Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550
การทำ Marketing ในโลกเสมือนจริง             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
www resources

โฮมเพจ ธอมัสไอเดีย

   
search resources

Networking and Internet
Marketing
ธอมัสไอเดีย, บจก.
อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล
อารยา เช้ากระจ่าง




ปัจจุบันในโลกเสมือนจริง (virtual) อย่างไซเบอร์สเปซ กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถประมาณตัวเลขจำนวนคนได้ ดังนั้นหากใครที่คิดจะทำการตลาดเพื่อขายสินค้าให้กับคนกลุ่มนี้แล้ว จำเป็นต้องอาศัยมืออาชีพที่เข้าใจวิธีการเข้าถึงได้อย่างแท้จริง

คงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นไม่น้อยหากลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนบรรยากาศ ภายในบ้านและได้เข้าไปในเว็บไซต์ของบริษัทผู้ขายอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน แล้วมีความรู้สึกเหมือนกับได้เข้าไปเดินอยู่ในโชว์รูมสินค้าจริงๆ ที่มีพนักงานขายคอยให้ข้อมูลและตอบคำถามที่สงสัย รวมทั้งสามารถทดลอง ติดตั้งตู้ โต๊ะ เตียง กระเบื้องบุผนัง จัดมุมต่างๆ รวมทั้ง การเลือกสีและเปลี่ยนแปลงสีของอุปกรณ์เหล่านั้นได้ตามใจชอบ

สถานการณ์เช่นว่าถือเป็นตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นสำหรับการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นกลไกสำหรับช่วยในการขายสินค้า ซึ่งมีการพูดถึงมานานและเริ่มมีความเป็นจริงขึ้นมาเรื่อยๆ

แต่ที่สำคัญยิ่งกว่า คือพฤติกรรมการซื้อขายและทำธุรกิจในโลกไซเบอร์ที่ยังไม่สามารถประมาณจำนวนคนที่เข้าถึงได้เช่นนี้ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อน ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ๆ ซึ่งจบการศึกษาออกมาในแต่ละปีที่ส่วนใหญ่มักใช้เวลาอยู่ในโลกไซเบอร์เกือบครึ่งหนึ่งของเวลาใน 1 วัน

การทำการตลาด (marketing) ในโลก แห่งเสมือนจริงสำหรับคนกลุ่มนี้จึงถือเป็นศาสตร์ใหม่ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้กันอีกมาก ตามเทคโนโลยีที่พัฒนาออกมา และกลุ่มผู้บริโภคที่มีวิถีชีวิตและพฤติกรรมหลากหลาย

จะอาศัยเพียงหลักการตลาดในโลกแห่งความเป็นจริงอย่างเดียวเหมือนเดิมคงไม่ได้ เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคมีความละเอียดลออ ลึกซึ้ง และซับซ้อนยิ่งกว่า

บริษัทธอมัส ไอเดีย ถือเป็นบริษัทหนึ่ง ที่ประกาศตัวว่าเป็นมืออาชีพในธุรกิจนี้ โดยชูจุดเด่นที่อยู่ในธุรกิจมาถึง 12 ปี เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่คนเพิ่งเริ่มรู้จักกับคำว่าอินเทอร์เน็ต

อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล กรรมการผู้จัดการ ของธอมัส ไอเดีย นิยามลักษณะของธุรกิจที่เธอทำอยู่ว่าเป็นอินเตอร์แอคทีฟ เอเยนซี่ ให้บริการให้คำปรึกษาและวางกลยุทธ์ออนไลน์ ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ และทำการตลาด แบบดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง

ธอมัส ไอเดีย ก่อตั้งขึ้นโดยอุไรพรกับอารยา เช้ากระจ่าง เมื่อปี 2538 โดยเริ่มจาก การเป็นที่ปรึกษาในการวางระบบหลังบ้าน และค่อยๆ พัฒนาบทบาทขึ้นมาจนกลายเป็น การวางกลยุทธ์การตลาด โดยอาศัยเทคโนโลยี ของอินเทอร์เน็ต

แบ็กกราวน์ของอุไรพรและอารยาอาจแตกต่างกัน แต่ในความแตกต่างก็อาจดูสอดคล้องกันสำหรับการบุกเบิกธุรกิจประเภท นี้ของทั้งคู่

อุไรพรเป็นวิศวกรขณะที่อารยาเป็นสถาปนิก

อุไรพรจบการศึกษาปริญญาตรีวิทยา ศาสตร์เคมี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโทวิศวกรรมเคมี สาขาปิโตรเคมี และ natural gas engineering จาก Texas A&I University เมือง Kingsville มลรัฐ Texas และปริญญาโทอีกใบสาขาอุตสาหการ จาก Arizona State University เมือง Tempe มลรัฐ Arizona เมื่อปี 2533

ขณะที่อารยาจบการศึกษาปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ปริญญาโทสาขาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม และปริญญาโทอีกใบในสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ จาก Arizona State University ซึ่งทำให้ทั้งคู่ได้รู้จักกัน

หลังจากจบการศึกษาอุไรพรได้เป็นวิศวกรควบคุมระบบของบริษัท Honeywell-ICOTRON ที่สหรัฐอเมริกา และกลับมาเป็น control engineer ให้กับบริษัทสตาร์ปิโตรเลียม ซึ่งเป็นโรงกลั่นน้ำมันของคาลเท็กซ์ ที่จังหวัดระยอง

"การเป็น control engineer ทำให้ต้องทำงานอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอด เวลา ต้องศึกษาเรื่องอินเทอร์เน็ตและมองเห็น ว่าแนวโน้มของอินเทอร์เน็ตจะต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในอนาคต" อุไรพรบอก กับ "ผู้จัดการ"

ส่วนอารยาหลังจบปริญญาโทใบแรกในปี 2532 ทำงานเป็นสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบให้กับ Martin&Dvoretzky ในสหรัฐอเมริกาอยู่ 2 ปี จึงได้ไปเรียนปริญญาโทใบที่ 2 และกลับมาเป็นสถาปนิก และผู้จัดการระบบ CAAD ให้ กับบริษัท SJA 3D ในไทย เมื่อปี 2537

ความที่ทั้งคู่ต้องทำงานอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์ทำให้มองเห็นถึงช่องทางธุรกิจ ที่มีเป้าหมายเดียวกัน จึงได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทธอมัส ไอเดีย ขึ้นในปี 2538

หากมองอย่างผิวเผิน ลักษณะงานของธอมัส ไอเดีย ไม่ต่างจากบริษัทที่ปรึกษาในการวางระบบคอมพิวเตอร์หรือบริษัทที่ออกแบบเว็บไซต์ทั่วๆ ไป แต่เมื่อวิเคราะห์ลงไปอย่างละเอียดแล้ว ทุกกระบวนการทำงานของธอมัส ไอเดีย จะเน้นให้เว็บไซต์และ ระบบของลูกค้า เอื้อ และสนับสนุนกับกลยุทธ์ การตลาดที่แต่ละบริษัทได้วางไว้

ที่สำคัญสามารถนำรูปแบบและแอพพิ เคชั่นต่างๆ ในเว็บไซต์เหล่านี้มาใช้ในการทำ การตลาดและการขายสินค้าได้จริงๆ

ผลงานสร้างสรรค์เว็บไซต์ของธอมัส ไอเดีย ได้รับรางวัลระดับนานาชาติมาแล้วหลายรางวัล โดยรางวัลล่าสุด คือผลงานการ ออกแบบเว็บไซต์ให้กับกลุ่มมหพันธ์ ซึ่งได้รับรางวัล Silver Award in Consumer Image Website category และเว็บไซต์ของทีเค ปาร์คที่ได้รับรางวัล Bronze Award in Community Website category จากการประกวด The 2007 Summit Creative Awards

หากอยากรู้ว่าเว็บไซต์ที่สามารถนำมาใช้กับการทำการตลาดได้จริงๆ เป็นอย่างไร โดยเฉพาะในส่วนที่เป็น virtual gallery ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.mahaphant.com หรือหากอยากศึกษาเว็บไซต์ที่เป็นอินเตอร์แอคทีฟซึ่งผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถสื่อสารในลักษณะเรียลไทม์กับชุมชนคนกลุ่มเดียวกันที่กำลังออนไลน์อยู่ได้ ก็ลองเข้าไปดูใน www. tkpark.com ซึ่งเป็น 2 เว็บไซต์ที่เพิ่งได้รับ 2 รางวัลล่าสุด


การทำ Marketing
ในโลกเสมือนจริง
ปัจจุบันในโลกเสมือนจริง (virtual) อย่างไซเบอร์สเปซ
กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถประมาณตัวเลขจำนวนคนได้ ดังนั้นหากใครที่คิดจะทำการตลาดเพื่อขายสินค้าให้กับคนกลุ่มนี้แล้ว จำเป็นต้องอาศัยมืออาชีพที่เข้าใจวิธีการเข้าถึงได้อย่างแท้จริง

คงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นไม่น้อยหากลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนบรรยากาศ ภายในบ้านและได้เข้าไปในเว็บไซต์ของบริษัทผู้ขายอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน แล้วมีความรู้สึกเหมือนกับได้เข้าไปเดินอยู่ในโชว์รูมสินค้าจริงๆ ที่มีพนักงานขายคอยให้ข้อมูลและตอบคำถามที่สงสัย รวมทั้งสามารถทดลอง ติดตั้งตู้ โต๊ะ เตียง กระเบื้องบุผนัง จัดมุมต่างๆ รวมทั้ง การเลือกสีและเปลี่ยนแปลงสีของอุปกรณ์เหล่านั้นได้ตามใจชอบ

สถานการณ์เช่นว่าถือเป็นตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นสำหรับการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นกลไกสำหรับช่วยในการขายสินค้า ซึ่งมีการพูดถึงมานานและเริ่มมีความเป็นจริงขึ้นมาเรื่อยๆ

แต่ที่สำคัญยิ่งกว่า คือพฤติกรรมการซื้อขายและทำธุรกิจในโลกไซเบอร์ที่ยังไม่สามารถประมาณจำนวนคนที่เข้าถึงได้เช่นนี้ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อน ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ๆ ซึ่งจบการศึกษาออกมาในแต่ละปีที่ส่วนใหญ่มักใช้เวลาอยู่ในโลกไซเบอร์เกือบครึ่งหนึ่งของเวลาใน 1 วัน

การทำการตลาด (marketing) ในโลก แห่งเสมือนจริงสำหรับคนกลุ่มนี้จึงถือเป็นศาสตร์ใหม่ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้กันอีกมาก ตามเทคโนโลยีที่พัฒนาออกมา และกลุ่มผู้บริโภคที่มีวิถีชีวิตและพฤติกรรมหลากหลาย

จะอาศัยเพียงหลักการตลาดในโลกแห่งความเป็นจริงอย่างเดียวเหมือนเดิมคงไม่ได้ เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคมีความละเอียดลออ ลึกซึ้ง และซับซ้อนยิ่งกว่า

บริษัทธอมัส ไอเดีย ถือเป็นบริษัทหนึ่ง ที่ประกาศตัวว่าเป็นมืออาชีพในธุรกิจนี้ โดยชูจุดเด่นที่อยู่ในธุรกิจมาถึง 12 ปี เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่คนเพิ่งเริ่มรู้จักกับคำว่าอินเทอร์เน็ต

อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล กรรมการผู้จัดการ ของธอมัส ไอเดีย นิยามลักษณะของธุรกิจที่เธอทำอยู่ว่าเป็นอินเตอร์แอคทีฟ เอเยนซี่ ให้บริการให้คำปรึกษาและวางกลยุทธ์ออนไลน์ ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ และทำการตลาด แบบดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง

ธอมัส ไอเดีย ก่อตั้งขึ้นโดยอุไรพรกับอารยา เช้ากระจ่าง เมื่อปี 2538 โดยเริ่มจาก การเป็นที่ปรึกษาในการวางระบบหลังบ้าน และค่อยๆ พัฒนาบทบาทขึ้นมาจนกลายเป็น การวางกลยุทธ์การตลาด โดยอาศัยเทคโนโลยี ของอินเทอร์เน็ต

แบ็กกราวน์ของอุไรพรและอารยาอาจแตกต่างกัน แต่ในความแตกต่างก็อาจดูสอดคล้องกันสำหรับการบุกเบิกธุรกิจประเภท นี้ของทั้งคู่

อุไรพรเป็นวิศวกรขณะที่อารยาเป็นสถาปนิก

อุไรพรจบการศึกษาปริญญาตรีวิทยา ศาสตร์เคมี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโทวิศวกรรมเคมี สาขาปิโตรเคมี และ natural gas engineering จาก Texas A&I University เมือง Kingsville มลรัฐ Texas และปริญญาโทอีกใบสาขาอุตสาหการ จาก Arizona State University เมือง Tempe มลรัฐ Arizona เมื่อปี 2533

ขณะที่อารยาจบการศึกษาปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ปริญญาโทสาขาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม และปริญญาโทอีกใบในสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ จาก Arizona State University ซึ่งทำให้ทั้งคู่ได้รู้จักกัน

หลังจากจบการศึกษาอุไรพรได้เป็นวิศวกรควบคุมระบบของบริษัท Honeywell-ICOTRON ที่สหรัฐอเมริกา และกลับมาเป็น control engineer ให้กับบริษัทสตาร์ปิโตรเลียม ซึ่งเป็นโรงกลั่นน้ำมันของคาลเท็กซ์ ที่จังหวัดระยอง

"การเป็น control engineer ทำให้ต้องทำงานอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอด เวลา ต้องศึกษาเรื่องอินเทอร์เน็ตและมองเห็น ว่าแนวโน้มของอินเทอร์เน็ตจะต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในอนาคต" อุไรพรบอก กับ "ผู้จัดการ"

ส่วนอารยาหลังจบปริญญาโทใบแรกในปี 2532 ทำงานเป็นสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบให้กับ Martin&Dvoretzky ในสหรัฐอเมริกาอยู่ 2 ปี จึงได้ไปเรียนปริญญาโทใบที่ 2 และกลับมาเป็นสถาปนิก และผู้จัดการระบบ CAAD ให้ กับบริษัท SJA 3D ในไทย เมื่อปี 2537

ความที่ทั้งคู่ต้องทำงานอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์ทำให้มองเห็นถึงช่องทางธุรกิจ ที่มีเป้าหมายเดียวกัน จึงได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทธอมัส ไอเดีย ขึ้นในปี 2538

หากมองอย่างผิวเผิน ลักษณะงานของธอมัส ไอเดีย ไม่ต่างจากบริษัทที่ปรึกษาในการวางระบบคอมพิวเตอร์หรือบริษัทที่ออกแบบเว็บไซต์ทั่วๆ ไป แต่เมื่อวิเคราะห์ลงไปอย่างละเอียดแล้ว ทุกกระบวนการทำงานของธอมัส ไอเดีย จะเน้นให้เว็บไซต์และ ระบบของลูกค้า เอื้อ และสนับสนุนกับกลยุทธ์ การตลาดที่แต่ละบริษัทได้วางไว้

ที่สำคัญสามารถนำรูปแบบและแอพพิ เคชั่นต่างๆ ในเว็บไซต์เหล่านี้มาใช้ในการทำ การตลาดและการขายสินค้าได้จริงๆ

ผลงานสร้างสรรค์เว็บไซต์ของธอมัส ไอเดีย ได้รับรางวัลระดับนานาชาติมาแล้วหลายรางวัล โดยรางวัลล่าสุด คือผลงานการ ออกแบบเว็บไซต์ให้กับกลุ่มมหพันธ์ ซึ่งได้รับรางวัล Silver Award in Consumer Image Website category และเว็บไซต์ของทีเค ปาร์คที่ได้รับรางวัล Bronze Award in Community Website category จากการประกวด The 2007 Summit Creative Awards

หากอยากรู้ว่าเว็บไซต์ที่สามารถนำมาใช้กับการทำการตลาดได้จริงๆ เป็นอย่างไร โดยเฉพาะในส่วนที่เป็น virtual gallery ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.mahaphant.com หรือหากอยากศึกษาเว็บไซต์ที่เป็นอินเตอร์แอคทีฟซึ่งผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถสื่อสารในลักษณะเรียลไทม์กับชุมชนคนกลุ่มเดียวกันที่กำลังออนไลน์อยู่ได้ ก็ลองเข้าไปดูใน www. tkpark.com ซึ่งเป็น 2 เว็บไซต์ที่เพิ่งได้รับ 2 รางวัลล่าสุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us