Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2534
ถนอมศรี สุวรรณรัตน์ ผจก.ภูธรหญิงคนแรกของบรรษัท             
 


   
search resources

บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย - IFCT
ถนอมศรี สุวรรณรัตน์
Investment




สุภาพสตรีบุคลิกคล่องแคล่ง ดูยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นกันเองกับผู้พบเห็น มีตำแหน่งสุงสุดในฐานะผู้จัดการสำนักงานภาคเหนือตอนบน (ลำปาง) ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือบรรษัทฯ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วจังหวัด ผู้นี้ก็คือ ถนอมศรี สุวรรณรัตน์

เธอจะเป็นผู้อนุมัติปล่อยเงินกู้แก่โครงการลงทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม ครอบคลุม 6 จังหวัด คือ ตาก อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และพะเยา โดยมีลำปางเป็นศูนย์กลางมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2531

ถนอมศรีเป็นผู้หญิงคนแรกที่เป็นผลผลิตของบรรษัทฯ ซึ่งออกไปบริหารงานในสำนักงานแต่ละภาค เป็นลูกหม้อของที่นี่โดยเข้ามาเริ่มงานในปี 2517

เธอเริ่มต้นชีวิตวัยเยาว์ในต่างจังหวัด จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ ม.ศ.5 ในตอนนั้นจากโรงเรียนวิเชียรมาตุ โรงเรียนประจำจังหวัดตรัง ทั้งที่ถนอมศรีเป็นคนคอนหรือนครศรีธรรมราช แต่มาอาศัยอยู่กับคุณลุงเชาว์ ชิโนกุล ซึ่งเป็นเทศมนตรีเทศบาลเมืองตรังผู้ให้ความอุปการะเธออย่างดีมาตลอด

จากนั้น ถนอมศรีก็เดินทางสู่เมืองกรุงแดนศรีวิไลซ์ และเลือกเป็นลูกแม่โดมในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในช่วงใกล้จบได้ช่วยอาจารย์นงเยาว์ ชัยเสรี ตรวจงานบัญชี เมื่อมีคนแนะนำให้สมัครงานที่บรรษัท เธอก็ไม่รีรอ

โดยได้เริ่มต้นงานกับบรรษัทในส่วนการเงิน มีหน้าที่ติดต่อเบิกเงินให้ลูกค้า ติดต่อเงินกู้ต่างประเทศ "เป็นเหมือนการระดมเงินกลาย ๆ " ถนอมศรีย้อนเล่าถึงอดีตอย่างอารมณ์ดี

อยู่ได้ 4 ปีก็ขยับขึ้นมาเป็นหัวหน้าหน่วยทะเบียนลูกหนี้แจ้งหนี้ลูกค้า จากนั้นก็มาดูแลงานเงินตราต่างประเทศ เบิกเงินกู้อยู่ประมาณปีครึ่ง เรียกว่าเป็นการโยกย้ายในแนวนอนมาตลอด

จนถึงปี 2527 จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าบริหารเงินกู้ที่ลำปาง ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าผู้ช่วยผู้จัดการ มีหน้าที่พิจารณาการปล่อยกู้ พอถึงปี 2529 ก็มีคำสั่งให้ย้ายไปเป็นผู้จัดการสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ขอนแก่น คลุมพื้นที่ 17 จังหวัดภาคอีสาน

ตอนนั้น บรรษัทจัดลำดับให้ขอนแก่นเป็นศูนย์ประสานงานการลงทุนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งในช่วงปี 2529-2531 "อยู่ที่นั่นช่วงนั้นขอนแก่นยังไม่บูมมากเหมือนในช่วง 2-3 ปีหลัง โดยสภาพแล้ว จะเห็นว่าฐานลูกค้าที่ขอนแก่นเยอะ แต่ถ้าดูภาพรวมของภาคอีสานจังหวัดอื่นมีการลงทุนน้อย ยกเว้นนครราชสีมา" ถนอมศรี ฉายภาพของอีสานในช่วงก่อนหน้านี้

"เมื่อเราเห็นเป็นอย่างนี้ ต่างก็มีความคิดพ้องกันว่า ควรจะตั้งสำนักงานที่โคราชเป็น SUB-BRANCH แต่ดูแล้วไม่คล่องตัวเท่าที่ควร จึงให้ขึ้นตรงต่อสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ ไม่ต้องเสียเวลาโดยผ่านทางจังหวัดขอนแก่นที่เป็นตัวกลางเป็นการช่วยลดขั้นตอน เพราะโคราชลูกค้าเยอะ แต่อยู่ไกลจากขอนแก่น เมื่อมีสำนักงานที่โคราชก็ช่วยให้บริการลูกค้าได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น" ปัจจุบันบรรษัทจึงมีสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มเป็น 2 แห่ง

โดยแยกเป็นสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ขอนแก่น) คลุมพื้นที่ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร มหาสารคาม อุดรธานี เลย หนองคาย สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร

อีกแห่งหนึ่ง คือ สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ (นครราชสีมา) คลุมพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

งานนี้ถนอมศรีเป็นคนหนึ่งที่มีบทบาทในการสานต่อให้เป็นจริงหลังจากที่มีกาผลักดันมาก่อนแล้ว

ประสบการณ์ที่ต่อเนื่องบวกกับความเป็นภูธร ผนวกกับสามีซึ่งทำงานอยู่กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ได้ย้ายมาอยู่ที่ลำปาง ถนอมศรีจึงเลือกที่จะมาเป็นผู้จัดการสำนักงานภาคเหนือตอนบน คือ ที่ลำปางแทนที่จะไปประจำที่หาดใหญ่หรือสุราษฎร์ฯ

แต่ไม่ว่าจะเป็นภาคไหน ถนอมศรีเล่าถึงความรู้สึกว่า "ความเป็นคนบ้านนอก จึงไม่รู้สึกหนักใจนัก แม้จะต้องมาอยู่ประจำในต่างจังหวัด" ในฐานะที่บังเอิญเป็นผู้จัดการหญิงภูธรคนแรกของบรรษัท

การเลี้ยงดูและวิถีชีวิตที่เธอได้รับการฝึกฝนมาแต่วัยเยาว์ ถนอมศรียอมรับว่า "ทำให้อยู่แบบผู้ดีก็ได้ อยู่แบบคนจนก็เป็น" เพราะตอนเด็ก ๆ เธอต้องทำทุกอย่าง ตั้งแต่ทำบัญชีโรงหนัง 3 แห่งในตัวเมืองตรัง ซึ่งเป็นเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ที่เธอต้องเกี่ยวข้องจนถึงทุกวันนี้

อีกประการหนึ่ง เพราะความที่คุณลุงมีลูกผู้ชายทั้งหมด เธอจึงเป็นเด็กผู้หญิงคนเดียวที่คุณลุงเรียกให้ช่วยงานสารพัดโดยเฉพาะ "คุณลุงเป็นเทศมนตรี และอยู่ในแวดวงของนักการเมือง ทำให้ต้องช่วยต้อนรับแขก" เรียกว่าต้องไม่เลือกรับเขารับเราด้วย ทำให้ค่อย ๆ สะสมความเป็นอัธยาศัยดี และยิ้มง่ายโดยไม่รู้ตัวและทำงานได้หลายรูปแบบ

นี่เป็นจุดเด่นของถนอมศรีที่ต่างไปจากนักบริหารที่จบจากด้านการเงินหรือบัญชีอีกหลายคน ซึ่งมักจะมีบุคลิกที่ดูเงียบขรึม น่าเกรงขามเป็นส่วนใหญ่

ถนอมศรียอมรับว่า โดยส่วนตัวแล้วตนชอบงานท้าทายและประสบการณ์ใหม่ ๆ ...!

ดังนั้น เมื่อเธอมาเป็นผู้จัดการที่ลำปางในปี 2531 ผ่านไประยะหนึ่งก็เห็นว่าเชียงใหม่เป็นอีกจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือ ที่มีศักยภาพในการลงทุนสูงครึ่งหนึ่งของโครงการที่ขอกู้และอนุมัติไปเป็นธุรกิจที่อยู่ในเชียงใหม่ และเป็นจังหวัดที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุดในภาค

"มีความพร้อมทุกอย่าง เป็นทั้งศูนย์ท่องเที่ยว ศูนย์การเงิน ทางแบงก์ชาติก็ไปเปิดสำนักงาน สาธารณูปโภคก็พร้อม จึงคิดว่าบรรษัทควรมีออฟฟิศที่เชียงใหม่จะดีกว่า" ถนอมศรีเล่าถึงแนวคิดในช่วงที่เสนอให้มีสำนักงานที่เชียงใหม่

ประจวบเหมาะกับได้จังหวะตอนที่ศุกรีย์ แก้วเจริญ กรรมการผู้จัดการไปเยี่ยมสำนักงานลำปาง เธอก็เสนอความคิดนี้ไปและส่งเรื่องไปยังฝ่ายอำนวยการสาขาในกรุงเทพฯ จนได้รับอนุมัติในเวลาต่อมา

สิ่งเหล่านี้ถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและทีมงานของสำนักงานภาคแต่ละแห่งที่จะต้องคอยเป็นหูเป็นตา เป็นแหล่งข้อมูลให้กับสำนักงานใหญ่เพื่อช่วยให้ภาพการลงทุนในภูมิภาคชัดเจนขึ้น

เฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของบรรษัทนั้น มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่อยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เพื่อหนุนให้เกิดธุรกิจใหม่และกระจายการลงทุนออกสู่ภูมิภาคให้ได้ผลยิ่งขึ้น

สำหรับลำปางนั้น ถนอมศรีมองว่า จะส่งเสริมการท่องเที่ยวให้โดดเด่นเหมือนจังหวัดอื่นในภาคเหนือคงลำบาก เนื่องจากจุดท่องเที่ยวกระจายกันมากอยู่คนละเส้นทางกับเชียงใหม่ จะเที่ยวที่ใดที่หนึ่งต้องใช้เวลาเป็นวัน ขณะที่เชียงรายก็มีสนามบินของตน ทำให้ลำปางกลายเป็นเมืองผ่าน ไม่ใช่เมืองที่ผู้คนจะมุ่งหน้ามาเที่ยวโดยตรง

ทางออกที่ถนอมศรีเห็นพ้องกับผู้ว่าราชการจังหวัด ก็คือ การผลักดันให้เกิดสนามบิน ซึ่งล่าสุดกรมการบินพาณิชย์ตอบรับมาแล้ว กำหนดใช้พื้นที่ 11,600 ไร่ ได้แน่นอนแล้ว 2,600 ไร่ จะขอพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมจากกรมป่าไม้ 4,000 ไร่ และที่เหลือต้องจัดหาเพิ่มเติม

การใช้พื้นที่มากขนาดนี้ นอกจากใช้ทำรันเวย์แล้ว จะสร้างโกดังเพื่อเป็นสนามบินพาณิชย์ส่งออกสินค้าจากที่นี่โดยตรง

เนื่องจากธุรกิจที่บรรษัทอนุมัติไป แนวโน้มช่วงหลังส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อส่งออก ไม่ว่าจะเป็นผลไม้กระป๋องของบริษัท อาหารสากล จำกัด หรือผักแช่แข็งส่งออก 100% ของบริษัทในเครือ คือ "ยูเนี่ยน ฟรอสท์" ซึ่งเพิ่งจะเริ่มผลิตในปีนี้ เครื่องใช้ในครัวเรือนจากเศษไม้สักและไม้ยางพาราแปรรูปของบริษัท ไซแอมริชวูด จำกัด เป็นต้น

ถนอมศรี ย้ำว่า บทบาทของบรรษัทในภูมิภาคไม่เพียงแต่เป็นการให้กู้เพื่อการลงทุนเท่านั้น แต่เน้นเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดย่อม เพราะเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของภาคเหนืออยู่แล้ว และจะเพิ่มบทบาทเป็นแหล่งเงินทุนระยะยาวแก่ผู้ประกอบการด้วย

ไม่ว่าจะเป็นศึกษาและส่งเสริมโครงการที่มีอนาคต แม้ว่าผู้ประกอบการจะไม่มีทุนก็ตาม ทั้งในรูปของการให้กู้และการร่วมทุน ตลอดไปจนถึงธุรกิจที่มีผู้ประกอบการเป็นผู้หญิงเพื่อส่งเสริมการสร้างงานสำหรับสตรีในแถบนี้ และช่วยป้องกันการไปขายแรงงานในกรุงเทพฯ

ประเด็นหลังเป็นเป้าหมายส่วนตัวของถนอมศรี "ผู้จัดการภูธรหญิง" คนแรกของบรรษัทที่อยากทำอะไรให้เป็นพิเศษกว่าผู้บริหารบุรุษเพศ อย่างน้อยก็ในฐานะผู้หญิงด้วยกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us