักดิ์ 1 จึงนับเป็นก้าวแรก ที่สถาพร ได้เข้าไปสัมผัสกับการเมืองอย่างเต็มตัว

สิ่งที่สถาพรได้รับจากการเข้ามาทำงานในฐานะเลขานุการ รองนายกรัฐมนตรีอยู่เกือบ 2 ปี (2520-2522) คือ ได้เรียนรู้ระบบงานในทำเนียบรัฐบาล และได้เรียนรู้ประสบการณ์ทางการเมืองจากคนที่มีอำนาจในช่วงนั้น

ชีวิตทางการเมืองของสถาพรเริ่มเข้มข้นขึ้น เมื่อเกิดการรัฐประหารขึ้นอีกครั้งในกลางปี 2522 พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้จัดตั้ง รัฐบาลเกรียงศักดิ์ 2 ขึ้น พล.อ.เฉลิมชัย จารุวัสตร์ ผู้อำนวยการ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว (อสท.) ในขณะนั้น ซึ่งรู้จักกับ สถาพรในฐานะ ที่เป็นกรรมการอสท.คนหนึ่ง เห็นว่า สถาพรเป็นผู้ที่มีความรู้ ด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างดี จึงได้ชักชวนให้เข้ามาเป็น รองโฆษกรัฐบาล

ทำหน้าที่ช่วยงาน พ.อ.อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ในการแถลงผลงาน ของรัฐบาล ที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ

แต่รัฐบาลเกรียงศักดิ์ 2 ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้น ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งกำลังประสบกับ ปัญหาราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ประเทศไทย ที่จำเป็นต้อง นำเข้าน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ ได้รับผลกระทบไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แทน ที่สถาพร จะได้ทำหน้าที่แถลงผลงานของรัฐบาล กลับกลายเป็นว่า เขาต้องเป็นผู้แถลงข่าว การประกาศขึ้นราคาน้ำมันลิตรละ 3 บาท ซึ่งเป็นจุดตายของรัฐบาลชุดนี้ และเป็นผลให้พล.อ.เกรียงศักดิ์ จำเป็นต้องประกาศลาออกจากตำแหน่งทั้งน้ำตา กลางสภาผู้แทนราษฏร เพราะแรงบีบคั้นทางการเมือง โดยเฉพาะการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล และ กระแส การรัฐประหารเข้ามากดดันอย่างหนัก ซึ่งสถาพรอยู่ร่วมกับเหตุการณ์ด้วยโดยตลอด

"ประสบการณ์ช่วงนี้ ทำให้รู้เลยว่าเวลา ที่รัฐบาลเริ่มเซเริ่มล้ม ผู้คนมีปฏิกิริยากับรัฐบาลอย่างไร ไอ้ตอน ที่รุ่งกับตอน ที่ล้มนี่มันต่างกัน สามารถสัมผัสได้ ผู้คนที่มาติดต่อพูดจามันไม่เหมือนกัน ตอน ที่พระอาทิตย์กำลังขึ้นมันก็ไปอย่าง แต่ตอน ที่พระอาทิตย์กำลังจะตกนี่ แรงกดดันของรัฐบาลมันมาสารพัดรูปแบบ" สถาพรเล่าถึงความรู้สึก ที่ได้เข้าไปขลุกอยู่วงใน และ รู้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตลอดระยะเวลาเกือบ 1 ปี (2522-2523)

หลังรัฐบาลเกรียงศักดิ์ 2 ล้มลงไป อีก 10 ปีต่อมา ชีวิตของเขาก็ต้องถูกดึงเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกครั้ง เมื่อ พล.อ.สุจินดา คราประยูร นำคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ก่อการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ แล้วแต่งตั้ง อานันท์ ปันยารชุน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนในปี 2534

โดยส่วนตัวของสถาพรนั้น มีสายสัมพันธ์ทางภรรยาของเขากับภรรยา พล.อ.สุจินดามาก่อน จึงได้รับความไว้วางใจจากฝ่ายทหาร ให้เข้ามาเป็นเลขานุการของอานันท์ โดยมีบทบาทสำคัญ ในการเป็นตัวกลาง คอยประสานความเข้าใจกันระหว่างรัฐบาล กับคณะรสช.

บุคลิกส่วนตัวของอานันท์ เป็นคนค่อนข้างแข็ง และมีประสบการณ์มาก ทั้งทางภาคราชการ และธุรกิจ ที่สำคัญคือ เคยถูกการเมืองเล่นงานมาแล้ว ในสมัยเป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ดังนั้น การได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ทำให้อานันท์มีความเชื่อมั่นในตัวเองว่า จะสามารถทำอะไรก็ได้ ถ้าเห็นว่าเป็นสิ่งถูกต้อง

ในขณะที่ฝ่ายทหารเอง กลับมองตรงข้าม การเลือกอานันท์ขึ้นมา ก็ เพื่อไม่ต้องการให้ประเทศไทย มีภาพลักษณ์ของเผด็จการ เพราะอานันท์เป็นบุคคล ที่ได้รับการยอมรับมากในต่างประเทศ

บทบาทของสถาพร คือ จะต้องทำให้ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่เกิดปัญหาระหว่างกันขึ้นมา ในการบริหารประเทศ ซึ่งเป็นงาน ที่หนักพอสมควร

"นาทีแรก ที่เป็นนายกฯ ก็มีปัญหากันแล้ว หลังจากเดินทางไปเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณตน เข้ารับตำแหน่ง ที่พระราชตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ขากลับอยู่บนเครื่องบินก็ทะเลาะกันแล้ว เรื่องจะปล่อย พล.อ.ชาติชาย เพราะคุณอานันท์บอก ต้องปล่อยทันที ขณะที่ฝ่ายทหารเขาไม่ยอม เขาบอกจะต้องมีพิธีกรรมทางทหารปล่อยทันทีไม่ได้" เป็นภารกิจแรก ที่สถาพรต้องรับหน้าที่ตัวกลาง ประสานความเข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งก็จบลงอย่างราบรื่น

10 กว่าเดือนที่ทำหน้าที่เลขานุการนายกรัฐมนตรี เรื่อง ที่สถาพรคิดว่า หนักที่สุด คือ เรื่องการเจรจาสัมปทานโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายของซีพี เพราะองค์การโทรศัพท์เจ้าของสัมปทาน ซึ่งขณะนั้น มี พล.อ.อิสรพงษ์ หนุนภักดี เลขาธิการ คณะรสช.เป็นประธาน ต้องการให้มีการเซ็นสัญญาทันที

แต่ฝ่ายรัฐบาล โดยคณะนักวิชาการ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของอานันท์ เห็นว่าโครงการนี้ เป็นสัญญาผูกขาด ต้องการให้ล้มโครงการ และ เริ่มเปิดประมูลใหม่

การเจรจาต่อรอง ซึ่งเริ่มต้นระหว่างรัฐบาลกับซีพี ได้ยืดเยื้อ และรุนแรงขึ้น จนกลายเป็นความบาดหมางส่วนตัวระหว่างรัฐบาลกับทหาร มีการประชุมกันถึง 25 ครั้ง ก็ยังหาข้อยุติ ที่ยอมรับกันทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้

ท้ายที่สุด สถาพรก็เสนอทางเลือกใหม่ โดยผ่าสัมปทานเป็น 2 โครงการ ให้ซีพีรับไป 2 ล้าน เลขหมาย ที่เหลืออีก 1 ล้านเลขหมาย ให้เปิดประมูลใหม่ ซึ่งทุกฝ่ายก็เห็นด้วย เรื่องจึงจบลงไปได้ด้วยดี

หลังรัฐบาลอานันท์ ประกาศยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม 2535 พล.อ.สุจินดา คราประยูร ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมืองต่างๆ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี

พล.อ.สุจินดาได้เสนอตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้กับ สถาพร ซึ่งเขาได้ปฏิเสธตำแหน่งดังกล่าว เพราะเห็นว่าเพิ่งได้เป็นเลขาธิการ บีโอไอ ได้ไม่นาน ยังมีโครงการปรับปรุงบีโอไออีกมาก ที่ยังไม่ได้ทำ แต่ก็ยังคงช่วยพล.อ.สุจินดาอยู่ในฐานะ ที่ปรึกษา

รัฐบาล พล.อ.สุจินดา อยู่ได้ไม่ถึง 2 เดือน ก็ต้องล้มลงไป เพราะถึงกระแสต่อต้านจากประชาชน ซึ่งรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ที่มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมาก

สถาพร ซึ่งต้องอยู่ร่วมกับการล้มพับลงของรัฐบาลอีกเป็นครั้ง ที่ 2 คราวนี้เขามีภาพพจน์ที่ไม่ดีอย่างมากต่อบุคคลหลายคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักวิชาการ

"ตอน พล.อ.สุจินดาขึ้นรับตำแหน่ง มีนักวิชาการมาเสนอตัวกันมากมาย ขอเป็นที่ปรึกษา แต่พอ พล.อ.สุจินดาเริ่มเซ พวกนี้ก็ถีบหัวส่ง ชวนลาออกกันใหญ่ มาชวนผม ผม บอกคนอย่างผมไม่ใช่อย่างนั้น ทำไมตอนเขาตั้ง จะเอาสุข ทำไมไม่คิดถึงวันทุกข์ ทำไมไม่คิดถึงวันที่เขาล้ม เพราะเขาไม่ดีจะถีบเขาออกไปเลยหรือ นักวิชาการ ทำไมเล่นการเมือง มันไม่ซื่อสัตย์ แล้วไปรับตำแหน่งทำไม เมื่อเห็นว่าเขาไม่ดี" สถาพรระบายความรู้สึก

ประสบการณ์ทางการเมือง ที่ได้เข้าไปมีส่วนช่วยงานนายกรัฐมนตรีถึง 3 คน เห็นการเริ่มต้น และสิ้นสุดของรัฐบาลมาแล้วถึง 4 สมัย ทำให้สถาพร ได้เรียนรู้ว่าควรจะวางตัวกับนักการเมืองอย่างไร ถ้าจำเป็นต้องร่วมงานกัน

ในช่วงปลายรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยังใจยุทธ ต่อเนื่องมาถึงต้นรัฐบาลชวน หลีกภัย มีกระแสการเมืองเข้ามากดดันสถาพร อย่างหนัก เพราะโครงการที่สถาพรได้ไปว่าจ้างบริษัทไทม์ วอร์เนอร์ ให้เข้ามาประชาสัมพันธ์การลงทุนในประเทศไทย มีปัญหาค่าใช้จ่าย เนื่องจากมีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท โครงการดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากสถาพรเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจ ที่เริ่มจะเปลี่ยนทิศทางในช่วงรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อาจจะสร้างความไม่มั่นใจ ให้กับนักลงทุนต่างชาติ ที่กำลังมีความสนใจ จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย จึงต้องการให้เครือข่ายสื่อสารมวลชนระดับโลกกลุ่มนี้ เข้ามาช่วยสร้างภาพพจน์ใหม่ให้กับประเทศ โดยได้เซ็นสัญญาว่าจ้างไทม์วอร์เนอร์ เป็นเงิน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนมิถุนายน 2540 หลังจากนั้น อีกไม่ถึงเดือน มีการประกาศลอยตัวค่าเงิน ค่าใช้จ่ายของโครงการดังกล่าว พุ่งขึ้นเป็น 3 เท่าทันทีเมื่อคิดเป็นเงินไทยในช่วงนั้น แนวความคิดของสถาพรครั้งนี้ อาจจะใหม่เกินไปสำหรับนักการเมืองไทย เพราะพอเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีมาเป็นชวน หลีกภัย รัฐมนตรีหลายคนใน รัฐบาลนี้ไม่เข้าใจ ในสิ่งที่สถาพรกำลังทำอยู่ จึงนำประเด็นเรื่องงบประมาณ ที่เพิ่มสูงขึ้นมากดดันสถาพรอย่างหนัก

"สถานการณ์ในช่วงนั้น สิ่งที่เราต้องทำคือ เราต้อง Brand ประเทศก่อน ถ้าประเทศไม่ถูก Brand จะไป Brand โปรดักซ์ก่อนเอาเงินถมไปเท่าไรก็หมด การ Brand โปรดักส์นั้น มันต้อง Brand โดย Company จะไป Brand โดยคนอื่นไม่ได้ แต่คนไม่เข้าใจเจตนาของเรา และกลุ่มนี้เขาเคย Brand ให้ไต้หวันมาแล้วเมื่อ 10 ปีก่อน จนกระทั่งไต้หวันเดี๋ยวนี้กลางเป็นประเทศอุตสาหกรรมขึ้นมาได้" สถาพรเล่า

รัฐมนตรีหลายคนมองโครงการนี้เป็นเรื่องการเมือง หาว่าสถาพรต้องการช่วยสร้างภาพพจน์ ให้กับ พล.อ.ชวลิต แต่หลังจาก ที่สถาพร ได้จัดประชุมคณะบรรณาธิการในสังกัดไทม์ วอร์เนอร์ให้กับ ชวน หลีกภัย ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับความสำเร็จอย่างดี ชวนก็เริ่มเข้าใจถึงโครงการนี้

"การจัด Editorial Meeting แบบ Round Table แบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แม้แต่ประธานาธิบดีโรนัล เรแกน ยังต้องไป ที่ตึกของเขาเลย แต่ผมได้เตรียมการเรื่องนี้ไว้ให้พร้อมหมด"

การจัดประชุมคณะบรรณาธิการของไทม์ วอร์เนอร์ครั้งนั้น ได้มีการเชิญบรรณาธิการใน สังกัด ไทม์ วอร์เนอร์มาเกือบทั้งหมด เช่น นิตยสาร FORTUNE นิตยสาร TIME สำนักข่าว CNN ฯลฯ ซึ่งชวนสามารถใช้การประชุมครั้งนี้ในการสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับประเทศไทยได้ค่อนข้างมาก และสถาพรก็สามารถ ผ่านพ้นแรงกดดันในครั้งนั้น มาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ ที่สั่งสมมา ทั้งจากภาคการเมือง และธุรกิจ และความมั่นใจในตัวเอง ที่คิดว่าสิ่งที่ทำอยู่เป็นเรื่อง ที่ถูกต้อง

"ผมไม่เคยกลัวการเมือง ผมไม่เคยประจบนักการเมือง และผมไม่เคยกลัวนักการเมืองจะมาปลดผม หรือทำอะไรผม ผมคิดว่าถ้าเราทำในสิ่งที่มันถูกต้อง ใครก็ทานเราไม่ได้" สถาพรอธิบาย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us