Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 ตุลาคม 2550
ยูนิเวนเจอร์ดึงนักชอปซื้อเอ็นพีเอ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ยูนิเวนเจอร์

   
search resources

ยูนิเวนเจอร์, บมจ.
ธนพล ศิริธนชัย
Real Estate




ยูนิเวนเจอร์ฯหวังเป็นที่ปรึกษานักลงทุนดึงหนี้เสียออกมาพัฒนาสร้างกำไร พบสิ้นมิ.ย. 50 สินเชื่อคงค้างสุทธิมีมูลค่าสูงถึง 7 ล้านล้านบาท ตัวเลขเอ็นพีแอลเพิ่ม 4.8% จากปี 49 ซ้ำด้วยตัวเลขเอ็นพีเอพุ่งพรวด 7.2% คาดสิ้นปีทะลักเพิ่ม เหตุสถาบันการเงินเร่งแก้หนี้เสีย พร้อมเผยตัวเลขตึกร้าง 90 อาคารมีศักยภาพพัฒนาได้เลย จากทั้งหมด 254 อาคาร ส่วนอีก 155 อาคารใบอนุญาติก่อสร้างหมดอายุแล้ว

นายธนพล ศิริธนชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) (UV) ธุรกิจในกลุ่ม ทีซีซี แลนด์ เปิดเผยว่า บริษัทได้ทำการสำรวจข้อมูลสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และทรัพย์สินรอการขาย (เอ็นพีเอ) ย้อนหลัง 7 ปี นับจากปี 2543 จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2550 พบว่า สินเชื่อคงค้างสุทธิของสถาบันการเงิน มีจำนวน 7 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเอ็นพีแอล อยู่ที่ 322,510 ล้านบาท คิดเป็น 4.55% ของสินเชื่อคงค้างทั้งระบบ โดยมูลค่าดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2549 จำนวน 14,757 ล้านบาท คิดเป็น 4.8%

อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่าเอ็นพีแอลมีแนวโน้มลดลงทุกปี ซึ่งเป็นผลมาจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความสำคัญและกำกับดูแลสถาบันการเงินต่างๆอย่างใกล้ชิด โดยล่าสุดนำระบบมาตรฐานการบัญชีใหม่ IAS 39 และ BASEL 2 มาใช้กับระบบสถาบันการเงินเพื่อเป็นการควบคุมเอ็นพีแอล ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวทำให้ธนาคารต้องมีความระมัดระวังในการปล่อนสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น

สำหรับเอ็นพีเอนั้น จากผลการสำรวจพบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 50 มีจำนวน 324,346 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2549 จำนวน 7.2% ในจำนวนนี้ธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาต่างประเทศมีเอ็นพีเอสูงสุด 183,536 ล้านบาท ในขณะที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (TAMC) และบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (บสก.) มีมูลเอ็นพีเอรองเป็นอันดับสองและสามตามลำดับ

ทั้งนี้ ตัวเลขเอ็นพีเอจำนวน 324,346 ล้านบาท แบ่งเป็นที่ดินเปล่า 50%, อาคารพาณิชย์ 20% และอีก 30% เป็ฯที่อยู่อาศัยทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียม และหากแบ่งเป็นทำเลที่ตั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 35% และ 22% อยู่ในภาคตะวันออก ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ

นายธนพลกล่าวว่า เอ็นพีเอส่วนใหญ่อยู่ในการครอบครองของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งธนาคารได้พยายามที่จะระบายทรัพย์สินดังกล่าวออกไปให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด เนื่องจาก ทรัพย์สินบางประเภทโดยเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง มีการเสื่อมค่าตามสภาพที่ทรุดโทรมลง กลยุทธ์การขายที่ธนาคารนำมาใช้ มีทั้งขายเองผ่านทางสาขาและพนักงานและการขายผ่านตัวแทนต่างๆ รวมถึงการจัดงานมหกรรม NPA Grand Sales นอกจากนี้ หลายธนาคารยังคงใช้กลยุทธ์การจัดมหกรรมประมูลขายทอดตลาดสินทรัพย์ ที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารร่วมกับกรมบังคับคดี เพื่อเป็นการลดจำนวน เอ็นพีเอที่จะเข้ามาใหม่อีกด้วย

สำหรับแนวโน้มของตัวเลขเอ็นพีเอ ณ สิ้นปี 2550 น่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น จาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.ธปท.ได้วางเป้าหมายแก้ไขปัญหาเอ็นพีแอล ให้มีสัดส่วนหนี้ต่อสินเชื่อรวมลดลงเหลือ 2% แต่คาดว่าจะไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ตามในกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้ ไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม จะมีเอ็นพีแอลส่วนหนึ่งที่แปรสภาพมาเป็นเอ็นพีเอ โดยผ่านการตีโอนทรัพย์ชำระหนี้จากลูกหนี้ 2. เอ็นพีเอยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการเข้าประมูลซื้อทรัพย์สินที่เกิดจากหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในกระบวนการบังคับขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี และ 3. มีการโอนย้ายเอ็นพีแอลไปยังองค์กรหรือสถาบันการเงินอื่น เพื่อทำการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยการปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ ทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวแปลงสภาพเข้ามาเป็นเอ็นพีเอของบริษัทบริหารสินทรัพย์ในที่สุด

นอกจากนี้ นายธนพลยังได้กล่าวถึงอาคารที่ยุติการก่อสร้างหรือตึกร้างว่า จากการสำรวจข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้สำรวจครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 พบว่ามีอาคารสร้างค้างจำนวน 508 อาคาร และสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2549 พบว่ายังคงมีอาคารขนาดใหญ่ที่ยุติการก่อสร้าง เป็นจำนวน 245 อาคาร จะเห็นได้ว่ามีอาคารที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว 263 อาคาร ส่วนหนึ่งมาจากในช่วง พ.ศ. 2546-2549 เศรษฐกิจมีการขยายตัว ทำให้อาคารสร้างค้างดังกล่าวถูกประมูลผ่านการประนอมหนี้แล้วเสร็จจนนำมาพัฒนาต่อไป

ทั้งนี้ ในจำนวนอาคารสร้างค้างที่ยังคงเหลืออยู่ 245 อาคาร แบ่งเป็นอาคารที่มีเฉพาะเสาเข็มอย่างเดียว 85 อาคาร และเป็นอาคารที่มีการก่อสร้างขึ้นเป็นโครงสร้างโผล่เหนือดิน 160 อาคาร หากพิจารณาจากศักยภาพของอาคารสร้างค้างดังกล่าว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ยังมีศักยภาพในการพัฒนา เป็นอาคารที่ใบอนุญาตไม่ขาดการต่ออายุ โครงสร้างมีความคืบหน้า จำนวน 90 อาคาร ซึ่งส่วนใหญ่ 62% ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ชั้นใน และเป็นอาคารที่อยู่อาศัยประมาณ 70-80% แต่ยังคงติดปัญหาในปัญหาในขั้นตอนการเจรจาประนอมหนี้ เนื่องจากเจ้าหนี้และลูกหนี้มีมุมมองที่ต่างกันในเรื่องมูลค่าของทรัพย์สิน

ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มสินทรัพย์ด้อยค่า เป็นอาคารที่ใบอนุญาตหมดอายุ ไม่มีความคืบหน้าในการก่อสร้างและไม่มีโครงสร้าง จำนวน 155 โครงการ ซึ่งอาคารเหล่านี้มูลค่าของทรัพย์สินที่มีอยู่จะมีมูลค่าน้อยกว่ามูลค่าหนี้ที่ค้างไว้ แต่อย่างไรก็ตามในจำนวนนี้มีอาคาร 30-40% ที่สามารถพัฒนาได้ภายใด้กฎหมายผังเมืองใหม่

“ ที่ผ่านมามีการนำเสนอให้ออกกฎนิรโทษกรรมอาคารสร้างค้างที่ใบอนุญาตก่อสร้างหมดอายุ แต่ก็ไม่มีอะไรออกมาเป็นรูปธรรม ดังนั้น สิ่งที่ทำให้คือ ต้องพัฒนาภายใต้กฎหมายใหม่ โดยไม่ต้องรอให้รัฐออกมานิรโทษกรรมได้ ทั้งนี้บริษัทเชื่อว่า ยังมีผู้ที่มีเงินทุนที่ต้องการพัฒนาเอ็นพีเอและเอ็นพีแอล ที่มีศักยภาพอยู่จำนวนมาก เพียงแต่อาจจะขาดข้อมูลสนับสนุนในเชิงลึก ซึ่งยูนิเวนเจอร์สามารถให้คำปรึกษาในส่วนนี้ได้ เพราะเรามีข้อมูลเชิงลึก ” นายธนพลกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us