|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2550
|
|
การออกมาปรากฏตัวต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี ของบัณฑูร ล่ำซำ ที่ได้ประกาศทิศทางธุรกิจใหม่ของเครือธนาคารกสิกรไทย ซึ่งใช้ชื่อว่า K NOW ย่อมน่าจะมีความหมายมากกว่าแค่การแถลงข่าวธรรมดา
เกือบ 2 ปี ที่ชื่อบัณฑูร ล่ำซำ เงียบหายไปจนบางคนอาจคิดว่าธนาคารกสิกรไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก นอกจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่บ้างเป็นบางครั้ง
ว่ากันว่าในช่วงเวลาดังกล่าวในความรู้สึกของบัณฑูรกำลังเกิดอาการ "เบื่อ" ที่เห็น ในตลาดการเงินมีแต่ผลิตภัณฑ์เดิมๆ การแข่งขันระหว่างธนาคารก็เหมือนเดิม มีสินค้าเหมือนกันทุกอย่าง ดังนั้นทุกคนกำลังแข่งขัน ในสิ่งที่เหมือนกันและพยายามแสวงหาจุดขาย ที่แตกต่าง สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือคุณภาพ ของบริการ แต่เมื่อมองลงไปลึกๆ แล้วจะพบ ว่าเงื่อนไขก็ไม่แตกต่างกัน
บัณฑูรกำลังชี้ให้เห็นว่าธุรกิจกำลังติด กับดักของตัวเอง คิดว่าได้ทำมาหมดทุกอย่าง แล้ว ธนาคารเองก็คิดว่ามีผลิตภัณฑ์ทางการเงินครบถ้วนแล้ว
เหตุเหล่านี้จึงทำให้บัณฑูรลุกขึ้นมาโชว์ปาฐกถาพิเศษ "แนวคิดใหม่ในการทำธุรกิจของเครือธนาคารกสิกรไทย" ที่เป็นนวัตกรรมความคิดในการทำธุรกิจของเครือธนาคารกสิกรไทย เป็นเรื่องที่ไม่เคยพูดมาก่อน ซึ่งบัณฑูรได้ยืนโชว์ปาฐกถาพิเศษนี้ร่วมชั่วโมงให้กับสื่อมวลชนได้ฟังเป็นครั้งแรกของปีนี้ เมื่อ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา
K NOW เป็นแนวคิดที่บัณฑูรต้องการ สร้างองค์ความรู้ให้กับลูกค้าธนาคารกสิกรไทย โดยองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นนี้ธนาคารจะเป็นผู้เริ่มสร้างขึ้นมา ความรู้ที่เกิดขึ้นนี้เป็นข้อมูลที่ผ่านการสังเคราะห์มาแล้วอย่างดี ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ กับชีวิตส่วน ตัวหรือธุรกิจของลูกค้า โดยจุดหมายปลาย ทางของแนวคิดนี้ก็เพื่อให้ลูกค้ามีความสุขในชีวิตอย่างแท้จริง
สิ่งที่บัณฑูรพยายามทำมากที่สุดในขณะนี้คือให้ผู้บริหารและพนักงานของธนาคาร กสิกรขยายกรอบความคิดให้กว้างขึ้น ไม่ยึดติดกับผลิตภัณฑ์การเงินที่มีอยู่ นับว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับตัวเขา
"เป็นแนวคิดที่พูดแล้วเข้าใจไม่ง่ายนัก ไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่คนมักจะลืมเพราะว่าทำธุรกิจไป ทุกธุรกิจก็จะติดในสินค้าของตัวเอง นี่เป็นจุดบอดของธุรกิจคือติดอยู่ในสินค้า เดิมของตัวเอง มองโจทย์แค่ตรงนั้น มองโจทย์ แค่ธุรกิจการเงิน มองโจทย์ว่าฉันเป็นแค่สายการบิน มองโจทย์ธุรกิจผลิตรองเท้าต่างๆ พวกนี้ไม่ได้มองโจทย์ที่กว้างว่าจริงๆ ลูกค้ามีความต้องการมากกว่านั้น"
โจทย์ของบัณฑูรและคำพูดที่ซ่อนอยู่ใน K NOW นั้นมีเป้าหมายปลายทางอยู่ที่ลูกค้าก็จริง แต่ผู้ที่จะทำให้เกิดผลได้ ก็คือพนักงานเครือกสิกรไทยที่มีกว่า 1 หมื่นคนนั่นเอง โดยโจทย์นี้มี 2 ส่วน ส่วนแรก พนักงานต้องสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ทางด้านการเงินที่ควบคู่ไปกับองค์ความรู้ขึ้นมาโดยผลิตภัณฑ์ จะต้องเป็นสากลที่ต้องมีนวัตกรรมเข้ามาผสมผสานเพื่อแข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ เพราะคู่แข่งไม่ได้อยู่เฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น
โจทย์ที่สอง การบริหารต้นทุนที่ชาญฉลาด จะทำอย่างไรให้บริหารจัดการ กระบวน การทำงาน จัดหาวัตถุดิบ ให้ส่วนต่างกำไรระหว่างรายได้กับรายจ่ายที่จะทำให้ธุรกิจอยู่ต่อไปได้
ซึ่งแนวคิด K NOW ผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการไปจนถึงกรรมการผู้จัดการ 300-400 คน ต่างได้รับโจทย์นี้ที่สำนักงานใหญ่ ราษฎร์บูรณะ ในช่วงเช้าวันเดียวกันกับที่สื่อมวลชนร่วมฟังในช่วงบ่าย บัณฑูรก็ยอม รับว่าแนวคิดนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ของผู้บริหารที่ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ
บัณฑูรกล่าวอย่างหนักแน่นว่า K NOW เป็นแนวทางที่ชัดเจนที่สุดและจะเป็นทิศทาง ของกสิกรไทยในทศวรรษหน้า
"แนวคิด K NOW จะมีการพูดอีกครั้ง ในการประชุมใหญ่ประจำปี ให้ผู้บริหารและพนักงานรับฟังในเดือนธันวาคม เพื่อสร้างความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน" ผู้บริหารกสิกรท่านหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
หากมองให้ลึกลงไป คำว่า K NOW ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่หรือแนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ แต่แนวคิดนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว ในเครือกสิกรไทยเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นนโยบายเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา โปรแกรมยุทธศาสตร์ ทั้ง 8 ประการที่มีเป้าหมายพัฒนาระบบบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีความรู้สึก ที่ดีตั้งแต่แรกและมีต่อเนื่องไปตลอดกระบวน การที่เขาเข้ามาสัมผัสกับธนาคาร และเมื่อจบสิ้นธุรกรรมแต่ละครั้งลูกค้าจะกลับมาใช้บริการอีก
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังได้พูดถึงการบริหารเชิงข้อมูลเพื่อเพิ่มผลตอบแทนและพัฒนาธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ โดยการทำงานของธนาคารทุกกระบวนการจะต้องสามารถกระทำโดยผ่านช่องทางไซเบอร์สเปซไปพร้อมกันได้ด้วย
ซึ่งก่อนหน้านี้บัณฑูรได้กล่าวไว้ว่า ยุทธศาสตร์ทั้ง 8 ประการ จะเริ่มเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมทีละเรื่อง ส่วนการบริหารเชิงข้อมูลกำลังจะเห็นชัดขึ้นในปี 2551
การพัฒนาข้อมูลบนโลกไซเบอร์ของ K NOW ได้ใช้เวลาพัฒนามาร่วม 1 ปี โดยมีทีมงานเข้ามาดูแลส่วนนี้โดยเฉพาะ และเพื่อ ให้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้นเขายกตัวอย่าง เว็บไซต์ของธนาคารชื่อว่า www.homesmiles club.com เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องบ้านทุกอย่าง อาทิ แบบบ้าน อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน รวมไปถึงฮวงจุ้ย เป็นเรื่องที่คนส่วนมากให้ความสนใจ รวมทั้งบัณฑูรก็มีความสนใจและมีความรู้เรื่องนี้ไม่ใช่น้อย ถึงกับออกตัวว่าในอนาคตอาจจะเป็นผู้หนึ่งที่ให้คำปรึกษาเรื่องฮวงจุ้ย นอกจากความรู้ที่เกี่ยวกับบ้านแล้ว KBANK ยังได้สอดแทรกผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินของธนาคารเข้าไป ด้วย ขณะนี้มีสมาชิก 35,000 คน ให้บริการมาเป็นระยะเวลา 1 ปี มีจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ 6-7 แสนราย และจะครบ 1 ล้าน รายภายในปีนี้
ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด สินเชื่อผู้บริโภค ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะผู้บริหารเว็บไซต์ดังกล่าว ให้เหตุผลที่เลือกพัฒนาข้อมูลสินเชื่อบ้านเป็นอันดับแรก เป็นเพราะว่าลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อบ้านมีประมาณ 50% จากลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อทั้งหมดของธนาคารกสิกรไทย และในปีนี้คาดว่าจะมีสินเชื่อบ้านประมาณ 90,000 ล้าน บาท
โฮมสไมล์คลับเป็นเพียงตัวอย่างที่บัณฑูรยกมาให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น แต่ต่อไป KBANK จะพัฒนาเว็บไซต์สุขภาพ โรงพยาบาล โดยแนะนำข้อมูล อาทิ จะผ่าตัด ที่ไหน บริการอย่างไรจะสอดคล้องกับความต้องการและมีประสิทธิภาพในงบประมาณที่มีจำกัด สุขภาพก็เป็นสิ่งหนึ่งเป็นปัจจัย 4 เรื่องการศึกษาและอื่นๆ ที่ประกอบกันเป็นชีวิตส่วนตัวของมนุษย์
สิ่งที่บัณฑูรกำลังสร้างขึ้นเป็นสังคมชุมชนบนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้มีการสื่อสารระหว่างธนาคารกสิกรไทยกับลูกค้า เป็นการกระตุ้นให้มีการสื่อสารระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นการจัดสัมมนาให้กับผู้ประกอบ การระดับเอสเอ็มอีจำนวน 3 รุ่น หรือ 1,400 คนที่ผ่านมาให้เรียนรู้การทำธุรกิจด้านต่างๆ อาทิ การตลาด กฎหมาย การจัดการบัญชี เข้าอบรมในเวลาหัวค่ำเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเหล่านี้เป็นทั้งลูกค้าธนาคารและไม่ใช่ลูกค้า แต่ในอนาคตบัณฑูร ก็หวังไว้ลึกๆ ว่า ผู้ประกอบการเหล่านั้นจะหันมาใช้บริการของธนาคารกสิกรต่อไป
นอกเหนือจากการสร้างองค์ความรู้ให้กับกลุ่มเอสเอ็มอีแล้ว เขายังมองว่าเป็นการ สร้างเพื่อนและสร้างเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือกัน เป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ธนาคารสร้างขึ้นมา และยังเป็นโจทย์ใหม่ของประเทศไทยที่สนับสนุนกลุ่มเอสเอ็มอี เพราะกลุ่มนี้จะเป็นฐานให้เศรษฐกิจเติบโตได้
"K NOW เป็นมิติใหม่ที่เรามองโจทย์ ของการสนองความต้องการของธุรกิจ K NOW อ่านอีกอย่างหนึ่งว่า โนว์ (KNOW) แปลว่า รู้ ตรงกลางเป็นลูกแก้ว มีกุญแจ สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตลูกค้าของเครือธนาคารกสิกรไทย ทั้งชีวิตที่เป็นส่วนตัวและชีวิตที่เป็น ธุรกิจ ที่ทำให้ธุรกรรมการเงินสนองความต้องการ เราไม่ได้เสนอผลิตภัณฑ์ตัวใดตัวหนึ่ง แต่เครือธนาคารกสิกรไทยมองตลาดที่กว้างมากไปกว่าเดิม มากว่าผลิตภัณฑ์ แต่จะสร้าง อุตสาหกรรมองค์ความรู้ เพื่อให้ชีวิตของลูกค้าประสบความสำเร็จ เราได้ใช้คำว่าเครือธนาคารกสิกรไทย สำหรับชีวิตวันนี้และ ตลอดไป หรือภาษาอังกฤษ KASIKORNBANK GROP : A People to Simplify your Life ในความจำกัดปริมาณเงินที่มีอยู่ และเวลา 24 ชั่วโมง จะเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรม ใหม่ ซึ่งแทรกมากับอุตสาหกรรมการเงิน ซึ่งเครือธนาคารกสิกรไทยจะพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ"
มุมมองในการดำเนินธุรกิจธนาคารกสิกรไทยของบัณฑูรในทศวรรษหน้า ไม่ได้มองเพียงธุรกรรมทางการเงินเพียงด้านเดียว แต่เขาได้มองลึกลงไปถึงชีวิตมนุษย์ว่า มนุษย์ต้องการความสุขในชีวิตและชีวิตของมนุษย์คนหนึ่งจะมี 2 ด้าน คือ ชีวิตที่ต้องทำงานหาเงินและชีวิตอีกด้านหนึ่งคือ การใช้เงินถือว่าเป็นมุมมองที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อน
|
|
|
|
|