Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550
ถึงเวลาเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

   
related stories

ได้เวลา K NOW (อ่านว่าเค-นาว)

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
บัณฑูร ล่ำซำ
Banking




ตลอดระยะเวลา 28 ปี ของการทำงานในธนาคารกสิกรไทยของบัณฑูร ล่ำซำ วัย 54 ปี ในฐานะทายาทของตระกูลล่ำซำรุ่นที่ 4 ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่มีหน้าที่ดูแลทิศทางยุทธศาสตร์แสวงหาโอกาสใหม่ๆ ตลอดจนดูแลทรัพยากรบุคคลเพื่อขับเคลื่อนเครือกสิกรไทยที่มีอายุ 62 ปี ให้ดำเนินธุรกิจประสบผลสำเร็จเฉกเช่นในอดีตที่ผ่านมา

บัณฑูรได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงธนาคารกสิกรไทยหลายต่อหลายครั้ง เพราะเขาตระหนักดีว่าในยุคของเขาการแข่งขันธนาคารมีความรุนแรงต้องสู้กับธนาคารในประเทศ ขณะเดียวกันในธุรกิจก็ต้องรับมือกับธนาคารต่างประเทศ

ที่ผ่านมาเขาได้รื้อระบบคอมพิวเตอร์ โดยมีแนวคิดใช้คอมพิวเตอร์ประมวลข้อมูลเพื่อการบริหาร (MIS : Management Infor mation System) และพัฒนาไปสู่บริการ retail banking มุ่งให้บริการลูกค้ารายย่อย จากเดิมที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าองค์กรเป็นส่วนใหญ่

ไม่เพียงเท่านั้นในปี 2538 ที่ธนาคารกสิกรไทยครบรอบ 50 ปี เขาได้ Reengineering กระบวนการทำงานใหม่ รวมทั้งการดีไซน์สำนักงานใหม่ให้เป็นโทนสีเขียว การปรับเปลี่ยนในครั้งนั้นทำให้ธนาคารกสิกรไทยกลายเป็นที่จดจำของลูกค้ามากขึ้น

เมื่อปี 2540 ไทยเข้าสู่ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ที่เรียกว่าต้มยำกุ้ง ธนาคารกสิกรไทยก็ได้รับผลกระทบในครั้งนั้นเช่นเดียวกับธนาคารอื่นๆ และบริษัทขนาดใหญ่ที่กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศ ส่งผลให้หนี้เพิ่มพูนอีกหนึ่งเท่าตัว ทำให้ธนาคารตัดทิ้งบริษัทในเครือออกไปเกือบหมด

การแก้ปัญหาดังกล่าว ธนาคารกสิกรไทยจึงเป็นธนาคารที่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว มีการเพิ่มทุนจากต่างประเทศ (เม.ย. 2541) และระดมทุนในประเทศ (ม.ค.2542) ได้สำเร็จเป็นธนาคารแรก ที่สำคัญเป็นธนาคารที่มี NPL (Non Performing Loans) ในระบบเพียง 35% จากทั้งระบบโดยเฉลี่ย 45% จากภาวะวิกฤติทำให้ตระกูลล่ำซำ ถือหุ้นเหลือเพียง 6-7%

ภายหลังบัณฑูรแก้ไขสถานการณ์ทางด้านการเงินได้แล้ว เขา ก็มีนโยบายปรับโครงสร้างใหม่อีกครั้ง ด้วยการเพิ่มทุนจดทะเบียนและ ประกาศใช้ผังองค์กรใหม่ที่แบ่งออกเป็น 8 สายธุรกิจ และ 5 บริษัทในเครือ

ในปี 2548 ธนาคารประกาศสร้างแบรนด์ใหม่ ใช้คำว่า KExcel-lence เป็นสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และบริการของเครือธนาคารกสิกร ไทย และนำเอาตัวอักษร K ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกของชื่อ KASIKORN มาใช้ตั้งเป็นชื่อของบริการทางการเงินของทุกบริษัทในเครืออีกด้วย อาทิ KBank, KFactoring, KResearch, KSecurities

นอกเหนือจากการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ด้านธุรกิจแล้ว ในส่วนทรัพยากรบุคคลในยุคของบัณฑูรได้มีการปรับลดจำนวนลง จากเดิมที่มีพนักงานประมาณ 16,000 คน ปัจจุบันเหลือจำนวน 11,757 คน

หลังจากที่พ้นผ่านวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 มาได้แล้ว ผลการ ดำเนินงานของธนาคารกสิกรเริ่มเติบโตทุกปี ล่าสุด ผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกของปีนี้มีสินทรัพย์รวม 962,631 ล้านบาท หนี้สินรวม 867,856 ล้านบาท รายได้รวม 36,942 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 7,964 ล้านบาท

ส่วนปี 2549 มีสินทรัพย์รวม 935,508 ล้านบาท หนี้สินรวม 847,270 ล้านบาท รายได้รวม 65,969 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 13,664 ล้านบาท

ปัจจุบันมีบริษัทในเครือ 5 แห่ง คือบริษัทแฟคเตอริ่งกสิกรไทย บลจ.กสิกรไทย บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย และบริษัทลิสซิ่งกสิกรไทย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us