Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2533
10% ตายตัว เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ตายแน่             
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคลสมภพ มานะรังสรรค์

   
search resources

สมภพ มานะรังสรรค์
Agriculture




ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เกี่ยวกับการตลาดสินค้าเกษตรประเภทเนื้อสัตว์ที่ผู้ผลิตรายใหญ่ เขาต้องการให้รัฐบาลออกนโนบายการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์อย่างเช่นข้าวโพด กากถั่วเหลือง และปลาป่นโดยเสรีโดยที่อ้างว่าถ้าไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว การผลิตเนื้อสัตว์ของไทยเราจะสู้กับคู่แข่งต่างประเทศไม่ได้ เขาต้องการนโยบายนี้ให้ออกมาเพื่อที่เขาจะได้มีต้นทุนในการผลิตที่ถูกลงไปอีก ซึ่งในความเห็นของผมนั้นการที่นโยบายนี้ออกมาผลกระทบในทางลบ จะเกิดกับเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ผลดีจะตกอยู่ที่ผู้ผลิตรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และเนื้อสัตว์

งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาของการเกษตรตลาดข้อตกลง (CONTACT FARMING) ซึ่งจะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมทางด้านการเกษตรค่อนข้างมาก โยงไปถึงความสัมพันธ์ในเรื่องวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ด้วย จุดหนึ่งที่ผมค่อนข้างจะสนใจเป็นพิเศษ คือ ในเรื่องของการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ตัวอย่างในเรื่องของอาหารสัตว์นี้ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงในประเด็นของการกระจายรายได้ด้วยเช่นกัน

เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์นี้ มีด้วยกันใน 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือเกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และผู้ผลิตอาหารสัตว์และผู้รับซื้อสัตว์เพื่อส่งออกในส่วนที่ 3 นั้นที่เป็นตัวโรงงานเราจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าปัจจุบันนี้โรงงานผลิตอาหารสัตว์เกือบทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานใหญ่ ๆ จะดำเนินการโดยบริษัทครบวงจร และเป็นส่วนมากที่มีระบบคอมพิวเตอร์ไรซ์ลงทุน 100 - 200 ล้านแต่มีคนงาน 14 - 15 คนเป็นอย่างมาก

คราวนี้เรามาดูทางด้านเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ตัวอย่างเช่นการเลี้ยงไก่ ซึ่งเป็นการเลี้ยงที่ค่อนข้างจะใหญ่ 1 คนเลี้ยงกันได้หมื่นตัวสบาย ๆ ออปติมัมไพรส์ 1 คนต่อ 1 หมื่นตัว สบาย ๆ เลยมีเกษตรกรไม่มากครัวเรือนก็สามารถเลี้ยงไก่อย่างเป็นกอบเป็นกำได้ ฉะนั้นแล้วนี่ถ้าเผื่อมีการปล่อยให้นำเข้าวัตถุดิบนั้นอย่างเสรี ผลกระทบอย่างชัดเจนก็คือผลต่อเนื่องต่อการจ้างงาน ซึ่งเท่าที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และการผลิตอาหารสัตว์จะมีความต่อเนื่องของการจ้างงานอย่างเป็นชิ้นเป็นอันก็คือการต่อเนื่องไปทางข้างหลัง คือไปในทางด้านผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ ตัวอย่างเช่นชาวไร่ถั่วเหลือง ชาวไร่ข้าวโพด ชาวประมง

จะเห็นว่าการบูมของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการเลี้ยงสัตว์นี้ได้ทำให้เกิดการกระจายเป็นชิ้นเป็นอัน ไปถึงคนจำนวนมากของประเทศจุดน ี้เป็นจุดที่ผมตั้งข้อสังเกตแล้วว่า ถ้ารัฐบาลทำคามข้อเรียกร้องของโรงงานอาหารสัตว์แล้วว่ให้มีการเปิดการค้าเสรีอย่างเต็มที่ เพื่อให้เรามีข้อได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเพื่อที่จะไปสู้กับการส่งออกไปยังตลาดโลกได้ แต่จุดหนึ่งที่ ผมค้นพบจากการวิจัยของผม นี่ก็คือว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่า เรามีการส่งออกไก่เนื้อที่บูมมาก มันเป็น 2 เท่าเพียงเวลาไม่กี่ปีเท่านั้นเองตั้งแต่ปี 2528 - 29 เป็นตันมาการส่งออกไก่เนื้อของเรามับูมมากเพิ่มจาก 4 หมื่นกว่าตันเป็นเกือบแสนตันในปัจจุบัน

แต่สิ่งหนึ่งที่มันไม่ชอบมาพากลก็คือว่าในขณะที่การส่งออกบูมมาก ๆ ราคาก็ดี การส่งออกก็ดี แต่ขณะเดียวกันเกษตรกรที่เลี้ยงไก่กลับมีฐานะที่ย่ำแย่ ยกตัวอย่างเช่นเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ขายอย่างเป็นจริงเป็นจังมีอยู่ 2 พื้นที่ให่ญ่ก็คือนครปฐมกับแถบตะวันออกแถวชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา ไก่ที่ส่งออกมาจากแหล่งเหล่านี้เป็นหลักใหญ่เลย แต่การวิจัยพบว่าเกษตรกรกลับมีกำไรที่ลดลงทำให้เกิดการเลิกกิจการของผู้เลี้ยงไก่เนื้อมีมาก ประมาณ 40-50% ขายเล้าทิ้ง หรือเลิกไป ในขณะที่ภาพโดยรวมแล้วดูเหมือนว่ามันสวยหรู ที่น่าจะเป็นโอกาสทองของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ ผลที่เกิดขึ้นปรากฎว่าการแบ่งรับความเสี่ยงของบริษัท ซึ่งเข้ามาทำคอนแท็คฟาร์มมีน้อยมากหรือแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีการแบ่งรับไปเลยผลักกระตุ้นทุนบางอย่างให้เกษตรกร ตัวอย่างเช่น กรณีของอาหารสัตว์บูมมากเพราะการส่งออกเนื้อไก่และการเลี้ยงกุ้งค่อนข้างจะบูม การเลี้ยงกุ้งนั้นก็เป็นอุตสาหกรรมที่จะต้องใช้วัตถุดิบชั้นดี ตัวอย่างเช่นปลาป่นก็ดีและอุตสาหกรรมกุ้งก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำมากกว่าการทำอาหารสัตว์เลี้ยงไก่

เมื่อเป็นเช่นนี้มันก็เลยเกิดการโยกวัตถุดิบดี ๆ ไปทำอาหารกุ้งซึ่งได้กำไรมากกว่าและมีผลที่เป็นไปได้ว่าอาหารไก่มีคุณภาพลดต่ำลง

การผลิตอาหารสัตว์สามารถที่จะใช้วัตถุดิบที่ใช้แทนกันได้ แต่ก็มีผลที่จะทำให้อาหารนั้นมีคุณภาพที่ต่ำลง อย่างเช่นในกรณีของการเลี้ยงไก่เกษตรกรที่ผมได้สัมภาษณ์เป็น 100 รายนั้นตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เขาได้อาหารที่แย่ลง ซึ่งทำให้อัตราการแล่เนื้อที่ต่ำลง ต้องใช้อาหารมากขึ้นในขณะที่อัตราการแล่เนื้อมีอัตราที่เท่าเดิมหรือลดลง

ข้อที่สำคัญอีกตัวหนึ่งซึ่งโยงเข้ากับการผลักภาระความเสี่ยง ผลักภาระต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้ประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ ก็คือกรณีของการซื้อขายลูกไก่เพราะเมื่อเกิดกรณีของการส่งออกบูมขึ้นมาลูกไก่ที่เคยมีราคา 5 บาท 6 บาทขึ้นมาเป็นราคาตัวละ 10-11 บาท

เมื่อโครงการคอนแท็คฟาร์มของบริษัทกับเกษตรกรนั้นมีการกำหนดราคา วัตถุดิบหลายตัวรวมทั้งลูกไก่ด้วยที่ราคา 5-6 บาท ขณะที่ในตลาดข้างนอกนั้นตัวละ 10-11 บาท มันก็เลยทำให้เกิดมีการนำลูกไก่ที่ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรเข้าสู่วงการของเกษตรกร แล้วเอาลูกไก่ที่มีคุณภาพที่ดีไปขายในตลาดข้างนอก

ทำให้อัตราการตายของไก่นั้นสูงมากผิดปกติ ซึ่งโดยปกติจะไม่เกิน 5% แต่ว่ามันสูงขึ้นถึง 5-10% ฉะนั้นเมื่อโยงกับมาถึงนโยบายการค้าเสรี เราจะมีหลักประกันอย่างไรที่จะทำให้หลักการค้าเสรีอันนั้นมีประโยชน์ตกอยู่กับคนส่วนใหญ่ เมื่อมีการนำเข้าโดยเสรี ราคาวัตถุดิบอย่างเช่นข้าวโพดกับกากถั่วเหลืองก็จะมีราคาที่ลดลง เพราะว่าการผลิตวัตถุดิบเหล่านี้ของต่างประเทศมีลักษณะสำคัญที่ต่างจากของเราที่ราคาของเขาจะถูกกว่า เพราะวัตถุดิบเหล่านี้ถ้าไม่ผลิตในประเทศสังคมนิยมก็จะผลิตในประเทศอเมริกาซึ่งกลไกราคาของประเทศสังคมนิยมเขาไม่มีอยู่แล้ว ส่วนประเทศทุนนิยมอย่างของอเมริกานั้นเขาก็มีการอุดหนุนแก่เกษตรกรอย่างมากมายเพื่อทำให้สินค้าออกมาในตลาดโลกได้อย่างคล่องตัวขึ้น

ผมคิดว่าเราซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งรายได้ต่อหัวของประชาชนยังจัดว่ายากจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเกษตร กำลังพูดถึงนโยบายการค้าเสรีอย่างเอาเป็นเอาตายแต่ขณะเดียวกันที่คู่แข่งของเราซึ่งเหมือนกับยักษ์ในเวทีตลาดโลก ทั้ง ๆ ที่เขากล้าแข็งอย่างมากทั้งทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ เขายังใช้นโยบายที่อุดหนุนช่วยเหลือเกษตรกรเขาทุกรูปแบบ

ผมคิดว่าถ้าเราจะใช้นโยบายการค้าเสรีในเรื่องนี้ผมเห็นว่าเราน่าจะใช้นโยบายการค้าเสรีที่มีลักษณะ ที่มีเงื่อนไข เพื่อให้ผลพวงของนโยบายนั้นมีประโยชน์ต่อคนจำนวนมากขึ้นของประเทศ

ตัวอย่างเช่นนโยบายที่ประกาศออกมาล่าสุดที่ออกมาว่าจะเลิกระบบเซอร์ชาร์จและหันไปใช้ระบบการเก็บภาษี 10% ถ้าอาหารสัตว์อยู่ในช่วงที่เขากำหนดไว้ เช่นข้าวโพดอยู่ในช่วง 3 บาท - 3.75 บาท กากถั่วเหลืองอยู่ในช่วง 7.75 - 9.75 บาท ปลาป่น 13-16 บาทต่อกิโลกรัมเก็บภาษีนำเข้า 10% ที่ผมมองก็คือว่าเขาใช้หลักเกณฑ์อะไรในการเก็บ 10% เขาก็บอกว่า เมื่อพิจารณาราคาของเหล่านี้ในตลาดโลกบวกกับค่าใช้จ่ายในการนำเข้านั้นห่างจากราคาในประเทศอยู่ 10% คือทำให้ราคามันตกใกล้เคียงกับภายในประเทศ

ผมคิดว่าเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดมาให้นี้ ไม่น่าที่จะเป็น อัตราที่ตายตัว เพราะว่าราคาในตลาดโลกของเหล่านี้บางช่วงอาจจะลดต่ำลงกว่านี้ก็ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ส่งอก ซึ่งถ้าเรากำหนดตายตัวแล้วราคาก็จะต่ำกว่าของในประเทศ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกวัตถุดิบเหล่านี้ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ทำให้ผลพวงที่ทำให้เกิดการจ้างงานต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เกิดปัญหาได้

เมื่อรัฐบาลมีการเปลี่ยนนโยบายมาเป็นการค้าเสรี ผมเห็นว่าไม่น่าที่จะเป็นการค้าเสรี ผมเห็นว่าไม่น่าที่จะเป็นการค้าเสรีเต็มที่ ผมว่ามันน่าจะมีอะไรที่อยู่ระหว่างนั้นว่าเป็นนโยาบายที่ปฏิบัติได้ ขณะเดียวกันก็เป้นนโยบายที่คล่องตัวและทำให้การวางแผนการผลิตทั้งเอกชนและเกษตรกรเป็นไปได้ง่ายขึ้น กล่าวคือเป็นการเปลี่ยนการค้าแบบเสรีที่จะมีการเก็บภาษีนำเข้าให้ราคา ซึ่งบวกเข้ากับต้นทุนการนำเข้าแล้วมีราคาใกล้เคียงกับระดับราคาวัตถุดิบภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีแรงจูงใจที่จะวางแผนการผลิตในระยะยาว และยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ของราคาต้นทุนการผลิตของผู้นำเข้า บางโอกาสก็อาจจะมากเกิน 10% บางคราวก็อาจจะลดต่ำลงกว่า 10% ไม่ใช่เป็น 10% ตายตัว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us