Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2534
นม.....เต็กเฮงหยู             
 


   
search resources

โอสถสภา, บจก.
Dairy Product




การเปิดตัวอย่างเป็นทางการในการตกลงใจร่วมลงทุนกับ "สโนว์แบรนด์" ญี่ปุ่นของโอสถสภา (เต็กเฮงหยู) ที่ผ่านมานับเป็นการตัดสินใจที่พอจะกำหนดแนวทางการเดินทางสู่อนาคตการแข่งขันของโอสถสภาได้ว่า จากนี้ไปอุตสาหกรรมอาหารจะกลายมาเป็นหัวใจสำคัญของการดำรงสถานะการเติบโตของบริษัท จนอาจเป็นรายได้หลักที่จะเข้ามาทดแทนอุตสาหกรรมยา ซึ่งนับวันจะกลายเป็นตลาดที่เล่นยากขึ้นทุกทีก็ว่าได้

สโนว์แบรนด์มิลด์โปรดักส์ เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมนมของประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ใหญ่โตกว่าเมจิเสียอีก ตามสถิติการจัดอันดับ 500 บริษัทของฟอร์จูนปี 1990 ได้จัดให้สโนว์แบรนด์มิลด์โปรดักส์ติดอยู่ในอันดับที่ 183 มียอดขายสูงถึง 7,188.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีกำไร 51.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ในขณะที่เมจิมิลด์โปรดักส์ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 402 สร้างยอดขายต่อปีได้ 3,145.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีกำไร 24.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

จากตัวเลขยอดขายได้แสดงให้เหนถึงความใหญ่โตของสโนว์ได้อย่างเด่นชัดแต่ถึงจะยักษ์ใหญ่กว่ากัน อย่างไรก็ตามการก้าวเข้าสู่ตลาดเมืองไทยของสโนว์ที่เป็นไปอย่างเชื่องช้าจนล้าหลังกว่าคนอื่น ก็ไม่อาจทำให้ความใหญ่โตของสโนว์สามารถสยบคู่แข่งได้

ว่ากันตามจริงแล้ว เมจิเข้าเมืองไทยโดยการจับมือร่วมค้ากับซีพีซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมเกษตรอันดับ 3 ของโลกเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาได้สร้างความฮือฮาในวงการอุตสาหกรรมนมสดเป็นอย่างยิ่ง และถ้าจะว่าตามนโยบายของซีพีที่ทำอะไรเล็กไม่เป็นด้วยแล้วละก้อ ยิ่งกลายเป็นตัวสนับสนุนให้เมจิโด่งดังเร็วยิ่งขึ้น

แม้ว่าสโนว์แบรนด์เพิ่งจะเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมสดในตลาดร่วม 10,000 ล้านบาทในเมืองไทย (60% เป็นผลิตภัณฑ์นมสด 40% เป็นนมผงและนมข้น) อย่างครบวงจรโดยร่วมมือกับคนท้องถิ่นอย่างโอสถสภา โดยการร่วมก่อตั้งบริษัทโอสถสภา สโนว์ถือหุ้น 4 ฝ่าย คือ บริษัทสโนว์แบรนด์มิลด์โปรดักส์ จำกัด ซูมิโตโม คอร์ปอร์เรชั่น ซูมิ - ไทย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และโอสถสภา (เต็กเฮงหยู) ในอัตราส่วน 44% 5% 2% และ 49% ตามลำดับด้วยทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท

แต่ก็เป็นการลงทุนอย่างครบวงจร คือ มีโรงงานผลิตอยู่ที่ปากช่อง นครราชสีมา บนพื้นที่ 50 ไร่ และมีตัวอาคาร 4,500 ตารางเมตร สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ เป็นประธานรกรมการ โทกิโนบุ ทานากา เป็นรองประธานกรรมการ ส่วนโนโบรุ ทาคากุ เป็นกรรมการผู้จัดการในขณะที่รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายไทยกำลังรอการแต่งตั้ง ซึ่งเป็นบุคคลที่บริหารงานบริษัทใหม่โดยตรงด้วย

ความล่าช้าของการร่วมมือนี้ ซึ่งกว่าจะตกลงกันได้ต้องใช้เวลาร่วม 5 ปีในการเจรจาต่อรองจนบรรลุเป้าหมายขั้นสุดท้ายเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้

เหตุแห่งความล่าช้าในการเจรจาต่อรองนั้น ว่ากันว่ามาจากปัญหาข้อเดียว คือ ต้องการจะเป็น MAJORITY ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นถือว่าตนเองเป็นฝ่ายนำ KNOW HOW เข้ามาให้คนไทยได้เรียนรู้ ในขณะที่ฝ่ายไทยถือว่าตนเองมีตลาดที่ดีและเป็นคนท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจร่วมมือกับคนท้องถิ่นแม้ไม่ใหญ่โตเทียบเท่าซีพี แต่ก็มีประสบการณ์และความชำนาญงานในตลาดนมเป็นอย่างดี จึงเป็นข้อได้เปรียบจนอาจกลายเป็นจุดแข็งของสโนว์ก็ว่าได้

กล่าวได้ว่า โอสถสภาเป็นผู้บุกเบิกตลาดนมมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี เริ่มมาตั้งแต่ปี 2526 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่วงการตลาดนมสดอย่างจริงจังโดยการทำตลาดนม "ไทย-เดนมาร์ก" ให้กับองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.)

ปัจจุบัน นมไทย-เดนมาร์ก เป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่งการตลาด 45% จากมูลค่าตลาด 6,000 ล้านบาท (เฉพาะตลาดนมสด) อาจกล่าวได้ว่า ว นมไทย-เดนมาร์กเป็นตัวทำรายได้หลักให้กับไอเอ็มอินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของโอสถสภาเลยทีเดียว

แต่ก็เป็นที่น่าเสียดาย โอสถสภาทำหน้าที่เป็นเพียงมือปืนรับจ้างมาโดยตลอดเท่านั้น ยังไม่ถึงการลงรากหยั่งลึกเพื่อสร้างฐานให้มั่นคง !!!!

ซึ่งหมายถึงการมีโรงงานผลิตและแบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง

"สโนว์ " ไม่ใช่สินค้าชื่อใหม่ในตลาดนมเมืองไทย สโนว์เข้าเมืองไทยมานานโดยการนำเข้าผ่านทาง ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่นจนมาอยู่ในมือของโอสถสภาเมื่อ 12 ปีที่ผ่านมาในรูปของตลาดนมผงทารกและเด็กเล็ก ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าตลาดนมผงทารกรายหนึ่งในตลาดนี้ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสุนทร เก่งวิบูลย์ ผู้อำนวยการตลาด 3

ในโอสถสภา แบ่งกลุ่มสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ตลาด 1 เป็นกลุ่มยาสามัญ เช่น ทัมใจ โบตัน ยาหอม ยากฤษณากลั่น รวมทั้งกลุ่มเวชภัณฑ์ เป็นต้น ในกลุ่มยาสามัญ โดยเฉพาะยาทัมใจ ทำรายได้เป็นอันดับ 2 ให้กับโอสถสภา คือ 900 ล้านบาท ในขณะที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ตลาด 2 คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อพลังงานและเครื่องดื่มเกลือแร่ เช่น ลิโพ เอ็ม 100 เอ็ม 150 เป็นต้น ทำรายได้เป็นอันดับ 1 คือ 4,500 ล้านบาท

แต่ทั้ง 2 ตลาดเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าที่โดนมรสุมทางการเมืองเล่นงานในเรื่องของการผสมสารคาเฟอีนลงในเครื่องดื่มและยา ว่ากันว่าเพราะสารคาเฟอีนทำให้ผู้บริโภคติดยาหรือเครื่องดื่มกันงอมแงม จึงส่งผลให้ยอดขายต่อปีเพิ่มขึ้นทวีคูณทำรายได้หลักเข้าบริษัท

ในขณะที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ 3 ซึ่งเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคเดินไปอย่างเรียบ ๆ สินค้าแต่ละตัวไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เช่น น้ำยาทำความสะอาดพื้นคอมพิวพ์ สบู่นางนวล เป็นต้น แต่ก็เรียกได้ว่ามีพระเอกของกลุ่มอยู่บ้าง คือ ผลิตภัณฑ์เบบี้มายด์ และฮูลา ฮูล่า ในปีที่ผ่านมาทำรายได้ 500 ล้านบาท

กล่าวได้ว่า เมื่อตัวทำรายได้หลักเกิดสะดุดปัญหาและมีทีท่าว่าจะถดถอยลงเรื่อย ๆ ขณะเดียวกัน อสค.กำลังจะถูกแปรรูปจากกิจการของรัฐให้อยู่ในรูปของบริษัทโดยมีเอกชนเข้ามาถือหุ้นร่วม ความเป็นมือปืนรับจ้างก็เริ่มเห็นลางจะจบสิ้นลงไปทุกที

นอกจากนี้ สัญญาว่าจ้างจัดจำหน่ายกำลังจะหมดลงในอีก 2 ปีข้างหน้า ไอเอ็มฯ บริษัทในเครือซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อขายนมโดยเฉพาะจะทำอย่างไร ?

จึงเป็นธรรมดาที่โอสถสภาจะหันหาสิ่งใหม่ที่ตนเองมีความชำนาญ มีประสบการณ์ มีช่องทางและการตลาดที่ดี จากความเสียเปรียบที่เริ่มต้นก้าวช้ากว่ารายอื่น ๆ ในตลาด 6,000 ล้านบาท ก็อาจจะสามารถก้าวตามได้ทันท่วงทีเพราะโอสถสภาไม่ได้เริ่มจากศูนย์เหมือนอย่างที่ซีพี-เมจิเริ่มมาก่อน

ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่ง คือ ศักยภาพของการเติบโตในตลาดนมสดมีเพิ่มมากขึ้นทุกวันจากปี 32 ตลาดมีอัตราขยายตัวเพียง 15% ทั้งระบบ (10,000 ล้านบาท) ก็เพิ่มขึ้นมาเป็น 20% ในปี 33 และในปี 34 แนวโน้มตลาดก็ยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คาดว่าประมาณ 25-30% เลยทีเดียว ทั้งนี้เพราะผู้ค้าหน้าใหม่โดดเข้าสู่การแข่งขันในตลาดเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ให้การส่งเสริมในการบริโภคนมอย่างจริงจัง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ตลาดนี้จึงกลายเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ

การลงทุนร่วมครั้งนี้ "โอสถสภา สโนว์" ทำอย่างครบวงจรด้วยเงินลงทุนเริ่มแรก 400 ล้านบาทในการสร้างโรงงานและซื้อเครื่องจักรเพื่อผลิตนม UHT ขนาดบรรจุกล่องเตตร้าบริค 250 มิลลิกรัม โดยตั้งเป้าหมายส่วนแบ่งการตลาดในปีแรกไว้เพียง 10% ของตลาดนม UHT ซึ่งมีมูลค่า 2,500 ล้านบาท และหลังจากนั้นจะเพิ่มส่วนแบ่งขึ้นเรื่อย ๆ

"การผลิตและการขายผลิตภัณฑ์นมนั้นจะเป็นไปตามการเติบโตของการทำฟาร์มโคนมในประเทศไทย คาดว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้าจะเพิ่มการลงทุนอีก 300 ล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจเข้าสู่การผลิตและขายผลิตภัณฑ์แช่แข็ง เช่น ไอศกรีม ผลิตภัณฑ์นมแปรรูป (นมเปรี้ยว) และอื่น ๆ" แหล่งข่าวจากโอสถสภา สโนว์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

อุตสาหกรรมอาหารนับเป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง เพราะนอกจากความเคลื่อนไหวยักษ์ใหญ่ในตลาดที่หันมาเล่นตลาดนี้กันมากขึ้น อันเนื่องมาจากมาร์จิ้นของสินค้าสูงแล้ว ตลาดก็มีแต่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางใหการยอมรับในสินค้าเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us