|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ฟันธง หากร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง พ.ศ... ประกาศใช้ ธุรกิจค้าปลีกตายลูกเดียว ยันปีหน้าไม่โตซ้ำร้ายจะถดถอยลงด้วยซ้ำ จากที่ปีนี้โตแค่ 4-5% ต่ำกว่าปีที่แล้วอีกด้วย พร้อมทั้งยำใหญ่ ร่างพรบ.ฯเกาไม่ถูกที่คัน หลายมาตรการไม่ชัดเจนและเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
นายธนภณ ตังคณานันท์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง พ.ศ.....ผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีแล้ว และคาดว่าจะเข้าสู่การประชุมของสนช.ในเร็วๆนี้ ซึ่งทางสนช.ประกาศชัดเจนแล้วว่าจะต้องทำให้เสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ซึ่งเหลือเวลาอีกประมาณ 2 เดือนกว่าเท่านั้น
หากพรบ.ดังกล่าวมีผลใช้จริงแล้ว คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกค้าส่งอย่างมาก โดยประเมินว่า จากมาตรการที่เข้มงวดและบางมาตรการที่ยังไม่ชัดเจนยังคลุมเครือในแง่ของการตีความนั้น จะทำให้การขยายธุรกิจในแง่ของสาขาใหม่ของค้าปลีกค้าส่งหยุดชะงัก ส่งผลกระทบต่อมูลค่ารวมตลาดค้าปลีกในไทยไม่เติบโต หรือมีแนวโน้มจะตกลงด้วยซ้ำ เพราะผู้ประกอบการไม่สามารถเปิดสาขาใหม่ๆได้ ลำพังอาศัยยอดขายจากสาขาเดิมก็ไม่โตมากนัก
ทั้งนี้ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ มีอัตราการเติบโต 4-5% เท่านั้น ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ส่วนในปีนี้ทั้งปีคาดว่ามูลค่าค้าปลีกโดยรวมจะเติบโตเพียง4-5% เท่านั้น ซึ่งเติบโตลดลงจากปีที่แล้วซึ่งเติบโตประมาณ 6% ทั้งๆที่โดยเฉลี่ยแล้วธุรกิจค้าปลีกจะเติบโตอย่างน้อย 2 หลักมาตลอด โดยมูลค่าค้าปลีกของไทยตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ล้านล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 13-15% ของมูลค่าจีดีพีของประเทศ หรือประมาณ 1 ใน 6 ซึ่งถือว่าเยอะมาก มีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมด้วย
มูลค่าตลาดค้าปลีกดังกล่าวเป็นตัวเลขที่รวมทั้งโมเดิร์นเทรด เทรดดิชันแนลเทรด ซึ่งตัวเลขทางด้านโมเดิร์นเทรดนั้นรวบรวมมาจากยอดขายของสมาชิกของสมาคมฯที่มีผู้ประกอบการรวมเป็นสมาชิกมากกว่า 107 ราย ซึ่งสมาคมฯยังขอยืนยันว่า ทุกวันนี้ สัดส่วนตลาดใหญ่ยังคงเป็น เทรดดิชันแนลเทรดหรือค้าปลีกดั้งเดิมหรือโชวห่วย มากกว่า 60-70% ขณะที่สัดส่วนอีก 30-40% นั้นเป็นของโมเดิร์นเทรด
นอกจากปัญหาพรบ.ฯดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะส่งผลต่อธุรกิจค้าปลีกในปีหน้าต้องได้รับผลกระทบอีกเช่น 1.เรื่องของการส่งออกที่จะลดลงหรือไม่ กับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน 2. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเวลานี้ยังแย่อยู่ ไม่กล้าใช้จ่ายเงิน 3.เรื่องของการเมืองดูเหมือนดีขึ้นแต่ต้องรอหลังเลือกตั้งก่อน 4.เรื่องที่ควบคุมไม่ได้คือ ปัญหาต่างประเทศเรื่องความมั่นคงทางการเมืองของประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศคู่ค้าอย่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา หากปัญหาซับไพร์มกระทบยาวก็น่าเป็นห่วง และราคาน้ำมันที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งมีการประมาณว่า หากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นทุก 10 ดอลล่าร์จะมีผลต่อค่าจีดีพีที่หายไป 0.5%
สำหรับประเด็นปัญหาของร่างพรบ.ฯนั้น นายธนภณ วิเคราะห์ว่า มีหลายมาตราที่มีปัญหา เช่น มาตรา 3 คำจำกัดความ ธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งไม่ชัดเจนไม่รู้ว่าเป็นธุรกิจที่ขายอะไร, มาตรา 5 ที่กล่าวถึง ธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งที่ได้รับการยกเว้นไม่ถูกบังคับใช้จากพรบ..ฯนี้ คือ การขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง การขายหนังสือหรือหนังสือพิมพ์ การขายของที่ระลึกตามแหล่งท่องเที่ยว การขายอัญมณีหรือเครื่องประดับ การขายอาหารที่ปรุงสำเร็จผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที การขายสินค้าซึ่งเป็นแหล่งผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของชุมชนเป็นหลัก การขายสินค้าอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา นั่นหมายความว่าธุรกิจอื่นนอกเหนือจากนี้จะถูกบังคับใช้หมดใช่หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นร้านอะไรก็ตามเช่น ธุรกิจแล็ปสี ร้านขายมือถือ ร้านขายเครื่องใช้ไอทีต่างๆ หรือร้านขายเครื่องกีฬา หรือร้านขายเสื้อผ้า
มาตรา 7 ที่ว่าด้วยเรื่องคณะกรรมการฯ เป็นสัดส่วนทางภาครัฐมากเกินไป และบางหน่วยงานไม่เกี่ยวข้องและไม่แน่ใจว่าผู้ที่เข้ามาเป็นกรรมการจะมีความรู้เรื่องค้าปลีกกหรือไม่, มาตรา 20 เรื่องของการต้องขอใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ โดยที่ธุรกิจที่มีพื้นที่ขายแห่งใดแห่งหนึ่งรวม 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป ธุรกิจที่มียอดรายได้รวมกันทุกสาขา 1,000 ล้านบาทขึ้นไป หรือธุรกิจที่ได้รับอนุญาตหรือให้ใช้สิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา หรือพูดง่ายๆคือ แฟรนไชส์ จะต้องขอใบอนุญาตขยายกิจการด้วย ซึ่งจะทำให้การขยายสาขาเกิดความลำบากมากขึ้น
“ผมไม่เห็นมีมาตราใดที่ระบุว่า จะช่วยเหลือโชว์ห่วยหรือค้าปลีกดั้งเดิมให้แข็งแกร่งหรือพัฒนาอยู่รอดได้เลย มีแต่เรื่องข้อห้ามโมเดิร์นเทรดรายใหญ่จำกัดเรื่องการขยายสาขาทั้งนั้น” นายธนภณกล่าวทิ้งท้าย
|
|
|
|
|