อากร ฮุนตระกูล เสาเอกของกลุ่มอิมพีเรียล ต้องการทำธุรกิจไปสู่ความเติบใหญ่ที่สุดในสิ้นทศวรรษนี้
เขาทำธุรกิจโรงแรมโดยไม่อาศัยเชนจากต่างประเทศเลย เขาบริหารอย่างไร จึงสามารถพิสูจน์ให้โลกยอมรับว่า
คนไทยก็ทำโรงแรมให้เติบใหญ่และมั่นคงได้
กลุ่มโรงแรมอิมพีเรียลของพี่น้องตระกูล "ฮุนตระกูล" เริ่มทำธุรกิจโรงแรมมาตั้งแต่ปี
2506 และเติบโตขยายเครือข่ายอย่างรวดเร็วมากเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา กล่าวสำหรับกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่ไมได้อาศัยเชนหรือเครือข่ายของต่างประเทศแล้ว
ปัจจุบันถือได้ว่า กลุ่มอิมพีเรียลเป็นคู่แข่งขันที่มีอัตราการเติบโตของเครือข่ายโรงแรมใกล้เคียงกับกลุ่มดุสิตธานีของ
ชนัตถ์ ปิยะอุย
กลุ่มอิมพีเรียงมีโรงแรมในเครือข่ายทั้งในกทม. และต่างจังหวัดขณะนี้ 7
แห่งคือ อิมพีเรียล อิมพาล่าธารา อิมพีเรียลสมุย อิมพีเรียลท้องทราย ซิตี้อินส์และจิมลอร์ด
มีห้องพักรวมทั้งสิ้น 1,105 ห้อง
เครือข่ายโรงแรมเหล่านี้ถูกเชื่อมร้อยด้วยวัฒนธรรมองค์กรเดียวกัน โดยอิสระจากบ่วงโซ่ของระบบการบริหารของเชนโรงแรมต่างประเทศอากร
ฮุนตระกูล พี่ใหญ่ของพี่น้อง "ฮุนตระกูลไ ประธานกรรมการบริษัทในกลุ่มที่เริ่มเข้ามารับช่วงทำธุรกิจต่อจากยิ้ม
ฮุนตระกูล ผู้บิดาเมื่อปี 2517 กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า เขาเชื่อมั่นในฝีมือของคนไทยจะสามาถทำธุรกิจ
LEISURE BUSINESS ได้ดีไม่แพ้บริษัทโรงแรมของต่างประเทศ "เราสามารถเรียนรู้ระบบการบริหารธุรกิจโรงแรมที่ทันสมัยจากต่างประเทศได้
แต่คนไทยมี "พรสวรรค์" ด้านการต้อนรับและน้ำใจการให้บริการที่สูงส่ง
ขณะที่คนต่างชาติไม่มีสิ่งนี้" อากรให้เหตุผลถึงความเป็นอิสระในการบริหารโรงแรม
โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้ระบบเชนของต่างประเทศ
ขณะที่อนาคตใกล้ ๆ นี้ กลุ่มดุสิตธานีกำลังเตรียมการร่วมลงทุนเปิดโรงแรมริมน้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯด้วยงบลงทุนสูงถึง
1.5 พันล้านบาทกับตระกูล "ก๊วก" แห่งสิงคโปร์เชนโรงแรมแชงกรี-ลาและโอเวอร์ซียูเนียน
เอ็นเตอร์ไพร์ แห่งสิงคโปร์ที่ลงทุนธุรกิจโรงแรมในสิงคโปร์ภายใต้เชนกลุ่มแมนดารินในฮ่องกง
นอกจากนี้ยังเตรียมโครงการร่วมทุนกับนักธุรกิจญี่ปุ่นเปิดธุรกิจโรงแรมในเวียงจัยทร์ขนาด
200 ห้อง และเตรียมเข้าประมูลแข่งกับกลุ่มยูไนเต็ดโอเวอร์ซีแลนด์ของสิงคโปร์
เพื่อวื้อที่ดินสถานฑูตไทยสนสิงคโปร์เตรียมเปิดโรงแรมที่นั่น ขณะเดียวกันในพม่ากลุ่มดุสิตธานีก็กำลังรอผลประมูลโครงการปรับปรุงและเข้าบริหารรับจ้างแบบ
MANAGEMENT CONTACT โรงแรมสเตนท์ (STRTAND HOTEL) ที่ย่างกุ้ง
ส่วนในประเทศกลุ่มดุสิตธานีกำลังวางแผนเข้าซื้อกิจการโรงแรมอีก 5 แห่ง
ขณะที่บริษัทปริ๊นส์เซสแกรนด์ โฮเต็ล ที่ดุสิตธานีถือหุ้นอยู่ 51% กำลังเตรียมตัวเดินเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
กลุ่มอิมพีเรียลก็ได้ออกข่าวตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดอะไฟแนนเชียลไทม์ เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วว่า
แผนการเติบโต 10 ปีข้างหน้านี้ จะขยายตัวด้านโรงแรมและธุรกิจ CATERING อย่างใหญ่โตมาก
"เราจะเข้าตลาดหุ้นกรุงเทพในนามบริษัทนิวอิมพีเรียลโฮเต็ล พร้อมเพิ่มทุนจาก
75 ล้านบาท ของบริษัทอิมพีเรียล โฮเต็ลกรุ๊ป ซีงเป็นโฮลดิ้งคอมปะนีของกลุ่มอิมพีเรียลเป็น
1,000 ล้านบาท ภายในสิ้นทศวรรษนี้เราจะมีโรงแรมในเครือข่ายเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก
10 แห่งทั่วประเทศ ร้านอาหารในยุโรปอีก 20 แห่ง" อากร ให้สัมภาษณ์ โรเจอร์
แมทธิวส์ ผู้สื่อข่าวไฟแนนเชียลไทม์ที่ออกในลอนดอน
จากการสำรวจโครงการขยายตัวของกลุ่มอิมพีเรียลระยะ 3 ปีข้างหน้า "ผู้จัดการ"
พบว่าเฉพาะด้านโรงแรม กลุ่มอิมพีเรียลจะมีเพิ่มขึ้นอีก 5 แห่ง คือที่ถนนสุขุมวิท
22 กทม.2 แห่ง แม่ฮ่องสอนริมแม่น้ำแพร่ติดพรมแดนไทยพม่า 1 แห่ง และที่เกาะสมุยอีก
2 แห่ง รวมห้องพักเพิ่มขึ้น 2,030 ห้อง ด้านห้องอาหารในยุโรป "คุณอากร"
จะเพิ่มขึ้นอีก 3 แห่งในลอนดอน 1 แห่งและปารีส 2 แห่ง
รวมความแล้วภายในสิ้นปี 2536 กลุ่มอิมพีเรียลจะมีห้องพักรวม 3,135 ห้อง
มีห้องอาหารในยุโรป 4 แห่ง ใช้เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท
อากรกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า ช่วงปี 2533-36 เขาเชื่อว่าปัญหาการล้นเกินของหัองพักยังไม่น่าเกิดขึ้น
เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจยังน่าจะอยู่เฉลี่ย 9-10%/ปี แม้จะมีข่าวว่า
มีนักลงทุนได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอในธุรกิจโรงแรมจำนวนมากถึง 65 โครงการจำนวห้องพัก
21,00 ห้อง ซึ่งเขาเชื่อว่าจะมีการลงทุนจริงไม่มากขนาดนั้นแน่นอน
แต่สำหรับหลังปี 2536 ไปแล้ว อากรเชื่อว่าปัญหาการล้นเกินของห้องพักจะเกิดขึ้น
ซึ่งตรงนี้สอดคล้องกับความเห็นของชนินทร์ โทณะวนิก ลูกชายชนัตถ์ ปิยะอุยจากกลุ่มดุสิตธานี
ที่กล่าวว่าเขาเชื่อว่าหลังปี 2536 หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อยจำนวนห้องพักน่าจะล้นเกินความต้องการ
ตรงนี้มีประเด็นว่าแล้วเหตุผลอะไรเล่า อากรจำนำกลุ่มอิมพีเรียลขยายตัวเติบใหญ่ต่อไป
เหตุผลก็คือ
การลงทุนโรงแรมถือเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่ง
ภายใต้สถานการณ์ที่เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราเฉลี่ยปีละ 10% ความต้องการที่ดินและก่อสร้างย่อมเติบโตสูงขึ้นตามเช่นกันมองจากจุดนี้
ตัวโรงแรมไม่ว่าจะเป็นตัวอาคารที่ดินของใช้พร้อมอุปกรณ์ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ถาวร
ย่อมมีค่าสูงขึ้นทุกวัน "เมื่อปี 2520 เราขยายห้องพักที่อิมพีเรียลเพิ่มขึ้นจากเดิม
170 ห้องเป็น 370 ห้องเงินทุนต่อห้องตกประมาณ 5 แสนบาทเท่านั้น ขณะที่ในปัจจุบันเงินลงทุนต่อห้องตกประมาณเกือบ
2 ล้านบาทแล้ว" สมศักดิ์ ฮุนตระกูล น้องชายอากร ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการกลุ่มอิมพีเรียล
กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
เหตุนี้ การลงทุนโรงแรมจึงมีความเสี่ยงต่อผลตอบแทนในสินทรัพย์ถาวรต่ำมากเมื่อเทียบกับธุรกิจผลิตอุตสาหกรรมอื่น
ๆ
เหตุผลอีกประการหนึ่ง การขยายตัวลงทุนของโรงแรม ช่วยเพื่อการประหยัดจากขนาดหรือ
ECONOMY OF SCALE ด้านการบริหาร เพราะธุรกิจโรงแรมที่ได้มาตรฐานต้องใช้กำลังแรงงานมาก
เนื่องจากแข่งขันกันในเชิงคุณภาพของบริการ กล่าวสำหรับกลุ่มอิมพีเรียลปัจจุบันมีสัดส่วนแรงงานต่อห้องในระดับ
2 : 1
ดังนั้นการลงทุนขยายโรงแรมจะช่วย UTILIZE กำลังแรงงานที่มีอยู่อย่างเต็มที่
ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของอากรที่ยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ว่า โรงแรมแห่งใหม่ที่เกิดขึ้นอีก
1,230 ห้องในช่วงปี 2534 เขาจะใช้กลุ่มผู้บริหารที่มีอยู่เดิมระดับผู้จัดการและซูเปอร์ไวเซอร์
ที่ทำงานอยู่ตามโรงแรมในเครือข่ายเข้าไปรับผิดชอบงานในโรงแรมแห่งใหม่ที่เกิดขึ้น
และประการสุดท้าย การขยายตัวลงทุนโรงแรมช่วยเสริมช่องว่างตลาดที่ยังขาดอยู่ให้ครบสมศักดิ์
กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า การเปิดอิมพาล่า เมื่อปี 2521 และธาราเมื่อปี
2531 เหตุผลทางธุรกิจส่วนหนึ่งต้องการเสนอทางเลือกให้กับลูกค้าที่ต้องการห้องพักราคาต่ำกว่าอิมพีเรียล
กล่าวคือ ราคาห้องพักที่อิมพีเรียลเสนอขายในราคาสูงเทียบเท่าโรงแรมเกรด A
ทั่วไป ขณะที่ธาราและอิมพาล่า ราคาจัดอยู่ในเกรด B และ C
การขยายตัวเครือข่ายโรงแรม เพื่อสร้างความใหญ่ทั้งด้านสินทรัพย์และเครือข่ายทางการตลาดกล่าวสำหรับจุดยืนทางความคิดในกาบริหารของอากรและผู้บิรหารกลุ่มอิมพีเรียลแล้ว
ไม่ใช่อันตรายเหมือนที่พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มปูนซีเมนต์ไทย
เคนกล่าวกับ "ผู้จัดการ" เมื่อปีก่อน กล่าวว่า สำหรับปูนซีเมนต์ไทยแล้ว
"ความใหญ่เป็นอันตราย"
จริงอยู่ลักษณะธุรกิจไม่เหมือนกัน แต่ในแง่มุมการบริหารแล้ว ความใหญ่ในสินทรัพย์และเครือข่ายทางการตลาด
ล้วนแล้วแต่เป็นยอดปรารถนาของผู้บริหารทุกองค์กรไม่ใช่หรือ
เส้นแบ่งความสามารถ ที่ถือเป็นมาตรฐานว่าความใหญ่เป็นอันตราหรือไม่ จริง
ๆ แล้วน่าจะอยู่ที่การรู้จักใช้ทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นทุน (ไม่ว่าจะกู้หนี้ยืมสินมาหรือไม่ก็ตาม)
และคน ให้สามารถ GENERATE กระแสเงินสดและกำไร ส่งผลตอบแทนมายังสินทรัพย์
และทุนนั้นเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า
บริษัท W.I.CARR (FAREAST) ได้คำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนของกลุ่มดุสิตธานีจากงบประมาณปีนี้ว่า
"ผลตอบทแนต่อส่วนผู้ถือหุ้นอยู่ในระดับ 24.8% และผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อยู่ระดับ
18.6%"
กล่าวสำหรับ กลุ่มอิมพีเรียล อากรให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง เมื่อปลายเดือนธันวาคมที่แล้วว่า
"ปีนี้กลุ่มอิมพีเรียลจะมีกำไรสุทธิประมาณ 132 ล้านบาท จากทุนส่วนของผู้ถือหุ้น
(EQUITY) 220 ล้านบาท" นั่นหมายความว่า ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นอยู่ในระดับ
60%
นักบริหารที่อยู่ในวงการธุรกิจโรงแรมต่างทราบดีว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนโรงแรมไม่ว่าเปิดใหม่หรือซื้อกิจการมาจากคนอื่น
ในยุคสมัยนี้ จะเริ่มมีกำไรก็ตกเข้าปีที่ 6 (เฉพาะโรงแรมที่มีขนาด 200 ห้องขึ้นไป)
และจะเข้าจุดคุ้มทุน (BREAK-EBENT POINT) ก็ปีที่ 8 ไปแล้ว เหตุผลมี 2 ข้อ
คือ หนึ่ง-การลงทุนโรงแรมใช้เงินทุนสูง ยกตัวอย่าง ถ้าระดับ 200 ห้อง จะมีมูลค่าลงทุนประมาณ
1.8 ล้านบาท ต่อห้อง (ยังไม่รวมค่าที่ดิน) หรือประมาณ 360 ล้านบาทค่าใช้จ่ายดำเนินการบริหารส่วนใหญ่จะอยู่ที่ค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างพนักงานและสาธารณูปโภค
ดังนั้นการบริหารงาน เพื่อให้เข้าถึงจุดกำไรเร็วที่สุดก็อยู่ที่การควบคุมค่าใช้จ่าย
2 รายการนั้นอย่างสมเหตุผล ขณะเดียวกันด้านรายได้ก็จะต้องรักษาระดับ OCCUPANCY
RATE ให้อยู่ในระดับ 85% ซึ่งภายใต้รายรับ - จ่ายเช่นนี้ GROSS OPERATIUNG
PROFIT จะอยู่ในระดับ 38 - 40%
"ถ้า OCCUPANCY RATE พุ่งถึงเฉลี่ย 90% ขึ้นไป GROSS OPERATING PROFIT
จะอยู่ในระดับ 45-50% ซึ่งในระดับผลตอบแทนนี้ โรงแรมโอเรียนเต็ลภายใต้การบริหารของ
เคิร์ท วาลด์ไวล์ ผู้จัดการทั่วไป สามารถทำได้ ซึ่งในความเห็นผมถือว่า ยอดเยี่ยมมาก"
อากรกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
แต่ในความเป็นจริง OCCUPANCY RATE จะไม่อยู่ในระดับ 85% ขึ้นไปตลอด เพราะตัวแปรสำคัญที่มีผลทำให้มีความผันผวนไม่แน่นอนอยู่ที่ตัวแปรภายนอกเช่นการเติบโตของการลงทุนการค้าสถานการณ์ทางการเมือง
ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้บริหารโรงแรม ยกตัวอย่างสถานการณ์เมื่อปี
2527-28 ที่การเมืองและเศรษฐกิจของไทยโดยภาพรวมตกต่ำมาก OCCUPANCY RATE ของโรงแรมทุกแห่งอยู่ในระดับ
40-50% เท่านั้น ใครทำได้ถึง 60-70% ถือว่าเก่งมากแล้ว ซึ่งช่วงเวลานั้นโรงแรมเกือบทุกแหง
GROSS OPERATING PROFIT ติดลบคือขาดทุนกันถ้วนหน้า
สอง-การบริหารโรงแรมต้องมีการลงทุนปรับปรุงสถานที่โดยเฉลี่ยทุก 5 ปี เพื่อสร้างความใหม่และดึงดูดลูกค้าที่มาพักและใช้บริการ
เหตุนี้การทำกไรที่ได้มาจึงต้องลงทุนซ้ำ ทำให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมากทุก
5 ปี คนในวงการโรงแรมพูดให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า เหตุผลที่ต้องลงทุนปรับปรุงสถานที่
(RENOVATION) ทุก 5 ปี ไม่ใช่เพื่อสร้างจุดดึงแขกเข้าพักเท่านั้น หากอยู่ที่เหตุผลด้านการบริหารรายจ่ายค่าเสื่อม
(DEPRECIATION) ของอาคารสถานที่ ซึ่งตามปกติสิ้นปีที่ 5 ค่าเสื่อมจะมีรายจ่ายเท่ากับ
0
เช่นนี้แล้ว เมื่อรายจ่ายจากค่าเสื่อมเท่ากับ 0 ก็จะมีผลทำให้รายได้เพิ่มสูงขึ้น
กำไรสุทธิก่อนหักภาษี 35% ก็จะสูง ฐานในการคำนวณเสียภาษีก็จะมาก มองในแง่นี้แล้วการลงทุน
RENOVATION จึงเหมือนยิงกระสุนนัดเดียวได้นก 2 ตัว
แต่ผู้ลงทุนก็จะต้องยอมรับในกฎเกณฑ์ธุรกิจนี้ว่าการจะหวังผลตอบแทนระยะสั้นยอ่มเป็นไปไม่ได้
ขณะเดียวกัน ในระยะยาวแล้วการลงทุนปรับปรุงอยู่สม่ำเสมอจะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสทำกำไรขยายมูลค่าสินทรัพย์มากขึ้น
กล่าวอีกนัยหนึ่งพูดแบบภาษาชาวบ้านก็คือ "ยิ่งโตยิ่งดี" และสิ่งนี้ก็คือปรัชญาการลงทุนของอากรและผู้บิรหารกลุ่มอิมพีเรียลที่ใช้มาตลอด
16 ปีที่ผ่านมา
กล่าวเฉพาะธุรกิจโรงแรมในเมืองไทย กลุ่มอิมพีเรียลจัดเป็นกลุ่มธุรกิจโรงแรมเก่าแก่กลุ่มหนึ่ง
เริ่มตั้งแต่ปี 2506 ที่ยิ้ม ฮุนตระกูล พ่อของอากร ประมุข "ฮุนตระกูล"
เริ่มขยายฐานธุรกิจครอบครัวจากร้านถ่ายภาพ "ฉายาจิตรกร" มาสู่โรงแรม
ด้วยแรงปรารถนาของนวลจันทร์ผู้ภรรยาหลังจากเดินทางไปจังหวัดลำปางแล้วเกิดประทับใจในธุรกิจโรงแรมที่นั่นเมื่อ
27 ปีก่อน
ยิ้มร่วมกับเพื่อนพ่อค้าไม้แถวย่านวัดสระเกศลงทุนด้วยเงินส่วนตัวก่อตั้งโรงแรมอิมพีเรียลด้วยทุน
15 ล้านบาท โดยยิ้มถือหุ้นส่วนข้างมาก 40% ตลาดโรงแรมในกทม.ยุคนั้นมีไม่เกิน
5 แห่ง เช่น โอเรียนเต็ล ทรอคกาเดโร เอราวัณ รอยัล เป็นต้น ขณะที่ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่คือทหารอเมริกาที่เข้ามาเมืองไทยเป็นฐานในการปฏิบัติการทางการเมืองและทหารในอินโดจีน
ความที่โรงแรมมีน้อยในเมืองหลวง ขณะที่ลูกค้ามีมาก ทำให้ผลการดำเนินธุรกิจของยิ้มและพรรคพวกในอิมพีเรียลประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว
3 ปีเท่านั้นก็คุ้มทุนแล้ว
ความสำเร็จอย่างรวดเร็วที่อิมพีเรียลเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจให้ยิ้มและพรรคพวกลงทุนต่อที่โรงแรมวินเซอร์
โดยยิ้มถือหุ้นส่วนข้างน้อย
ยิ้มกวาดกำไรอย่างงดงามจากอิมพีเรียลมาได้ 9 ปี เหตุการณ์ไฟไหม้โรงแรมอิมพีเรียล
ซึ่งถือเป็นอุบัติภัยครั้งแรกก็เกิดขึ้นเมื่อกลางปี 2516 ยิ้มไปเที่ยวเชียงใหม่กับภรรยา
"ช่วงนั้นตี 5 พอดี ผมกับอากรพักอยู่ที่ร้านฉายาจิตรกร ที่วังบูรพามีโทรศัพท์มาบอกว่า
โรงแรมไฟไหม้ เราก็รับเดินทางไปยังที่เกิดเหตุที่ซอยร่วมฤดีใช้เวลาเพียง
20 นาทีก็พบมันไหม้หมด เราได้ค่าประกัน 3 ล้านบาท" สมศักดิ์น้องชายอากรซึ่งปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการกลุ่มอิมพีเรียลเล่าย้อนอดีตจุดหัวเลี้ยวหัวต่อของครอบครัวขณะนั้นให้
"ผู้จัดการ" อย่างตื่นเต้น
ช่วงเวลานั้นอากรอายุเพียง 27 ปีทำงานอยู่เชสแมนฮัตตันแบงก์สาขากรุงเทพฯ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ ที่กำลังมีอนาคตรุ่งโรจน์ไต่เต้าขึ้นเป็น
"ผู้จัดการฝ่าย" ขณะที่สมศักดิ์ยังเป็นนักศึกษาอยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ทางทะเลอยู่จุฬาฯปี
2
ยิ้มเดินหน้าสู้ต่อ เขามองเห็นอนาคตของธุรกิจโรงแรมยังไปไดี้ด ขณะทีหุ้นส่วนที่ร่วมลงขันมากับเขาตั้งแต่แรกเริ่ม
ถอนตัว ยิ้มขายหุ้นโรงแรมวินเซอร์ไปได้เงินมา 5 ล้านบาทลงทุนปรับปรุงทำโรงแรมอิมพีเรียลต่อ
ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 17 ล้านบาทขนาด 170 ห้อง อีกส่วนหนึ่งได้จากเงินค่าประกัน
3 ล้านบาท รวมเป็นทุนเบื้องต้น 8 ล้านบาท
"พ่อเรียกร้องให้ผมออกจากแบงก์มาช่วยขณะที่ผมกำลังเตรียมตัวจะไปฝึกงานเชสแบงก์ที่นิวยอร์ก"
อากรเล่าถึงจุดที่มาของการเป็นนักธุรกิจโรงแรมเมื่อกลางปี 2516
อากรเป็นนักเรียนเศรษฐศาสตร์ที่ไอร์แลนด์เหนือ เป็นนักคิด ปัญญาชน มากกว่าจะเป็นนักบริหารเขาเป็นคนมีเพื่อนปัญญาชนมาก
เมื่อออกจากแบงก์มา เขาจึงมีภารกิจแรกในการฟื้นสภาพอิมพีเรียลขึ้นมาใหม่
นั่นคือ วิ่งหาเงินทุนประมาณ 10 ล้านบาท
เขาวิ่งไปที่แบงก์คอนติเนลตัล สำนักงานตัวแทนประจำกรุงเทพ เพื่อขอให้จัดวงเงินกู้ประมาณ
10 ล้านบาท มาทำอิมพีเรียล "ผมไปหาบิล ฟราแกนด์ลูกพี่เก้าที่เคยอยู่เชส
เขาเห็นโครงการก็ตอบตกลงหลังจกาเรามาทำอิมพีเรียลได้ปีเศษ ๆ บิลก็ย้ายไป
คนใหม่มาแทนมันมาจี้ผมตลอด ผมก็เลยสอนมวลการทำแบงก์ที่ดีให้มันไป ทางนั้นก็เลยโมโหเรียกเงินกู้ผมคืน
ก็เลจต้องย้ายไปใช้วงเงินกับไทยพาณิชย์ ซึ่งเวลานั้นธารินทร์ นิมมานเหมินท์
ก็คอย TAKE CARE อยู่" อากรเล่าย้อนหลังตอนเริ่มดำเนินธุรกิจโรงแรมใหม่
ๆ
อิมพีเรียลยุคเริ่มต้นครั้งที่ 2 ก็เริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ 27 ตุลาคม
2516 หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เพียง 13 วัน
อากรพร้อมชมภูนุท ภรรยา ซึ่งลาออกจากสยามอินเตอร์คอนติเนนตัลมาหมาด ๆ พร้อมทีมงานอีก
2 คน ก็เริ่มลุยตลาดทันที พวกเขาเริ่มตระเวนยุโรป ซึ่งพอจะคุ้นเคยในฐานะนักเรียนเก่าแถบนั้น
แม้ว่าจะยังไม่มีประสบการณ์ธุรกิจโรงแรมมาก่อน
อากรจับกลุ่มเป้าหมายตลาด พวกบริษํททัวร์ในยุโรปก่อน เช่น บริษัทครัวส์นี่
นิคเคอร์ มานนส์ แอร์ทัวร์สวิส อีวา ให้ป้อนลูกค้าให้
"แน่นอนช่วง 3 ปีแรก (2517 - 2519) เราทำโรงแรมที่เน้นพวกทัวร์ริสต์
โดยอาศัยผ่านกลไกของ TOUR OPERATOR ถึง 60% ของแขกที่มาพักซึ่งก็ลำบากมาก
เนื่องจากเราใหม่ บริษัท TOUR OPERATOR ก็คิดค่านายหน้าแพงสุดโหดสูงถึง 40%
รายได้สุทธิก็แทบจะเหลือนิดเดียวเท่านั้น" ขมภูนุท ฮุนตระกูล ภรรยาอากร
ซึ่งกินตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปและกรรมการบริษัทอิมพีเรียล โฮเต็ล ในปัจจุบัน
เล่าย้อนหลังสมัยบุกตลาดใหม่ ๆ ให้ฟัง
ปี 2520 เป็นต้นไป อากรเริ่มจับจุดตลาดได้มั่นใจขึ้น เขารู้ทันทีว่า ทิศทางของอิมพีเรียลต้องมุ่งสู่การเป็นโรงแรมสำหรับนักธุรกิจ
ที่พึ่งตนเองด้านการขาย เขาจึงเริ่มวางแผนให้ทีมขายบุกตลาดจับลูกค้ารายตัว
อากรใช้เวลา 2 ปี สามารถเพิ่มสัดส่วนลูกค้าตรงสูงขึ้นมาเป็น 50 : 50 เมื่อเทียบกับลูกค้าที่ผ่านทาง
TOUR OPERA TOR
ปี 2522 อากรตัดสินใจยกระดับ รร.อิมพีเรียลจาก TOURIST HOTEL เป็น BUSINESS
HOTEL เขาขยายพื้นที่โรงแรมออกมาติดถนนวิทยุ โดยเช่าจากมูลนิธิ ร.ร.ราชินี
เพิ่มจำนวนห้องจาก 170 ห้องเป็น 370 ห้อง เขาต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 110
ล้านบาท
การตัดสินใจครั้งนี้ เป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดต่ออนาคตของอิมพีเรียล
และพี่น้อง "ฮุนตระกูล"
เหตุผลเพราะอากรขึ้นราคาค่าห้องจาก 600 บาท เป็น 1,200 บาท หรือเพิ่มขึ้น
100% เทียบเท่าโรงแรมชั้นหนึ่งในขณะนั้น เช่น เพรสซิเด้นท์ มณเฑียรบริษัท
TOUR OPERATOR ที่อากรพึ่งพิงอยู่ 10 กว่าแห่ง โวยวายไม่ยอม อากรตัดสินใจเลิกติดต่อทั้ง
ๆ ที่เสี่ยงมาก เพระครึ่งหนึ่งของจำนวนห้องพักมาจากกลุ่มลูกค้าที่บริษัททัวร์เหล่านี้ป้อนส่งมาให้
เมื่อเลิกติดต่อ บริษัท TOUR OPERATOR อากรแก้ปัญหาโดยการ หนึ่ง-เข้าสมาชิก
UTEL INTERNATIONAL ซึ่งเป็น AGENCY ด้านสำรองห้องพักที่มีเครือข่ายทั่วโลก
เพื่อใช้เป็นช่องทางป้อนลูกค้าให้สอง - ระดมทีมขายออกหาลูกค้าตามบริษัทห้างร้าน
และสถานทูตที่อยู่ในกรุงเทพฯ อย่างหนัก
การตัดสินใจครั้งนี้ของอากร ผลปรากฎเขาชนะ ลูกค้าไม่ลดลงแถมกระแสเงินสดดีขึ้น
เพราะ หนึ่งภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มฟื้นตัวจากปี 2522 ที่น้ำมันแพง เงินเฟ้อ
สอง - ลูกค้าตรงจ่ายเป็นเงินสด เทียบกับลูกค้าที่ผ่านทางบริษัท TOUR OPERATOR
จ่ายเป็นเครดิตระยะยาว 3-6 เดือน
"ปี 2524-26 OCCUPANCY RATE อยู่ในระดับเกือบ 90% ตลอด" อากรพูดถึงการตัดสินใจ
ที่ไม่ผิดพลาดครั้งนั้น
แต่แล้วคลื่นเศรษฐกิจตกต่ำ ก็หมุนเข้ามาในปี 2527-28 ขณะนั้นเศรษฐกิจการเงินภายในประเทศปั่นป่วนมาก
สมหมาย ฮุนตระกูล รมต.คลัง ซึ่งไม่ได้เป็นญาติอะไรกับอากร เป็นด้อยย่างมาก็แค่เป็นผู้ใหญ่ให้อากรไปสู่ขอชมภูนุท
เมื่อกลับจากไอร์แลนด์ใหม่ วๆ สมหมายใช้มาตรการลดการเติบโตสินเชื่อไว้ไม่เกิน
18% และปรับค่าเงินบาทเทียบกับสกุลดอลลาร์จากระดับเฉลี่ย 24 บาท เหลือ 27
บาท/ดอลลาร์ส่งผลให้บริษัท ห้างร้าน ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ต้องลดทอนปริมาณทางธุรกิจลงขนานใหญ่
ช่วงสถานการณ์เช่นนี้ โรงแรมเกือบทุกแห่ง ต้องประสบปัญหาการขาดทุนอย่างมาก
"ดอกเบี้ยมันขึ้นไปถึง 19% ขณะที่ OCCUPANCY RATE ตกเหลือแค่ 60-70%
ไม่มีโรงแรมไหนอยู่รอดจากการขาดทุนได้" อากรเล่าอย่างตื่นเต้น
รอยัล ออคิด เซ็นทรัล ไฮแอท เพนนินซูล่า ฮิลตัน ซึ่งเพิ่มเปิดในเวลาไล่เลี่ยกัน
ขาดทุกันหนักมาก ต้องเพิ่มทุนกันจ้าละหวั่น เพื่อชดเชย DEFICITNET WORTH
บางรายอย่าง เพนนินซูล่าถอนตัวออกไปจากตลาดเลย
อิมพีเรียลของอากร และพี่น้องตระกูล "ฮุนตระกูล" ก็หนีไม่พ้นจากการขาดทุนเช่นกัน
เพียงแต่หนทางแก้ปัญหา อากรไม่ใช้วิธีเพิ่มทุน เสริมฐาน CAPITAL BASE เหมือนเชนโรงแรมต่างประเทศรอยัล
ออคิด ฮิลตัน หรือไฮแอท
อากรวิ่งหาธารินทร์ ไทยพาณิชย์ เพื่อขอให้ช่วยจัดวงเงินจำนวนหนึ่ง REFINANCE
ดอกเบี้ย ธารินทร์นำเงินดอลลาร์เข้ามา REFINANCE ให้เนื่องจากเงินบาทในประเทศขาดแคลน
ดอกเบี้ยจาก 19% ลดเหลือ 12% ทำให้รายจ่ายดอกเบี้ยของอิมพีเรียลเบาบางลง
ขณะเดียวกันก็เร่งหารายได้มากขึ้น ว่ากันว่าเป้าหมายการตอบโต้กระแสตลาดตกต่ำของอากรเด็ดขาดนัก
คือ หนึ่ง - เขาไม่ลดราคาค่าห้องพักเหมือน รร.ชั้นนำอื่น ๆ มิหนำซ้ำยังขึ้นราคาไปอีก
10% สอง - เขามุ่งจับลูกค้าเดิมไว้อย่างเหนียวแน่นเป็นเป้าหมาย โดยวิธีการส่งเสริมการขายอย่างเต็มที่
"ทุกวันจันทร์ พุธ ศูกร์ มีการจัดเลี้ยง COCKTAIL ให้กับแขกผู้มาพักตั้งแต่
3 คืนขึ้นไปฟรี ช่วงบ่าย 4 โมงทุกวัน จะมีการเลี้ยงกาแฟและชากับแขกทุกคจนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย"
ชมภูนุทกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงมาตรการปรับตัวในการส่งเสริมการขายเพื่อตอบโต้กระแสตลาดตกต่ำ
อากรกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า เขาสามารถยืนหยัดโตกระแสตลาดตำต่ำได้โดยรักษาระดับ
OCCUPANCY RATE ไว้ 70% ตลอดทั้งที่เป้าวางไว้คงจะเหลือแค่ 50% ขณะที่รายจ่ายก็ลดลงดดยรวมจากปัจจัยดอกเบี้ย
เมฆร้ายของวิกฤติการณ์เศรษฐกิจที่กระหน่ำทุกธุรกิจในสังคมไทย ช่วงเวลานั้นได้ผ่านไปค่อนข้างรวดเร็ว
มีผู้แพ้หายไปจากตลาดอย่างเพนนินซูล่ามีผู้บาดเจ็บอย่างสาหัสอย่างรอยัล ออร์คิด
ที่เพิ่งเปิดมาใหม่ ๆ ต้องหาเงินมาเสริม CAPITAL BASE และหมุนเวียนสภาพคล่องสูงถึง
600 ล้านบาท
ขณะที่อากรกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า เขาบริหารสภาพคล่องโดยอาศัย
DEBT-FINANCING ไม่ถึง 100 ล้านบาทเท่านั้น
ปี 2529 ช่วงครึ่งปีหลัง เมฆร้ายเศรษฐกิจตกต่ำเริ่มค่อย ๆ มลายหายไป ธุรกิจส่งอกเริ่มกระเตื้องขึ้น
การลงทุนอตสาหกรรมเริ่มตื่นจากหลับไหล ตัวเลขขออนุมัติส่งเสริมจาก บีโอไอ
เริ่มมีสัญญาณกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ โดยแรงหนุนจากญี่ปุ่น ดอกเบี้ยในตลาดเริ่มปรับตัวลงสู่ปกติ
เนื่องจากสภาพคล่องสูงที่อัดแน่นอยู่ในธนาคารมาเกือบ 3 ปี
อากรเริ่มเห็นเค้าการฟื้นตัวของธุรกิจแล้ว เขาเริ่มนำแผนการขยายตัวมาปัดฝุ่นใหม่
โดยมองไปที่ลอนดอนด้วยความฝันและทะเยอทะยานว่า สักวันหนึ่งเขาจะต้องนำธงไทยไปปักบนไนท์บริดช์
ย่านผู้ดีมีเงินของมหานครลอนดอนให้ได้ "แม็คโดนัลด์" ยังมาทำมาหากินเมืองไทยได้
ทำไมคนไทยจะไปทำมาหากินเปิดร้านอาหารขายมันให้ทั่วยุโรปไม่ได้" เขากล่าวกับ
"ผู้จัดการ" อย่างจริงจัง
ร้านคุณอากร ภัตตาคารอาหารไทยที่ขายให้ฝรั่งเปิดขึ้นเมื่อปลายปี 2530 ด้วยทุนเกือบ
30 ล้านบาทเพื่อประกาศศักดิ์ศรีอาหารไทยให้ลือลั่นทั่วยุโรป
ตรงนี้มีเหตุผลเชิงธุรกิจ 3 อย่าง คือ หนึ่งการเปิดร้านอาหาร ลงทุนไม่มากนักเมื่อเทียบกับโรแงรม
สอง - ร้านอาหารสามารถใช้เป็นฐานในการส่งเสริมการขายโรงแรมกลุ่มอิมพีเรียลที่เมืองไทยได้
โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และ สาม - ร้านอาหารเป็นการวางพื้นฐานในการตรวจสอบความนิยมของผู้บริโภคในตลาดลอนดอน
และยุโรปว่าพอจะมีลู่ทางเป็น "กระดานหก" ให้เข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารกึ่งสำเร็จรูป
(T.V. DINNER FOOD) ในลอนดอนและยุโรปได้หรือไม่ ถ้าโอกาสนั้นมาถึง
"มันเป็นช่องทางหนึ่ง ในการตรวจสอบแนวคิดของเราว่า ถ้าจะไปสู่อุตสาหกรรมอาหารไทยกึ่งสำเร็จรูป
ในลอนดอนหรือยุโรป จะเป็นไปได้ไหม สิ่งนี้ไม่ได้ออกนอกฐานธุรกิจเดิมของเราเลย
เพราะโรงแรมมีจุดขาย 2 อย่างคือ ห้องพักกับอาหาร ดังนั้นถ้าเราจะ GROWTH
ไปสู่อุตสาหกรรมอาหารไทยกึ่งสำเร็จรูป มันจะช่วยเสริมธุรกิจโรงแรมด้วยซ้ำไป"
จรูญ วงศ์หาญเชาว์ รองกรรมการผู้จัดการกลุ่มอิมพีเรียล ที่เคยรับผิดชอบงานร้านคุณอากร
ที่ลอนดอนก่อนที่จะย้ายมาคุมงานธุรกิจโรงแรมสายต่างจังหวัดของกลุ่ม เล่าให้
"ผู้จัดการ" ฟัง ถึงเหตุผลการลงทุนเปิดร้านอาหารในต่างประเทศของอากร
ปี 2530 กระแสการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลกพุ่งเหมือนจรวดโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มแปซิฟิค-ริมกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ทางอุตสหากรรมการค้า
และบริการของสหรัฐฯและยุโรปตะวันตกเริ่มมองเห็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่โตที่สุดของกลุ่มประเทศในแถบแปซิฟิค-ริมนี้ชัดเจน
"ในทศวรรษ 90 จะเป็นทศวรรษของประเทศกลุ่มแปซิฟิค-ริม" นักเศรษฐศาสตร์ในสหรัฐฯจากสถาบันบรุ๊คกิ้งรายงานการศึกษาไว้ในนิตยสารชั้นนำหลายฉบับในสหรัฐฯ
อากรก็เช่นกันในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ที่พบปะเสวนากับเพื่อนฝูงที่เป็นปัญญาชนในธนาคารชั้นนำของไทย
และนักเศรษฐศาสตร์ชั้นำในทำเนียบรัฐบาลยุคพลเอกเปรมเช่นณรงค์ชัย อัครเศรณี
โอฬาร ไชยประวัติ วีรพงศ์ รามางกูร ศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นต้นอยู่สม่ำเสมอ
เขาก็มองเห็นแนวโน้มเช่นนี้เหมือนกัน
การเดินทางเข้า-ออกในประเทศไทยของบรรดานักลงทุน นักบริหารจากยุโรปและสหรัฐฯ
เริ่มหนาแน่นมากขึ้น (TRAVEL & LEISURE BUSINESS) เริ่มไต่บันไดมูลค่าในบัญชี
TRADE BALANCE ของทางการสูงขึ้น เขาเริ่มคิดขยายฐานโรงแรมออกไปอีกทั้งในกทม.และต่างจังหวัด
แล้วโรงแรมธาราที่สุขุมวิทและอิมพีเรียลสมุยและอิมพีเรียลท้องทรายก็เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันในปี
2531 "อากรตัดสินใจไม่เคยพลาดในการเปิดโรงแรมแห่งใหม่ ยกตัวอย่างโรงแรมธาราน้องชายเขา
(สมศักดิ์) พยายาม CONVINCE ให้เขาเปิดในปี 2530 แต่อากรให้รอไปอีก 1 ปีเพื่อความแน่ใจ
พอเปิดขึ้นก็พอดี รัฐบาลเริ่มรณรงค์ "VISIT THAILAND YEAR" พอดี
ผลก็คือธารารับและไปเลย" เพื่อนสนิทอากรคนหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ"
ฟังถึงความเป็นนักตัดสินใจที่แม่นยำของอากร
มันเป็นประวัติศาสตร์ของธุรกิจอุตสหากรรมโรงแรมไทยเลยก็ว่าได้ที่ลงทุนร่วม
200 ล้านบาทอย่างโรงแรมธาราก็สามารถตีทุนคืนได้สำเร็จภายใน 1 ปี ความสำเร็จนี้เป็นความภูมิใจที่พี่น้อง
"ฮุนตระกูล" ชื่นชมมากที่สุดนับตั้งแต่ลงหลักปักฐานธุรกิจนี้มานับทศวรรษ
อากรเคยบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า การตัดสินใจเลือก "จังหวะ"
เวลาลงทุนเป็นศิลปะที่แยกไม่ออกจากตรรกะทางวิทยาศาสตร์ ในบางสถานการณ์ต้องใช้ความกล้าหาญ
เด็ดขาด บางสถานการณ์ต้องใช้ความอดทน รอบคอบเพื่อให้มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น
อะไรคือตรรกะทางวิทยาศาสตร์ ในธุรกจิโรงแรมผู้บริหารทุกคนต้องเปิดโลกทรรศน์ให้กว้างอย่างไม่มีพรมแดน
ต้องใจถึงในการลงทุนอย่างไม่หยุดยั้งโดยเฉพาะงานข้อมูล
ความคิดในการเปิดโรงแรมบ้านท้องทรายและอิมพีเรียลสมุย ไม่ใช่จู่ ๆ ก็เกิดขึ้นมาโดยไม่มีรากฐานของข้อมูล
อากราและทีมงานต้องลงทุนบินไปศึกษาความสำเร็จของโรงแรมถึงเกาะซาร์ดิเนียทางใต้ของสเปนที่มหาเศรษฐี
"อากรข่าน" ได้ลงทุนไว้ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 60 เพื่อจดจำและเก็บข้อมูลมาลงทุนที่โรงแรมบ้านท้องทรายบนเกาะสมุย
"ความสำเร็จมาจากการทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง ยิ่งสำเร็จมากขึ้นยิ่งต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้น"
แจ๊ค นิคลอส นักกอล์ฟฝีมือเอกของโลกเคยกล่าวไว้ซึ่งสะท้อนในเชิงปรัชญาถึงความเป็นจริงของตรรกะทางวิทยาศาสตร์ว่า
ความสำเร็จของคนเราหรือองค์กรใด ๆ ล้วนไม่ได้มาด้วยความเฮงหรือโชคช่วย หากแต่อยู่ที่ความพยายามในการเรียนรู้อย่างมีเหตุผลและฝึกฝนอยางไม่มีขีดจำกัด
การเกิดขึ้นทางโรงแรมซิตี้อินส์และจิม ลอร์ด ซึ่งเป็นโรงแรมขนาดเล็ก 30
และ 75 ห้อง ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นมากจากรากฐานการมองตลาดการท่องเที่ยวด้านที่พักอาศัยที่มีความละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น
(MARKET SEGMENTATION) เจ้าของกลุ่มโรงแรม SWALLOW อากรและภรรยาเคยเดินทางไปศึกษาและท่องเที่ยวดูกลุ่มโรงแรมนี้ด้วยความสนใจ
โดยเฉพาะวิธีบริหารโรงแรมขนาดเล็ก ๆ ต่ำกว่า 100 ห้องมาแล้ว ซึ่งอากรยอมรับว่ามีอิทธิภพลต่อแนวคิดการบริหารของเขามาก
วันนี้ของอากรและพี่น้อง "ฮุนตระกูล" กำลังก้าวเดินไปบนลู่ของความเติบใหญ่จากสินทัพย์เพียง
18 ล้านบาท เมื่อปี 2516 มาเป็น 4,000-5,000 ล้านบาท (วัดจากราคาปัจจุบัน)
ด้วยเครือข่ายโรงแรม 7 แห่งและร้านอาหารอีก 1 แห่ง พร้อม GOODWILL ASSET
อีกหลายร้อยล้านบาท
ใช่ พี่น้อง "ฮุนตระกูล" ไปไกลและความเร็วที่ไม่แตะ "เบรก"
แล้ว เพราะพวกเขากำลังเดินทางบนลู่ที่จะนำไปสู่ความเป็น THE IMPERIAL FAMILY
OF HOTEL ที่มีเครือข่ายกว้างขวางที่สุดในทศวรรษที่ 90 นี้
แผนการเติบใหญ่ใน 10 ปีข้างหน้าเป็นการท้าทายและเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่ออีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การทำธุรกิจโรงแรมของพี่น้อง
"ฮุนตระกูล" เพราะบนความเติบใหญ่นี้พวกเขาต้องแลกกับการยอมสูญเสียสถานภาพ
"ความเป็นธุรกิจครอบครัว" ที่เหนียวแน่นมาตลอดเกือบ 2 ทศวรรษ
นั่นคือ การแปรรูปกลุ่มโรงแรมอิมพีเรียลจากผู้ถือหุ้นเกือบ 99% ในพี่น้อง
"ฮุนตระกูล" ไปเป็นให้มหาชนเข้ามาร่วมถือหุ้นด้วยอย่างน้อย 25%
ด้วยวิธีการเข้าตลาดหุ้นกรุงเทพฯ
"เราตั้งบริษัทใหม่เป็นโฮลดิ้ง คอมปะนีชื่อนิวอิมพีเรียล โฮเต็ล เพื่อเข้าไปซื้อหุ้นทั้งหมดในบริษัทอิมพีเรียลโฮเต็ลที่บริหารโรงแรมอิมพีเรียลที่ถนนวิทยุ
โรงแรมธาราที่สุขุมวิท โรงแรมอิมพาล่า โรงแรมอิมพีเรียลสมุย บริษัทที่ตั้งใหม่นี้จะเพิ่มทุนเป็น
1,000 ล้านบาท โดยขายหุ้นให้มหาชน 25% ในสัดส่วนนี้ 20% จะแบ่งขายให้นักลงทุนไทย
10% ต่างชาติ 10% และอีก 5% ให้พนักงานในกลุ่มอิมพีเยลที่ทำงานมากว่า 3 ปีขึ้นไป
ราคาที่เสนอขายต่อมหาชนคงอยู่ระหว่าง 10-20 เท่าของราคาพาร์ 10 บาท เพราะตอนสมัยที่โอเรียนเต็ลเข้าตลาดก็มีราคาสูงกว่าพาร์ถึง
40 เท่า ดุสิตธานี 19 เท่า รอยัลออคิด 9 เท่า รอยัล การ์เด้น 6 เท่า เอเชีย
18 เท่า" อากรและสมศักดิ์ ฮุนตระกูลกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ถึงแผนการเข้าตลาดหุ้น
วิธีการเข้าตลาดหุ้นของกลุ่มอิมพีเรียลครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกในธุรกิจอุตสาหกรรมโรงแรมในเมืองไทย
ที่นำบริษัทโฮลดิ้ง คอมปะนี เข้าไปทั้งหมดขณะที่บริษัทโรงแรมอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
เข้าเพียงบริษัทเดียวเท่านั้น
ตรงนี้ ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ผู้จัดการสำนักงานวิจัยแบร์ริ่งแห่งอังกฤษประจำประเทศไทยได้กล่าวว่า
"เป็นแบบอย่างที่ดีมากถือได้ว่าผู้บริหารของกลุ่มอิมพีเรียลยุติธรรมต่อผู้ลงทุนอย่างยิ่ง"
แผนการเตรียมเข้าตลาดหุ้นครั้งนี้ บรรยงค์ พงษ์พานิช แห่งบริษัทเงินุทนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจเป็นผู้ศึกษาการจัดจำหน่ายและบริษัท
CREDIT SUISSE FIRST BOSTON (CSFB) แห่งสหรัฐฯเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับกลุ่มอิมพีเรียล
องค์กรใด ๆ ก็ตามเมื่อเติบโตถึงจุด ๆ หนึ่ง ย่อมจะต้องหันมาตรวจสอบตนเองว่ามีกลไกตรงไหนบ้างที่จะต้องรีบแก้ไขก่อนที่จะรุกก้าวไปข้างหน้า
กลุ่มอิมพีเรียลนี้ก็เช่นกัน เป้าหมายเบื้องหน้าคือการเติบโตด้วยเครือข่ายโรงแรมในประเทศที่มากทีสุดใน
10 ปีข้างหน้า กลไกที่จะต้องรีบแก้ไขเพื่อรองรับกับงานใหญ่ข้างหน้า มี 2
ประการคือ หนึ่งกลไกทางด้านทุน ธุรกิจโรงแรมใช้เงินทุนมหาศาลการอาศัยเงินทุนส่วนตัวและกู้จากสถาบันการเงินในระยะยาวย่อมมีความเสี่ยงสูง
โดยเฉพาะอนาคตที่ไม่มีใครบอกได้ว่าจะเผชิญปัยหาอะไรที่ส่งผลกระทบต่อตัวธุรกิจโรงแรม
และนอกจากนี้การอาศัยทุนส่วนตัวก็ดี หรือกู้ยืมมาย่อมไม่คล่องตัวเมื่อ DEBT/EQUITY
RATIO สูงขึ้นในสัดส่วนที่ห่างไกลกันมาก ซึ่งก็หมายถึงอุปสรรคของทุนเพื่อการขยายสินทรัพย์ย่อมมีส่วนเหนี่ยวรั้งการขยายตัวของสินทรัพย์อย่างมาก
สิ่งเหล่านี้คือเหตุผลหนึ่งของการเข้าตลาดหุ้นเพื่อระดมทุนจากมหาชนโดยไม่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานธุรกิจโดยเฉพาะด้านดอกเบี้ย
ซึ่งถือว่าเป็นรายการค่าใช้จ่ายรายการใหญ่ตัวหนึ่งในธุรกิจโรงแรม
สอง - กลไกทางด้านบุคลากร ธุรกิจโรงแรมที่ได้มาตรฐานใช้บุคลากรเป็นสัดส่วนกับจำนวนห้องสูง
2 : 1 และยังเรียกร้องบุคลากรที่มีความรู้ในภาษาและบุคิกของการเป็นผู้ให้บริการเป็นอย่างดา
ขณะที่สังคมธุรกิจอุตสาหกรรมโรงแรมของไทยมีการเกิดขึ้นอย่างมากของโครงการการลงทุนในปัจจุบันที่ตามสถิติที่ขอจากบีโอไอสูงถึง
65 โครงการ จำนวนห้อง 21,000 ห้อง ซึ่งหมายถึงถ้าโครงการเหล่านี้เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน
จะต้องใช้บุคลากรสูงถึง 42,000 คน ย่อมก่อผลถึงความขาดแคลนกำลังบุคลากรอย่างแน่นอน
สำหรับที่มีอยู่เดิม บุคลากรที่มีประสบการณ์ย่อมมีโอกาสถูกซื้อตัวได้ง่าย
ซึ่งย่อมส่งผลให้โครงการสร้างราคา ค่าใช้จ่าย ค่าจ้างบุคลากรในธุรกิจโรงแรมแพงขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
และจะส่งผลกระทบให้ธุรกิจโรงแรมแต่ละแห่งมีรายจ่ายค่าจ้างเงินเดือนสูงขึ้นอย่างไม่อาจควบคุมได้
ดังนั้น การลงทุนสร้างคนภายในองค์กรผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดทอนค่าใช้จ่าย
ส่วนค่าจ้างพนักงาน ซึ่งเป็นรายการรายจ่ายที่สูงที่สุดรายการหนึ่งในการบริหารกำไร-ขาดทุนของโรงแรม
แนวคิดทางทฤษฎีเหล่านี้ อากรและผู้บิรหารกลุ่มอิมพีเรียลก็มองออกเช่นกัน
กล่าวสำหรับในส่วนด้านทุน ใน 10 ปีข้างหน้าเป้าหมายเชนร้านอาหารทั่วยุโรป
20 แห่ง โรงแรมในประเทศอีก 10 แห่งที่เกิดขึ้นรวมกับของเดิมอีก 9 แห่งเป็น
19 แห่งโรงแรม 20 ร้านอาหารในยุโรปเมื่อสิ้นทศวรรษที่ 90 กว่าจะบรรลุได้ต้องใช้เงินลงทุนสูงไม่น้อยกว่า
6,000 ล้านบาท
สำหรับในส่วนการสร้างบุคลากรให้รองรับการขยายตัวของโรงแรมนั้น อากรกล่าวว่า
เขาถือเป็นหัวใจของความสำเร็จที่สำคัญที่สุดเพราะปัจจัยด้านคนคือ สินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดในธุรกิจโรงแรมที่จะสร้างความสามารถในการทำกำไรให้กับสินทรัพย์และหนี้สินที่เกิดขึ้นจากเส้นทางการเติบโตนั้น
อากรกล่าวว่าเวลานี้เขามีพนักงานระดับผู้จัดการและซูเปอร์ไวเซอร์ 30 คน
ในสังกัดที่พร้อมจะลงไปสู่โรงแรมธารา 2 และอิมพีเรียล 2 จำนวน 1,230 ห้อง
ที่จะเปิดในตุลาคม 2534 นี้ตรงกันพอดีกับงานประชุมธนาคารโลกที่กรุงเทพฯ
พนักงานเหล่านี้ได้รับการฝึกฝนทั้งภาคปฏิบัติจากโรงแรมในเครือข่ายทั้ง
7 แห่งมาแล้วทั้งสิ้น
ทุกวันนี้อากรได้กระจายงานและหน้าที่ความรับผิดชอบไปสู่ผู้บริหารทุกระดับชั้นเกือบหมดสิ้นแล้ว
ในฐานะที่เขาเป็นประธานกลุ่มอิมพีเรียลแทนยิ้มพ่อบังกิดเกล้าที่เพิ่งจากไปก่อนหน้าวันฉลองครบ
16 ปี บนความสำเร็จของอิมพีเรียลไม่นานนัก อากรยังคงหมกหมุ่นอยู่กับงานคิดและวาแงผนการเติบใหญ่ใน
10 ปีข้างหน้า เขาจะหลบความยุ่งเหยิงในเมืองหลวงไปนอนคิดที่สมุยทุก 3 เดือน
ใน 1 ปี และเดินทางไปต่างประเทศทุก 3 เดือนใน 1 ปี เพื่อเปิดหูเปิดตารับทราบความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจโรงแรม
มีเพียง 6 เดือนเท่านั้นใน 1 ปีที่เขาอยู่โยงบริหารแผนและนโยบายให้กลุ่มอิมพีเรียลในเมืองไทย
อากรเป็นคนนอนดึก ตื่นสาย เป็นวิถีชีวิตของคนทำงานโรงแรมที่บรรลุแล้ว ซึ่งความสำเร็จในขณะที่มีอายุเพียง
44 ปี แต่สิ่งนี้ไม่ได้ทำให้เขาหยุดคิดเลยแม้แต่น้อย ตราบใดที่เขาและทีมงานพี่น้อง
"ฮุนตระกูล" ยังเชื่อในปรัชญาการทำธุรกิจโรงแรมว่า "ยิ่งโตก็ยิ่งดี
เพื่อจะได้ใหญ่ต่อไป"