Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550
SME Size S             

โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
search resources

SMEs
Anyadharu
สาริศ เกษมเศรษฐ




ว่ากันว่าอันญาดารุขายดีที่สุดในละแวกโครงการ 3 ซอย 3 ตลาดนัดสวนจตุจักร และดูเหมือนจะไม่ผิดไปจากคำเล่าลือมากนัก เพราะสินค้าที่วางในร้านสนนราคาที่ผิดแผกไปจากสินค้าที่วางขายในจตุจักร แม้เจ้าของร้านไม่อยากจะเอ่ยว่าทำรายได้มากมายขนาดไหน แต่ก็พอจะเดาได้ว่ามากพอที่จะอยู่รอดได้ในภาวะเศรษฐกิจเอาแน่เอานอนไม่ได้ดังเช่นทุกวันนี้

อันญาดารุเพิ่งจะเป็นแบรนด์ที่จดทะเบียนได้เพียง 1 ปี ขณะที่ร้านเพิ่งจะตกแต่งปรับปรุงใหม่อีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้ แต่เป็นเพราะการร่วมลงขันระหว่างเพื่อนฝูงที่ต่างก็มีความเชี่ยวชาญในสาขาแตกต่างกัน บวกกับความรักในเครื่องหอมคล้ายๆ กัน ทำให้วันนี้อันญาดารุจึงไม่ได้หยุดอยู่ที่เพียงตลาดนัดสวนจตุจักรเท่านั้น

ปัจจุบันสาริศ เกษมเศรษฐ เฉลิมพล ชินเวชจิตวานิชย์ และศศิวิมล ชินเวชจิตวานิชย์ ต่างก็มีงานประจำของตนเอง และใช้ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ในการมานั่งเฝ้าร้าน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ ไม่ว่าจะเป็นสาริศที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลด้านการตลาด เพราะมีความเชี่ยวชาญด้านนี้อยู่เป็นทุน บวกกับความสามารถในการสื่อสารกับต่างประเทศ ทำให้สาริศเป็นผู้เจรจากับลูกค้าในต่างประเทศเพื่อดีลเรื่องการส่งออก และหาตลาดใหม่ๆ ให้กับสินค้าของตนเป็นหลัก

ขณะที่ศศิวิมลทำหน้าที่เป็น art director พลางๆ จากประสบการณ์และหน้าที่การงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาภาพยนตร์และประสบการณ์ด้านการเป็นครีเอทีฟอยู่แต่เดิม

ส่วนเฉลิมพลเป็นคนดูแลด้าน operation ทั้งหมดของแบรนด์ และผลัดเปลี่ยนกันมาเยี่ยมเยือนร้านหากมีเวลาว่าง

สาริศบอกว่าในเมื่อทุกคนยังสนุกอยู่กับการทำงานประจำ ดังนั้นกิจกรรมของทางร้านจึงกลายเป็นเหมือนกับงานอดิเรกที่ตอบโจทย์ความต้องการของตนเอง และเน้นไปที่การให้เงินทำงานมากกว่าลงมาทำทุกอย่างด้วยตนเอง

นี่คือตัวอย่างของคนทำงานประจำ ที่เลือกจะใช้ความรู้ความชำนาญที่ตนเองมีพื้นฐานอยู่แล้วสร้างรายได้จากกิจการเสริมในยามว่างของตนเอง

"ผมให้เงินทำงาน ทุกคนยังแฮปปี้ที่จะทำงานที่ตนรักในฐานะพนักงานในองค์กรของตนเอง ส่วนร้านนี้ก็เป็นการตอบสนองความต้องการของตัวเอง เรียกว่าทำฝันให้เป็นจริง ผมสามารถจ้างคนอื่นๆ มาทำงานแทนผมได้ ผมสามารถ enjoy ชีวิตปกติในการทำงาน และสามารถมีกิจกรรมในยามว่างทำได้ วันไหนว่างก็มา ไม่ว่างก็มีคนทำงานแทนอยู่แล้ว" สาริศบอก

สาริศบอกว่าเขามองธุรกิจเล็กๆ ที่เป็นกิจกรรมหลังเลิกงานของเขาว่าเป็น SME ที่เรียกได้ว่ามีขนาด Size S แต่เมื่อถึงเวลาจะโตก็ทำได้ เพราะทุกอย่างเป็นการผลิตได้ด้วยการเพิ่มแรงงานเพียงเท่านั้น อีกทั้ง fixed cost ก็น่าจะลดลงด้วยระดับปริมาณของสินค้าที่เพิ่มขึ้นด้วย

ธุรกิจเล็กๆ เช่นนี้ไม่ต้องการพนักงานประจำมากมายนัก ปัจจุบันบริษัทแห่งนี้พนักงานที่จ้างงานมาจริงๆ เพียงแค่แพ็กเกจสินค้า และจ้างแอดมินไม่กี่คน รวมแล้วเพียง 10 กว่าชีวิตเท่านั้น

สินค้าทุกอย่างเป็นการทำด้วยมือ แฮนด์เมด ทั้งธูป เทียน ยกเว้นสบู่ และโลชั่นที่จ้างผลิต แต่เป็นสูตรเฉพาะของทางร้าน ทุกอย่างเลือกปรับกลิ่นจากความชอบของหุ้นส่วนเป็นฐาน ก่อนปรับให้ตรงกับความชอบแล้วนำมาผลิตเพื่อวางขาย โดยใส่ใจในเรื่องของรายละเอียดแพ็กเกจจิ้งและคุณภาพของสินค้าเป็นพิเศษ

ทุกวันนี้กว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าคือคนไทย แถมยังเป็นขาประจำที่ซื้อซ้ำบ่อยครั้ง ไปแล้วกลับมาอีกอยู่เสมอ ที่เหลือเป็นต่างชาติและการส่งออก

แม้หากมองในแง่ของกระแสความนิยมในความสนใจในธรรมชาติมากขึ้นแล้ว อันญาดารุก็ย่อมจะเติบโตได้อีกไกลไม่ยากนัก โดยเฉพาะการเป็นแบรนด์สินค้าเครื่องหอมไทยที่ก็เห็นตัวอย่างมาแล้วจากหลายๆ แบรนด์ก่อนหน้านี้

แต่ทั้งสาริศและเพื่อนๆ ก็หวังเพียงแค่การเป็นร้านที่ทำเพื่อสนองตอบความต้องการของตัวเอง สามารถเลี้ยงและทำกำไรได้ไม่มากมายอะไรนัก

โดยหวังจะเปิดสาขาใหม่อีกหนึ่งสาขาที่ขายได้ทุกวันในหนึ่งเดือน ไม่ต้องหยุดวันทำงาน 5 วันแล้วเปิดขายได้เพียง 2 วันต่อสัปดาห์เหมือนเช่นสาขาที่จตุจักร เขาบอกว่าสาขาที่น้อย ทำให้มนตร์เสน่ห์ของร้านนั้นยังคงอยู่

ขณะที่การมีพันธมิตรคู่ค้าในญี่ปุ่นก็ทำให้แบรนด์ของเขากำลังจะขยายอย่างน้อย 15 สาขาในญี่ปุ่นภายใน 5 ปีนี้ ไม่นับรวมกับการส่งออกไปวางขายในฮ่องกง ฝรั่งเศส สิงคโปร์ และโรงแรมในกลุ่ม GHM ในเวียดนาม ที่นำสินค้าบางอย่าง เช่น โลชั่น ครีมอาบน้ำ และเทียนหอม เข้าไปวางขายในสปาบูติกช็อปของโรงแรม

"เราอยากไปแบบช้า แต่มั่นคง ไม่อยากเป็น mass และอยากให้คนตื่นเต้นเมื่อได้เห็นและได้ใช้ อยากเป็นแบบนั้น"

แม้จะโตได้ แต่สุดท้ายอันญาดารุก็ยังอยากจะก้าวอย่างมั่นคง และคงสถานะของการเป็น SME ขนาด S เอาไว้จนกว่าจะถึงเวลาเพิ่มขนาดในอนาคต เมื่อถึงวันโตก็จำเป็นต้องขยับขยาย แต่วันนี้อันญาดารุก็ยังเต็มใจเป็น SME ไซส์เล็กไปก่อน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us