Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550
ความสำคัญของ Networking             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

   
search resources

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - Sasin
MBA
องอาจ ประภากมล




องอาจ ประภากมล ยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ว่า การตัดสินใจเข้าเรียนต่อ MBA ที่ศศินทร์ของเขา เพราะเขาเห็นความสำคัญของคำว่า Networking

องอาจเป็นศิษย์เก่าหลักสูตร MBA รุ่นที่ 8 ปี 2533 ปัจจุบันเป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายคอมเมอร์เชียล บริษัททรู วิชั่นส์

เขามีเพื่อนร่วมรุ่นอย่างเช่นชนินทร์ ศิริสันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทชนินทร์ กรุ๊ป รวมถึงมาริสา มหาดำรงค์กุล ตระกูลแห่งธุรกิจนาฬิกา

และเขาก็เป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าศศินทร์ไม่ได้ผลิตบุคลากรขึ้นมาสำหรับป้อนให้กับวงการการเงินการธนาคารเท่านั้น

องอาจเป็นคนที่ไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศตั้งแต่เด็ก โดยถูกส่งไปเรียนชั้นประถมปีที่ 5 ที่สิงคโปร์ ตั้งแต่อายุได้เพียง 11 ขวบ และจบปริญญาตรีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จาก University of Massachusetts, Amherst สหรัฐอเมริกา

หลังเรียนจบกลับมาเมืองไทยได้เข้าไปเป็นวิศวกร วางระบบให้กับบริษัทยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น (UCOM) ที่เพิ่งได้รับสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

"คนพูดกัน เด็กเรียนเมืองนอกไม่มีเพื่อนมัธยมกับมหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุด คืออนาคตเมื่อโตขึ้นมา สำหรับคนที่เรียนในประเทศ ต่างคนต่างมีหน้าที่การงานและแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งที่เชื่อมกันได้หมด แต่คนที่เรียนเมืองนอกก็จะขาดตรงนี้"

ก่อนที่เขาจะตัดสินใจเลือกเรียนที่ศศินทร์ พ่อของเขามีส่วนสนับสนุน เขาเองก็เห็นว่าศศินทร์มีเคลล็อกก์ กับวาร์ตันเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ ซึ่งเขาก็รู้จักโรงเรียนทั้งสองเป็นอย่างดี อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ และขณะนั้นเขาเองไม่ต้องการกลับไปเรียนต่างประเทศอีก เพราะถือว่าได้ผ่านมาหมดแล้ว

ดังนั้นเขาตระหนักถึงความสำคัญของเครือข่ายสายสัมพันธ์ในการทำงานในอนาคต เมื่อในประเทศไทยมีศศินทร์ ทุกอย่างจึงเข้าล็อกกับเขาถึง 100%

เขาตัดสินใจลาออกจาก UCOM เลือกเรียนสายการตลาดที่ศศินทร์เต็มเวลา มูลเหตุที่เขาเลือกเรียนด้านการตลาดเป็นเพราะเห็นว่างานวิศวกรรมในเมืองไทยไม่เน้นการทำงานที่วิจัยและพัฒนา เนื่องจากไม่ได้เป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรม จึงเห็นว่าอนาคตในวิชาชีพนี้คงไปได้ไม่ไกล

"ผมก็ดูแล้วว่าถ้าอยู่เป็นวิศวกร ก็คงจะโต แต่จะโตแบบไม่ใช่ธุรกิจหลัก มีรุ่นพี่พูดว่า การที่เราเป็นเอ็นจิเนียร์ ควบกับบิสซิเนส มันน่าจะดี แต่ถ้าเรามีประสบการณ์ด้านการบริหาร น่าจะโตได้"

แม้ว่าเขาจะเลือกเรียนด้านการตลาดเป็นหลัก แต่ก็เรียนการเงินและการจัดการควบคู่กันไปด้วย การเรียนเป็นไปอย่างชนิดเข้มข้น และไม่เคยเจอมาก่อน เรียน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็สอบ

"ผมจะเล่าให้ฟังสนุกๆ คือมันเป็น semi-quarter คือ quarter หนึ่งจะมี 10 สัปดาห์ แต่เมืองไทยเป็น Semester ประมาณ 4 เดือนหรือ 16 สัปดาห์ ของเคลล็อกก์เป็น quarter แต่เนื่องจากอาจารย์เคลล็อกก์จะมาทั้ง 10 สัปดาห์คงไม่ไหว เขาจะมาแค่ครึ่งหนึ่ง สมมุติว่าเราเรียนในหนึ่ง quarter เราลงวิชาสัก 5-6 ตัว แสดงว่า ครึ่ง quarter เหลือ 3 วิชา แล้วแต่อาจารย์มาจะลงตัว 3-4 วิชา แต่มันเกิดเรื่องช็อก! คือคุณลองจินตนาการดู สัปดาห์แรกจบยังงงๆ อยู่เลย พอเขาบอกว่า สัปดาห์หน้าจะต้องสอบ accounting ไม่รู้เรื่องเลย เราไม่เคยเจอ แบบว่าเรียนไปแค่หนึ่งในสามของวิชา แล้วจะสอบ ก็ได้เพื่อนที่เรียนด้วยกันทางด้านบัญชี มาช่วยติวให้" เป็นจุดเริ่มต้นสายสัมพันธ์ที่เขาได้รับจากการเรียนในศศินทร์

หลังจากที่เขาเรียนจบ ตลาดการเงินกำลังเติบโต เขาลองไปทำงานในภาคการเงินอยู่ระยะสั้นๆ ที่ซิตี้แบงก์ แต่ก็ไม่ชอบ จนเมื่อบริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (P&G) เรียกตัวเขาไปทำงาน เขาจึงได้ทำด้านการตลาดอย่างเต็มตัว โดยเริ่มจากการดูแลผลิตภัณฑ์แชมพูสระผมแพนทีน

เมื่อมีโอกาสได้ทำงานที่ P&G ทำให้องอาจรู้ตัวว่าการตลาดคือตัวตนที่แท้จริงของเขา เพราะเขาไม่ชอบงานที่ต้องทำประจำ เขาพบว่าการตลาดเป็นการนำเสนอนวัตกรรม มีการคิดค้นที่ไม่สิ้นสุด ไม่หยุดนิ่ง ทำให้เขารู้สึกสนุก ในตอนนั้นแทบจะบอกได้ว่าเขาสามารถเล่าเรื่องของผลิตภัณฑ์ วิธีการทำตลาด ได้เป็นฉากๆ อย่างชนิดเจาะลึกทีเดียว

แม้ว่าเขาจะบอกว่างานที่ P&G สนุกก็ตาม แต่เขาก็ต้องลาออกเพื่อไปช่วยงาน ดร.อาชว์ เตาลานนท์ ซึ่งกำลังปลุกปล้ำบริษัทเทเลคอมเอเซีย ที่ได้รับสัมปทานโทรศัพท์พื้นฐาน 2 ล้านเลขหมาย และต้องกลับไปทำงานทางด้านวิศวกรรมอีกครั้ง แต่ในที่สุดเขาก็ได้หันมาทำงานทางด้านการตลาด โดยขอย้ายไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทยูทีวี เคเบิ้ล เน็ตเวิร์ค ที่ขายรายการบันเทิง แทนการขายแชมพู

เขาทำงานยูทีวีเรื่อยมาจนบริษัทเปลี่ยนมาเป็นทรู วิชั่นส์ ในทุกวันนี้

ดูเหมือนในจำนวน networking ที่เขามี เขาจะสนิทสนมกับรุ่นพี่อย่างชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ มากเป็นพิเศษในฐานะที่ต้องมีส่วนดูแลศิลปิน AF 2 ที่หนึ่งในนั้นเป็นลูกสาวของชัยวัฒน์ รุ่นพี่ของเขานั่นเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us