Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550
สหรัฐฯ แย่ ไทยยิ่งแย่กว่า             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)

   
search resources

Economics
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย), บมจ.




ข้อมูลของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ที่พูดถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ปี 2551 เรียกได้ว่าเป็นสัญญาณเตือนภัยให้กับนักธุรกิจไทยที่ต้องเร่งปรับตัวกันค่อนข้างมาก เพราะในปีหน้าธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดถึงกับฟันธงว่าการส่งออกของไทยจะเหลือแค่ 8% จะเห็นการขาดดุล และการเคลื่อนย้ายทุนรุนแรงขึ้น

ไท ฮุย หัวหน้างานวิจัยเศรษฐกิจระดับ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กำลังชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในปีหน้ามีแนวโน้ม ชะลอตัวอย่างแน่นอน โดยมีเหตุผลสนับสนุน 3 ส่วน ด้วยกัน 1. ปัญหาซัพไพร์ม ที่เกิดจาก ภาคอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ 2. อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น และสุดท้าย การบริโภคมีการชะลอตัว

แม้ว่าธนาคารกลางหรือเฟดของสหรัฐอเมริกา จะพยายามแก้ปัญหาโดยการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะลดอีก 2 ครั้งในเดือนตุลาคมและธันวาคมนี้

สิ่งที่เกิดขึ้นกับอเมริกา อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จึงตั้งโจทย์ขึ้นมาว่า ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว สิ่งที่ไทยจะได้รับผลกระทบนั้นมีหลายด้าน โดยเฉพาะภาคส่งออก ที่ไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกาจำนวน 15% จากมูลค่าการส่งออกรวม

แต่อุสราบอกว่าตัวเลขการส่งออกที่แท้จริงของไทยไปสหรัฐ อเมริกาจะอยู่ที่ 35% ซึ่งเกิดจากบางประเทศที่นำเข้าสินค้าจากไทย ไปผลิตเป็นสินค้าอีกครั้งหนึ่ง หรือที่เรียกกันว่า re-export ดังนั้นผลกระทบที่ได้รับจึงเพิ่มขึ้น จนทำให้ในปีหน้าภาคการส่งออกจะลดลงเหลือเพียง 8% จากปีนี้ที่มีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย 10-12%

สัญญาณต่อไปคือดุลบัญชีเดินสะพัดจะลดลง เป็นเพราะว่า การส่งออกในปีหน้าจะลดลง แต่การนำเข้ากลับจะเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันที่นำเข้าในแต่ละปีมีจำนวนมากจนส่งผลให้มีการขาดดุล ถึง 2.5 พันล้านบาท เทียบกับเกินดุลในปีนี้ 4.8%

ส่วนค่าเงินบาทคาดว่าจะอ่อนลงไประดับที่ใกล้ๆ กับ 35 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐภายในปีนี้ และจะอ่อนค่าลงไปอีกในครึ่งปีหน้าเป็น 36.5 บาท ส่วนที่ว่าจะมีความเป็นได้อีกหรือไม่ที่ค่าเงินจะแข็ง อุสรามองว่าเงินบาทที่แข็งค่ามากที่สุด 33.2 บาทเมื่อเดือนสิงหาคม ได้ผ่านไปแล้ว และมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเห็นค่าเงินลงไปในระดับนั้นอีกรอบหนึ่ง

การเคลื่อนย้ายเงินทุนจะผันผวนค่อนข้างมาก โดยให้สังเกต ที่ตลาดหุ้นที่มีการซื้อขายเพิ่มสูงขึ้น แต่ในส่วนของผู้ซื้อต่างประเทศจะขายเพื่อทำกำไรและนำเงินเข้าไปอุดรอยรั่วของตลาดซัพไพร์มอีก เพราะปัญหายังไม่จบและอาจมีผลกระทบรอบ 2 ที่ว่ากันว่าอาจใช้เวลาถึง 18 เดือนนับจากนี้ไป

อุสราบอกว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกเรื่องหนึ่งคือการปล่อยสินเชื่อ ของธนาคารในประเทศในปีนี้น้อยลงมากเหลือเพียงแค่ 2% เมื่อเปรียบ เทียบกับปีก่อนที่มีถึง 7-8% แสดงให้เห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายเหลือ 3.25% ไม่สร้างความเชื่อมั่นให้กับธนาคารที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวมในปัจจุบัน ที่สำคัญคือภาคเอกชนที่มีการลงทุนน้อยมาก

ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้าทำให้ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดเสนอแนะให้ยกเลิกมาตรการการกันเงินสำรอง 30% และ เปิดทางให้เงินทุนต่างประเทศเข้ามาเพื่อรองรับตลาดพันธบัตรใหม่ๆ ที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ที่สำคัญถ้ามองภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีหน้าแล้วดูเหมือนว่า ยังไม่มีอะไรดีขึ้น เพราะราคาน้ำมันและสินค้าอุปโภคบริโภคจ่อคิวขึ้น ราคากันเป็นหางว่าวทีเดียว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us