Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2533
UPS อายุใกล้ศตวรรษแต่ไม่หยุดเติบโต             
 


   
search resources

United Parcel Service




82 ปีของ UPS หรือ UNITED PARCEL SERVICE บริษัทรับส่งพัสดุไปรษณีย์สหรัฐฯนั้น ถ้าเทียบกับอายุมนุษย์เราก็นับว่าเข้าสู่วัยชราแล้ว หากตลอดระยะที่ผ่านมา บริษัทอนุรักษ์นิยมแบบสมัยวิคตอเรียนที่เน้นคุณธรรมในเรื่องความอดทน และความซื่อสัตย์ไม่เพียงแต่เอาชนะไปรษณีย์สหรัฐฯในบ้างเกิดได้เท่านั้น ในเวทีระดับโลกก็ยังเอาชนะคู่แข่งทั้งค่ายเฟเดอรัล เอ๊กซเพรส, DHL และ TNT ได้อีก

จอห์น อัลเดน SENIOR VICE PRESIDENT ฝ่ายการพัฒนาธุรกิจของ UPS เคยคุยอวดสรรพคุณของ UPS ไว้ว่า "เราวัดและคำนวณทุก ๆ อย่าง ผมคิดว่าบางทีเราอาจจะเป็นบริษัทที่มีความเป็นอุตสาหกรรมมากที่สุดในโลกก็ได้"

นี่เองที่ทำให้ผู้บริหารระดับผู้จัดการก็ยังกล้าคุยถึงวิธีการคำนวณต้นทุน ซึ่งละเอียดยิบ และสามารถคำนวณหาระยะเวลาที่พนักงานขับรถจะต้องใช้สำหรับการรับส่งสินค้าในระยะทาง 100 ไมล์ได้ภายในเวลาเพียง 5 หรือ 6 นาที ทุกวันนี้ พนักงานรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ของ UPS จำนวน 50,000 คนจึงต้องจัดส่งเอกสารถึง 5 ล้านชิ้นให้ถึงมือลูกค้าในแต่ละวันโดยไม่ยอมเสียเวลาพูดคุยกับลูกค้าซึ่งอัลเดนเห็นว่าจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แถมยังจะเป็นช่องทางให้พนักงานขาดความเอาใจใส่ต่อสินค้าที่ต้องนำส่ง อันอาจจะทำให้ชื่อเสียงของ UPS ที่ได้รับความไว้วางใจมานานต้องเสื่อมถอยไป

เพราะ UPS รู้ดีว่า "เราอาจจะไม่ได้เป็นบริษัทรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ได้ถ้าลูกค้าของเราไม่ให้ควมร่วมมือ" ความอ่อนน้อมถ่อมตนตรงนี้ส่งให้นิตยสารฟอร์จูน กล่าวถึง UPS ไว้ว่าเป็น "บริษัทขนส่งที่น่ายกย่อง"

จากจุดเริ่มต้นปี 1907 เจมส์ อี. เคสซีย์ ผู้ก่อตั้งได้วางหลักในการบริหารไว้ว่า "บรรดาผู้บริหารบริษัทควรจะเป็นเจ้าของกิจการเสียเอง" เหตุนี้หุ้นของ UPS ทั้งหมดจึงจกอยู่ในมือของเหล่าผู้บริหารตั้งแต่ระดับซูเปอร์ไวเซอร์ขึ้นไปรวม 10,000 คน โดยมีข้อแม้อยู่ว่า เมื่อผู้บริหารคนใดลาออกหรือเกษียณอายุแล้วจะต้องขายหุ้นคืนให้กับบริษัททั้งหมด

ด้วยหลักการนี้ UPS จึงขยับฐานะขึ้นจนถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือในระดับ AAA ปีทีแล้วทำกำไรได้ถึง 750 ล้านดอลลาร์จากยอดรายได้ 10,000 ล้านดอลลาร์ ยังไม่นับความยิ่งใหญ่ในแง่สินทรัพย์ซึ่ง UPS เป็นเจ้าของฝูงบินเพื่อการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ถึง 99 ลำ อีกทั้งมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่รองรับงานบริการลูกค้าอีกด้วย

ความแข็งแกร่งของ UPS อีกด้านหนึ่งก็คือความภักดีต่อองค์กรของพนักงาน ขณะที่ UPS เป็นองค์กรธุรกิจที่เน้นแรงงานมนุษย์เป็นด้านหลัก (LABOUR INTENSIVE) มีพนักงานรวมทั้งสิ้นราว 230,000 คน UPS มีวิธีการรักษาความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานด้วยการให้ผลตอบแทนสูงและยินยอมให้พนักงานรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน

นอกจากนั้น UPS ยังควบคุมการใช้จ่ายโดยตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ภายในสำนักงานแต่ละแห่งจะเน้นลักษณะความเรียบง่ายเป็นหลัก ผู้บริหารระดับสูงจะไม่มีเลขานุการส่วนตัวหากไม่จำเป็นจริง ๆ ส่วนพนักงานขับรถก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องการตรวจสอบสภาพรถและทำความสะอาดรถของตัวเองอย่างครบวงจรด้วย เมื่อผสานกับการบำรุงรักษารถอย่างดี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่รถส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ที่ UPS ออกแบบสร้างขึ้นเป็นลักษณะเฉพาะของตนจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยถึง 22 ปีทีเดียว

และเพราะเชื่อว่าพนักงานขับรถของบริษัทเป้นด่านหน้าที่ลูกค้าต้องพบก่อน UPS จึงเน้นให้พวกเขามีภาพพจน์ที่ดีในสายตาลูกค้านั่นคือ รอยยิ้ม ทรงผมที่สุภาพเรียบร้อย เครื่องแบบสีน้ำตาลที่สะอาดตั้งแต่หัวจรดเท้า

UPS ยังสนับสนุนให้พนักงานเติบโตในสายงานจากภายในองค์กรมากกว่าที่จะจ้างจากภายนอกเข้ามา ถ้าจะมีอยู่บ้างก็เฉพาะตำแหน่งเฉพาะด้าน เช่น พนักงานด้านคอมพิวเตอร์หรือด้านการบิน

เคนท์ ซี.เนลสัน ประธานกรรมการและประธานบริหารคนล่าสุดของ UPS ที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อเดือนธันวาคมเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับกรณีนี้ หลักจากทีเนลสันจบการศึกษาจากบอล สเตท ยูนิเวอร์ซิตี้ปี 1959 ก็เข้าร่วมงานกับ UPS เรื่อยมา เริ่มจากงานทางด้านบริการลูกค้า, พัฒนาธุรกิจและด้านการเงิน จากนั้นได้เข้าร่วมทีมงานของ UPS ชุดบุกเบิกตลาดยุโรปโดยยึดหัวหาดที่เยอรมันตะวันตกเป็นแห่งแรก

ปี 1978 เนลสันได้เป็นผู้บริหารด้านบริการลูกค้าและรับผิดชอบงานก่อตั้งฝ่ายการตลาดด้วย 5 ปีถัดมาเขาได้รับเลือกเป็น DIRECTOR AND SENIOR VICE PRESIDENT จนถึงปี 1984 ก็ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบด้านการเงินของบริษัทอีกด้วย ก่อนจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดดังกล่าว และผู้บริหารระดับสูงของ UPS ราว 99% ล้วนไต่เต้าขึ้นมาจากตำแหน่งคนขับรถรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

จอห์น โรเจอร์ อดีตประธานกรรมการบริษัทก็เคยผ่านประสบการณ์ตรงนี้มาก่อนเช่นกัน หลังจากที่เคี่ยวรำอยู่กับงานในบริษัทนานถึง 32 ปี

อีกส่วนหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ UPS ก็คือ การเน้นรับคนวัยหนุ่มสาวเข้าร่วมงานมีนักศึกษาราว 40,000 คนที่ทำงานพาร์ท-ไทม์ให้กับ UPS โดยกระจายกันอยู่ตามศูนย์ต่าง ๆ ทั่วสหรัฐพนักงานที่มีแววดีเมื่อจบการศึกษาก็จะได้รับการสนับสนุนให้ร่วมงานกับ UPS ต่อไป และมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงาน

ฐานลูกค้าจำนวนมหาศาลเป็นอีกจุดหนึ่งที่แสดงถึงความแข็งแกร่งของ UPS แต่ละวันจะมีลูกค้าในสหรัฐฯราว 1 ล้านคนเลือกใช้บริการของ UPS ด้วยความไว้วางใจในบริการที่เชื่อมั่นได้ว่า แม้จะไม่ได้เสียค่าบริการในอัตราต่ำสุด แต่เป็นอัตราที่เหมาะสมกับคุณภาพของบริการแล้ว เนลสันเองยังเชื่อมั่นในตัวลูกค้าถึงขนาดย้ำว่า "ลูกค้าจะรู้ดีว่าราคาที่ตั้งไว้เป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว"

ในสมัยบุกเบิกกิจการในชื่อเก่าว่า "AMERICAN MESSAGE SERVICE" ที่ซีแอตเติลเมื่อปี 1907 นั้นเคสซีย์เริ่มต้นธุรกิจของเขาจากการรวมกลุ่มเด็กวัยรุ่นคอยจัดส่งอาหารไปยังโรงแรมต่าง ๆ และส่งข้อมูลข่าวสารจากโทรศัพท์ส่งข่าว ตลอดจนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ให้กับร้านค่าต่าง ๆ ในท้องถิ่น

พอถึงยุคที่มีรถยนต์ใช้กันมาก และร้านค้าปลีกประเภท SHOPPING MALLS ผุดขึ้นตามหัวเมืองกันขนานใหญ่ UPS ก็ปรับตัวด้วยการเพิ่มบริากรแก่ผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่นอกเหนือไปจากที่เคยให้บริการลูกค้าที่เป็นร้านค้าปลีกรายย่อยด้วย

จุดนี้เองที่งานของ UPS เริ่มซ้ำซ้อนกับการไปรษณีย์สหรัฐฯ (US POSTAL SERVICE) เพราะต้องรับส่งพัสดุไปรษณีย์ด้วย แต่อีก 30 ปีต่อมา UPS ก็ขยายบริการของตนไปได้ทั่วทุกรัฐฯ

ความสำเร็จของ UPS ในตลาดบ้านเกิดนั้นไม่มีข้อกังขาใด ๆ แต่เมื่อคิดจะขยายข่ายงานออกไปสู่ระดับระหว่างประเทศ และเพิ่มบริการขนส่งทางอากาศด้วยย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งเมื่อตั้งเป้าหมายไว้สวยหรูว่าจะผลักดันตัวเองเข้าสุ่ธุรกิจระดับโลก ถึงขนาดให้มีรถรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ของ UPS ซึ่งมีทั้งที่เป็นรถบรรทุก, มอเตอร์ไซค์และจักรยานตระเวณให้บริการลูกค้าได้ทั่วทุกหนทุกแห่งในโลก

จริงอยู่ที่ UPS ริเริ่มเปิดบริการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ทางอากาศตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1950 แต่กลับละเลยยุทธศาสตร์บริการทางอากาศ หันไปทุ่มเทความสนใจให้กับบริการทางบกจนคู่แข่งสำคัญทั้งค่ายเฟเดอรัล เอ๊กซ์เพรสและ DHL ช่วงชิงผลกำไรจากช่องทางนี้ไปก่อน

ต้นทศวรรษ 1980 นี้เองที่ UPS เพิ่งตื่นจากหลับเริ่มเอาจริงเอาจังกับการพัฒนาบริการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ทางอากาศโดยใช้เครื่องบินโดยสารเป็นพาหนะ เมื่อปริมาณสินค้าที่ต้องขนส่งทวีจำนวนขึ้น UPS ก็ตัดสินใจก้าวกระโดดด้วยการซื้อเครื่องบินของตนเอง และจ้างผู้เชี่ยวชาญให้เป็นผู้ดำเนินการถึงปี 1987 ก็หาทางหลีกหนีความวุ่น่วายจากการที่มีบริษัทดำนินกิการทำนองเดียวกันถึง 4 รายใหญ่ โดยขยับฐานะตนเองขึ้นเป็นสายการบินอิสระ มีนักบินและช่างเครื่องของตนเอง ฝูงบินทั้ง 99 ลำประกอบด้วยเครื่องบินชั้นดีอย่างโบอิ้ง 747 จำนวน 6 ลำ, โบอิ้ง 757 อีก 15 ลำและโบอิ้ง 757 ชนิดพิเศษอีก 15 ลำ เป็นต้น

ส่วนการขับเคี่ยวกับคู่แข่งในตลาดระหว่างบริการระหว่างประเทศกล่าว

เคยมีผู้สงสัยว่า การวิ่งเข้าสู่ธุรกิจระดับระหว่างประเทศของ UPS นั้นจะสอดคล้องกับลักษณะของวัฒนธรรมองค์กรแห่งนี้หรือไม่ แต่ UPS ก็พิสูจน์แล้วว่าบรรดาพนักงานที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีนั้น สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่มาจากภายนอกได้ดีไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องอคอมพิวเตอร์เพื่อปฏิบัติงาน หรือการมีฝูงบินของตนเอง

สิ่งที่น่าหนักใจสำหรับ UPS ก็คือ การแข่งขันเพื่อชิงตลาดในทั่วโลก ขณะที่มีผู้ลงสนามขับเคี่ยวกันอยู่ถึง 4 รายใหญ่ นอกจาก UPS แล้วมี DHL, เฟเดอรัล เอ๊กซเพรส และ TNT

UPS นั้นเคยวางแผนจะซื้อกิจการ "FLYING TIGERS" ซึ่งเป็นสายการบินที่ใช้เพื่อการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ในเส้นทางหลักสู่โตเกียว, ฮ่องกงและสิงคโปร์ แต่ปรากฎว่าถูกเฟเดอรัลเอ๊กซเพรสชิงตัดหน้าไปเสียก่อนตั้งแต่เมื่อต้นปี 1989

UPS เคยพยายามที่จะซื้อกิจการคู่แข่งค่าย DHL ด้วย DHL นับเป็นกิจการที่ดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ระหว่าประเทศให้กับลูกค้าในสหรัฐฯถึงกว่าครึ่งหนึ่ง แต่ความพยายามของ UPS ก็ต้องเป็นหมันไป เพราะปัญหาเรื่องราคาและข้อจำกัดทางกฎหมายบางประการ

กระนั้นผู้บริหารของ UPS ก็เฉลียวฉลาดพอที่จะหาทางปรับปรุงธุรกิจของตนด้วยวิธีการอื่น ๆ อย่างเช่นการหันมาเน้นทางด้านรับส่งบรรจุภัณฑ์ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นธุรกิจส่วนที่ตนเชี่ยวชาญมาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว ซึ่ง UPS ก็เลือกไม่ผิด เพราะธุรกิจรับส่งจดหมายและเอกสารที่ส่งให้คู่แข่งของ UPS รุ่งเรืองขึ้นมาได้นั้นกำลังเผชิญกับปัญหาหนัก เมื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างโทรสารและอิเล็กทรอนิกส์เมล์ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว

ยิ่งกว่านั้น UPS ยังล้ำหน้าคู่แข่งด้วยการรุกเข้าสู่ธุรกิจบริการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยบรรจุโปรแกรมคอมพิวเตอร์แผนที่ในสหรัฐฯทั่วทุกแห่ง เชื่อมโยงกับรถรับส่งของบริษัท เพื่อให้รับส่งพัสดุได้โดยเร็วซึ่งทางหนึ่งคือการเตรียมการรับมือกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอนาคต แต่อีกทางหนึ่งก็เพื่อย้ำความมั่นใจกับลูกค้าว่าสินค้าจะถึงมือผู้รับโดยเร็วและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย

อย่างที่สู้อุตส่าห์วางคำขวัญสำหรับงานโฆษณาที่เผยแพร่ทั่วโลกกว่าบริการของ UPS นั้นทำให้คุณ "มั่นใจได้เหมือนนำไปส่งด้วยมือของคุณเอง" และเป็นภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของ UPS1 เสียด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us