Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2534
ธุรกิจที่ทำได้เร็วเท่าไรยิ่งดี             
 


   
search resources

กราฟิก เดสก์
สุรช ล่ำซำ
Computer




เพียงหนึ่งเดือนกับจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช 2 เครื่องและพนักงาน 4 คนสำหรับรับงานกราฟิกดีไซน์

สุรช ล่ำซำ ก็ตัดสินใจระดมทุนเพิ่มขึ้นจากเดิม 2 ล้านบาทเป็น 5 ล้านบาททันที เพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์อีก 6 เครื่อง พนักงานอีก 6 คน และย้ายสำนักงานขนาดห้องเดียวจากถนนสีลม มาอยู่ที่อาคารพาณิชย์ 2 ชั้นในซอยหลังสวน

"ถ้าเราขยับขยายใหญ่ขึ้น ตลาดก็มีแน่ ๆ" คือเหตุผลการโตของกราฟิกเดสก์ที่สุรช ล่ำซำ บอกกับ "ผู้จัดการ"

สุรช ล่ำซำ เป็นบุตรชายคนโตของบรรยงค์ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย และภรณี ล่ำซำ หลังจากที่เรียนจบชั้นประถม 4 ที่โรงเรียนสาธิตประสานมิตร เขาบินไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริการะดับจูเนียร์ไฮสกูลที่รัฐแมสชาชูเชตต์ แล้วย้ายไปเรียนไฮสกูลที่รัฐคอนเน็ตติกัต ต่อปริญญาตรีที่นิวยอร์คทางด้าน RETAIL MARKETING ปริญญาใบสุดท้ายที่เขานำกลับมาเมืองไทยด้วยความภาคภูมิใจ คือ ปริญญาโท GRAPHIC COMMUNICATION จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก

เขามีความสนใจงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกมาก จนกรทั่งเมื่อเรียนจบแล้ว ก็ยังคงทำงานต่ออีก 6 เดือนที่บริษัท P PRESS ในนิวยอร์ก ซึ่งเคยฝึกงานนานถึง 2 ปีในช่วงที่เรียนปริญญาโท และถือว่าเป็นการจุดประกายความคิดตั้งบริษัททำนองนี้ขึ้นในเมืองไทย

บริษัท P PRESS จึงเปรียบเสมือนเป็นแม่แบบของกราฟิกเดสก์ จะมีความต่างกันก็ตรงที่ใหญ่กว่ากราฟิกเดสก์ 10 เท่า แต่ในส่วนการทำงานมีลักษณะเหมือนกัน คือ เป็นบริษัทที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานกราฟิกอย่างครบวงจร ตั้งแต่รับงานออกแบบสิ่งพิมพ์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นงานชิ้นเล็ก ๆ อย่างเช่น ออกแบบโลโก นามบัตร หรืองานชิ้นโตจำพวกออกแบบนิตยสารทั้งเล่ม หนังสือรายงานประจำปีของบริษัทหรือแม้กระทั่งออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้วย

นอกจากนี้ ยังรับตกแต่งฟิล์มสไลด์หรือที่เรียกกันตามศัพท์เทคนิคว่า "RE-TOUCHING" ซึ่งก่อนหน้านี้การตกแต่งฟิล์มต้องใช้ "มือ" ทำเท่านั้น ทำให้กินเวลานานเป็นอาทิตย์กว่าจะลบรอยที่ไม่งามทิ้งหรือเพิ่มสีสันให้เหนือจริง แต่สำหรับผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้คล่องจะสามารถประหยัดเวลาลงกว่าเดิม 100 เท่า รวมทั้งราคาก็ถูกกว่าด้วย และได้ผลงานไม่ต่างกับวิธีการทำด้วยมือ

และที่ขาดเสียมิได้ คือ เครื่อง LINOTRONIC 330 เป็นเครื่องถ่ายงานกราฟิกที่เสร็จแล้วให้ออกมาในรูปของแผ่นกระดาษโบร์ไมด์หรือเป็นแผ่นฟิล์มเพื่อใช้ในขั้นตอนการพิมพ์ต่อไป ซึ่งจำเป็นต้องลงทุนควบคู่กันไปด้วยจึงจะเรียกว่าครบวงจรอย่างแท้จริง

การเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์กราฟิกจึงไม่ใช่จะอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอย่างเดียว ปัจจัยความพร้อมในเงินลงทุนด้านอุปกรณ์เครื่องมือราคาแพงก็เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างเช่น เครื่อง LINOTRONIC -330 เครื่องเดียวก็มีราคาถึง 3 ล้านบาทเศษ หรือเครื่องทำ RE-TOUCHING ก็มีหลายราคาตั้งแต่ 2 แสนบาทขึ้นไปถึง 100 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการทำงาน

ถึงแม้ว่าบริษัทคอมพิวเตอร์กราฟิกจะมีเป็นจำนวนนับสิบขึ้นไป อาทิเช่น บริษัทเดียร์บุ๊ค บริษัทออมนิวิชั่น ฯลฯ แต่สุรช ล่ำซำ ยืนยันว่า ตลาดด้านนี้จะโตวันโตคืนขึ้นเรื่อย ๆ

"ดูอย่างบริษัทเอเจนซี่โฆษณาซิครับ ยังเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา" เขาพูดถึงประเด็นปัญหาที่ "ผู้จัดการ" ถามถึงงบการลงทุนที่สูง แต่โอกาสทางตลาดก็มีอยู่มากเช่นกัน ซึ่งเขาคาดการณ์ล่วงหน้าว่าภายใน 18 เดือนคงได้ทุนคืน

เมื่อขยายงานใหญ่ขึ้นทำให้การดูแลเพียงคนเดียวย่อมเป็นไปไม่ได้ ประกอบกับเหตุผลส่วนตัว คือ มีงานประจำในส่วนการตลาดของฝ่าย COMMUNICATION ENGINEERING ที่บริษัทล็อกซเล่ย์ด้วย การเข้ามาดูงานที่กราฟิก เดสก์ จึงมีได้เฉพาะในช่วงเวลาเย็นเท่านั้น

พิมพา เบญจฤทธิ์ จึงมีโอกาสเข้ามาร่วมงานในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของผู้ถือหุ้นทั้งหมด 22 คน และยังร่วมเป็นกรรมการบริหาร รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านกราฟิกดีไซน์ด้วย

พิมพา ศึกษาต่อต่างประเทศตั้งแต่จบชั้นประถม 4 ที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยเช่นเดียวกับสุรช จะต่างกันก็ตรงที่พิมพาเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ และมีความสนใจศิลปะวาดรูป (ILLUSTRATION) ตั้งแต่เล็ก ๆ หลังจากจบไฮสกูลก็ต่อ RICHMOND COLLEGE OF ART ซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียมพื้นฐานทางศิลปะก่อนจะเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีต่อไป เธอได้เกียรตินิยมทางด้าน GRAPHIC DESIGN จาก MIDLESEX POLYTECHNIC และศึกษาหาประสบการณ์เพิ่มเติมอีก 3 เดือนที่เมืองฟลอเรนซ์ อิตาลี ก่อนบินกลับเมืองไทย

พิมพากลับมาอยู่เมืงอไทยนานเกือบ 10 ปีแล้ว แต่สำหรับสุรช เขากลับมาได้เพียง 6 เดือนเท่านั้น

เมื่อครั้งที่กลับจากอังกฤษ เธอไม่ได้ทำงานด้านกราฟิกดีไซน์ตามที่เรียนมาทันที แต่ก็ได้ใช้ความรู้ทางอ้อมในฐานะที่เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการหอศิลปพีระศรีอยู่นานถึง 4 ปี หลังจากนั้นจึงได้มีโอกาสทำงานเป็นอาร์ตไดเร็กเตอร์ให้กับ วิล คอร์เปอเรชั่นประมาณ 2 ปี ซึ่งในช่วงนั้นคอมพิวเตอร์กราฟิกยังไม่เข้ามาเมืองไทย

"ชอบมากที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์วาดรูป มันช่วยลดความอึดอัดลงได้มากเวลาที่วาดรูปด้วยมือไม่ได้อย่างที่คิดไว้" เธอกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงความรู้สึกกับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเธอมีโอกาสเรียนรู้และใช้งานเป็นเมื่อไม่นานนี้เอง

ถึงแม้ว่ากราฟิก เดสก์จะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์แทนการทำงานด้วย "มือ" แต่ทั้งเขาและเธอก็รู้ดีว่า การรู้จักใช้เครื่องเพียงอย่างเดียวโดยปราศจากฝีมือและหัวคิดในงานกราฟิก ผลงานย่อมไม่สมบูรณ์ ฉะนั้น บุคลากรที่ต้องการควรมีทั้งสองส่วนเท่า ๆ กัน

"กว่าผมจะหาคนทำงานได้ก็เหนื่อย มีบางคนเก่งกราฟิกแต่ไม่เคยใช้เครื่องมาก่อน เราก็สอนตั้งแต่หัดเปิดเครื่อง จนตอนนี้ใช้เครื่องได้คล่องพอควรแล้ว" สุรช เล่าถึงปัญหาการขาดแคลนบุคลากรกับ "ผู้จัดการ"

อย่างไรก็ดี แม้ว่ากราฟิก เดสก์ จะเป็นน้องใหม่ในวงการ ที่มีอายุเพียง 4 เดือนเท่านั้น แต่ก็มีงานประดังเข้ามาไม่ขาดสาย เรียกได้ว่าตอนนี้มีงานเต็มกำลังคน

ลูกค้ารายใหญ่ในขณะนี้ คือ บริษัทฮัทชิสัน ซึ่งมอบหมายให้ กราฟิก เดสก์ ออกแบบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับงานสิ่งพิมพ์ นอกจากนี้ก็มีงานจากบริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่น บริษัทที่ทำด้านโปรโมชั่นโดยเฉพาะนิตยสารรายการโทรทัศน์ของสตาร์ทีวี ซึ่งกำหนดออกฉบับแรกเดือนมกราคม 2535 และก็มีที่มาใช้บริการเฉพาะเครื่องถ่าย LINOTRONIC 330 เท่านั้น อย่างเช่น บริษัทโอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ และจิปาถะอื่น ๆ อีก

"คิดว่าจุดแข็งของเรา คือ คนทำงานที่นี่มีประสบการณ์ด้านกราฟิกมาก่อนที่จะมาอยู่กับเรา บวกกับการใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน ทำให้งานออกมาเนียบ สวย และเร็วกว่าเดิมมาก" พิมพา บอกกับ "ผู้จัดการ"

นอกจากนี้ ทางกราฟิก เดสก์ ยังวางแผนต่อไปในอนาคตในเรื่องการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงาน RE-TOUCHING ให้มีประสิทธิภาพทำงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยย่นระยะเวลาการทำงานให้น้อยลง ซึ่งย่อมหมายถึงการบริการลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น และที่สำคัญคู่แข่งในด้านนี้ยังน้อยมาก เพราะต้องอาศัยความรู้ประสบการณ์ และใช้เงินทุนสูงพอสมควร

เมื่อมีความพร้อมทั้งความรู้และบุคลากรระดับมืออาชีพเป็นฐานที่แข็งแรง เสริมด้วยความเป็น "ล่ำซำ" ซึ่งเป็นตระกูลนักธุรกิจที่มีเครือข่ายกว้างขวาง กราฟิก เดสก์ คงเติบโตได้อีกไกลอย่างแน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us