Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2534
"มิถุนาหน้า ถนนทุกสายมุ่งสู่ริโอ"             

 


   
search resources

สหประชาชาติ
Environment




วันที่ 1-12 มิถุนายน 2535 คือช่วงเวลาที่จะมีการประชุมนานาชาติครั้งสำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยบรรดาประเทศต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคจะต้องตกลงกันว่าจะจัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างไร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืนหรือกระทั่งอาจจะหมายถึงเพื่อหาทางรอดให้กับมนุษยชาติและโลกใบนี้

การประชุมที่ว่าก็คือ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา UNITED NAITONS CONFERENCE ON ENVIRONMENT AND DEVELOPMENT UNICED หรือที่เรียกกันว่า "EARTH SUMMIT โดยมีองค์การสหประชาชาติเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ณ กรุงริโอ เดอจาเนโร ประเทศบราซิล

ความคิดเริ่มต้นของการจัดการประชุมนี้เกิดขึ้นจากการตระหนักว่า ความเสื่อมทรามทางนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมด้านใดด้านหนึ่งนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีขอบเขตอยู่เฉพาะที่เส้นพรมแดนแบ่งประเทศ หากแต่เป็นเรื่องที่โยงใยกันได้ทั้งโลก

ความตระหนักเช่นนี้ คือ สิ่งที่มีการอภิปรายกันอย่างจริงจังในการประชุมสหประชาชาติเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2532 อันเป็นการประชุมสามัญครั้งที่ 44 โดยที่ประชุมก็เห็นว่าการจะแก้ปัญหาด้านนี้ได้ ประชาคมโลกทั้งหมด จะต้องมีความตื่นตัวและร่วมมือ กันอย่างพร้อมเพรียงในแนวทางที่มีความสอดคล้องกัน ดังนั้นการพบปะเพื่อถกเถียงและสร้างข้อตกลงในทางปฏิบัติจึงเป็น

ประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นปัญหาระดับโลกในปัจจุบันหลักๆ แล้วมีอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน คือ เรื่องโอโซน เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและเรื่องกากเสียของวัตถุมีพิษ

ทางสหประชาชาติเริ่มให้ความสำคัญและหยิบยกประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ขึ้นพิจารณาหลายปีมาแล้ว และบางประเด็นก็มีการดำเนินการภาคปฏิบัติไปบ้าง โดยเฉพาะเรื่องโอโซนได้ก้าวไปถึงระดับที่มีข้อกำหนดผูกพันที่ชื่อว่า "อนุสัญญากรุงเวียนนาเพื่อการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซน 1985" และ "พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นโอโซน 1987" เกิดขึ้นแล้ว โดยประเทศไทยก็ได้เข้าเป็นภาคีของทั้ง 2 ฉบับตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532

สำหรับการประชุมที่กรุงริโอในปีหน้า ประเด็นที่จะได้รับการเน้นหนักเป็นพิเศษก็คือ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกและปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นที่คาดหมายกันว่า จะมีการผลักดันจนถึงขั้นที่นานาประเทศให้การรับรองต่ออนุสัญญาว่าด้วยทั้ง 2 เรื่องนี้ นอกจากนั้นก็คงจะมีการรับรองกฎบัตรโลก (EARTH CHARTER) และรับรองแผนปฏิบัติการสำหรับศตวรรษที่ 21 (AGENDA 21) ด้วยเช่นกัน

ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้รับการหยิบยกขึ้นสู่เวทีสมัชชาสหประชาชาติเมื่อปี 2531 โดยประเทศมอลตาเป็นผู้เสนอ จุดนี้เองทำให้เกิดองค์การ IPCC (INTERGOVERNMENTAL PANEL ON CLIMATE CHANGE) ขึ้นทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง มีการประเมินทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศตลอดจนถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ

จากผลการวิจัยศึกษาทำให้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าสภาพภูมิอากาศของโลกนั้นมีแนวโน้มที่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น หรือกล่าวอย่างง่าย ๆ ว่า นับวันโลกจะยิ่งร้อนขึ้น ทั้งนี้โดยมีสาเหตุมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GREENHOUSE GAS) ซึ่งมีตัวหลัก ๆ ก็คือ คาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่อากาศในปริมาณมากเกินไป

ที่ผ่านมาได้เกิดการประชุมเคลื่อนไหวในระดับโลกเพื่อแสวงหาความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้หลายครั้งมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเมื่อเดือนกันยายน ปี 2533 เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ปีเดียวกัน เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2534 หรือเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ฯลฯ

แต่นอกเหนือจากเรื่องของการจัดองค์การการประชุม การกำหนดแนวทางเจรจาและการจัดตั้งคณะทำงานแล้วก็ยังไม่มีข้อตกลงอื่นใดที่ลงตัว โดยประเทศสหรัฐฯ มหาอำนาจผู้ยิ่งใหญ่ของโลกไม่ยินยอมที่จะกำหนดขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะที่ประเทศโลกที่ 3 ทั้งหลายก็พุ่งเป้าหมายไปในเรื่องของการถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งเรียกร้องถึงภาวะผ่อนปรนและเงื่อนไขพิเศษต่าง ๆ เพื่อให้การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้โดยไม่มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้ว ก๊าซเรือนกระจกนั้นมาจากการผลิตและการใช้พลังงาน ถ้าต้องควบคุมก็ย่อมส่งผลกระทบในหลาย ๆ มิติทีเดียว

โดยเฉพาะปัญหานี้ได้มีการผูกโยงเข้ากับประเด็นเรื่องพื้นที่ป่าไม้ด้วย กล่าวคือ ป่าไม้นั้นมีส่วนช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ทำให้เกิดการประฌามต่อประเทศโลกที่ 3 และเรียกร้องให้ยุติการทำลายพื้นที่ป่าพร้อมกับหาทางเพิ่มเติมพื้นที่ด้วย

ส่วนประเด็นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ จุลินทรีย์ ตลอดจนระบบนิเวศรวม ความหลากหลายมีความหมายรวมทั้งในเชิงจำนวนและในเชิงของความถี่ โดยที่ความหลากหลายของส่วนต่าง ๆ ในระบบธรรมชาติก็คือ ที่มาพื้นฐานของอาหารและยารักษาโรค การสูญเสียซึ่งความหลากหลายลงไปย่อมส่งผลกระทบอันร้ายแรงแก่มนุษย์ได้

การตระหนักต่อปัญหาประเด็นนี้ก็ได้ฟักตัวมาระยะเวลาหนึ่งแล้วเช่นเดียวกัน มีความพยายามที่จะกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการจัดทำเป็นอนุสัญญาอันมีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไปมาแล้วบางฉบับ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ แต่กรอบบังคับไม่กว้างขวางพอ จึงมีการร่างอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องนี้ที่มีความครอบคลุมมากขึ้นอีก 1 ฉบับ โดยขณะนี้อยู่ในขั้นของการพิจารณาครั้งที่ 3 ที่กรุงเจนีวา

ฉันทามติสำหรับการตกลงในประเด็นนี้นับว่าเกิดขึ้นได้ยากเช่นกัน เพราะเป็นประเด็นที่มีข้ออ่อนไหวในทางด้านผลประโยชน์ระหว่างประเทศโลกที่ 1 ที่พัฒนาแล้ว กับประเทศโลกที่ 3 ที่กำลังพัฒนาอยู่มากมาย และอย่างค่อนข้างจะซับซ้อน ทั้งเรื่องของเทคโนโลยีและลิขสิทธิ์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของทรัพยากรที่เหลืออยู่บนผืนโลกใบนี้เป็นของประเทศโลกที่ 3 ในขณะที่ความก้าวหน้าที่วิทยาการเป็นของประเทศโลกที่ 1 การจะต้องนำ 2 สิ่งมาผนวกกันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย หรือแม้แต่ระดับพื้นฐานมากกว่านั้น นั่นคือการเรียกร้องให้มีการพิทักษ์ความหลากหลายเอาไว้ให้มากที่สุดก็ยังก่อปัญหาได้มากมาย

ทรัพยากรนั้นร่อยหรอไปก็เพราะถูกใช้เป็นฐานการพัฒนา ส่วนความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมก็คือผลผลิตที่คู่ขนานมากับความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ

ณ วันนี้โลกเริ่มรับรู้แล้วและกำลังแสวงหาแนวทางแก้ไข โดยเฉพาะประเทศโลกที่ 1 จริงจังต่อปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มาก การพัฒนาโดยอิงพิงฐานทรัพยากรของประเทศโลกที่ 3 กลายเป็นความเลวร้ายอันจะต้องได้รับการปรับเปลี่ยน หรือเพิ่มเงื่อนไขให้สอดคล้องกับยุคสมัยใหม่อันเป็นยุคแห่งการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

แต่เงื่อนไขที่ได้รับการกำหนดขึ้นก็เสมือนเป็นบ่วงคล้องคอประเทศที่กำลังพัฒนา ผู้ซึ่งแท้จริงแล้วก็เพียงแต่ก้าวเดินตามรอยเท้าของบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้วนั่นเอง

การหันมาเชิดชูสิ่งแวดล้อม และพูดถึงการพัฒนาแบบยั่งยืนของสหประชาชาตินับว่าเป็นมิติใหม่ที่โดยเนื้อหาแล้วมีคุณค่าอย่างยิ่ง ทว่าในขั้นการจัดการจะสามารถคงคุณค่าไว้ได้ด้วยการจัดกระบวนการอย่างมีความเป็นธรรมหรือไม่ออกจะมีความยุ่งยากมาก

อย่างไรก็ตาม...ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ในส่วนของการจัดการนี้ย่อมจะเป็นบทพิสูจน์ถึงเจตนาที่แท้จริงของความมุ่งมั่นว่า เรื่องสิ่งแวดล้อมจะต้องมาก่อนมากกว่าเท่าที่มีการประกาศชี้แจงออกมา

หากหวังจะให้การประชุม EARTH SUMMIT เป็นไปตามคาดหมาย คือ ไปไกลถึงขั้นที่มีการลงนามในข้อตกลงได้ การเจรจาต่อรองเพื่อหาทางประนีประนอมก็จะต้องลุล่วงไปก่อน

กว่าจะถึงเดือนมิถุนายนความเคลื่อนไหวในช่วงเวลานี้จึงนับว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งสำหรับทุก ๆ ฝ่าย นอกจากกลยุทธ์ทางการเจรจาแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ ข้อมูลจากการศึกษาวิจัย

ในฐานะสมาชิกหน่วยหนึ่งของประชาคมโลกที่มีความผูกพันอยู่ด้วยทั้งในมิติทางการเมืองและเศรษฐกิจ ประเทศไทยจำเป็นจะต้องเข้าร่วมกับการเคลื่อนไหวในแนวทางใหม่นี้ด้วย และในฐานะที่เป็นประเทศโลกที่ 3 ก็คงจะยิ่งต้องเตรียมการให้พร้อมและเข้มแข็งที่สุด เพราะแม้จะเป็นเวทีที่มีจุดประสงค์ในทางการพิทักษ์โลกโดยรวมแต่ในแง่ของการทำความตกลงระหว่างกัน

เวทีนี้ก็ยังคงจะเต็มไปด้วยการเชือดเฉือนและแพรวพราวด้วยยุทธวิธีช่วงชิงผลประโยชน์ไม่ต่างจากการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องอื่น ๆ แน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us