Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2533
ฉากชีวิตสแตนลีย์ โฮเจ้าพ่อคาสิโน มาเก๊า             
 


   
search resources

สแตนลีย์ โฮ




การเป็นราชากาสิโนมาเก๊าและเจ้าของธุรกิจแทบทุกประเภทบนเกาะสวรรค์ของนักพนัน" แห่งนี้สแตนลีย์ โฮโนวัย 67 ปี ณ วันนี้ยังไม่รู้สึก "พอ" กับอาณาจักรธุรกิจในมือของตน ล่าสุดกำลังเจรจาจับมือกับ สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ประธานกรรมการบริษัทนครไทยสตีลเวิร์คร่วมลงทุนในโครงการนิคมอุตสหกรรมเหมราชที่ชลบุรี นี่ยังไม่ได้หมายรวมถึงความในใจของเขาที่คิดจะเปิดกิจการกาสิโนสักแห่งที่พัทยาบ้านเรากับที่โฮจิมินห์ ซิตี้, เวียดนาม ทั้งที่ปัจจุบันเขาเป็นเจ้าบ่อนกาสิโนอยู่ถึง 5 แห่งแล้ว

สแตนลีย์ โฮ เขาคือใคร

ย้อนหลังไปราวครึ่งศตวรษ แสตนลีย์ โฮเติบโตขึ้นจากพื้นฐานครอบครัวนักธุรกิจชาวฮ่องกงที่ต่อมาต้องเผชิญกับความผันผวนขึ้นลงนับครั้งไม่ถ้วน โฮ ฟุค คุณปู่ ของเขาเป็นนายหน้าติดต่อธุรกิจให้กับบริษัทจาร์ดีน แมทธีสัน ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดยักษ์ใหญ่ในฮ่องกง มีกิจการทั้งที่เป็นด้านการค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจเรียลเอสเตทและธุรกิจผลิตนมเนยเป็นต้น

ส่วนพ่อของเขา "โฮ กวอง" มีอาชีพ "คัมปะโด" ติดต่อธุรกิจให้กับตระกูล แซสซูนแห่งตะวันออกกลาง ข้างแม่ "ฟลอรา" ก็เป็นบุตรีของครอบครัวชนชั้นกลางที่เป็นนักกฎหมายและประธานสมาคมชาวจีน "ซิน ทัค-ฟัน"

โชคร้านที่คอรบครัวของเขาดำเนินธุรกิจผิดพลาด และตกต่ำเรื่อยมานับแต่การขดาทุนในกิจการค้าหุ้นช่วงทศวรรษ 1930 จนพ่อของเขาต้องหลบลี้หนีหน้าไปอยู่ที่ไซ่ง่อน ทิ้งให้สแตนลีย์ โฮต้องผจญกรรมกับแม่ตามลำพังในฮ่องกง

สแตนลีย์ โฮซึ่งไม่เคยใส่ใจกับการเล่าเรียนเมื่อครั้งที่ฐานะร่ำรวยจึงเริ่มเข้าใจกับความยากลำบากในชีวิต จากนักเรียนปลายแถวในชั้นเรียน เขาได้รับแรงผลักดันจากความล้มเหลวขอครอบครัวส่งให้กลายเป็นผู้มีความเข้มแข็ง และมีจุดหมายในชิวที่สุดสามารถคว้าทุนการศึกษาได้ครั้งแล้วครั้งเล่า ไต่เต้าจนเกือบจะได้เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮ่องกงอยู่แล้ว

ถ้าไม่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เสียก่อน

สแตนลีย์ โฮในวัย 20 ปีจำต้องเลิกเรียนหนังสือไปโดยปริยาย ยิ่งเมื่อญี่ปุ่นบุกฮ่องกงในปี 1941 เขาต้องลี้ภัยสงครามข้ามฟากไปเสี่ยงชะตากรรมในมาเก๊า พร้อมเงินติดกระเป๋าเพียง 10 ดอลลาร์ฮ่องกงกับความมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่จุดหมายและกระหายในความสำเร็จ

ชีวิตใหม่ที่มาเก๊าเริ่มต้นที่งานเลขานุการกับบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง จากนั้นสะสมทุนรอนไปเรื่อย ๆ เมื่อผสานกับความเป็นนักเจรจาต่อรองที่มีเหตุมีผลและเก่งกาจ 4 ปีถัดมาเขาก็เป็นเจ้าของเงินล้านดอลลาร์แรกในชีวิตจากการค้าขายกับประเทศจีน

สแตนลีย์ โฮไม่เคยหยุดนิ่ง เขาจะคว้าโอกาสทุก ๆ โอกาสที่ผ่านเข้ามากิจการของเขาจึงมีตั้งแต่บริษัทค้าทอง, ของเล่น, เหล็ก, เครื่องบิน, เคมีภัณฑ์และธุรกิจเดินเรือ พร้อมกันนี้ก็ดำเนินธุรกิจซื้อขายที่ดินในฮ่องกงไปด้วย จนกระทั่งถึงจุดพลิกผันครั้งสำคัญในปี 1962 ซึ่งเขาชนะการประมูลได้สัมปทานผูกขาดกิจการบ่อนการพนันในมาเก๊า โดยมีเงื่อนไขว่าเขาจะดำเนินการทุก ๆ อย่างเพื่อให้มาเก๊ากลายสภาพจากเกาะเล็ก ๆ ไม่มีอะไรน่าสนใจ ให้เป็นเกาะที่ทุกคนรู้จักให้ได้

"คุณจะต้องมีเชาวน์ และใช้สมองของคุณคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง การจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ คุณไม่จำเป็นจะต้องมีการศึกษาดีเสมอไป" สแตนลีย์โฮ พูดถึงเคล็ดลับที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ "ผมย้ำกับใครต่อใครเสมอ ๆ ว่าอย่าไปกลัวความล้มเหล้วที่อยู่เบื้อหงน้าคุณบางครั้งความล้มเหลวนั้นเป็นสิ่งดี ๆ ที่อำพรางตัวอยู่ ขอเพียงแต่คุณอย่าเพิ่งไปท้อถอย พยายามและพยายามต่อไปเถอะแล้วคุณก็จะประสบความสำเร็จเอง"

เมื่อได้ความช่วยเหลือสนับสนุนจากรัฐบาลโปรตุเกส สแตนลีย์ โฮเริ่มลงทุนในกิจการคมนาคมขนส่ง โรงแรมและกิจการที่อำนวยความสะดวกทุกอย่าง เพื่อดึงนักพนันและนักท่องเที่ยวหลั่งไหลสู่เกาะมาเก๊าตามัญญาที่ให้กับรัฐบาลโปรตุเกสจนประสบความสำเร็จมาถึงทุกวันนี้

นอกจากบ่อนกาสิโน "ลิสบัว" อันเลื่องลือแล้ว สแตนลีย์ โฮยังเป็นเจ้าของกจิการเรือข้ามฟากทุกชนิดระหว่างฮ่องกงและมาเก๊าซึ่งเป็นทางคมนาคมติดต่อระหว่างสองเกาะนี้เพียงทางเดียว กิจการคาบาเรต์โชว์ บริษัททัวร์นำเที่ยวรอบเกาะ โรงแรมบ่อนกาสิโน 5 แห่ง สนามแข่งสุนัขเกรย์เฮาด์และสนามแข่งขันไฮโล (กีฬาชนิดหนึ่งใช้คนเล่น 2 หรือ 4 คน ใช้ตะแกรงสานตีลูกให้สะท้อนจากำแพงและภัตตาคารลอยน้ำ 3 แห่ง

เรียกได้ว่าทุก 1 ใน 8 คนของประชากรมาเก๊าราว 420,000 คนต่างต้องพึ่งงานในกิจการหลากชนิดของสแตนลีย์ โฮเพื่อการดำรงชีพ ซึ่งยังไม่รวมกิจการของเขาที่กระจายอยู่ในยุโรป, แคนาดา และสหรัฐฯ

และเมื่อราว 2 ปีที่ผ่านมา สแตนลีย์โฮก็ตัดสินใจเอาผลประโยชน์ของตัวเองเป็นเดิมพันกับรัฐบาลสังคมนิยมจีนด้วยการเปิดขายหุ้น 25% ของบริษัท SOCIEDADE DE TURISMOE SIVERSOES DE MACAU หรือเอสทีดีเอ็ม บริษัทผู้จัดการผลประโยชน์ของเขาทั้งหมดในมาเก๊า หลังจากที่ผูกขาดกิจการมานานปีเพราะต้องการทำกำไรก้อนโตก่อนที่โปรตุเกสจะคืนเกาะมาเก๊าให้กับรัฐบาลจีนในปี 1999 ครั้งนี้นับว่าเป็นการเสี่ยงครั้งใหญ่ของสแตนลีย์ โฮที่เดาใจรัฐบาลจีนว่าคงไม่ยึดกิจการบ่อนกาสิโนของเขาแน่

"ผมกล้ารับประกันว่าจีนจะยอมให้มีบ่อนกาสิโนต่อไปหลังจากเข้าปกครองมาเก๊าแล้วไ

แน่นอนที่การเป็นเจ้าพ่อบ่อนพนันของสแตนลีย์ โฮย่อมต้องโยงใยไปถึงอิทธิพลมือ การลอบสัหงาร เรียกค่าไถ่แบล็คเมล์ การใช้ชั้นเชิงเล่ห์เหลี่ยมเข้าหากัน ฯลฯ แต่สแตนลีย์ โฮก็สามารถผ่านพันวิกฤตการณ์เหล่านี้มาได้ แถมยังก้าวสูงขึ้น แข็งแกร่งขึ้นทุกวันด้วยอารมณ์ขันส่วนตัวและความรักในชีวิต

"คนอื่น ๆ จะพยายามดึงให้คุณตกต่ำอยู่เสมอขณะที่คุณกำลังไต่ขึ้นสู่จุดสูงสุด แต่พอคุณก้าวไปถึงจุดนั้นได้แล้วก็ไม่มีอะไรจะมาสกัดกั้นคุณไว้ได้อีก มีแต่คุณจะก้าวต่อไปอีกเรื่อย ๆ " สแตนลีย์เชื่ออย่างนั้น

4 ตุลาคมที่ผ่านมา สแตนลีย์ โฮ ยัง ทุ่มเงินอีก 44.9 ล้านดอลลาร์เข้าซื้อหุ้นในกิจการขนถ่ายสินค้าทางอากาศ "แอร์ฮ่องกง" ส่งให้เขาได้เป็นประธานกรรมการคนใหม่ของธุรกิจการบินแห่งนี้ โดยถือหุ้นอยู่ 50%

"แอร์ฮ่องกง" ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1986 โดยนักธุรกิจฮ่องกง 3 ราย ดำเนินกิจการขนถ่ายสินค้าทางอากาศ โดยเช่าเครื่องบิน 707 จากรัฐบาลจีน มีเส้นทางบินระหว่างฮ่องกง, ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ จนถึงปีที่แล้วโอกาสที่จะพัฒนาต่อไปถึงการเป็นธุรกิจการบินรับส่งผู้โดยสารได้อีกต่อไปด้วย

เมื่อผ่านพ้นห้วงแห่งความโหดร้ายในชีวิตมาได้ สแตนลีย์ โฮในปัจจุบันจึงกำลังเรียกร้องบางส่วนที่เคยขาดหายไปเมื่อเขายังเด็ก เขาใส่ใจกับการดูแลรักษาสุขภาพส่วนตัว ทุก ๆ วันจะลงว่ายน้ำในสระส่วนตัว หรือเล่นเทนนิสสลับกันไปส่วนช่วงวันหยุดพักผ่อนสุดสัปดาห์จะออกล่าสัตว์ นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเต้นรำเท้าไฟที่มีท่วงท่ากระฉับกระเฉงคล่องแคล่วตรงข้ามกับวัย สแตนลีย์ โฮเห็นว่าการเต้นรำเป็นสิ่งที่ดึงเขาออกจากปัญหาชวนปวดหัวร้อยแปดในชีวิต

สำหรับลูกสาว 7 คนกับลูกชายอีก 1 คน สแตนลีย์ โฮไม่ได้มุ่งมั่นที่จะให้พวกเขาต้องเข้าไปพัวพันกับความสับสนวุ่นวายเหมือนกับตัวเขา หากสนับสนุนให้แต่ละคนได้ค้นพบลักษณะหรือคุณสมบัติพิเศษของตนเอง

"มีอะไรบางอย่างที่พิเศษมากๆ ในความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับพวกเราพ่อจะเป็นคนที่คอยสนับสนุนพวกเราให้ค้นหาคุณสมบัติพิเศษของตนเอง อย่างฉันชอบกีฬาและบัลเล่ต์ พ่อก็จะคอยกระตุ้นให้ฉันรู้สึกสนุกกับสิ่งที่ฉันชอบ และพวกเราก็ทำตามอย่างพ่อพวกเราชอบการท้าทายและจะหาทางเอาชนะสิ่งที่ท้าทายเหล่านั้นให้ได้" แองเจลา บุตรีผู้หนึ่งของสแตนลีย์โฮกล่าว

ยิ่งกว่านั้น สแตนลีย์ โฮยังเป็นพ่อที่เอาใจใส่ลูก ๆ อย่างมาก วันอาทิตย์จะเป็นวันที่เขาอุทิศให้กับครอบครัวเต้มที่ด้วยการพาครอบครัวไปเดินเที่ยวซื้อของหรือหาอาหารอร่อย ๆ ทานร่วมกันโดยพักความวุ่นวายในกิจการของเขาไว้ทั้งหมด

สแตนลีย์ โฮยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ใจบุญที่บริจาคเงิน เพื่อการกุศลหลายต่อหลายแห่งจนได้รับการยกย่องจากรัฐบาลฟิลิปปิ้นส์และได้เป็นประธานกิตติมศักดิ์ของเหล่าเนตรนารีฮ่องกงด้วย

ถ้าจะมีสิ่งที่น่าแปลกเกี่ยวกับผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งของเอเชียอย่างสแตนลีย์ โฮผู้นี้ก็คงจะเป็นความเห็นของเขาเกี่ยวกับการพนันที่ว่า

"ผมเกลียดการพนันมาก เพราะทนนั่งเล่นทั้งวันทั้งคืนอย่างนั้นไม่ไหว"

ใช่ล่ะ เขาไม่อาจอดทนต่อเกมพนันบนโต๊ะได้ แต่เขาทนรอได้เสมอกับเกมพนันธุรกิจที่ดำเนินมาตลอด 27 ปีเต็มและต่อไปอีก 10 ปีข้างหน้าเมื่อโปรตุเกสคืนเกาะมาเก๊าให้กับจีนในปี 1999 ซึ่งเขายืนยันไว้อย่างหนักแน่นว่า

"ธุรกิจส่วนใหญ่ของผมอยู่ที่นี่ผมเชื่อในอนาคตของฮ่องกงและมาเก๊า ผมจอยู่ที่นี่ต่อไป ผมไม่คิดจะอพยพไปไหนไม่ว่าจะในปี 1997 หรือ 1999 ที่นี่เป็นบ้านของผม ผมจะต้องอยู่ที่นี่"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us