Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์5 พฤศจิกายน 2550
รวมเครือญาติธุรกิจสายเลือดจีอีพลิกโชคชะตา“แบงก์กรุงศรีฯ”             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

   
search resources

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
Banking and Finance




“แบงก์กรุงศรีฯ” ภายใต้ชายคา “จีอี” รวมเครือญาติ ธุรกิจสายเลือด “จีอี” พลิกโชคชะตาแบงก์กรุงศรีฯ เริ่มต้นที่การนำพอร์ต “จีอี แคปปิตอล ออโตลีส” ธุรกิจเช่าซื้อที่มีพอร์ตรถยนต์มือสอง และรถจักรยานยนต์มหาศาล เข้ามารวมในงบของแบงก์ เป็นการเดินทางลัด ร่นเวลา ขยายอาณาจักรในอนาคต ก่อนจะมองหาโอกาสเติบโตในฐานธุรกิจที่ “จีอี” มีอยู่ในมืออย่างเป็นระบบ...

แบงก์กรุงศรีฯ ภายใต้ร่มเงาของ “กลุ่มจีอี” อเมริกา ถูกคาดหมายจากคู่ปรับในสนามรบว่า แบงก์สีเหลืองอร่ามจะกลายเป็น “รีเทล แบงกิ้ง” เต็มตัวในทันที ภายหลังกลืนกิน “ตระกูลรัตนรักษ์” อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

แต่ที่ทุกสายตาที่เฝ้ามองการเติบโตของ แบงก์กรุงศรีฯ ในรอบ 1 ปี ที่ถูกขับเคลื่อนโดยกลุ่มจีอี ยังไม่ทันได้สังเกตุ ก็คือ ยุทธวิธีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของกลุ่มจีอี ยังคงต้องพึ่งพาระบบเครือญาติธุรกิจ “สัญชาติจีอี” ด้วยกันอย่างเหนียวแน่น

ขึ้นชื่อว่า “จีอี” ล้วนแต่มีธุรกิจในมือที่มีพอร์ตในมือผ่านทางธุรกิจหลากหลาย ไม่ว่า ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อเงินผ่อน และสินเชื่อเงินสด ที่มีฐานลูกค้ามากพอๆกับฐานลูกค้าแบงก์ขนาดกลางเลยทีเดียว

ซึ่งเครือญาติเหล่านี้นี่เองที่จะพลิกชะตากรรมให้กับแบงก์สีเหลือง ให้วิ่งไล่กวดคู่ปรับตัวฉกาจได้รวดเร็วดั่งใจนึก....การคาดหวังการเติบใหญ่โดยธรรมชาติคงต้องอาศัยเวลา และจีอีก็คงไม่อาจทนรอให้คู่แข่งอย่าง ฮีโร่สีเขียว แบงก์ กสิกรไทยหรือ “เคแบงก์” หรือ แม้แต่แบงก์สูงศักดิ์อย่าง “ไทยพาณิชย์” วิ่งแซงหน้าไปได้นานนัก

ตัน คอง คูน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา(BAY) บอกว่า จีอี คงเลือกจะลงทุนในพื้นที่ที่มีอยู่แล้ว หรือไม่อย่างนั้นก็เลือกจะลงทุนในจุดที่ทำได้ดีกว่าคนอื่นเท่านั้น ตามนัยก็คือ การเติบโตในฐานที่มั่นที่ตัวเองควบคุมจนอยู่หมัด

ซีอีโอ อิมพอร์ต จากเกาะมหัศจรรย์ สิงคโปร์ ยอมรับในจุดอ่อน ภายหลังการร่วมหอลงโรงกับ “ตระกูลรัตนรักษ์” ผู้ถือหุ้นเดิม แบงก์กรุงศรีฯ ว่า อาจทำให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจว่า แบงก์กรุงศรีฯยุคที่ถูกกลืนโดยจีอี มีจุดแข็งที่ ธุรกิจรีเทล แบงกิ้ง ทั้งๆที่ ก่อนหน้านี้ แบงก์เดียวกันนี้ มีตลาดลูกค้ารายใหญ่และธุรกิจเอสเอ็มอี มากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

“ เรามุ่งไปที่ระบบฐานรากและรีเทล แบงกิ้งมากเสียจนอาจจะละเลย ธุรกิจองค์กรและเอสเอ็มอีไปบ้าง ดังนั้นในไตรมาส 4 ก็จะโฟกัสไปที่จุดนี้มากขึ้น รวมถึงการนำเอาสินค้าใหม่ๆ เช่น ประกันชีวิต ประกันภัย สินเชื่อบุคคลเข้าสู่ตลาดมากขึ้น และสินค้าใหม่ๆเหล่านี้ก็จะนำมาเสนอขายให้กับลูกค้ารายใหญ่และเอสเอ็มอีด้วย”

เพื่อให้เส้นทางเดินเป็นไปอย่างราบรื่นและเร็วขึ้น จึงเกิดระบบการพึ่งพาธุรกิจเครือญาติจีอี เพื่อขยายอาณาจักรให้กับแบงก์กรุงศรีฯในอนาคต

เริ่มต้นที่ การเข้าซื้อหุ้นของ จีอี แคปปิตอล ออโตลีส (GECAL) ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ที่มีพอร์ตรถเก่า และรถจักรยานยนต์อยู่ในมือมูลค่ามหาศาลเพื่อหวังจะขยายพอร์ตเป็น 20% หรือคิดเป็น 90,000 ล้านบาท จากฐานสินเชื่อ 450,000 ล้านบาท

“ เป็นโอกาสที่จะขยายธุรกิจออกสู่ต่างจังหวัดและชุมชน ผ่านสาขาแบงก์ 560 แห่ง และสาขาของ GECAL อีก 34 สาขา”

ตัน บอกว่า การรวมญาติครั้งนี้จะทำให้แบงก์กรุงศรีฯมีความสัมพันธ์กับธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับ GECAL จากที่แบงก์ไม่เคยทำได้ โดยเฉพาะสัมพันธภาพจากธุรกิจที่ GECAL ทำอยู่ กับ ธุรกิจรายใหญ่และธุรกิจอื่น ขณะเดียวกันพอร์ตสินเชื่อรายย่อยก็จะเบ่งบานคิดเป็น 50% ในปี 2553 เป็นสัดส่วนเดียวกับ ลูกค้าองค์กรและเอสเอ็มอี

สำคัญกว่านั้นก็คือ การลงทุนใน GECAL ที่มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า แบงก์กรุงศรีฯมากกว่าเท่าตัว จะช่วยให้แบงก์ปรับเปลี่ยนอัตราส่วนในพอร์ตเงินให้กู้ได้ และจะทำให้เงินกู้ยืมรายย่อยขยายตัว ทั้งหมดคือการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทนให้มากขึ้น

“ ต้นปีพอร์ตลูกค้ารายย่อยมีแค่ 14% โดยกำหนดเป้าหมายปี 2010 เป็น 50% แต่พอรวมพอร์ต GECAL มาไว้ในงบของธนาคาร ก็เท่ากับการซื้อกิจการเป็นการเดินทางลัด”

ตัน บอกว่า ปีนี้สินเชื่อลดลง ความเข้มงวดของการอนุมัติก็เจาะลึกมาก หลายแบงก์มีการปรับปรุงคุณภาพสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง บวกกับสินเชื่อลูกค้าองค์กรก็ปรับตัวลง

ดังนั้นนับจาก ไตรมาส 3 ปีนี้ โครงสร้างรายได้จะเปลี่ยนไปเป็น รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยจะสูงขึ้น เป็น 30.4% ขณะที่ช่วง 9 เดือนอยู่ที่ 28.4% ขณะที่รายได้จากดอกเบี้ย 9 เดือน สูงขึ้นเล็กน้อย แต่ไตรมาส 3 รายได้ดอกเบี้ยลดลง เพราะอัตราดอกเบี้ยปรับตัวลง

อย่างไรก็ตาม ตัน บอกว่า ต้นทุนเริ่มต่ำลง เพราะเงินฝากจะถูกทดแทนด้วนดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า และเงินฝากจะเริ่มย้ายจากฝั่งเงินฝากประจำ ไปเป็นกระแสรายวันและออมทรัพย์มากขึ้น โดยมีเป้าระยะกลางอยู่ที่ 40% จาก 35% ที่เลื่อนขึ้นมาจากก่อนหน้านั้น 30%

ตัน บอกว่า ในระยะกลาง รายได้ที่ไม่ใช้ดอกเบี้ยจะขยายตัวเป็น 35% นอกจากนั้นในสิ้นปีนี้ก็จะเร่งการขายหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรอื เอ็นพีแอล จำนวน 25,000 ล้านบาท โดยคาดว่าสิ้นปีนี้เอ็นพีแอลที่มีอยู่ 75,000 ล้านบาทจะลดลงเหลือ 63,000 ล้านบาท

“ จะโฟกัสไปที่การขยายฐานเงินกู้กลุ่มรายย่อย โดยมองหาโอกาสเติบโตจากภายนอก และขยายผ่านฐานลูกค้าองค์กรและเอสเอ็มอีด้วย”

ตันบอกว่า การออกสินค้าใหม่ สำหรับรายย่อย ก็จะใช้สินค้าของบริษัทในเครือ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจด้วย

ซีอีโอ อธิบาย กฎการเติบโตของแบงก์กรุงศรีฯ เปิดกว้างทั้ง 2 วิธีคือ โตโดยธรรมชาติ และการเติบโตแบบก้าวกระโดด คนทั่วไปมักมองว่า การโตแบบก้าวกระโดด ก็คือ การเติบโตในธุรกิจที่ไม่มีอยู่ในวันนี้ นั่นก็หมายถึง การเข้าไปลงทุนในจุดที่เราไม่แข็งแรง

สำหรับแบงก์กรุงศรีฯ จะมีมุมมองต่างออกไป นั่นก็คือ โอกาสโตแบบก้าวกระโดด ต้องมองธุรกิจที่มีอยู่แล้ว เพื่อทำให้ดีขึ้น และที่ยังไม่มีก็พื้นฐาน ก็ควรจะเติบโตในฐานธุรกิจที่มีอยู่แล้ว ดังนั้น การตั้งเป้าจะโตแบบก้าวกระโดดเป็นหลัก จึงไม่น่าถูกต้อง...”

ตัน บอกว่า ที่แน่ๆก็คือ โอกาสเติบใหญ่ของแบงก์กรุงศรีฯ การขยายตัวตามธรรมชาติจะต้องมาก่อน แต่การเติบโตก้าวกระโดดคือ การเปิดโอกาสเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลานั้น เราก็อาจได้เห็น การเข้าไปลงทุนซื้อกิจการในธุรกิจสายเลือด จีอี อย่าง จีอี เฟิร์สชอยส์ ธุรกิจสินเชื่อเงินผ่อน และธุรกิจสินเชื่อเงินสดก็เป็นได้

ขึ้นอยู่กับว่า แบงก์กรุงศรีฯจะให้คำนิยามว่าอย่างไร ระหว่างเติบโตแบบก้าวกระโดดหรือ โตโดยธรรมชาติ ผ่านทางสายเลือด การรวมเครือญาติ “จีอี” กับแบงก์กรุงศรีฯ ในร่างทรงของ “จีอี”...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us