Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2534
เซลแมนการ ค้าไทย - ยุโรป             
 


   
search resources

Pegavision
Arthur P. Westenend
Commercial and business
PETER M. GANZ




การขยายตัวของตลาดรสนิยมและความต้องการในสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการส่งเสริมการขายซึ่งจะต้องเสียงบประมาณด้านค่าใช้จ่ายในปริมาณสูง ไม่ว่าจะเป็นค่าตัวอย่างสินค้า ค่าโบรชัวร์ ค่าโฆษณา ค่าเดินทาง ค่าที่พัก และอื่น ๆ อีกมากมาย จึงทำให้เกิดแนวความคิดในการทำธุรกิจใหม่ที่เรียกว่า "PEGAVISION" ขึ้น

PEGAVISION เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดย PETER M. GANZ นักธุรกิจชาวสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งผ่านประสบการณ์ในการทำธุรกิจเทรดดิ้งมานานกว่า 25 ปี โดยเริ่มจากการเป็นลูกจ้างในบริษัทของชาวสวิสในประเทศศรีลังกา

ต่อมา ประมาณปี 2513 จึงได้ออกมาก่อตั้งธุรกิจของตนเองในนามบริษัท NOVIMEX ที่ประเทศเกาหลีด้วยการทำเทรดดิ้งให้กับผลิตภัณฑ์ 3 ชนิด คือ ร่ม ตุ๊กตา และกระเป๋า และได้ขยายสาขาออกไปหลายแห่ง เช่น ที่อเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิส ฮ่องกง ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน และกรุงเทพฯ

จนกระทั่งเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา จึงได้ขายกิจการ NOVIMEX ออกไป และเมื่อต้นปี 2534 PETER GANZ ได้ก่อตั้งบริษัท PEGALINK ขึ้นที่สวิสทำธุรกิจเหมือนกันกับ NOVIMEX

จากประสบการณ์การทำธุรกิจเทรดดิ้งนี่เองทำให้ PETER GANZ ได้รู้จักกับบรรดาผู้ซื้อในยุโรปและได้เรียนรู้ถึงความต้องการของทั้งกลุ่มผู้ซื้อและผู้ขายจึงได้ตั้งบริษัท PEGAVISION ขึ้น เพื่อทำธุรกิจในรูปแบบการตลาด และการโปรโมชั่นให้กับกลุ่มผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดยุโรปและอเมริกา โดยผ่านสื่อวิดีโอ

หลังจากเปิดตัวที่ประเทศสวิสแล้วก็ได้ขยายธุรกิจมายังแถบเอเชียด้วยการเปิดสาขา PEGAVISION ขึ้นที่ฮ่องกง ปากีสถาน ไต้หวัน และไทย (เปิดดำเนินกิจการเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา)

ARTHUR P. WESTENEND ผู้จัดการสำนักงานตัวแทนของ PEGAVISION ในกรุงเทพฯ พูดถึงการขยายบทบาทเข้ามาในแถบเอเชียว่า "การที่ผู้ซื้อทางยุโรปจะเดินทางเข้ามาหาผู้ผลิตทางแถบเอเชียไม่ใช่เรื่องง่าย ในขณะที่ผู้ซื้อต้องการเดินทางมาติดต่อให้น้อยวันที่สุด แต่ต้องการเยี่ยมโรงงานให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เพราะโรงงานแต่ละแห่งอยู่ไกลกันเกินกว่าจะใช้ระยะเวลาอันสั้นในการเดินทางได้ นอกจากนี้ ผู้ซื้อก็ไม่รู้ว่าโรงงานที่จะไปนั้นถูกต้องตามความต้องการหรือไม่ บางครั้งโรงงานอาจเล็กหรือใหญ่เกินไป สเป็กสินค้าก็ไม่ตรงกัน หรือสินค้าไม่มีคุณภาพ ทำให้การเดินทางในครั้งนั้นต้องล้มเหลวหรือไม่ได้อะไรกลับไปเลย ในขณะที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาสูงทีเดียว"

ดังนั้น PEGAVISION จะทำหน้าที่ในการช่วยย่นระยะเวลาในการนำผู้ผลิตไปพบกับผู้ซื้อด้วยการถ่ายทำโรงงานผู้ผลิตออกมาในรูปแบบของการใช้วิดีโอ ซึ่งการถ่ายทำรายละเอียดของแต่ละโรงงานจะมีเนื้อหาสาระครบทุกอย่างตั้งแต่โรงงานทำอะไร สินค้าโรงงานคืออะไร โรงงานนั้นมีอะไรเป็นพิเศษ ชื่อเจ้าของ ที่อยู่เบอร์โทรศัพท์ และสถานที่ติดต่อ รวมถึงการถ่ายภาพสินค้าภายในโรงงาน บริเวณโรงงาน และขั้นตอนการผลิตที่สำคัญ เช่น การเช็กคุณภาพสินค้า

ฟิล์มที่ถ่ายทำเสร็จจะถูกส่งไปที่สตูดิโอในยุโรปเพื่อทำการตัดต่อ อัดเสียงประกอบ และดนตรีทำไตเติ้ล โดยให้เนื้อหาของแต่ละโรงงานมีความยาวประมาณ 3-3 นาทีครึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่นักธุรกิจจะให้ความสนใจ

วิดีโอที่เสร็จสมบูรณ์จะถูกส่งไปพร้อมกับแคตาล็อก และโบรชัวร์ นามบัตรของเจ้าของ และรายละเอียดโดยย่อของโรงงาน ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกส่งถึงมือผู้ซื้อ ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เดียวกับที่โรงงานผลิตโดยตรงอย่างน้อย 75 ราย (เป็นการรับประกัน) และก่อนที่จะส่งไปทางบริษัทจะนำรายชื่อของผู้ซื้อในยุโรปให้กับผู้ผลิตเพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้ติดต่อกันเองง่ายขึ้น

จุดขายที่สำคัญของ PEGAVISION ก็คือการมีรายชื่อของกลุ่มผู้ซื้อสินค้าในยุโรปมากกว่า 22,000 ราย โดยแยกเป็นกลุ่มประเภทธุรกิจได้ถึง 18 กลุ่ม อย่างเช่น สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ เครื่องประดับ กระเป๋า ตุ๊กตา ของเล่น อาหาร เป็นต้น ซึ่งกลุ่มผู้ซื้อเหล่านี้เป็นกลุ่มที่ได้มีการทำวิจัยตลาดมาแล้วว่ามีความต้องการมาหาผู้ผลิตทางแถบนี้ ในขณะที่ PEGAVISION เป็นเพียงผู้ทำวิดีโอส่งไปให้เท่านั้น

ค่าใช้จ่ายในการบริการผลิตวิดีโอซึ่งรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการแจกจ่ายวิดีโอให้ถึงมือลูกค้า ทางโรงงานผู้ผลิตจะเป็นผู้จ่ายโดยคิดเป็นอัตรา 4,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 75,000 บาท ในขณะที่ผู้ซื้อแต่ละรายจะต้องจ่าย 50 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,250 บาทต่อวิดีโอโรงงานผู้ผลิต 1 แห่ง โดยที่ PEGAVISION จะมีรายชื่อวิดีโอของโรงงานผู้ผลิตจากประเทศไทยส่งไปให้ผู้ซื้อทางยุโรปให้เป็นผู้เลือกมา

เป็นการสื่อสารโดยตรงที่จะก่อให้เกิดความเชื่อถือระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในขณะที่ต้นทุนต่ำ แต่ได้ผลตลอดไป สำหรับอนาคตเมื่อมีการขยายตลาดเข้าไปในอเมริกาและแอฟริกาใต้ ผู้ซื้อกลุ่มใหม่ก็มีโอกาสที่จะได้เห็นวิดีโอของผู้ผลิตชุดนี้เช่นกัน" อาเธอร์พูดถึงความมั่นใจว่าผลงานด้านนี้จะเป็นประโยชน์ต่อกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทผู้ผลิต

สำหรับเป้าหมายของ PEGAVISION ในประเทศไทยนั้นสามารถที่จะให้บริการกับผู้ผลิตอุตสาหกรรมอย่างน้อย 100 ราย โดยมีลูกค้าในปัจจุบัน คือ GUETHART DEKOR, THAI DAVID และ JACKY MAEDER

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us