|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2550
|
|
"เงินออมที่อยู่ในกองทุนรวมทุกวันนี้มีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านบาท คุณอยากให้ฝรั่งมาเป็นผู้บริหารหรือเปล่า ถ้าถามคนลงทุนหรือลูกค้า เขาอาจจะบอกว่าใครก็ได้ขอให้ได้ผลตอบแทนดีที่สุด ผมก็คิดยังงั้น แต่ว่าถ้าดูเทียบกับภาพรวมของประเทศแล้ว เศรษฐกิจเงิน 1 ล้านล้าน อยู่ในมือการจัดการของฝรั่งหรือคนต่างชาติ ซึ่งมุมมองหรือความสนใจของเขาอยู่ที่อื่น ไม่ได้โฟกัสอยู่ในไทย มันเหมาะสมหรือเปล่า แม้ว่าคนเหล่านั้นจะเก่งก็ตาม"
เป็นคำถามที่น่าค้นหาคำตอบของอดิศร เสริมชัยวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ไทยพาณิชย์ ศิษย์เก่าศศินทร์ หลักสูตร MBA รุ่น 10 เข้าเรียนปี 2535
ปัจจุบันเขาเป็นนายกสมาคมศิษย์เก่าศศินทร์ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี นับจากปี 2550 เป็นต้นไป
แม้ว่าศิษย์เก่าของศศินทร์จะกระจายไปอยู่หลายๆ วงการ โดยส่วนใหญ่ที่คนรู้จักจะอยู่ในแวดวงการเงินการธนาคารก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าในอุตสาหกรรมจัดการกองทุนรวม ศิษย์เก่าศศินทร์ได้มีโอกาสแสดงบทบาทในฐานะผู้บริหารระดับสูงมากที่สุด
ในปัจจุบัน มี บลจ.ถึง 3 แห่งที่มีกรรมการผู้จัดการเป็นศิษย์เก่าศศินทร์ ได้แก่ อดิศร เสริมชัยวงศ์ ของ บลจ.ไทยพาณิชย์ โชติกา สวนานนท์ ของบลจ.ทหารไทย และฉัตรพี ตันติเฉลิม ของ บลจ.กรุงศรีอยุธยา
แต่หากย้อนอดีตกลับไป ยังมีบลจ. อีก 2 แห่งที่มีศิษย์เก่าศศินทร์เป็นผู้บริหารสูงสุด ได้แก่ บลจ. วรรณ อินเวสเม้นท์ ที่มีกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นกรรมการผู้จัดการ และ บลจ.บัวหลวง ซึ่งมี ธิติ เวชแพศย์ เป็นกรรมการผู้จัดการ เช่นกัน
ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าทั้ง 2 คนหลัง ปัจจุบันได้เข้ามาช่วยงานกับศศินทร์อย่างเต็มตัว ในฐานะรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสถาบัน
หากเปรียบอดิศรเป็นเสมือนตัวแทนของศศินทร์ในภาคธุรกิจจัดการกองทุนแล้ว เขาถือเป็นตัวแทนที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง เพราะสามารถบริหารทรัพย์สินที่อยู่ในรูปของกองทุนรวมให้เพิ่มสูงขึ้นจาก 1.2 หมื่นล้านบาท ในช่วงเริ่มต้นหลังจากมีการปรับโครงสร้างของ บลจ.ไทยพาณิชย์ เมื่อ 4 ปีก่อน มาเป็น 2.8 แสนล้านบาทในปัจจุบัน
ที่สำคัญเขาเป็นตัวแทนของคนที่ได้ก้าวเข้ามาสู่วงการการเงินการธนาคารจากการที่ได้ตัดสินใจเข้าเรียนต่อระดับปริญญาโทที่ศศินทร์
อดิศรจบปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจบสาขาเครื่องกล สมัยเรียนที่วิศวะ จุฬาฯ เขาได้เกรดเฉลี่ยปานกลาง แม้ว่าจะเป็นคนเรียนเก่งก็ตาม เพราะเขารู้สึกว่าการเรียนวิศวะ ไม่ตรงกับความต้องการของตัวเขามากนัก
"ระบบการศึกษาบ้านเรามีปัญหามานาน สอนให้เด็กท่องจำ ต้องสอบให้ได้ที่ 1 แต่ไม่สอนให้เด็กรู้ว่าโตแล้วจะไปทำอะไร ถนัดอะไร นี่คือปัญหา ผมเป็นผลพวงอันหนึ่ง ตอนเป็นเด็กก็ถูกปลูกฝังว่าเรียนให้เก่งๆ ต้องสอบได้ที่ 1 จะได้ไม่ลำบาก และหากสอบเข้ามหาวิทยาลัยจะต้องเลือกเรียนหมอ หรือวิศวะเท่านั้น ก็ไม่รู้ว่าทำไม ไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าสิ่งที่เรียนแล้วจะชอบไหม"
หลังจากเรียนจบวิศวะ อดิศรได้ไปใช้ชีวิตเป็นวิศวกรอยู่ช่วงหนึ่ง ในฐานะลูกจ้าง จนตอนหลังได้เป็นผู้ประกอบการ โดยร่วมกับเพื่อนเปิดบริษัทรับเหมาติดตั้งระบบ แต่เขาก็ยังไม่รู้สึกสนุกกับงาน ในที่สุดตัดสินใจมาเรียนต่อที่ศศินทร์
เขายอมรับว่าการมาเรียนที่ศศินทร์ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้เขาเป็นอย่างมาก เพราะได้ขยายมุมมองให้เห็นภาพกว้างของธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ที่สำคัญคือไม่มีการตีกรอบความคิดให้กับผู้เรียน
แต่ละปีศศินทร์จะมีนักเรียนแลกเปลี่ยน โดยอดิศรถูกส่งไปเรียนที่เคลล็อกก์เป็นระยะเวลา 1 เทอม ซึ่งเขา สามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการเรียนที่นี่ได้อย่างมาก
"ที่เคลล็อกก์มีวิชาหนึ่งทั้งชั้นมีคนเรียน 30-40 คน เป็นฝรั่งทั้งหมด แต่ตอนสอบมีได้เกรด A 3 คน ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้ พิสูจน์ให้เห็นว่าฝรั่งกับคนไทยก็ไม่แตกต่างกัน ขอให้ขยัน ตั้งใจก็สู้เขาได้"
หลังจบการศึกษาจากศศินทร์ อดิศรได้ก้าวเข้าสู่วงการเงินอย่างเต็มตัว โดยได้ไปเป็นผู้จัดการกองทุนให้กับกองทุน GIC ที่สิงคโปร์อยู่ 2 ปี ก่อนกลับมาเมืองไทย เป็นกรรมการผู้จัดการ บลจ.บีโอเอ และ ย้ายมาอยู่ บลจ.ไทยพาณิชย์ ในช่วงที่เริ่มมีการจัดโครงสร้างธุรกิจในเครือของธนาคารแห่งนี้ใหม่ เมื่อปี 2546
|
|
|
|
|