Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2534
สมชาย นินทนาวงศา บริหาร ABF PORTFOLIO 7,000 ล้านบาทของซิตี้แบงก์             
 


   
search resources

ธนาคารซิตี้แบงก์
สมชาย นิทนาวงศา
Banking and Finance




ความยากลำบากในการทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของแบงก์ต่างชาติในไทยเป็นเรื่องมีนานานหลายสิบปี ยากตั้งแต่การเข้ามาตั้งสาขาเลยทีเดียว เพราะไม่มีการเปิดใบอนุญาตมาเป็นเวลานาน ครั้นมีผู้ดำริจะเปิดก็มีข้อครหามากมาย

แต่สำหรับซิตี้แบงก์ ดูเหมือนอุปสรรคต่าง ๆ จะไม่ก่อปัญหาในการทำธุรกิจสักเท่าใด อาศัยโครงสร้างและความชำนาญอย่างสลับซับซ้อนในการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจต่าง ๆ ใครเลยจะรู้ว่าเฉพาะหน่วยเดียวในซิตี้แบงก์ที่ประเทศไทยก็ทำหน้าที่ริหารเงินมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ของแบงก์เล็ก ๆ บางแห่งเสียอีก !

สมชาย นิทนาวงศา STRUCTURAL FINANCIAL HEAD หรือผู้อำนวยการฝ่าย STRUCTURE FINANCE GROUP ของซิตี้แบงก์เป็น UNIT HEAD ในจำนวนไม่กี่คนของที่นี่ที่เป็นคนไทย และเป็นคนเดียวที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทในประเทศไทย

เขาอายุเพียง 36 ปีจบการศึกษาจากคณะบัญชีฯ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ่วงท้ายปริญญาโทจากศศินทร์ ส่วนงานที่เขารับผิดชอบอยู่ในเวลานี้อาจจะเรียกง่าย ๆ ว่า สินเชื่อด้านสินทรัพย์ธนกิจ หรือ ASSET BASED FINANCING (ABF) ทำหน้าที่ให้สินเชื่อแก่ลูกค้าที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดได้ง่าย หากเกิด SHORT LIQUIDITY ขึ้น

สมชาย เล่าว่า "สิ่งที่ผมทำ คือ เข้าไปดูไม่ว่าจะเป็น ASSET อะไรก็ตาม เพื่อที่จะ DESIGN หรือ STRUCTURE ออกมาว่าจะเป็นแบบไหนตามความต้องการของลูกค้า คือ เป็น TAILOR-MADE และผมคิดว่าซิตี้แบงก์เป็นธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่ให้บริการนี้"

ฝ่ายสินเชื่อสินทรัพย์ธนกิจของสมชายดำเนินงานมานาน 3 ปี มีลูกค้าประมาณ 30 ราย ส่วนมากเป็นลูกค้าที่ลูกค้าเก่าแนะนำต่อกันมา เช่น กลุ่มบริษัทอีซูซุสงวนไทย ซึ่กงู้รายละ 125 ล้านบาท ต่างได้รับการแนะนำจากตรีเพชรที่เป็นลูกค้าเก่าแก่ของซิตี้แบงก์ในสายของ MCG หรือ MULTI CORPORATION GROUP เป็นต้น

ลูกค้าในฝ่ายนี้ส่วนมากจะเป็นลูกค้ารายใหญ่ สมชาย กล่าวว่า "กติกาง่าย ๆ ของเขา คือ มียอดขายประมาณ 500 ล้านบาท นี่เป็นกติกาเบื้องต้น นอกจากนั้นก็เป็นกติกาย่อย ๆ เช่น ทำธุรกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี มีผลการดำเนินงานที่กำไร 2 ปีติดต่อกันและมีการติดต่อกับสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียงอย่างน้อย 2 ราย นี่เป็นกติกาทั่วไปที่ช่วยให้เราดูลูกค้าง่ายขึ้น"

ว่าไปแล้วเป็นกติกาที่ค่อนข้าง "หิน" อยู่ไม่น้อยสำหรับธุรกิจทั่วไป

แต่เป็นความจำเป็นสำหรับธนาคารต่างชาติ เพราะไม่มีสาขา ไม่มีกำลังคนมากพอที่จะรองรับลูกค้าจำนวนมาก และยังมีกฎระเบียบของแบงก์ชาติอีกหลายข้อที่ควบคุมดูแลอยู่

ในต่างประเทศนั้น สมชาย เล่าว่า "ฝ่ายนี้มีการตั้งแยกออกไปเป็นอีกบริษัทหนึ่งเรียกว่า CORPORAE ASSET FUNDING เป็น NON-BANK บริษัทนี้จะเข้าไปดูความต้องการของลูกค้าว่าต้องการเงินทุนไปขยายกิจการหรือไม่ หรือต้องการเงินทุนหมุนเวียนจะดูว่าสินทรัพย์อะไรที่มีค่าและค่อนข้างจะ CONVERT คล่องตัว หรือซื้อมาขายไปง่าย จะเข้าไปดูอันนี้เป็นหลักแล้วจึงทำการวางโครงสร้างหนี้สิน"

โดยทั่วไปการกู้เงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินจะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ยิ่งเป็นที่ดินหรือสินทรัพย์ยิ่งถือเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันที่ดี แต่ซิตี้แบงก์ไม่ต้องการหลักทรัพย์ประเภทนี้

สมชายยกตัวอย่างเรื่อง ลูกหนี้ที่มีรายรับจากการเช่าซื้ออย่างกรณีของอีซูซุว่า "ปัจจุบันผมติดต่อกับ DEALER ที่ทำเรื่องเช่าซื้อด้วย ผมก็จะเอาบัญชีของเขามาดู ในงบดุลนี่เราจะเห็นรายการ HIGH PURCHASE RECEIVABLE สมมติว่าเป็น 500 ล้านบาท สิ่งที่เราทำ คือ เรามอง ASSET BASED FINANCING คือ บัญชีนี้มีมูลค่าจะปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ ทำไม ทุกเดือนต้องมีเงินมาเข้าบัญชีหนึ่ง ๆ ซึ่งมีอายุไม่เกิน 48 เดือน ในแง่ของกระแสเงินสดนี่จะเข้ามาทุกเดือน"

"ผู้ที่มาขอรับสินเชื่อจากซิตี้แบงก์ ไม่ต้องเอาที่ดิน เครื่องจักร หรือสินทรัพย์ถาวรมาค้ำประกัน โปรแกรมนี้ทางแบงก์ต้องการให้ลูกค้าเติบโตไปด้วย ให้ลูกค้าเอารายการรับของการเช่าซื้อในงบดุลมาให้กับทางแบงก์โอนกรรมสิทธิ์ตัวนี้มา แบงก์จะจัดโครงสร้างรายการรับอันนี้ ซึ่งในแง่ของลูกค้าไทยนี่แบงก์ควรดูอยู่หลังบ้าน ไม่ควรเข้าไปยุ่งกับลูกค้า"

ส่วนในอุตสาหกรรมซีเมนต์นั้น เป็นในแง่ที่ว่ามีสินค้า (INVENTORY) ซึ่งสมชาติ กล่าวว่า เขาสามารถจัดโครงสร้างให้ได้ "กรณีซีเมนต์นี่ต้องมีผู้ประกอบการรับจ้างขนส่งจาก PLANT หนึ่งไปอีกที่หนึ่งสิ่งจำเป็นคือรถ ทางแบงก์ก็ให้เงินทุนเพื่อซื้อรถคือให้รถกับลูกค้า เพราะรถนี่เป็นตัวก่อให้เกิดรายได้ทุกเดือน เขาขนส่งได้เป็น INCOME STEAM แต่ละเดือนเขามีความสามารถรับเงินเข้ามาได้เท่าไหร่และมีความสามารถจ่ายเราได้เท่าไหร่"

สมชาย เล่าว่า "ผมมีบริการหลายอย่าง เช่น กรณีอีซูซุเป็นประเภท RECEIVABLE FINANCING นอกจากนี้ มี INVENTORY FINANCING หมายความว่าลูกค้าต้องการซื้อสินค้าก็มาเอาเงินจากเราไป มีโปรแกรมของ STAFF LOAN PROGRAM หรือ EMPLOYEE PROGRAM เราเข้าไปช่วยลูกค้าที่ต้องการให้ผลประโยชน์แก่พนักงานของตัวในเรื่องการซื้อรถซื้อบ้าน เรารับจัดการให้ตามนโยบายของเขา"

ในส่วนที่เป็นบริการ RECEIVABLE FINANCING นั้น สมชายเน้นว่า "มีลูกหนี้บางตัวที่เราไม่สามารถทำได้ คือ ลูกหนี้ของบริษัทในเครือ ส่วนใหญ่ที่เราทำจะเป็นลูกหนี้การค้า"

ซิตี้แบงก์ทำธุรกิจ ABF มาเป็นเวลานานในสหรัฐฯ ธุรกิจที่เริ่มเพียง 3 ปีในไทยห่างจากในสหรัฐฯ ราว 10 ปี สมชายเล่าว่า "เราสัมผัสมันมานาน 10-20 ปีแล้วที่อเมริกา เมื่อเรามองดูนี่เราสามารถทำได้หมด มันไม่ใช่แค่เรื่องเช่าซื้อเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นดีลเลอร์ขายรถ ตัวอื่น ๆ เราก็สามารถทำได้"

ใน PORTFOLIO ของฝ่าย ABF ตอนนี้มีการแบ่งลูกค้าออกเป็น 6 ประเภท คือ รถยนต์ 77% เครื่องจักรหนักประมาณ 8% บริการคือธุรกิจรถเช่าประมาณ 3% อุตสาหกรรมซีเมนต์ประมาณ 2% น้ำมัน เช่น ยูโนแคล เอ็กซอน ประมาณ 4% และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ประมาณ 5% มูลค่าพอร์ทฯ ทั้งหมดประมาณ 7,000 ล้านบาท หรือ 270 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

แต่หากไปดูงบดุลของซิตี้แบงก์ประเทศไทยแล้ว มูลค่าพอร์ทฯ ตัวนี้อาจจะไม่ถึง 7,000 ล้านบาท เพราะ ABF ที่นี่ให้บริการลูกค้า 2 แบบ คือ ON BALANCED SHEET หรือมีรายการลูกหนี้ปรากฎในบัญชีงบดุลด้วย และ OFF BALANCED SHEET คือ ไม่มีรายการลูกหนี้ปรากฏในบัญชี

บริการอย่างหลังสำหรับพวกบริษัทข้ามชาติบางแห่งที่ต้องการตัวเลข RETURN ON ASSET ให้สูง หากเอารายการลูกหนี้ออก ROA ก็จะสูงขึ้นเพราะตัวหารน้อยลง

สำหรับตัวเลขพอร์ทฯ ในงบดุลของซิตี้แบงก์นั้นไม่ถึง 7,000 ล้านบาทแน่ สมชาย กล่าวว่า "50% เป็น OUT OF BALANCED SHEET"

วงเงินที่ฝ่าย ABF ในไทยสามารถปล่อยสินเชื่อได้นั้น สมชายเปิดเผยว่า "ผมเข้าใจว่า ประมาณ 5-10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นี่เราสามารถอนุมัติได้ หรือประมาณ 250 ล้านบาท ความจริงมากกว่านี้เราก็สามารถทำได้ แต่ต้องรายงานไปให้สำนักงานใหญ่ทราบ"

ผู้มีอำนาจในการอนุมัติวงเงินสินเชื่อตามระบบของซิตี้แบงก์ซึ่งง่ายและรวดเร็วมาก ประกอบไปด้วย 3 คน โดยผ่านขั้นตอน คือ มีทีมงานที่มาจากเจ้าหน้าที่การตลาด เขาจะเป็นผู้เสนอในการอนุมัติโดยมีสมชายเป็นผู้ดูสุดท้ายในขั้นตอนนี้ มีเจ้าหน้าที่อาวุโส 1 คนที่เป็นคนดูทุกกรณีในเรื่องการอนุมัติสินเชื่อทุกอย่าง แล้วก็มีหัวหน้าใหญ่อีก 1 คน เท่ากับว่ามี 3 ส่วนที่ดูเรื่องการอนุมัติสินเชื่อ

สมชาย กล่าวว่า "ผมมีคู่แข่งน้อยมาก ในส่วนของแบงก์ต่างประเทศนี่ไม่มีเลย แบงก์ไทยมีบ้าง เช่น แบงก์กรุงเทพฯ แบงก์กสิกรไทย แต่ประสบการณ์คงจะไม่เหมือนกับเราที่มีความเชี่ยวชาญมาก ส่วนพวกไฟแนนซ์นั้นไม่ใช่คู่แข่ง และเขาจะมีปัญหาตรงที่ไม่สามารถปล่อยกับ DEALER ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเช่าซื้อรถเก๋งได้"

แม้ว่าจะต้องเสาะหาตลาดที่เป็นของตัวเองอย่างยากลำบาก แต่เมื่อพบแล้วมันก็มีค่ามหาศาล นี่เป็นผลงานที่น่าภาคภูมิใจไม่น้อยสำหรับสมชายในวันนี้ผู้ดูแลพอร์ทฯ มูลค่า 7,000 ล้านบาทของซิตี้แบงก์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us