Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2534
ทรัพย์สินทางปัญญา ของบัตเตอร์ฟลาย             
 


   
search resources

บัตเตอร์ฟลาย
จิรพรรณ อังศวานนท์
Musics




ยามที่เกิดอาการเครียด เพียงเดินเข้าไปหาเครื่องเล่นสเตอริโอแล้วหมุนคลื่นหาเพลงดี ๆ ที่ผสมผสานลงตัวกันอย่างกลมกลืนในการเรียบเรียงเสียงประสาน

ฟังถ้อยคำร้องที่เปล่งเสียออกมาจากนักร้องชั้นดีลื่นไหลตามจังหวะของทำนองดนตรีที่สร้างสรรค์ และกำกับโดย "ศิลปินผู้อำนวยเพลง" เพียงแค่นี้อาการความเครียดก็จะหายไปอย่างปลิดทิ้ง เหลือไว้แต่ความสุนทรีย์ทางอารมณ์

ดนตรีจึงเป็นยาขนานเอกสำหรับผู้ป่วยทางจิตใจของบรรดามนุษยชาติทั้งหลาย และด้วยคุณค่าของความเป็นสากลในตัวของมันเองที่ไม่มีการขีดเส้นแบ่งในการให้ความสุนทรีย์แก่มนุษย์โดยปราศจากเชื้อชาติและภาษานี้เอง ดนตรีจึงกลายเป็นมรดกของโลก

ความที่ดนตรีเป็นสมบัติของมนุษยชาติที่มีความสืบเนื่องจากชนรุ่นหนึ่งสู่ชนอีกรุ่นหนึ่งอย่างไม่มีวันตายนี้เอง

งานประดิษฐ์สร้างสรรค์งานดนตรีของศิลปินผู้ประพันธ์ จึงเป็นทรัพย์สินทางปัญญาชนิดหนึ่งที่ควรได้รับการพิทักษ์ปกป้องรักษาจากระเบียบกฎหมายทางสังคมอย่างเคร่งครัด เนื่องจากว่าอาชีพนักดนตรีไม่ใช่อาชีพของคนเต้นกินรำกินอีกต่อไป หากแต่เป็นอาชีพของคนที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านเหมือนอาชีพอื่น ๆ ทั่วไป

มีการผลิตสินค้า คือ เพลงออกมาสู่ผู้บริโภค เหมือนนักเขียนผลิตนวนิยายออกสู่ตลาดบรรณพิภพ

ทุกวันนี้นักเขียนนวนิยายได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายลิขสิทธิ์อย่างเต็มที่ "ทันทีที่นักเขียนขายลิขสิทธิ์ผลงานให้สำนักพิมพ์ เขาจะได้ผลตอบแทน 10% ของราคาขายคูณด้วยจำนวนพิมพ์ทันที" อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ นักแปลและนักเขียนชื่อดังเคยเล่าให้ฟังถึงค่าตอบแทนของนักเขียนที่ขายผลงานให้สำนักพิมพ์

ถ้าผลงานของนักเขียนนักแปลรายใดได้รับการตีพิมพ์เพิ่มอีกเท่าไร ก็จะได้รับผลตอบแทนซ้ำในลักษณะเดียวกัน

ข้อเท็จจริงนี้ได้รับการปฏิบัติกันมานานนับ 10 ปีแล้ว จนกลายเป็นระบบที่มาตรฐานได้รับการยอมรับทั่วไปในตลาดบรรณพิภพเมืองไทย

ส่วนนักเขียนนักแปลคนไหนจะได้ผลตอบแทนจากการผลิตผลงานออกมามากน้อยเพียงไร ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพและความนิยมของตลาด นักเขียนบางคนได้รับผลตอบแทนจากงานชิ้นหนึ่ง ๆ ของเขาสูงเกือบ 500,000 บาท ขณะที่บางคนอาจได้เพียง 20,000 บาทเท่านั้น

ดูไปแล้ว ผลงานของนักเขียนมีหลักประกันมีมาตรฐานสูงกว่าผลงานของนักดนตรีเสียอีก

ทุกวันนี้ ผลงานของนักดนตรีไม่มีหลักประกัน ระบบการซื้อขายผลงานไม่มีมาตรฐานขึ้นอยู่กับอำนาจการต่อรองกับบริษัทโฆษณาและบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเทป

"ถ้าเป็นผลงานทำดนตรีประกอบโฆษณาสินค้าที่เรียกว่า "จิงเกิ้ล" ราคา 30,000 บาท ถ้าเป็นสารคดีตกราคา 70,000 บาท และภาพยนตร์ 100,000 บาท" จิรพรรณ อังศวานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทกลุ่มบัตเตอร์ฟลาย เล่าให้ฟังถึงค่าตอบแทน

จิรพรรณ พื้นฐานเรียนกฎหมายจากธรรมศาสตร์ก่อนที่จะมาเข้าเรียนโปรแกรมบริหารธุรกิจระดับปริญญาโทที่ธรรมศาสตร์ทางด้านอาชีพ จิรพรรณ เป็นนักดนตรีฝีมือชั้นครูของเมืองไทย ผลงานการสร้างสรรค์ดนตรีได้รับการยอมรับจากตลาดว่า เข้าขั้นคุณภาพสูง แม้ว่าเขาจะไม่เคยเล่าเรียนทางดนตรีจากสถาบันใดเลย

บริษัทบัตเตอร์ฟลายที่จิรพรรณกับดนู ฮันตระกูล และเพื่อน ๆ วงบัตเตอร์ฟลายก่อตั้งเมื่อ 13 ปีก่อน เพื่อทำธุรกิจเป็นโปรดักชั่นเฮาส์ทางดนตรี ถือได้ว่าเป็นบริษัทผู้นำตลาดด้านทำดนตรีประกอบโฆษณาที่มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 40-50% ในปัจจุบัน

แม้จะเป็นผู้นำตลาด แต่จิรพรรณก็มีความเห็นว่าค่าตอบแทนจากผลงานดนตรีที่สร้างสรรค์และขายออกไป มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับคุณค่าของมันในฐานะเป็นทรัพย์สินทางปัญญาชนิดหนึ่ง ไม่ต่างอะไรกับผลงานการสร้างซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ของบริษัทซอฟท์แวร์เฮาส์

"ผมว่าน่าจะถึงเวลาแล้วที่ผลงานทางดนตรี ควรที่จะมีระบบการคิดค่าตอบแทนจากการขายลิขสิทธิ์ในผลงานที่ได้มาตรฐานเหมือนในต่างประเทศตามกฎหมายลิขสิทธิ์ หรืออย่างน้อยที่สุดก็น่าจะเหมือนวงการธุรกิจสิ่งพิมพ์" จิรพรรณกล่าวถึงการริเริ่มของเขาในเรื่องราคาผลงานดนตรีของบัตเตอร์ฟลาย

ต้นทุนการผลิตดนตรีเพื่อประกอบโฆษณาชิ้นหนึ่ง ๆ มีค่าใช้จ่ายที่ตายตัวอยู่หลายรายการ ไม่ว่าจะเป็นค่าประพันธ์เนื้อร้องและทำนอง ค่านักร้องนักดนตรี ค่าห้องบันทึกเสียงและค่าจัดการ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นทันทีถ้าหากงานชิ้นนั้นต้องปรับปรุงใหม่ตามความต้องการของลูกค้า

ยิ่งปรับปรุงมากครั้งงานชิ้นนั้นก็ไม่คุ้ม จนอาจประสบปัญหาขาดทุนในที่สุด

"ผมว่าค่าตอบแทนควรจะอยู่ในหลักการท่ขึ้นอยู่กับจำนวนเวลาของการเผยแพร่ว่านานเพียงใด อาจเป็นปีต่อปี และอัตราค่าราคาผลงานต่อสัญญาควรเป็นเปอร์เซ็นต์ไม่ใช่ขายขาดเหมือนทุกวันนี้" จิรพรรณพูดถึงแนวคิดการคิดค่าผลงานดนตรีตามหลักการของกฎหมายลิขสิทธิ์

บัตเตอร์ฟลายเป็นผู้นำทางคุณภาพด้านดนตรีมาแล้ว ถ้าจะเป็นผู้ริเริ่มและผู้นำสิ่งใหม่ ๆ ในเชิงสร้างสรรค์และพัฒนาระบบการคิดค่าตอบแทนในผลงาน ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาชนิดหนึ่งให้ก้าวออกจากยุคหินที่เป็นอยู่เวลานี้ ก็ถือว่าเป็นผลงานที่ช่วยยกระดับคุณภาพทางการจัดการธุรกิจด้านดนตรีของประเทศขึ้นมาอีกก้าวหนึ่งที่เรียกได้ว่าเข้าขั้นมาตรฐานระดับสากล

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us