Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 พฤศจิกายน 2550
บาทแข็งสุดรอบ 3 เดือน             
 


   
search resources

Currency Exchange Rates




เงินบาทแข็งค่าแตะ 33.91 บาทต่อดอลล์ แข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือน หลังผลประชุมเฟดตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยอีก 0.25% ตามคาด ทำให้ดอลลาร์อ่อนยวบ ค้าเงินคาดแนวโน้มบาทยังแข็งค่าต่อเนื่องประเมินแนวรับ 33.90 บาทต่อดอลล์

นักค้าเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า ค่าเงินบาทวานนี้ (1 พ.ย.) ปิดตลาดที่ระดับ 33.93-33.94 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยบรรยากาศระหว่างวันมีการเคลื่อนไหวไม่มากนัก แต่จะโน้มเอียงไปทางแข็งค่า แม้จะมีการรับรู้ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ก็ตาม โดยระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ 33.91 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และอ่อนค่าสุดที่ 33.96 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนแนวโน้มในวันนี้ (2 พ.ย.) ทิศทางค่าเงินบาทยังคงจะแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะมีการปัจจัยแปลกใหม่เข้ามาในตลาด โดยประเมินแนวรับไว้ที่ 33.90 บาทต่อสหรัฐฯ และแนวต้านที่ 33.95 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

นักค้าเงินกล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นแตะ 33.91 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯหลังจากเฟดพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.258%นั้น ถือเป็นการแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา

คลังระบุยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มมาตรการดูแลค่าบาท

นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอยู่ในปัจจุบันมีเครื่องมือในการดูแลค่าเงินที่เพียงพอแล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเพิ่มเติมขึ้นมาดูแลอีก แต่อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าในปีนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจะมีผลการบริหารงานขาดทุน เนื่องจากการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะขาดทุนเท่าไร

ทั้งนี้ คาดว่าในปีหน้า ธปท.คงจะไม่มีผลการดำเนินงานขาดทุนอีก เนื่องจากธปท.ได้มีการกระจายเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นมากขึ้น โดยจากเดิมที่ลงทุนในเงินสกุลดอลลาร์ 80% มาเป็น 50% เท่านั้น ซึ่งทำให้สามารถควบคุมความเสี่ยงได้ดีขึ้น.

คาดหยวนไม่แข็งพรวดพราด

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินทิศทางเงินหยวนภายใต้แรงกดดันจากนานาชาติให้ทางการจีนปรับนโยบายด้านอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นว่า แม้จะมีแรงกดดันดังกล่าว แต่โอกาสที่เงินหยวนจะปรับเพิ่มค่าแบบก้าวกระโดดคราวละมากๆนั้น มีความเป็นไปได้น้อยมาก ทางการจีนอาจจะยังคงเลือกวิธีการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับค่าเงินและปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าในระดับที่ไม่รุนแรงเกินไป พร้อมๆกับการเข้าดูแลเพื่อรักษาเสถียรภาพให้กับตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการไม่ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการปล่อยลอยตัวค่าเงินหรือทำการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนคราวละมากๆนั้น น่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับกระแสการหมุนเวียนของเงินทุนโลกไม่ให้ตกอยู่ในภาวะผันผวนมากไปกว่าปัจจัยแวดล้อมที่กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งนั่นก็อาจเป็นผลดีต่อสกุลเงินในภูมิภาครวมทั้งเงินบาท

แต่อย่างไรก็ตาม การขยับแข็งค่าอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเงินหยวนก็มีนับอีกด้านหนึ่งว่า ทางการจีนจะยังคงดูแลการเคลื่อนไหวของเงินหยวนอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทางลบอย่างฉับพลัน ตลอดจนเพื่อรักษาความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าส่งออกของจีน ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงยังคงมีความกังวลในศักยภาพทางการแข่งขันของสินค้าส่งออกไปทยเมื่อเทียบจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเงินบาทต้องตกอยู่ภายใต้สภาวะการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ในระยะถัดไป ในขณะที่เงินหยวนยังคงอยู่ภายใต้การดูแลจัดการอย่างใกล้ชิดของทางการจีน ก็อาจทำให้ผู้กำกับดูแลของทางการไทยอาจต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาเสถียรภาพให้กับค่าเงินบาท เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับความสามารถในการแข่งขันของภาคส่งออกของไทย เมื่อเงินบาทอาจต้องเผชิญกับการร่วงลงของค่าเงินดอลลาร์ในระยะถัดไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us