งาน "เชื่อมั่นเมืองไทย บีโอไอแฟร์ 2000" ที่เพิ่งจบลงไป เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์
ที่ผ่านมา นับเป็นความภูมิใจครั้งล่าสุดของสถาพร
ผลสรุปของการจัดงานทั้ง 15 วัน ตัวเลขจำนวน ที่คนเข้ามาชมงานสูง ถึง 4.5
ล้านคน มีเงินสะพัดวันละหลายล้านบาท ก่อให้เกิดการทำธุรกิจ มีการซื้อขายสินค้ากันในงานเป็นเงินถึง
1,247 ล้านบาท และคาดว่าจะมี การร่วมลงทุนทำธุรกิจต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนข้างหน้า
อีกนับหมื่นล้านบาท
ตัวเลขเหล่านี้ แม้ไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของงาน แต่ก็เป็นผลพลอยได้ ที่
สถาพรค่อนข้างพอใจเป็นอย่างยิ่ง
"สิ่งที่เราต้องการโดยตรงจากบีโอไอแฟร์ ก็คือ การจุดประกายความเชื่อมั่น
เรียกขวัญแ ละกำลังใจของคนไทยกลับคืนมาให้ได้" สถาพรบอกวัตถุประสงค์ ที่
แท้จริงของการจัดงานครั้งนี้
ย้อนหลังไปเมื่อกลางปี 2541 ช่วงเวลาเกือบ 1 ปี หลังการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท
สถานการณ์ในช่วงนั้น ก่อให้เกิดข้อถกเถียงกันอย่างมาก ในกลุ่มนักวิชาการ
ด้านเศรษฐศาสตร์ เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ ซึ่งแต่ละแนวทาง
ที่เสนอกันขึ้นมา ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าใช้แล้วจะได้ผล
ช่วงนั้น สถาพรมองว่าวิกฤติ ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งใหม่ ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ซึ่งไม่ว่าจะเป็น นักวิชาการจากค่ายไหน ก็ไม่มีใครรู้ข้อเท็จจริง ดังนั้น
การถกเถียงอย่างรุนแรง ที่เกิดขึ้น จึงเป็นการเปล่าประโยชน์
ที่สำคัญคือ เขามองว่าปัญหาเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้น ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่หลายคนคิด
แต่ ที่ดูเหมือนรุนแรง เพราะเกิดการ Panic มากกว่า
"เกมนี้ ถ้าทะเลาะกัน ก็ทะเลาะกันไปเปล่าๆ เพราะไม่มีใครรู้สักคนว่ า จะแก้กันจริงๆ
อย่างไร แต่ ถ้าถามผม ผมว่าค่าเงินลอยตัวมา 10 กว่าเดือน ถ้าจะล้ม เราคงล้มไปนานแล้ว
แต่นี่เรายังอยู่ได้ แสดงว่า ขาของเศรษฐกิจของเรายังแข็งอยู่ เพราะฉะนั้น
ต้องจุดประกายมันขึ้นมา" แนวคิดนี้ คือ จุดเริ่ม ต้น ที่สถาพรวางแผนจะจัดงานบีโอไอแฟร์ขึ้น
เป็นครั้ง ที่ 2
แต่ในขณะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างยังคงเป็นเพียงแนวคิด เพราะสถาพรยังไม่ มั่นใจว่าเมื่อจัดแล้วจะได้รับความร่วมมือมากน้อยเพียงใด
โดยเฉพาะทางด้านเงินทุน เนื่องจากเป็นงาน ที่ไม่ได้อาศัยงบประมาณจากภาครัฐ
การไปขอความสนับสนุนจากภาคเอกชน ก็อาจจะลำบากในภาวะ ที่เศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย
ในความรู้สึกของสถาพร การตัดสินใจในขั้นตอนนี้ ถือเป็นช่วง ที่ยากที่สุด
แต่ก็สามารถหาข้อสรุปได้ ในช่วง ที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดงานเอเชียนเกมส์
ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน
"วันที่บอลไทยเอาชนะเกาหลีใต้ได้ ทั้ง ที่มีผู้เล่นเหลืออยู่เพียง 10 คน
เราได้เห็นคนไทยเฮกันทั้งเมือง ลืมความทุกข์ความยากไปได้หมด เราตัดสินใจทำเลย
เราคิดว่าเราต้องทำแบบบอลแมทช์นี้ให้ได้อีกครั้งหนึ่ง สิ่งที่เคยคิดอยู่ครึ่งๆ
กลางๆ จึงเริ่มเดินหน้าหลังจากวันนั้น "
สถาพรเริ่มประชุมทีมงาน พร้อมออกแบบสอบถามส่งไปยังบริษัท ที่เคยได้รับการส่งเสริมจำนวน
2,500 ฉบับ เพื่อเป็นการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ดูก่อนว่าจะได้รับความร่วมมือเพียงใดในการจัดงานครั้งนี้
จ ากแบบสอบถาม 2,500 ฉบับ มีการตอบกลับมาประมาณ 400 กว่า ฉบับ ในจำนวนนี้
ครึ่งหนึ่งตอบกลับมาจากบริษัท ที่ได้เคยไปร่วมงานบีโอไอแฟร์ครั้งแรก ที่จัดขึ้น
ที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง เมื่อปี 2538 มาแล้ว ซึ่งเกือบทั้งหมด ตอบว่ายินดีให้ความร่วมมือ
ส่วน ที่เหลือ เป็นบริษัท ที่ตั้งหลังปี 2538 ตอบรับให้ความร่วมมือ ประมาณ
100 บริษัท
แม้ผลสำรวจเบื้องต้น จะได้ข้อมูลมาระดับหนึ่งแล้ว แต่สถาพรก็ยังไม่วางใจ
จึงได้ติดต่อไปยังยักษ์ใหญ่ทางด้านอุตสาหกรรม และการค้า 3 แห่ง คือ ซีพี
สหพัฒน์ และโตโยต้า ซึ่งทั้ง 3 รายตอบตกลง และพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
"โยชิอะคิ มูรามัตซึ ซีอีโอของโตโยต้าประเทศไทย บอกว่าสถาพรซัง ยูต้องทำ
ไม่อย่างนั้น เศรษฐกิจไทย อาจมีปัญหา ยูทำไอแบ๊คเต็มที่"
เมื่อเริ่มมีความมั่นใจ ที่จะทำ สถาพรจึงเริ่มเดินหน้า เรียกประชุมทีมงาน
บ่อยครั้งขึ้น เพื่อกำหนดรายละเอียดลงไปในทุกจุด
เริ่มตั้งแต่สถานที่จัดงาน ซึ่งกรอบเบื้องต้น กำหนดจัดในกรุงเทพฯ เพราะมีกำลังซื้อมากกว่าต่างจังหวัด
จึงได้จ้างบริษัทมาสำรวจพบว่าสถานที่ ที่ เหมาะสมคือ ที่เมืองทองธานี
เมื่อกำหนดสถานที่แน่นอนได้แล้ว จึงได้ว่าจ้างบริษัทเอ็กซ์คอน มาออกแบบ
วางแผนผังงาน และ ระบบสาธารณูปโภค
ส่วนด้านการจัดการ เพื่อให้สมกับเป็นงานใหญ่ระดับสากล สถาพรได้ ว่าจ้างบริษัทมิลเลอร์
ฟรีแมน (ประเทศไทย) ซึ่ งเป็นผู้รับบริหารการจัดงาน นิทรรศการที่ใหญ่ที่สุดในโลก
มีประสบการณ์จัดงานระดับนานาชาติ มาแล้วหลายแห่งทั่วโลก เข้ามาเป็นผู้บริหารงานครั้งนี้
โดยใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท
ตามแผนผังงาน ที่บริษัทเอ็ กซ์คอนเสนอมา รูปแบบของงานจะประกอบไปด้วยอาคารแสดงสินค้าในร่ม
(Exhibition Hall) 4 อาคาร, ศาลาแสดงนิทรรศการ กลางแจ้ง (Pavilion) 72 ศาลา,
Jewelry Hall สำหรับออกร้าน และการแสดงนิทรรศการของอุตสาหกรรมอัญมณี อีก
2,858 ตารางเมตร, พื้นที่ Arena สำหรับใช้เป็นสถานที่ทำพิธีเปิดงาน และเป็นศูนย์รวมกิจกรรม
สันทนาการอีก 4,560 ตารางเมตร นอกจากนี้ยังมี พื้นที่สำหรับจัดตลาดนัดแรงงาน
2,143 ตารางเมตร และ งานอาชีวะแฟร์ อีก 500 ตารางเมตร
รวมพื้นที่สำหรับการจัดงานทั้งสิ้น 1.3 แสนตร.ม.
นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการสัมมนา ที่พูดถึง ช่องทางทำมาหากิน กว่า 200 รายการ
เพื่อกระตุ้นให้คนที่เข้ามาชมงาน ได้แนวคิด ที่จะไปใช้ใน การเอาตัวรอดท่ามกลางภาวะ
ที่เศรษฐกิจตกต่ำ หัวข้อสัมมนา เช่น SMEs การพัฒนา และเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงาน
การลงทุนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โอกาส และลู่ทางการลงทุนสู่ภูมิภาค ฯลฯ
ที่สำคัญคือ มีการจัด CEO FORUM โดยได้มี การเชิญชวนนักธุรกิจชั้นนำของโลกให้เข้ามาพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนความ
เห็นกับผู้บริหารประเทศ และนักธุรกิจของไทย และยังเป็นโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้าชมศักยภาพของ
อุตสาหกรรมไทย ที่ได้มาออกบูธ ในครั้งนี้ด้วย
ตามรูปแบบของงาน สถาพรตั้งเป้าให้เป็น งานใหญ่ระดับสากล เพราะมีการวางแผนไปถึงช่วงเวลาของการจัดงานให้
ตรงกับช่วงของการประชุม UNCTAD ซึ่งจะมีผู้นำของ ประเทศต่างๆ ทั่วโลก เข้ามาประชุมกันในประเทศไทย
และสถาพรสามารถใช้โอกาสจากงานนี้ แสดงศักยภาพของ ภาคธุรกิจไทยให้ผู้นำประเทศเหล่านี้ได้เห็น
แต่นับเป็นเรื่อง ที่ค่อนข้างลำบากพอสมควรสำหรับสถาพรในการที่จะหาบริษัท
ที่จะมาร่วมจัดงานได้ครบจำนวน โดยเฉพาะกลุ่ม ที่เป็นเป้าหมายหลัก ซึ่งสถาพรต้องออกหน้าเชิญผู้บริหารเข้ามาพบ
เพื่อชักชวนให้มาร่วมงานนี้ และต้องพบอุปสรรคบ้างเล็กน้อย
มีบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่น 3 รายที่สถาพรเชิญผู้บริหารเข้ามาพบ
ปรากฏว่าทุกรายปฏิเสธหมด ซึ่งในความรู้สึกของสถาพรไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้
โดยเฉพาะบริษัทจากญี่ปุ่น ที่มีสัญชาตญาณในการแข่งขันทางธุรกิจสูง
"พวกญี่ปุ่น ถ้าเข้ามา 2-3 ราย พูดไม่เหมือนกัน นี่เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้ามาแล้วพูดเสียงเดียวกันหมด
แสดงว่าเขาได้ไปตกลงกันไว้แล้ว พวกนี้เขาเรียกว่าเป็นทฤษฎีห่านขาว คือ เดินตามกันไป
บางบริษัท ที่เขาไม่ไหว ไม่ อยากเสียหน้า ก็ต้องไปขอร้องบริษัท ที่พร้อมกว่าว่าอย่าเพิ่งเข้าไป"
สถาพรต้องอาศัยคอนเนกชั่นในการแก้ปัญหา โดยไปพบกับ 1 ใน 3 ผู้บริหารของบริษัท
ที่ปฏิเสธกลับมา ซึ่งสถาพรมีสายสัมพันธ์กับประธานบริษัท แม่ของเขา ที่ญี่ปุ่นเป็นอย่างดี
และก็บอกแกมขู่กับเขาไปว่าจะทำหนังสือขอการสนับสนุน การจัดงานครั้งนี้ไปยังบริษัทแม่
ที่ญี่ปุ่น เพราะไม่สามารถเดินทางไปด้วยตนเองได้
ซึ่งก็ได้ผล เพราะอีกเพียง 2 วัน ผู้บริหารรายนี้ ก็ตอบกลับมาทันทีว่ายินดี
ที่จะมาร่วมออกนิทรรศการด้วย และหลังจากนั้น ไม่นาน อีก 2 ราย ก็เปลี่ยนท่าทีด้วยเช่นกัน
"เมื่อจัดการกับทางญี่ปุ่นเสร็จ เราก็เลยไปยุกับทางนักลงทุนฝรั่ง เกาหลี
บ้าง ว่าถ้าต้องการจะลุยกับญี่ปุ่นก็ต้องตอนนี้ เพราะไม่อย่างนั้น แล้ว ก็ไม่รู้จะไปสู้กันอีกเมื่อไร
ซึ่งพอบอกแต่ละรายเขาก็สนใจกิจกรรมต่างๆ ก็เริ่มมีตามมา" สถาพรเล่าถึงกลยุทธ์
ที่ใช้ในการดึงภาคธุรกิจข้ามชาติชั้นนำให้เข้ามาร่วมงานครั้งนี้
แต่ปัญหาก็ยังมีอยู่ในเรื่องการเชิญผู้บริหารระดับสูงของบริษัทระดับโลกเข้ามาร่วมใน
CEO FORUM เนื่องจากเวลาเตรียมงาน ที่น้อยเกินไป
"งานแ บบนี้ ความจริงต้องใช้เวลาเตรียมงานประมาณ 1 ปีครึ่ง แต่เราใช้ กันเพียง
6 เดือน เพราะฉะนั้น การคอนเฟิร์มจึงมีเข้ามาน้อยมาก ส่วนใหญ่จะคอนเฟิร์มเข้ามา
ในเดือนสุดท้าย อย่าง Chairman ของฮิตาชิ ฮอนด้า President ของฟูจิซึ ก็เพิ่งมาคอนเฟิร์มกันทั้งนั้น
" สถาพรเล่าถึงอุปสรรค
เมื่อภารกิจในการดึงกลุ่มเป้าหมายหลักให้เข้ามาร่วมงานได้ครบถ้วน ก็เริ่มเดินหน้าเรื่องการประชาสัมพันธ์
โดยได้มอบหมายความรับผิดชอบให้กับ บริษัทโอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ เวิลด์วายด์
และ บริษัทคิธ แอนด์ คิน คอมมูนิเคชั่น แอนด์ คอนซัลแตนท์ นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจาก
ธนินท์ เจียรวนนท์ ในการยิงสปอตทางยูบีซีให้ โดยไม่คิดมูลค่าถึงวันละ 150
สปอต
ผลจากการทำประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้รับความสนใจจากคนเป็นจำนวนมาก
โดยหลังจากเริ่มประกาศขายบูธอย่างเป็นทางการ ในเดือนกันยายน 2542 เพียง 2
เดือน มียอดการจองพื้นที่เข้ามาถึง 1,200 ราย เกินเป้า ที่ตั้งไว้ 1,000
ราย จนต้องตัดสินใจหยุดขาย และต้องคัดรายชื่อผู้จองพื้นที่ออกไปถึง 20%
ลดความกดดันในการจัดงานครั้งนี้ลงไปได้กว่าครึ่ง
แต่ความกังวลใจก็ยังมีอยู่ เพราะจากประสบการณ์ ที่ได้รับจากการจัด งานบีโอไอแฟร์ครั้งแรก
สถาพรรู้ว่าสิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดกับงานครั้งนี้ คือ เรื่องของความสะอาดภายในงาน
และเรื่อง ที่จอดรถ
บีโอไอแฟร์ 2538 ที่ไปจัด ที่ ท่าเรือพาณิชย์ แหลมฉบังนั้น ความ ที่สถานที่จัดงานเป็นพื้นที่โล่ง
มีฝุ่น และทรายเป็นจำนวนมาก ทำให้ยากในเรื่องของ การควบคุมความสะอาด
แม้จะใช้งบประมาณในการจ้างบริษัทซิต้า ไทย คลีนนิ่ง เป็นผู้รับเหมา ในการดูแลเรื่องความสะอาดตลอดการจัดงานถึง
553,632 บาท ก็ยังไม่ สามารถควบคุมได้ทั่วถึง
การเลือกสถานที่จัดงานในเมืองทองธานีในปีนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งก็เพราะต้องคำนึงถึงเรื่องการดูแลความสะอาด
เพรา ะแม้เป็นที่โล่งแจ้งเช่นกัน แต่ไม่ มีปัญหาเรื่องของฝุ่น และทรายเหมือน
ที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง
โดยได้ว่าจ้างบริษัทพรอพเพอร์ตี้ แคร์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) ให้เข้ามาดูแลเรื่องนี้
โดยกำหนดให้ต้อง มีพนักงานจำนวน 40-70 คน เข้ามา รับผิดชอบรักษาความสะอาดภายในงาน
ตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึงเ ที่ยงคืน ตลอด ทั้ง 15 วัน ซึ่งผลที่ออกมา สถาพรภูมิใจมาก
ถึงขั้นเปรียบการเข้ามาเดินชมงานบีโอไอแฟร์ปีนี้ ว่าเหมือนเข้าไปเดินในสวนสนุกดิสนีย์แลนด์
ส่วนเรื่อง ที่จอดรถ ซึ่งจากประสบการณ์ในการจัดงานครั้งแรกในต่างจังหวัด
พบว่าการที่คนไปชมงานนำรถส่วนตัวไปเป็นส่วนมาก เป็นอุปสรรคสำคัญ เพราะทำให้มี
ที่จอดรถไม่เพียงพอ
ในปีนี้ แม้จะเลือกจัดงานในกรุงเทพฯ และ สถานที่จัดงานก็มีพื้นที่เพียงพอรองรับรถยนต์ให้เข้าจอดได้ถึง
15,000 คัน แต่สถาพรตัดสินใจ ที่จะคิดค่าจอดรถในอัตรา ที่สูงถึงคันละ 200
บาท ต่อวัน ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก
เหตุผลเพราะต้องการบีบให้คนที่จะเข้ามาชมงาน หันไปใช้บริการขนส่งมวลชน หรือรถสาธารณะ
ที่ได้ประสานงานกับขสมก.ให้เตรียมรถไว้พร้อมรับกับ คนที่จะเข้ามาชมงานได้ถึงวันละ
4 แ สนคน
"เรื่องค่าจอดรถ เรารู้ว่าทำแล้วคนก็ต้องด่า แต่เราต้องทำ เพราะถ้าเก็บคันละ
20-40 บาท เหมือน ที่แหลมฉบัง รับรอง 2 วันงานเจ๊ง เพราะคนเข้างานไม่ได้"
สถาพรให้เหตุผลในการตัดสินใจ
แม้งานบีโ อไอ แฟร์ 2000 จะผ่านพ้นไปแล้วถึงกว่า 1 เดือน แต่ทุก ครั้ง ที่นึกถึงความสำเร็จของงานครั้งนี้
สถาพรมักจะภูมิใจอยู่ลึกๆ
เพราะจากตัวเลข ที่มีการสรุปกันภายหลังเสร็จงาน ไม่ว่าจะเป็นจำนวน คนเข้ามาชมงาน
วงเงิน ที่สะพัดระหว่างงาน และกิจกรรมทางธุรกิจ ที่เกิดขึ้น ระหว่างงาน และต่อเนื่องไปในอนาคต
ล้วนเกินเป้าหมาย ที่ตั้งไว้
จะมีเพียง CEO FORUM เท่านั้น ที่ไม่ยิ่งใหญ่ สมดังตั้งใจ ซึ่งสถาพรก็ยอมรับว่า
การที่ช่วงเวลาเตรียมงานน้อยเกินไปเป็นตัวแปรสำคัญ
มีคนเคยพูดเสมอว่าสถาพรนั้น เป็นคนชอบทำงานใหญ่ เริ่มตั้งแต่การนำทีมฟุตบอลแมนเชสเตอร์
ยูไนเต็ด เข้ามาเตะกับทีมชาติไทย เมื่อครั้งฉลองครบรอบ 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในปี 2537 และ งานบีโอไอแฟร์ทั้ง 2 ครั้ง
ไม่แน่ว่าในช่วงอายุราชการที่เหลืออีก 1 ปี 5 เดือน สถาพรจะมีงานใหญ่ เพื่อเป็นการทิ้งทวนชีวิตราชการของเขาออกมาอีกสักงานหรือไม่เป็นเรื่อง
ที่ต้องติดตาม