|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2550
|
|
จากศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน ประเทศนิวซีแลนด์เป็นผู้นำด้านสิทธิสตรีของโลกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เป็นประเทศแรกที่ให้ผู้หญิงมีสิทธิเลือกตั้งในปี 1893 ไปจนถึงเป็นประเทศแรกที่มี ส.ส.หญิง และเป็นประเทศแรกที่ให้ผู้หญิงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย และถ้าพูดถึงบรรดาผู้นำทางการเมืองหญิงทั่วโลกที่ได้เข้ามาบริหารประเทศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา คงหาใครที่สามารถมาเทียบเคียงกับเฮเลน คล้าก นายกรัฐมนตรีของประเทศนิวซีแลนด์ได้ยาก เพราะแม้แต่นิตยสารฟอร์บเองยังเคยจัดนางเข้าสู่ทำเนียบ 20 สตรีผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก
ในสังคมการเมืองของนิวซีแลนด์นั้น มีสองขั้วหลักๆ แบบเมืองฝรั่งทั่วโลกคือ แนว อนุรักษนิยม ซึ่งมีพรรคชาตินิวซีแลนด์เป็นผู้นำ กับแนวสังคมนิยม ซึ่งมีพรรคแรงงานเป็นหัวใจ แม้ว่าในเวลาต่อมาเฮเลน คล้ากจะเป็นผู้นำพรรคแรงงานที่โด่งดังที่สุดในรอบ 50 ปีของเมืองกีวี
แต่สำหรับชาวอนุรักษนิยมแล้ว เฮเลน ก็ไม่ใช่คนอื่นคนไกลที่ไหนเพราะตระกูลคล้าก นั้นเป็นสมาชิกพรรคชาติฯ มาหลายอายุคนแล้ว และเฮเลนเองก็ได้รับการศึกษาในสถาบัน สำหรับพวกอนุรักษ์ที่มีอันจะกินอย่างโรงเรียน สตรีเอพซ่อมแกรมม่า ก่อนที่จะเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโอ๊กแลนด์ในคณะรัฐศาสตร์ จุดนี้เองที่เป็นจุดเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเฮเลน เนื่องจากมหาวิทยาลัยโอ๊กแลนด์ในยุคนั้นเปรียบเสมือนศูนย์กลางของนักศึกษาฝ่ายซ้าย ในเมืองกีวี และเฮเลนเองก็เป็นนักศึกษาซึ่งได้ฉายแววผู้นำตั้งแต่ยังสาวๆ โดยเป็นผู้นำ นักศึกษาประท้วงการส่งทหารไปรบในเวียดนาม ซึ่งส่งผลให้เฮเลนเข้าเป็นสมาชิกพรรคแรงงาน แทนที่จะเข้าเป็นฝ่ายพรรคชาติฯ ตามที่ตระกูล คล้ากปฏิบัติกันมา
หลังจากที่เฮเลนคว้าปริญญาโท เกียรติ นิยมได้ตั้งแต่อายุ 24 ปี มหาวิทยาลัยได้เลือก ให้เฮเลนช่วยสอนในขณะที่ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก อย่างไรก็ตาม เฮเลนหลงเสน่ห์ การเมืองอย่างถอนตัวไม่ขึ้นและประสบความ สำเร็จจากการลงสมัครรับเลือกตั้งที่เขตเม้าท์ อัลเบิร์ต ซึ่งส่งผลให้เฮเลนต้องกลายเป็น นักการเมืองอาชีพตั้งแต่อายุ 31 ปี
แต่ทว่านโยบายของพรรคแรงงานที่ใช้ ตั้งแต่ปี 1984 กลับทำให้รัฐบาลแรงงานระส่ำ ระสายโดยเฉพาะนโยบายลอยค่าเงิน ส่งผลให้ ค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ลดลงจาก 1 ดอลลาร์ กีวีเท่ากับ 1 เหรียญสหรัฐ ตกไปสู่ 2 ดอลลาร์ นิวซีแลนด์เท่ากับ 1 เหรียญสหรัฐ ประกอบกับ นโยบายขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มสูงถึง 12.5% และนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจส่งผลให้รัฐบาลแรงงานเสียศูนย์และพ่ายแพ้การเลือกตั้งอย่าง ถล่มทลายต่อพรรคชาติฯ ในปี 1990 ความพ่ายแพ้นี้เองได้ส่งผลให้เฮเลนก้าวสู่ทำเนียบ ผู้นำหญิงคนแรกของพรรค และยังเป็นผู้นำคนแรกที่มาจากตระกูลอนุรักษนิยม ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับเลเบอร์อย่างสิ้นเชิง เพราะว่า นักการเมืองเลือดเลเบอร์แท้ๆ นั้นได้ออกไปแพ้เลือกตั้งถึง 3 คน
มีคำกล่าวว่าการเมืองนั้นนอกจากความรู้ความสามารถแล้ว ต้องมีดวงอีกด้วยนั้นเป็นเรื่องที่จริงที่สุดสำหรับเฮเลน คล้าก และหากพูดถึงก้างขนาดยักษ์ที่เฮเลนไม่สามารถเขี่ยได้ก็คงหนีไม่พ้นนายกรัฐมนตรีจิม โบลเจอร์ ซึ่งสยบผู้นำพรรคแรงงานมาแล้ว 4 คน รวมถึงเฮเลนเองซึ่งแพ้การเลือกตั้งแบบไม่เป็นท่าในปี 1996 แต่ดวงของเฮเลน นั้นไม่ธรรมดา เพราะโบลเจอร์นั้นได้พิฆาตตนเองในปีต่อมา
ที่จริงแล้วโบลเจอร์มีความคิดซ่อนเร้น ตั้งแต่หนุ่มๆ แล้วว่านิวซีแลนด์ควรจะเป็นสาธารณรัฐและเลือกตั้งประธานาธิบดีไปเลย แต่ด้วยความที่ตนเป็นชาวอนุรักษนิยมจะพูดโพล่งตอนที่ปีกยังอ่อนก็ดูจะไม่สมควร ทีนี้พอเป็นนายกมานานๆ เข้าลายก็เริ่มออก ขั้น แรกคือขอเปลี่ยนชื่อเรียกของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในเมืองกีวีก่อน ตรงนี้อย่าไปคิดว่าเป็นเรื่องเล็กนะครับ เพราะว่าเครื่องราชฯระดับนี้ใครได้รับพระราชทาน จะได้เป็นท่านเซอร์ หรือคุณหญิงกันทุกคน ทีนี้การเปลี่ยนชื่อเครื่องราชฯ จากคำว่า อัศวินของพระราชินี มาเป็นบุคคลพิเศษของนิวซีแลนด์ ทำให้ชาวอนุรักษนิยมหลายคนรับไม่ได้ แต่โบลเจอร์เองกลับไม่สนใจ และเข้าสู่แผนสองโดยการประกาศแนวคิดของตนอย่างโพล่งๆ ว่าเมืองกีวีควรจะเป็นสาธารณรัฐและผู้นำสูงสุดของประเทศ ควรจะเป็นประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง แถมยังพูดเสียด้วยว่าไม่ชอบธงชาตินิวซีแลนด์ เพราะดันมีรูปร่างเหมือน ธงออสเตรเลียจึงเสนอให้เปลี่ยนธงชาติเสียเลยและตบท้ายว่าควรจะยกเลิกบทบาทของ องคมนตรีไปด้วยเป็นของแถม ขณะที่โบลเจอร์ ไปเยือนสกอตแลนด์ยังพูดว่าตนได้เข้าเฝ้าควีน และได้กราบบังคมทูลเรื่องการเปลี่ยนเมืองกีวี ให้เป็นสาธารณรัฐ และตบท้ายเสียด้วยว่า พระองค์ไม่ได้ทรงกริ้วแต่อย่างใด งานนี้บรรดา ผู้บริหารพรรคชาติฯ จึงเรียกประชุมด่วนและ เสนอให้ลงคะแนนเสียงปลดโบลเจอร์จากการ เป็นหัวหน้าพรรคและสรรหาผู้นำคนใหม่ทันที โดยชิพเล่ย์ได้รับเลือกเป็นนายกฯ คนใหม่ ส่งผลให้นโยบายสาธารณรัฐนิวซีแลนด์กับธงชาติใหม่หายไปพร้อมกับตำแหน่งของโบลเจอร์ขณะที่จะนั่งเครื่องบินกลับบ้าน
คนที่ดีใจที่สุดงานนี้ไม่ใช่ใคร นอกจาก เฮเลน คล้าก เพราะก้างขนาดมหึมาหายไปที่ สกอตแลนด์ แถมดวงของเฮเลนนั้นเรียกว่าดีเป็นพิเศษ เพราะชิพเล่ย์ดันมาเจอพิษต้มยำกุ้ง ตอนเข้าสู่ตำแหน่งพอดี การผันผวนของค่าเงิน จาก 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1.5 เหรียญกีวี มาอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 3 กีวีดอลลาร์นั้นทำให้คะแนนเสียงของชิพเล่ย์ตกอย่างรวดเร็ว ทำให้เฮเลนชนะการเลือกตั้งปี 1999 ในที่สุด
จุดเด่นของเฮเลนคือการยกสถานะของสตรีในเมืองกีวีให้อยู่สูงที่สุดในโลก โดยเห็นได้จากการเลือกมากาเร็ต วิลสัน ให้เป็นประธานสภาหญิง แต่งตั้งท่านผู้หญิงเอเลียสเป็นประธานศาลฎีกา และได้กราบทูลให้ควีน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงคาร์ทไรท์เป็นผู้สำเร็จราชการ เรียกได้ว่าสมัยของเฮเลนนั้น ทั้งผู้แทนพระองค์ ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ประมุขฝ่ายบริหาร และประมุขฝ่ายตุลาการต่างเป็นผู้หญิงโดยถ้วนหน้า
แต่จุดขายจริงๆ ของเฮเลนคือนโยบาย ประชานิยม ซึ่งได้ผลต่อชาวรากหญ้าเป็นอันมาก นโยบายประชานิยมนั้นแท้จริงแล้วเป็นนโยบายหลักของพรรคการเมืองเอียงซ้ายเพราะมีความเป็นสังคมนิยมหน่อยๆ คือการที่รัฐจัดสรรสวัสดิการและเงินช่วยเหลือให้กับประชาชนที่ด้อยโอกาส ทุพพลภาพ ตกงาน ผู้สูงอายุ หรือยากจน โดยมีตั้งแต่การรักษาพยาบาลฟรี เรียนฟรี มีเงินสวัสดิการช่วยเหลือ ตรงนี้ผมขอทำความเข้าใจสักนิดว่าคำว่าสังคมนิยมนี้ไม่ได้หมายถึงคอมมิวนิสต์อย่างที่ชาวไทยบางคนเข้าใจกัน ความคิดแนว สังคม นิยมเป็นเพียงความคิดทางการเมืองแนวเสรีนิยมแนวหนึ่งซึ่งทำให้เกิดพรรคการ เมืองที่หากินกับชาวรากหญ้าและผู้ประกอบกรรมาชีพ ซึ่งในอดีตฝรั่งจะเรียกพวกนี้ว่า เติร์ดเอสเตด เวิร์คกิ้งคลาส หรือพีแซนทรี นโยบายพวกนี้อยู่ตรงข้ามกับแนวอนุรักษนิยม ซึ่งหาเสียงกับนายทุน นักธุรกิจ และตระกูลเก่า ซึ่งฝรั่งจะเรียกฐานเสียงพวกนี้ว่า บูชวาซี ไปจนถึงอีลีท ในประเทศฝรั่งที่เป็นประชาธิป ไตย จะมีพรรคการเมืองแนวสังคมนิยมและหลายครั้งก็จะได้เป็นรัฐบาล เช่น พรรคสังคม นิยมในฝรั่งเศส พรรคแรงงานในอังกฤษ หรือ แม้แต่พรรคเดโมแครตในอเมริกา
สำหรับนโยบายประชานิยมของเฮเลน คล้ากนั้นมีกลุ่มผู้มุ่งหวังแน่นอนคือนักศึกษา ชาวพื้นเมือง คนงานรวมไปถึงคนตกงานและ พวกขี้เกียจทำงาน นโยบายของเฮเลนคือ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพื่อเอาใจคนงาน โดยเพิ่มจาก 9 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงไปถึง 11.50 ดอลลาร์ต่อ ชั่วโมง ซึ่งคิดคร่าวๆ เท่ากับว่าผู้จ้างต้องจ่าย เงินเดือนเพิ่มให้ลูกจ้างไร้ฝีมือเดือนละ 500 ดอลลาร์ หรือ 12,500 บาททันที นอกจากนี้ยังแจกเงินกินเปล่าให้กับชาวพื้นเมืองที่รายได้ น้อยไปจนถึงเงินสวัสดิการให้คนที่ตกงาน รวมถึงพวกขี้เกียจทำงาน ซึ่งเดือนหนึ่งจะได้คนละ 3 หมื่นบาทจนถึง 5 หมื่นบาททีเดียว นอกจากนี้ยังเพิ่มผู้มุ่งหวังคือ นักศึกษา โดยให้เงินกู้ขณะเรียนหนังสือโดยไม่มีดอกเบี้ยแถม ค่าขนมจากรัฐบาลให้อีกสัปดาห์ละ 3,500 บาท หรือ 140 ดอลลาร์ ตรงนี้ในขั้นแรกฟังดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่ดี เพราะนักศึกษาฝรั่ง นั้นเขาต้องหาเงินจ่ายค่าเล่าเรียนเอง และโดย มากต้องหางานพิเศษทำเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย แต่ ปัญหาของนโยบายนี้คือทำให้นักศึกษาจำนวน หนึ่งทำเรื่องกู้แล้วเอาไปซื้อรถ ซื้อเครื่องเสียง ซื้อโทรศัพท์มือถือ โดยไม่มีดอกเบี้ย และสุดท้ายก็เรียนไม่จบและรัฐก็เสียเงินเปล่าหลายล้านดอลลาร์ต่อปี
แต่ที่แน่ๆ คือทำให้ชาวรากหญ้านั้นติดประชานิยมกันแบบถอนตัวไม่ขึ้น ส่วนนโยบาย 30 บาทของไทยนั้นเขาเพิ่มสิทธิที่จะเอาไปใช้ได้กับทุกที่รวมถึงคลินิกเอกชน ซึ่งตรงจุดนี้ยังรวมถึงค่ายา ซึ่งถ้าใครมีบัตรคอมมูนิตี้ แม้แต่ยาหยอดตาก็ได้ส่วนลดจากร้านขายยา
นอกจากนี้เฮเลนยังมีบทบาทที่สูงมาก ในเวทีการเมืองโลก แม้ว่านิวซีแลนด์จะเป็นประเทศระดับกลางแต่นโยบายของเฮเลนนั้นกลับทำให้เมืองกีวีเป็นผู้นำของแนวคิดใหม่ๆ ในโลกเสมอ รวมทั้งการเป็นตัวตั้งตัวตีในสนธิสัญญาเกียวโต การยืนหยัดต่อนโยบายเขต ปลอดนิวเคลียร์และนโยบายสนับสนุนการค้าเสรี
อย่างไรก็ตาม เฮเลน คล้าก ก็มาเจอตอเข้าจนได้จากนโยบายการขายรัฐวิสาหกิจเพราะการขายรัฐวิสาหกิจด้านการพลังงานให้ ต่างชาติส่งผลค่าไฟในนิวซีแลนด์สูงเป็นเงาตามตัว ความพยายามในการขายสนามบิน โอ๊กแลนด์ให้กับเอมิเรตส์ ทำให้เกิดการประท้วงจนถึงขั้นขึ้นศาลทีเดียว สุดท้ายศาลตัดสินให้การขายสนามบินเป็นโมฆะ ส่งผลกระทบต่อคะแนนเสียงของรัฐบาลอย่างมาก นอกจากนี้นโยบายขึ้นดอกเบี้ยและภาษีสร้างความไม่พอใจเป็นวงกว้าง สุดท้ายการที่ไปเป็นตัวตั้งตัวตีในสนธิสัญญาเกียวโตได้ส่งผลกระทบต่อชาวนิวซีแลนด์โดยตรง เพราะเมือง กีวีต้องจ่ายเงินในการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ ในชั้นบรรยากาศโลกเช่นเดียวกับประเทศที่ไปลงนามทั้งหมด ทีนี้รัฐบาลก็เลยมาลงที่ผู้ใช้ รถใช้ถนนคือ เก็บภาษีคาร์บอนจากค่าน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในนิวซีแลนด์พุ่งขึ้นสูงถึงลิตรละ 1.73 ดอลลาร์ หรือ 43 บาทต่อลิตร ทำให้คะแนนเสียงของเฮเลนตกไปให้ฝ่ายค้าน กว่า 10 เปอร์เซ็นต์
ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ที่จะมาถึงในปี 2008 เฮเลนต้องทำการบ้านอย่างหนักเพื่อกู้คะแนนนิยมที่เสียไปให้ได้หากไม่สำเร็จนายกหญิงแกร่งของนิวซีแลนด์ อาจจะต้องวางมือทางการเมือง
|
|
|
|
|