Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550
Anyadharu กลิ่นหอมของชาและมนตราของไม้หอม             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
search resources

SMEs
Anyadharu




ว่ากันว่าสุนทรียภาพของการสูดดมกลิ่นหอมจะได้ผลดีที่สุดในหนึ่งวันก็เพียง 4 ชั่วโมงติดต่อกันเท่านั้น ยิ่งกลิ่นหอมอบอวลต้องใจของผู้สูดดมด้วยแล้ว ความรื่นรมย์ทางจิตใจคงหนีไปไหนไม่ไกลนัก

นี่คือคำบอกเล่าของพนักงานขายสาวหน้าตาดีของร้าน "Anyadharu" หรือ "อันญาดารุ" ที่ตั้งอยู่ริมสุดของรั้วตลาดนัดสวนจตุจักร โครงการ 3 ซอย 3

อันญาดารุ เป็นร้านชาและเครื่องหอมเพียงร้านเดียวในละแวกนั้น และเป็นร้านเดียว ที่ดูไม่เหมือนว่าตั้งอยู่ในตลาดนัดสวนจตุจักรที่เปิดขายเพียงแค่ 8 วันในหนึ่งเดือนเท่านั้น

สีดำทึบของไม้ที่ใช้ในการตกแต่งร้าน ชวนให้อดคิดไม่ได้ว่าช่างเหมาะสมกับชื่อของร้าน ยิ่งเมื่อรู้ว่าที่มาของชื่อมาจากภาษาสันสกฤตผสมเข้าด้วยกันระหว่างคำว่า "อันญา" ที่แปลว่า ความรื่นรมย์ อัญมณี หรือสิ่งที่มีคุณค่า กับคำว่า "ดารุ" ที่แปลว่าต้นไม้ เมื่อนำมารวมกันจึงหมายถึงต้นไม้แห่งความรื่นรมย์ ยิ่งทำให้ความเหมาะสมนั้นบวกเพิ่มเข้าไปอีก

กระจกกั้นหน้าร้านพร้อมประตูบานพับที่ใช้เป็นทางเข้าออกหน้าและหลังร้าน เครื่องปรับอากาศ โคมไฟระย้าสีสันสบายตา และวัสดุการตกแต่งสีดำยิ่งทำให้ผู้ที่เข้าไปเยือนรู้สึกไม่เหมือนว่ากำลังเข้ามาซื้อของในสวนจตุจักร

นี่เป็นความจงใจของเจ้าของร้านตั้งแต่แรก การสร้างแบรนด์อันญาดารุขึ้นมาเมื่อปีเศษ พร้อมกับตกแต่งปรับแบรนด์ของร้านเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ก็เพื่อที่หวังให้สินค้าจำพวกชา และเครื่องหอมของร้านไม่หยุดอยู่เพียงตลาดนัดสวนจตุจักรเท่านั้น แต่หมายถึงความฝันที่จะทำให้เครื่องหอมนั้นไปวางโดดเด่นในห้างและในต่างประเทศ แม้จะในวิถีทางแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปตามสไตล์ของนักธุรกิจที่กำลังเริ่มต้นก็ตามที

อันญาดารุเติบโตมาจากการขายกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยที่หยดลงบนน้ำ แล้วนำไปตั้งบนเตาที่จุดไฟไว้ด้านล่าง หรือที่เรียกกันว่า essential oil หรือออยล์บริสุทธิ์ ตลอดจน เทียนหอม และธูปหอม ที่ใช้กลิ่นของหัวน้ำหอมกว่า 40 กลิ่น

โดยกว่าครึ่งค่อนเป็นการนำเข้าจากประเทศต่างๆ ที่เป็นต้นตำรับของกลิ่นทั้งหมด ไม่ว่า จะเป็นกลิ่นดอกปีบ กลิ่นไม้จันทน์ กลิ่นลาเวนเดอร์ มะพร้าว ส้ม เปเปอร์มิ้นท์ ทีทรี อบเชยหรือซินามอน เลมอน แมนดาริน และอื่นๆ อีกมากมาย


ก่อนเพิ่มจำนวนของสินค้าในกลุ่มเดียวกันโดยเน้นไปที่รสสัมผัสด้านกลิ่นมากกว่าอย่างอื่น ทั้งชา ไม่ว่าจะชาจากใบช้าแท้ๆ และชาดัดแปลงอย่างชาผลไม้และชาดอกไม้ อาทิ ชาดอก กุหลาบ ชาดอกมะลิ หรือชาพีช มากกว่า 16 ชนิด

สบู่ก้อน สบู่เหลวอาบน้ำ โลชั่นบำรุงผิว และถุงหอมที่บรรจุหินภูเขาไฟผสมกับกลิ่นหอม หลากชนิดสำหรับใช้ในห้องนอน ตู้เสื้อผ้าและห้องทั่วไป ขณะเดียวกันยังขายอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับ การชงชา และชุดเตาเผาสำหรับออยล์บริสุทธิ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าไปด้วยในตัว

แม้หัวน้ำหอมแทบทั้งหมดจะเป็นการนำเข้าจากประเทศที่มีชื่อในด้านการสกัดกลิ่นหอมจากธรรมชาติอย่างแท้จริง และนำมาผลิตเป็นสูตรเฉพาะของตัวเองที่เมืองไทย แต่ในผลิตภัณฑ์สวยงามที่ถูกออกแบบเอาไว้ตั้งแต่แรกว่าจะใช้สำหรับการส่งออกและรองรับลูกค้าต่างประเทศ ก็ติดคำว่า "Siam" เอาไว้โดดเด่นและเห็นชัด

ต้องยอมรับว่าแพ็กเกจจิ้งทุกชิ้นของอันญาดารุล้วนแล้วแต่ละเมียดละไม และสร้างความตรึงใจแก่ผู้ได้ใช้เป็นอย่างดี

ยกตัวอย่างเช่น ถ้วยแก้วสีแดงหนาทึบเกือบหนึ่งเซนติเมตรใส่เทียนกลิ่นหอมหลากหลาย ไว้ด้านใน มีฝาปิดครอบอย่างดีใส่สัญลักษณ์ของทางร้านว่า "Scent Library" หรือศูนย์รวมของความหอมหวนเอาไว้ เมื่อเปิดฝาวางแล้ววางแก้วซ้อนจะกลายเป็นที่รองแก้วไปโดยปริยาย ทั้งหมดบรรจุในกล่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กอีกครั้ง เมื่อลูกค้าซื้อ พนักงานจะใส่ถุงกระดาษหนาอย่างดี ผูกโบสีแดงเลือดหมูไว้ที่หูหิ้ว เป็นของฝากและของขวัญชั้นดีไปในตัว

ขณะที่กล่องบรรจุถุงหอมเป็นสี่เหลี่ยมขนาดความกว้างไม่ถึง 10 เซนติเมตร หนาเพียง ถึงนิ้ว เมื่อแกะกล่องจะเจอกับห่อผ้าขนาดเล็ก ติดกันมีกระดาษคำแนะนำการใช้งาน มีถุงกระดาษพับด้วยมือแปะด้วยพลาสติกสีเลือดหมูห่อถุงผ้าใส่หินภูเขาไฟใส่กลิ่นหอมเอาไว้อีกที

ผู้ใช้ต้องแกะถุงกระดาษที่ห่อถุงผ้าหินภูเขาไฟที่ว่า แล้วนำมาใส่ถุงผ้าที่อยู่ด้านนอกอีกครั้งก่อนนำไปแขวนไปตามจุดต่างๆ ที่ต้องการ

นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของความงามทางศิลปะที่ใครๆ ก็ยอมรับว่า มันสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแบรนด์ หรือตัวสินค้าได้เป็นอย่างดีในยุคที่ความสร้างสรรค์ตัวผลิตภัณฑ์กำลังมีอิทธิพลกับคนซื้อสินค้าอย่างเช่นทุกวันนี้

ไม่นับรวมกับบรรจุภัณฑ์ของสบู่ก้อน สบู่เหลว ชา ธูปหอม และน้ำมันหอมระเหย ที่ไม่ผิดแผกไปจากกันมากนัก คือเน้นความตั้งใจที่จะทำให้เห็นว่าอันญาดารุ นั้นพิถีพิถันแค่ไหน

ภายในร้านไม่เพียงแต่จัดของวางไว้ให้ทดลองใช้งานก่อน แต่ยังมี พนักงานคอยแนะนำการใช้งานผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยเฉพาะคำแนะนำในการชงชา ที่ดี ต้องล้างกาชงชาด้วยน้ำร้อน ก่อนเทชาและเทน้ำร้อนลงลวกแล้วเททิ้ง แล้วเทน้ำร้อนลงไปสำทับอีกรอบ จึงจะดื่มด่ำน้ำชาที่มีรสชาตินุ่มนวลอย่างแท้จริง

หรือแม้แต่การจุดเทียนที่มีประโยชน์ไม่เกิดเขม่า ก็ต้องหมั่นเล็มไส้เทียนให้ได้ความยาวที่ 0.5 เซนติเมตรอยู่เสมอ เทียนจึงให้ความหอมไม่ปนเขม่ามาด้วย

ทุกความประณีตของอันญาดารุมีมาตั้งแต่การตั้งชื่อร้าน เลือกใช้คำที่ติดหูคนไทย และคนต่างชาติออกเสียงง่ายเพราะไม่มีคำควบกล้ำ การเลือกวัสดุ การออกแบบแพ็กเกจจิ้ง รวมถึงการขายและหลังการขาย ที่มีทั้งระบบสมาชิก และการส่งการ์ดอวยพรวันเกิดให้กับสมาชิกให้ซื้อสินค้าในราคาพิเศษในช่วงวันสำคัญ หรือการให้ตัวอย่างสินค้าเพื่อการทดลองก่อนการตัดสินใจสำหรับลูกค้าประจำอีกด้วย

ทุกวันนี้อันญาดารุไม่ได้ขาย 8 วันในหนึ่งเดือนเพียงเท่านั้น แต่ยัง ขายในห้างอิเซตันที่เซ็นทรัลเวิลด์ มีการส่งออกไปตั้งในมุมหนึ่งของร้านค้า ในฮ่องกง สิงคโปร์ และฝรั่งเศส มีรายได้หลายแสนบาทต่อเดือน อยู่ได้โดยไม่สะทกสะเทือนจากพิษเศรษฐกิจเอาแน่เอานอนไม่ได้อย่างเช่นทุกวันนี้

ต่อให้ค่าเช่าแพงและต้นทุนสูงเนื่องจากเลือกใช้วัสดุและแพ็กเกจจิ้ง ที่ซับซ้อน แต่อันญาดารุยังอยู่ได้สบายๆ เจ้าของบอกอย่างนั้น

วันนี้มนตราของความหอมแห่งชาและเครื่องหอมของอันญาดารุไม่ได้สร้างประโยชน์ให้คนใช้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ในเวลาเดียวกันยังสร้างมูลค่าให้กับเจ้าของได้อย่างไม่น่าเชื่ออีกด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us