Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 พฤศจิกายน 2550
"ภัทร"ยันตปท.พร้อมลุยหุ้นไทย แนะโบรกฯเพิ่มบริการ-สินค้าให้ครบ             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร

   
search resources

ภัทร, บล.
Funds




หลังพันธมิตรทางธุรกิจยักษ์ใหญ่แห่งวงการการเงิน "เมอร์ริล ลินช์" ที่ทำธุรกิจร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ PHATRA ได้แตกไลน์สู่การทำธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบด้วยการทุ่มเงินกว่า 300 ล้านบาทในการซื้อบริษัทหลักทรัพย์(บล.) เอเพกซ์ จำกัด จากบล.แอ๊ดคินซัน

"ผู้จัดการรายวัน" ได้สัมมนาพิเศษนายสุวิทย์ มาไพศาลสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ภัทร ถึงผลกระทบในเรื่องดังกล่าว รวมถึงแนวทางในการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทในสถานการณ์ที่เต็มการแข่งขันและการปรับตัวเพื่อรองรับการเปิดเสรีค่าคอมมิชชันที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้

นายสุวิทย์ ยืนยันว่าการร่วมธุรกิจระหว่างบล.ภัทร กับ เมอร์ริล ลินช์ จะยังคงอยู่ต่อไป ทั้งในด้านการทำธุรกิจและงานวิจัยต่อไปตามข้อผูกพันภายใต้สัญญาการให้บริการทางธุรกิจ และสัญญาความร่วมมือทางด้านงานวิจัย โดยสัญญาดังกล่าวข้างต้นเป็นข้อตกลงในการให้ความร่วมมือทางธุรกิจแต่ผู้เดียวในด้านต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจด้านนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และธุรกิจด้านวาณิชธนกิจ รวมทั้งงานวิจัยที่ครอบคลุมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวกับบริษัทไทยและหลักทรัพย์ของบริษัทไทย และสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง ตลาดทุน ตลาดเงิน และอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศไทย

ทั้งนี้ การเข้าซื้อหุ้นของบล.เอเพกซ์ จะช่วยให้เมอร์ริล ลินช์ สามารถพัฒนาธุรกิจในด้าน Fixed Income Currencies and Commodities ในประเทศไทย และให้ประโยชน์กับการดำเนินธุรกิจอื่นของเมอร์ริล ลินช์ ในประเทศไทย

สำหรับภาพรวมของธุรกิจหลักทรัพย์ เป็นเรื่องต้องยอมรับว่าธุรกิจหลักทรัพย์เป็นธุรกิจที่สามารถควบคุมตัวแปรต่างๆได้น้อยมาก มีปัจจัยมากมายที่ส่งผลกระทบมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัทหลักทรัพย์ในปัจจุบัน ทำให้การประเมินรายได้ของผู้ประกอบการในแต่ละปีเป็นเรื่องที่ยากมาก ในขณะเดียวกันจำนวนผู้ให้บริการในปัจจุบันก็มีเยอะกว่าที่ควรจะเป็น

ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่าด้วยขนาดของอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ในปัจจุบันหากจำนวนบริษัทหลักทรัพย์ลดลงเหลือเพียงครึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนบริษัทหลักทรัพย์ที่มีอยู่จำนวน 39 บริษัทก็เชื่อว่าทั้งเรื่องการให้บริการ คุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ก็ยังรองรับจำนวนนักลงทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันได้

จากข้อมูลอดีตที่ผ่านมาบริษัทหลักทรัพย์ที่มีส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) รวมกันเกิน 50% มีประมาณ 20 รายแต่ในปัจจุบันประมาณ 10 บริษัทแรกที่มีมาร์เกตแชร์สูงสุดมีส่วนแบ่งรวมกันเกิน 50% ทำให้ที่เหลือต้องเร่งปรับตัวหากต้องการอยู่รอดต่อไป

"การควบรวมกิจการระหว่างผู้ประกอบการหลักทรัพย์จะเกิดขึ้นอย่างไรต้องดูว่าหน่วยงานที่กำกับคิดเห็นกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร จะมีการออกกฎเกณฑ์อะไรมาเพื่อบังคับให้มีการควบรวมหรือไม่ หรือจะมีการบีบด้วยเหตุผลบางอย่างจนสุดท้ายต้องมีการควบรวมกันเอง โดยในสถานการณ์แบบนี้มีเกือบครึ่งหนึ่งที่ต้องมีการปรับตัว"

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบล.ภัทร กล่าวอีกว่า สำหรับบล.ภัทร ปัจจุบันการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของรายได้เพื่อกระจายความเสี่ยงทำได้ตามเป้าหมายโดย 5 ปีที่ผ่านมาสัดส่วนรายได้เฉลี่ย 40% มาจากด้านวาณิชธนกิจ 50% มาจากนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และอีกประมาณ 10% มาจากการลงทุนของบริษัท

ส่วนการลงทุนของบริษัทปัจจุบันบริษัทลงทุนผ่านพอร์ตลงทุนของบริษัทแล้วประมาณ 800 ล้านบาท เป็นการลงทุนในบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยครึ่งปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้ที่ได้จากผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 20% ของรายได้บริษัทและยังมีที่ยังไม่ได้บันทึกอีกจำนวนหนึ่ง โดยคณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติการลงทุนผ่านพอร์ตลงทุนไว้ประมาณ 1,500 ล้านบาท

"การปรับเปลี่ยนของบริษัทหลักทรัพย์ที่จะต้องขึ้นอย่างต่อเนื่อง บล.ภัทรจะเปลี่ยนตัวจากโบรกเกอร์ที่ทำหน้าที่แค่ซื้อขายหุ้นเป็นเสมือนผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือดูแลการลงทุนทั้งหมดของนักลงทุน โดยรูปแบบของสินค้าและบริการจะใกล้เคียงความต้องการและความเสี่ยงที่ยอมรับได้เพื่อความเหมาะสมของนักลงทุนแต่ละราย"

ขณะที่แนวทางในการปรับเปลี่ยนในอนาคตของบริษัท คือ การให้ลูกค้าของบริษัทเป็นคนกำหนดปัจจัยในเรื่องต่างๆ เข้ามาไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนจากการลงทุน รวมถึงสามารถในการรับความเสี่ยง จำนวนเงินที่พร้อมจะลงทุน ก่อนจะนำมาวิเคราะห์เพื่อแนะนำการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย

นอกจากนี้ บริษัทจะมีการศึกษาในเรื่องการให้บริการเกี่ยวข้องการลงทุนในต่างประเทศ หลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดช่องให้นักลงทุนสามารถไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงจากเดิมที่ลงทุนเฉพาะในประเทศ และการนำสินค้าเข้ามาเพิ่ม เช่น ตราสารอ้างอิง

สำหรับการขายหุ้นออกมาของกลุ่มผู้บริหารของบริษัทในช่วงที่ผ่านมาเกิดขึ้นเพราะความจำเป็นของผู้บริหารรายนั้นๆ แต่หากพิจารณาโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทใน 21 มี.ค. 50 อันดับ 1.RUAMPHON PHATRA INTERNATIONAL CORP. ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้บริหารประมาณ 30 กว่าคนถือหุ้นในจำนวน 78,399,997 หุ้น หรือ 36.72 % ขณะที่ในส่วนที่มีการขายเป็นของผู้บริหารแต่ละรายไม่เกี่ยวข้องกับหุ้นของ RUAMPHON PHATRA INTERNATIONAL CORP.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us