Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543
สถาพร กวิตานนท์ Technocrat คนแรกๆของสังคมธุรกิจไทย             
 

   
related stories

บีโอไอแฟร์ 2000 ความภูมิใจของ "สถาพร"
ชีวิตการเมืองของสถาพร มี Know-how ในการทำงานกับผู้มีอำนาจ

   
search resources

สถาพร กวิตานนท์




สถาพร กวิตานนท์ มีความแตกต่างจากข้าราชการมาก ทั้ง ๆ ที่เขาทำงานในระบบราชการมาถึง 40 ปี ผ่านความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในบ้านเมืองมามากมาย โดยเฉพาะความสัมพันธ์อันแนบแน่น และเปิดเผยระหว่างธุรกิจกับราชการที่มากขึ้น ๆ

"ผมโชคดี ถ้าเป็นนิยายจีน ก็เรียกว่าได้เข้าไปอยู่ใน สำนักดาบที่ดี มียอดฝีมือมาก ทำให้ได้โอกาสเรียนรู้ ประสบการณ์จากผู้ที่มีความรู้ความสามารถหลายคน" สถาพรสรุปถึงจุดเด่น ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเขากับ "ผู้จัดการ"

หน่วยงาน ที่สถาพรใช้ชีวิตราชการอยู่อย่างใกล้ชิด และยาวนานที่สุด มี อยู่ 2 แห่ง คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ( บีโอไอ)

ทั้ง 2 แห่ง มีธรรมชาติ ที่แตกต่างจากหน่วยราชการ โดยทั่วไป เพราะ เป็นหน่วยงานวางแผนมองภาพรวมระดับโครงสร้าง ในความพยายามเสนอ สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ในระบบบุคคลภายนอก ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานทั้ง 2 ก็มีความแตกต่างจาก ที่อื่น โดยเฉพาะการที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ กับนักวิชาการ และนักลงทุนต่างชาติ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้าราชการของทั้ง 2 หน่วยงานนี้ จำเป็น ต้องปรับบุคลิกให้สามารถเข้ากับบุคคล ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย

การใช้ชีวิตในหน่วยงานทั้ง 2 แห่งได้ช่วยหล่อหลอม บุคลิกภาพ และ แนวคิดของเขาให้มีบุคลิกเฉพาะขึ้นมาอย่างหนึ่ง

ชีวิตราชการของสถาพร เริ่มต้นพร้อมกับการ ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับ ที่ 1 ซึ่งเป็นแผนที่เสนาะ อูนากูล อดีตเลขาธิการสภาพัฒน์เรียกว่าเป็นแผนที่มีผลในการปรับทิศทางของประเทศมากที่สุด เพราะมีการระดมทั้งนักวิชาการ และข้าราชการที่มีชื่อเสียงในหลายสมัยเข้าด้วยกัน มาช่วยกันร่างแผน

ในช่วงประเทศหลังยุคสงครามโลก ที่ต่อเนื่องยาวนาน เข้าสู่ยุคของการลงทุนจากตะวันตก พร้อมๆ กับการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างขนานใหญ่

แม้หลังจบเศรษฐศาสตรบัณฑิต จากธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2504 สถาพร ไม่ได้เริ่มงาน ที่สภาพัฒน์ทันที เพราะไปใช้ชีวิตเป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่ ที่กรมบัญชีกลางอยู่ 1 ปี แต่ช่วง ที่เขาย้ายมาอยู่ ที่สภาพัฒน์ ในปลายปี 2506 ผู้รู้หลายคนที่ร่วมกันร่างแผนยังคงทำงานอยู่ ดังนั้น สถาพรจึงยังมีโอกาสได้ใกล้ชิด กับบุคคลเหล่านี้

สภาพัฒน์ยุคที่สถาพรเริ่มเข้าไปทำงาน มีฉลอง ปึงตระกูล เป็นเลขาธิการ บุคคล ที่รับสถาพร เข้าทำงาน คือ เสนาะ อูนากูล ซึ่งขณะนั้น เป็นผู้อำนวยการกองวางแผน

ชีวิต 4 ปีแรกในสภาพัฒน์ ไม่มีอะไร ที่โลดโผนนัก เพราะสถาพรถูกส่งไปอยู่กองโครงการสังคม รับผิดชอบดูงานด้านสาธารณสุขอยู่ปีเศษ หลังจาก นั้น ได้รับทุน USOM ไปเรียนต่อปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ ที่สหรัฐอเมริกาจนถึงปี 2510

ปี 2510 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับ ที่ 2 ซึ่งมีนโยบายหลักคือ "การทำให้ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรเดียวกัน ผู้ใดจะแบ่งแยกมิได้ โดยอาศัยการพัฒนาเป็นหลัก"

ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติในขณะนั้น เห็นว่าภาคเอกชนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ จึงต้องการส่งเสริมบทบาทของเอกชนให้โดดเด่นขึ้น

ในปีเดียวกันนี้ ยังเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างธุรกิจของไทย ครั้งใหญ่ ด้วยการเกิดขึ้นของผู้ประกอบการรายใหม่ของไทย ที่มาจาก ผลพวงการลงทุนจากต่างประเทศ และเงินช่วยเหลือจากตะวันตกในการพัฒนาประเทศ

ปูนซิเมนต์ไทย เป็นตัวอย่างของการปรับเปลี่ยน ที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด ม.ล.เดช ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของปูนใหญ่ ได้พยายามปรับธุรกิจ ที่มีลักษณะธุรกิจของเจ้าขุนมูลนาย และเติบโตอย่างเชื่องช้า โดย การดึงมืออาชีพเข้ามาในปูนซิเมนต์ไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้ธุรกิจของปูน ซิเมนต์ไทย ที่กำลังอยู่ในสภาพของยักษ์หลับเริ่มลืมตาตื่นขึ้น

ในการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชน ให้เข้ามามีส่วนในการพัฒนาประเทศ สภาพัฒน์ได้มีการชักชวนบุคคล ที่มีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจหลายคน เช่น ถาวร พรประภา พล.ต. ประมาณ อดิเรกสาร สมหมาย ฮุนตระกูล สุขุม นวพันธ์ บรรเจิด ชลวิจารณ์ ฯลฯ ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมา เรียกว่า "คณะกรรมการพัฒนาภาคเอกชน"

พร้อมกันนี้ ก็ได้มีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมา เพื่อรองรับกับคณะกรรมการชุด ดังกล่าว คือ สาขาวางแผนเอกชน สังกัดอยู่ในกองวางแผน มีหัวหน้างานคนแรกคือ สมเกียรติ ลิมทรง แต่สมเกียรติอยู่ได้ไม่นาน ก็ลาออกจากราชการไปเริ่มก่อตั้งกิจการปูนซีเมนต์นครหลวง ซึ่งเป็นโรงงานปูนซีเมนต์ ที่เกิดขึ้นเป็นรายที่สอง ซึ่งเท่ากับคุกคามรายแรกพอสมควร

สถาพร ซึ่งขณะนั้น เพิ่งจบปริญญาโทจากเมืองนอกกลับมาได้ไม่นาน จึงถูกดึงตัวจากกองโครงการสังคม เข้ามารับผิดชอบงานด้านวางแผนเอกชนแทน

ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตของเขา

"ตั้งแต่เข้ามารับงานนี้ ผมก็ต้องคลุกคลีอยู่กับภาคเอกชนมาตลอดจนถึงปัจจุบัน" สถาพรบอกกับ "ผู้จัดการ"

งานหลักของคณะกรรมการพัฒนาภาคเอกชน คือ การระดมสมองจากภาคเอกชน เพื่อวางแผนพัฒนาประเทศ โดยมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา อีก 3 ชุด ประกอบด้วย

1. คณะอนุกรรมการด้านอุตสาหกรรมการเกษตร มีโอสถ โกสิน เป็นประธาน

2. คณะอนุกรรมการด้านอุตสาหกรรม มีพล.ร.ท.ชาลี สินธุโสภณ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในขณะนั้น เป็นประธาน

3. คณะอนุกรรมการด้านการเงินการคลัง มีสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นประธาน

มีการชักชวนบุคคลสำคัญๆ จาก ภาคธุรกิจ และนักวิชาการในขณะนั้น เข้ามาร่วมอยู่ในอนุกรรมการชุดต่างๆ เช่น อบ วสุรัตน์ บุญชู โรจนเสถียร สุกรีย์ แก้วเจริญ ฯลฯ

หน้าที่หลักของสถาพรในฐานะหัวหน้าสาขาวางแผนเอกชน ซึ่งเป็นข้าราชการประจำ คือ ต้องเข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมการทุกชุด ก่อน ที่จะสรุปทำเป็นเอกสาร เสนอเข้าสู่ ที่ประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่

"หลายสิ่งหลายอย่างที่มันเป็นอยู่ทุกวันนี้ เมื่อ 30 กว่าปีก่อน มันยังเป็นเพียงความคิด หน้าที่ของเราคือ ต้องศึกษาต้องวางแผน ต้องคิดถึงเรื่องการลงทุน การส่งออกจะเป็นอย่างไร จะทำอย่างไรในการตั้งตลาดหุ้น เรื่องกองทุนรวมจะตั้งกันอย่างไร ช่วงนั้น ใครไปอ่านตำราเจออะไร ที่น่าสนใจ ก็เขียน เป็นเปเปอร์ เสนอเข้าไป" สถาพรเล่าถึงงาน ที่ทำในขณะนั้น

การก่อกำเนิดขึ้นมาอย่างเป็นทางการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 ถือได้ว่าเป็นผลงาน ที่เป็นรูปธรรมชิ้นหนึ่ง ของคณะกรรมการชุดนี้

การที่ต้องทำงานร่วมกับบุคคลจากภาคเอกชนเหล่านี้อย่างใกล้ชิด มี อิทธิพลต่อสถาพรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการดูดซึมความคิด และประสบ การณ์ในเชิงธุรกิจ ซึ่งข้าราชการประจำคนอื่นไม่มีโอกาส

และความ ที่สถาพรเป็นคนทำงานเร็ว พร้อม ที่จะเสนอวิธีการใหม่ๆ เข้ามาใช้พัฒนางานให้ดีขึ้น ทำให้การประสานงาน การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับเอกชนดำเนินไปอย่างไม่ติดขัด

งานในสาขาวางแผนเอกชน ที่ต้องประสานงานกับคณะกรรมการพัฒนาภาคเอกชน ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง แม้จะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้งในช่วงระหว่างปี 2511-2520

ปี 2523 เสนาะ อูนากูล ได้ขึ้นเป็นเลขาธิการสภาพัฒน์ ส่วนสถาพรในขณะนั้น ได้ปรับตำแหน่งขึ้นเป็นผู้อำนวยการกองโครงการเศรษฐกิจ ดูแลเรื่องภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจทั้งหมด แต่ก็ยังรับผิดชอบงานในคณะกรรมการพัฒนาเอกชนอยู่ด้วย

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่เพิ่งขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจาก พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้มีการแต่งตั้งบุคคลจากภาคเอกชนเข้ามาร่วมรัฐบาลหลายคน

1 ในนั้น คือ บุญชู โรจนเสถียร ซึ่งได้เข้ามาเป็นรองนายกรัฐมนตรี

ความ ที่บุญชูเคยร่วมงานกับสถาพรในคณะกรรมการพัฒนาภาคเอกชน และรู้ว่าเป็นกลไกสำคัญ ที่จะช่วยแก้สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจในขณะนั้น ได้ หากผลักดันแนวความคิดนี้ให้เดินหน้าต่อ จึงได้เสนอต่อพล.อ. เปรม ซึ่ง พล.อ.เปรมก็เห็นด้วย

เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาล และเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) ขึ้นมา โดยมีโครงสร้างประกอบด้วยตัว แทนจากภาครัฐ คือ รัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจทุกคน และตัวแทนจากภาคเอกชน ประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการค้า และสถาบันการเงินเข้ามาร่วมเป็นกรรมการ

มีเสนาะในฐานะเลขาธิการสภาพัฒน์เป็นเลขานุการ โดยสถาพรเป็นผู้ช่วย แต่ก็เป็น ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ทำให้คณะกรรมการชุดนี้เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง

สถาพรทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับงานนี้ เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งใหม่ ที่จะเกิด ขึ้นกับสังคมไทย

"งานนี้เป็นงานราชการแบบใหม่ มีแนวทางใหม่ ซึ่งทำแล้วมันสนุก" สถาพรเล่า

บทบาทของกรอ.ในช่วงระหว่าง ปี 2524-2529 นับว่าโดดเด่นมาก เพราะ สามารถกระตุ้นความตื่นตัวของภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ขณะที่ภาครัฐก็ได้รับรู้ถึงปัญหาของเอกชนว่ากลไกของรัฐบาลได้สร้างอุปสรรคอย่างไรในการทำธุรกิจของเขา

"มันเป็นเรื่องวิวัฒนาการทางการเมือง ก่อนหน้านี้เราปกครองในระบบกึ่งเผด็จการโดยรัฐบาลทหาร มีการปิดกั้นของอำนาจ พวกนักธุรกิจก็ต้องเข้าหลังบ้าน กรอ.คือ กระบวนการเปิดประตูหน้าบ้าน เพื่อจัดระบบให้กับสิ่งเหล่านี้ ทำให้มีความตรงไปตรงมา และสังคมก็ต้องการความโปร่งใสมากขึ้น ต้องการมี ปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง ผู้ออกระเบียบกับผู้ปฏิบัติ" สถาพรกล่าวถึงบทบาทของกรอ. ในช่วงเริ่มต้น

การเดินทางไปประชุมกรอ. สัญจรตามภาคต่างๆ ถือเป็นจุดกำเนิดของหอการค้าจังหวัด แต่ละจังหวัด ซึ่งต่อมาภายหลังได้พัฒนาเป็นสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน

และในการประชุมของกรอ. หลายครั้ง ทำให้ได้รับรู้บทบาทของหน่วยงานรัฐอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งน่าจะเป็นกลไกสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ บีโอไอ

แม้ว่าบีโอไอจะจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ ปี 2509 แต่ช่วงก่อนหน้านั้น ไม่ค่อย ได้ แสดงบทบาทอย่างจริงจังนักในการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนขึ้นในประเทศ ถึงขั้น ที่นักธุรกิจหลายคนเคยขนานนาม หน่วยงานแห่งนี้ว่าเป็น "แดนสนธยา"

ความ ที่สถาพรมีส่วนคลุกคลีอยู่กับภาคเอกชนมาตลอด จึงถูกมองว่าน่า จะเข้ามาช่วยเสริมบทบาทให้หน่วยงานแห่งนี้ มีผลงาน ที่เด่นชัดขึ้น

ปี 2527 สถาพรถูกย้ายจากผู้ช่วย เลขาธิการสภาพัฒน์ มาเป็นรองเลขาธิการ บีโอไอ

"เพราะผมเป็นคล้ายกับคนวางแนววางรากฐานงานกรอ. พอมาตรงนี้ มันก็ง่ายเข้า" สถาพรกล่าวถึงช่วงต่อเนื่อง ที่ย้ายเข้ามารับงานในบีโอไอ

การทำงานในบีโอไอของสถาพร แม้จะเป็นงาน ที่ต่อเนื่องมาจากงาน กรอ. แต่บุคคล ที่สถาพรได้พบปะด้วย มีความ หลากหลายมากขึ้น

ในกรอ.ยุคปี 2523-2527 นักธุรกิจ ที่สถาพรต้องพบปะพูดคุยด้วย ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจภายในประเทศ และส่วนหนึ่งเป็นนักธุรกิจต่างจังหวัด

แต่ ที่บีโอไอ นักธุรกิจ ที่สถาพรได้พบ และสร้างสายสัมพันธ์ด้วย จะเป็นนักธุรกิจข้ามชาติ ซึ่งมีขนาดธุรกิจ ที่ใหญ่กว่าหลายเท่า

ปี 2527 เป็นปีที่สมหมาย ฮุนตระกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ของรัฐบาล พล.อ.เปรม ประกาศลดค่าเงินบาทลงมา 27%

ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นนโยบายส่งเสริม การลงทุน ในการผลิต เพื่อส่งออก อย่างจริงจัง หลังจาก ที่เน้นการผลิต เพื่อทดแทนการนำเข้ามาหลายปี

"ช่วงนั้น เศรษฐกิจของเรา ถ้าไม่เร่งเรื่องการส่งออก มันไปไม่ไหว พอเรา ลดค่าเงิน การส่งออกมันก็ดีขึ้นโดยตัวมันเองบ้าง แต่ผมดูแล้วยังไงก็ต้องเร่ง ส่งเสริม ต้องหาเงินเข้าประเทศ ก็เหมือน ตอนนี้ ที่ต้อ งเน้น 3 เรื่อง Tourist, Investment กับ Export ทั้ง Investment กับ Export มันไปด้วยกัน พอ ผมมาเป็น รองเลขาฯ บีโอไอ ผมก็ตั้งนโยบายส่งเสริมการลงทุน เพื่อส่งออกทันที หลังจากนั้น ในปี 2528 ผมก็ออกโรด โชว์เลย" สถาพรเล่า

นโยบายส่งเสริมการลงทุนผลิต เพื่อส่งออกในช่วงนั้น โดยเฉพาะการส่ง เสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาตั้งโรงงานผลิตในประเทศ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย ได้รับการวิพากษ์ วิจารณ์ค่อนข้างมากว่าเป็นการแก้ปัญหา ที่ปลายเหตุ เพราะนักลงทุนต่างชาติ ที่เข้ามา หวังอาศัยประเทศไทยเป็นเพียงฐานการผลิตเท่านั้น ไม่มีความจริงใจในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับคนไทย ที่จะเป็นรากฐานสำคัญ ในการพัฒนาให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม

แต่มุมมองของสถาพร เห็นว่า การจะพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมจะต้องมีขั้นตอน โดยเริ่มจากการรับจ้างผลิตก่อนเป็นอันดับแรก

"ญี่ปุ่นหลังสงคราม ก็เริ่มต้นจากการรับจ้างอเมริกาผลิตสินค้า ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ก็เหมือนกัน ก็เริ่มจากรับจ้างฝรั่ง รับจ้างบริษัท Texus Instrument ทีนี้พอรับจ้างแล้ว ก็มีกระบวนการอยากเป็นเถ้าแก่เอง ก็ต้องพัฒนาเทคโนโลย ีขึ้นมาเอง Acer คอมพิวเตอร์ของไต้หวัน มันก็มี ที่มาอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ที่บอกว่าการรับจ้างผลิต เพื่อส่งออกนั้น ผมว่าไม่ผิด" สถาพรยืนยันกับ "ผู้จัดการ"

สิ่งที่พิสูจน์คำพูดของสถาพรคือ หลังจากเริ่มนโยบายดังกล่าวมาได้ไม่กี่ปี เศรษฐกิจของประเทศก็เริ่มเงยหน้า จนบูมสุดขีดในช่วง 10 ปีต่อมา

และเป็น 10 ปีที่สถาพรได้เป็นที่รู้จักกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ธุรกิจ ขนาดใหญ่ ทั้งภายใน และต่างประเทศ

สถาพรได้ขึ้นเป็นเลขาธิการบีโอไอ เมื่อชีระ ภาณุพงษ์ เกษียณอายุลง ใน เดือนตุลาคม 2534 สิ่งแรก ที่เขาทำหลังจากได้ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในหน่วย งานแห่งนี้ คือ จัดการกับระบบงานภายในที่ล้าหลัง ปฏิวัติองค์กร เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ให้ความรู้สึกของคนที่คิดว่าเป็น "แดนสนธยา" หมดไป

สถาพรวางเป้าหมายให้บีโอไอต้องเป็นหน่วยงาน one stop service เพื่อให้นักลงทุน ที่มาติดต่อบีโอไอ สามารถได้รับรู้ข้อมูล ทุกอย่าง จากการเดินทางมาเพียงครั้งเดียว นอกจากนี้ก็ยังนำหลักการประชาสัมพันธ์มาใช้ เผยแพร่ข้อมูลพื้นฐานของประเทศไทยออกไปยังทั่วโลกผ่านทางสื่อต่างๆ

รวมทั้งการจัดงาน "ก้าวไกลไทย ทำบีโอไอแฟร์ 95 " ขึ้น ที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ในปี 2538 เพื่อต้องการโชว์ฝีมือของคนไทย ว่าสามารถผลิตสินค้าได้มีคุณภาพระดับโลก

สายสัมพันธ์ ที่สถาพรมีกับนักธุรกิจหลายคน มีส่วนช่วยทำให้งานบีโอ ไอแฟร์ครั้งแรก ป ระสบความสำเร็จด้วยดี หลังจากประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์ อันเป็นผลจากการ ลอย ตัวค่าเงินบาทเมื่อปี 2540 นับเป็นช่วง ที่สถาพรต้องคิดหนักว่าจะต้องปรับบทบาทของบีโอไออย่างไร เพื่อให้เป็นกลไก ในการช่วยกระตุ้นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น

สาเหตุของวิกฤติ ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ สถาพรมองว่าเกิดขึ้นเนื่องจากคนไทยคิดการใหญ่จนเกินไป และ ที่สำคัญมีการนำเงินไปใช้ผิดประเภท โดยเฉพาะการเล่น ที่ดิน ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการผลิต ตลอดจนมีการนำเงิน BIBF มา ใช้มากจนถึงระดับ ที่ต้องถูกบีบให้ปรับลดค่าเงิน

สิ่งที่สถาพรรีบทำโดยทันที คือ การปรับนโยบายให้นักลงทุนต่างชาติเข้า มาลงทุนในประเทศโดยสามารถถื อหุ้นได้เกิน50%

"เราเปลี่ยนตรงนี้ ไม่มีใครรู้ เรามองเห็นแล้วว่าคนไทยพลาดท่าคราวนี้ มันพลาดไปเลย มันต้องถูกเขายึดไปครึ่งหนึ่ง มันไม่มีทางเป็นอย่างอื่นได้ ก็ มีอยู่ 2 อย่าง อย่างหนึ่งคุณก็ปล่อยให้สู้กัน จนเลือดสาด แล้วก็ปิดโรงงานไป แต่เรายอมเปลี่ยนนโยบาย 50% เพราะถ้าไม่เปลี่ยนตรงนี้ จะไม่มีแรงจูง ใจในการดึงนักลงทุนต่างชาติ แล้วจะสับสนมากกว่านี้เยอะ"

หลังปรับนโยบายเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นไปแล้ว ปรากฏว่ามีโครงการลง ทุนของนักลงทุนต่างชาติมาขอรับการส่งเสริม และได้รับอนุมัติจากบีโอไอไป แล้วประมาณ 300 กว่าโครงการ ทุนจดทะเบียนรวม 40,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน

"ตรงนี้ผมเห็นกระแสด่าต่างชาติมันแรง ผมเลยไม่ได้ไปโฆษณา เพราะผมเห็นว่าเรื่อง nationalism นั้น มันเปราะบาง ถ้าเป็นวัตถุ ฝรั่งเขาจะเขียนไว้ เลยว่าแตกง่าย และข้างล่างจะเขียนไว้ handle w ith care เพราะฉะนั้น ผม เรียนรู้เรื่องนี้จากกล่อง และต้อง handle with care แต่ถามว่าทำไมต้องทำ ก็เพราะมาชั่งน้ำหนักดูแล้วไม่ทำมันจะไปไม่ได้ แต่ของบางอย่างถ้าทำ ไม่จำเป็นต้องไปโฆษณา ทำก็ทำเงียบๆ"

เขาบอกถึงกลยุทธ์ในการดำเนินนโยบาย ที่สำคัญของเขาในทางลึก ขณะเดียวกันก็มีแผนระดับกว้างเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน

นอกจากการปรับเปลี่ยนนโยบาย การถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติแล้ว กิจกรรมสำคัญ ที่จะใช้จุดประกายความเชื่อมั่นของคนไทยคือ การจัดงาน "เชื่อมั่นเมืองไทย บีโอไอแฟร์ 2000" ที่เมืองทองธานี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งเขาคิดว่าประสบผลสำเร็จเกินความคาดหมาย

ความสำคัญของงานใหญ่ ที่คาดกันว่าจะเป็นชิ้นสุดท้ายของชีวิตราชการ ก็คือ เป็นภาพสะท้อนของประสบการณ์ของสถาพร กวิตานนท์ ที่มีความสัมพันธ์ มีความรู้ในการสร้างความสัมพันธ์กับสังคมธุรกิจอย่างแนบแน่น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในช่วง 40 ปีที่ เขารับราชการอยู่อย่าง ธนินท์ เจียรวนนท์ จากซีพี บุญสิทธิ์ โชควัฒนา จาก สหพัฒน์ และโยชิ อะคิ มูรามัตซึ จากโตโยต้า ฯลฯ

บางคนบอกว่าเขาไม่เข้าใจบทบาท และไม่ให้ความสำคัญบทบาทของธุรกิจยุคใหม่ ซึ่งอยู่ในกระบวนการสร้างกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง และย่อย มาเสริม และลดน้ำหนัก การส่งเสริมกลุ่ม ธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นผลมาจากนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของรัฐ ตั้งแต่ตั้งบีโอไอมาเลยก็ว่าได้ ด้วยผลของสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อธุรกิจขนาดใหญ่ไม่กี่กลุ่มมีปัญหา ก็ทำให้ระบบ เศรษฐกิจโดยรวมพังทลายไปด้วย อย่างที่เป็นมาของสังคมไทย

แม้ว่าสถาพร กวิตานนท์ ดูจะไม่มีความคิด ที่ชัดเจนว่าด้วยธุรกิจขนาดกลาง และย่อย (SME"S) นัก แต่ก็ไม่มีปัญหามากมายนัก เพราะว่าเขาเหลือเวลาอยู่เพียง 17 เดือนเท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us