Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 ตุลาคม 2550
'ยูเนี่ยนฟุทแวร์'รื้อธุรกิจเพิ่มทุน400ล.ลุยผลิตชิ้นส่วนอิเลกฯ             
 


   
search resources

Electronic Components
ยูเนี่ยนฟุทแวร์, บมจ.




นายทรงศักดิ์ ธรรมภิมุขวัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเนี่ยนฟุทแวร์ จํากัด (มหาชน) หรือ UF เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ จากเดิม 200 ล้านบาท เป็น 600 ล้านบาทโดยจะเพิ่มทุนอีก 40 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 10 บาท โดยจะจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตราส่วนหุ้นเดิม 1 หุ้นสามารถใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้ 2 หุ้นในราคาหุ้นละ 10 บาท

ทั้งนี้ หากผู้ถือหุ้นเดิมไม่ใช้สิทธิตามสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนให้จัดสรรหุ้นในส่วนที่เหลือทั้งหมดให้แก่ บริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน หรือ SUC ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท

สำหรับเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนบริษัทในครั้งนี้ บริษัทจะนำไปซื้อสินทรัพย์เพื่อประกอบธุรกิจใหม่เกี่ยวกับการรับจ้างผลิตชิ้นส่วนอีเลกทรอนิกส์ ประเภทคอมพิวเตอร์ ประมาณ 280-300 ล้านบาท และนำไปชำระหนี้คงค้าง 100-120 ล้านบาท

ในส่วนของการปรับเปลี่ยนธุรกิจครั้งใหม่ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท ที่ได้หยุดดำเนินธุรกิจรองเท้า หลังจากประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องมาในช่วงหลายปี นอกจากนี้ ยังเป็นการคงสถานะในการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในรูปแบบเงินปันผล โดยบริษัทคาดว่าจะมีกำไรในช่วงประมาณ 3-5 ปี

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทได้มีมติในการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือ บริคณห์สนธิ ของบริษัท ข้อ 4 เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท และแก้ไขข้อบังคับบริษัทว่าด้วยชื่อ และดวงตราสำคัญของบริษัทในดวงตราสำคัญของบริษัท โดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท ยูเนี่ยนเทคโนโลยี่ (2008) จํากัด (มหาชน) โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษ "Union Technology (2008) Public Company Limited"

นายทรงศักดิ์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับกับการรับจ้างผลิตชิ้นส่วนอีเลคทรอนิกส์ประเภทคอมพิวเตอร์ โดยบริษัทจะดำเนินการในการซื้อสินทรัพย์จาก SUC เพื่อประกอบธุรกิจใหม่ ขณะที่จะเช่าที่ดิน อาคารโรงงาน Cleanroom และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจาก SUC ซึ่งจะทำสัญญาเช่าเป็นปีต่อปี และต่ออายุสัญญาเช่าทุกปีตราบเท่าที่ยังทำธุรกิจอยู่ ขณะเดียวกัน บริษัทจะได้รับคําสั่งผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์จากSUC ซึ่งถือว่าเป็นรายการปกติทางการค้าโดยทั่วไป โดยบริษัทได้แต่งตั้งบริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทาง การเงินอิสระ และให้ความเห็นรายการดังกล่าว

ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวระหว่างบริษัท ยูเนี่ยนฟุท-แวร์ฯ กับบริษัทสหยูเนี่ยนฯ ถือว่าเป็นการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน แต่เป็นไปเพื่อแก้ไขสถานการณ์การดำเนินงานของบริษัทฯ ให้ดำเนินงานต่อไปได้ และสามารถคงสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯต่อไป โดยการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในครั้งนี้ ต้องผ่านมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งผู้เกี่ยวโยง คือ SUC จะไม่ออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่จะจัดประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 11 ธ.ค. 50 เฉพาะรายการซื้อทรัพย์สินและเช่าที่ดินอาคารโรงงานและ CLEAN ROOM และทรัพย์สินถาวรอื่นๆ จาก SUC

นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ มีความเห็นว่าเพื่อประโยชน์สูงสุดของUF บริษัทฯควรเข้าทำรายการดังกล่าว เพื่อลดความเสียหายของบริษัท ที่ปัจจุบันมีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ ซึ่งต่อไปในอนาคตประมาณ 3 ถึง 5 ปี ผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลจากการดำเนินธุรกิจใหม่นี้

อนึ่ง ก่อนหน้านี้บริษัท ยูเนี่ยนฟุทแวร์ฯ แจ้งการประกาศปิดดำเนินธุรกิจรองเท้า เนื่องจากอุตสาหกรรมรองเท้ามีการแข่งขันสูงจากต่างประเทศ ประกอบกับปัจจุบันเป็นตลาดของผู้ซื้อน้อยราย ทำให้มีโอกาสน้อยในการเจรจาต่อรองเงื่อนไขและราคาขาย ถึงแม้บริษัทฯ ได้พัฒนาทั้งระบบการบริหารจัดการ และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่ความสามารถในการทำกำไรก็ลดลงทุกปี และบริษัทฯ ประสบผลขาดทุนติดต่อกันมาเกินกว่า 3 ปี

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ยังมีมติให้เพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก่อนผู้ถือหุ้นจะคัดค้านการถอนบริษัทออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน โดยมีผู้เห็นด้วยในการถอนหลักทรัพย์จำนวน 1,941,897 เสียง ขณะที่ไม่เห็นด้วยในการถอนหลักทรัพย์ฯ จำนวน 13,425,561 เสียง หรือ 87.26% ของจำนวนหุ้นที่ออกเสียง หรือ 67.12% ของทุนชำระแล้ว (ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10,602,580 เสียง หรือ68.91% ของจำนวนหุ้นที่ออกเสียง หรือ 53.01% ของทุนชำระแล้ว และผู้ถือหุ้นรายย่อย 2,822,981เสียง หรือ 18.35% ของจำนวนหุ้นที่ออกเสียง หรือ 14.11% ของทุนชำระแล้ว)

นอกจากนี้ ยังมีมติให้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากบริษัทสหยูเนี่ยนฯ หรือ SUC โดยขอให้ SUC ค้ำประกันทางการค้าเกี่ยวกับ L/C หรือ T/R กับธนาคารจากเดิม90 ล้านบาท เป็น 160 ล้านบาทและให้บริษัทฯขอกู้ยืมเงินจาก SUC จำนวน 180 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us