Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2534
สนทนานักลงทุน             
โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
 


   
search resources

ณรงค์ ปัทมะเสวี
พิเศษ เสตเสถียร
Loan




"สำหรับประเด็นเรื่องอุปสรรคของ Asset Securitization นั้น "ผู้จัดการ" ได้ทำการสนทนากับผู้เชี่ยวชาญสองท่านถึงความเห็นในเรื่องนี้ คนแรกเป็นนักกฎหมาย คือ ดร.พิเศษ เสตเสถียร แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนที่สองเป็น วาณิชธนากร คือ ณรงค์ ปัทมะเสวี กรรมการผู้จัดการ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นิธิภัทร"

อุปสรรคในการทำ Asset Securitization อยู่ที่ไหนบ้าง ?

ณรงค์ : สิ่งที่ทำให้ธุรกิจนี้ไม่เกิด มีหลายเรื่องมาก เรื่องแรกก็คือ เรื่องการ package security ตัวนี้เพื่อไปขาย กฎหมายยังไม่เอื้ออำนวย ตัวอย่างเช่น เอาที่ดินแปลงหนึ่งจะเอาไป securitized โดยการกู้เงินจากนักลงทุน ในลักษณะที่เอาที่ดินไปจำนอง สิ่งเหล่านี้ทำไม่ได้ เพราะสมมติว่าถ้าเอาที่ดินเหล่านี้ไปจำนองให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เมื่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์รับเป็นผู้จำนองแทน และบริษัทผู้กู้ก็ออก Security ในแง่ของการปฏิบัติ เมื่อเกิด Default ขึ้นมา การที่จะไปฟ้องร้องเพื่อที่จะ Enforce mortgage นั้น กฎหมายของเรายังไม่มีความคล่องตัว อย่างในอเมริกาจะสามารถบอกได้เลยว่า บริษัทนี้จะยกผลประโยชน์ในหนี้จำนวนเท่านี้ให้กับพวกทรัสต์หรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งในส่วนของเราจะต้องไประบุว่าผลประโยชน์ของลูกหนี้รายน้อยจำนวนเท่านี้ ให้กับผู้กู้รายนี้เสร็จแล้วลูกหนี้รายย่อยเหล่านั้นก็ต้องได้รับการแจ้งด้วยว่า หนี้ที่คุณเป็นหนี้ บริษัทเรานี้ได้ยกผลประโยชน์ให้กับผู้กู้ไปแล้ว ขั้นตอนเหล่านี้ทำให้การพิจารณา Package ในการทำ Security ค่อนข้างยุ่งยากมากและเสียค่าใช้จ่ายมาก อย่างบริษัทเรามีลูกค้าทางด้าน housing loan มาก เราต้องการที่จะขายออกไป เราก็ขายไม่ได้จะ package ด้วย securities พวกนั้นเราก็ทำไม่ได้ ลูกค้าเราจะมากู้เงินเอาพวกที่ดินบ้านจดจำนองอันดับ 2 เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก และจะจดให้ใครในเมื่อคนมาซื้อหนี้ 4-5 พันคนมาซื้อหนี้พวกนี้ไป การ package จึงเป็นเรื่องที่ยากในการที่จะทำสินทรัพย์ให้เป็น security แต่ถ้าหากปัญหานี้แก้ได้ แต่ก็ต้องเจอปัญหาอีก คือ จะเอาไปขายใครตลาดมันไม่มี ไม่มีพวกนักลงทุนสถาบัน พวกนักลงทุนรายย่อยก็ไม่นิยมซื้อ debt security เพราะมันมี return ต่ำกว่า ความคล่องตัวไม่มี ดังนั้น การที่จะพัฒนา Investor base จึงเป็นสิ่งที่น่าท้าทาย เพราะถึงจะ package มาได้ แต่ก็ไม่มีใครซื้อ กฎหมายที่จะออกมาใหม่นี้ก็พยายามที่จะแก้ทั้งสองจุดนั้นพร้อม ๆ กัน SIB จึงมีข้อที่พูดถึงการที่จะทำการ Package ได้ง่ายขึ้น แต่รายละเอียดจริง ๆ ยังไม่ทราบ แต่เท่าที่ทราบเขาต้องการจะตั้ง Trustee ขึ้นมา โดยเอาสินทรัพย์เหล่านี้มาจำนองกับ Trustee โดยให้ Trustee เหล่านี้เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์แทนผู้ลงทุนทั้งหลาย แล้วบริษัทก็จะออก Security ได้ โดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ สรุปไว้ว่า ถ้าหากเกิด Default ขึ้นมาก็ให้ Trustee เอาสินทรัพย์เหล่านี้ไป manipulate โดยเอาทรัพย์สินนี้ไปขายเพื่อเอาเงินมาจ่ายให้แก่นักลงทุนรายย่อย

ในแง่ของธนาคารชาติ มองว่า ถ้าหากว่าให้ Package Security ออกมาขายได้แล้ว อีกทางหนึ่งที่จะสร้าง Investor base ขึ้นมาได้ เพื่อให้มาซื้อก็ต้องมีการปรับดอกเบี้ยให้มีการลอยตัว ซึ่งดอกเบี้ยลอยตัวได้เมื่อไร คนที่ซื้อ Instrument เหล่านี้ นอกจากหวังเพื่อเอาดอกเบี้ยเป็นรายได้อย่างหนึ่งแล้ว ทุกครั้งที่มีการขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจะมีการ trade กันเกิดขึ้น ก็จะเกิด capital gain ได้ เช่น ถ้าคุณซื้อตั๋วที่มีอายุ 3-5 ปีในระหว่างนี้ คุณจะมีความมั่นใจได้ว่า จะได้ Net income ค่อนข้างแน่นอน ซึ่งเป็น Fixed income และในขณะเดียวกัน ถ้าดอกเบี้ยมันขึ้นลง คนก็จะซื้อขายเอากำไรได้ ซึ่งคนไทยจะชอบลักษณะนี้มาก คนหลายคนอาจคิดว่าการปล่อยดอกเบี้ยลอยตัวจะทำให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นในตลาด จริง ๆ แล้ว ความไม่แน่นอนเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันสร้างตลาดขึ้นมาได้ จริง ๆ แล้ว เรื่องดอกเบี้ยเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ต้องให้มันเป็นไปตามวิถีทางตลาดอย่างจริง ๆ ทั้ง SUPPLY และ DEMAND แต่ในขณะนี้ ธนาคารชาติออกมาพูดไม่ค่อยเคลียร์ เป็นลักษณะที่ว่าจะเปิดให้ดอกเบี้ยลอยตัวเสรีสำหรับอนาคต แต่ไม่ได้บอกในรายละเอียดว่าอะไร

พิเศษ : อุปสรรคทางด้านกฎหมายที่เกิดขึ้น เนื่องจากกฎหมายไม่เคยคิดสิ่งที่เรากำลังคิด เราคิด 2 ชั้น แต่กฎหมายคิดชั้นเดียว คือว่ากฎหมายมีไว้สำหรับชั้นเดียว คือ คุณมีหนี้ คิดจะให้ใครก็โอนไป คุณจำนองทรัพย์สินไว้กับใคร คุณก็คู่กับคนนั้น นี่คือชั้นเดียว คือเฉพาะคู่กรณี ไม่เคยคิดถึงชั้นที่สองคือ securitization อย่างเช่น คุณมีหนี้อยู่ คุณเอาที่ดินไปจำนองกับใคร กฎหมายก็จะพูดถึงแต่ว่าผู้จำนองและผู้รับจำนองทั้งสองคน แต่พอมีการทำ securitization นั่นคือ การเปลี่ยนไปหลายคน เพราะเปลี่ยนเป็นตั๋วหรือตราสารก็ปล่อยออกเป็นสิบเป็นร้อยเป็น public ไปเลย ปัญหาคือว่า กฎหมายไม่เคยมีการพูดถึงว่าคนหลาย ๆ คนเหล่านี้จะมาแทนสิทธิคนเก่าคนเดียวได้อย่างไร นี่คือจุดที่ขาดความเชื่อมต่อ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us