Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 ตุลาคม 2550
ธปท.รับเงินบาทแข็งแต่ไม่น่าห่วง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
สุชาดา กิระกุล
Currency Exchange Rates




ธปท.ยอมรับค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากผู้ส่งออกที่เทขายเงินดอลลาร์ เชื่อไม่น่าห่วงเป็นไปตามธปท.คาดว่าทั้งปีค่าเงินบาทจะแข็งค่าตามทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นๆของภูมิภาคเอเชีย ด้านนักค้าเงินระบุค่าเงินหยวนที่แข็งค่าขึ้นแตะระดับ 7.5 หยวนต่อดอลลาร์ไม่กระทบต่อค่าเงินบาทแน่นอน

นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เนื่องจากผู้ส่งออกมีการเทขายเงินดอลลาร์เพื่อแลกเงินบาทมากขึ้นจากแนวโน้มที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในขณะนี้ยังคงทรงๆ ตัวอยู่ไม่ได้มีความผันผวนมากนัก จึงไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากเป็นไปตามที่ธปท.คาดการณ์ไว้อยู่แล้วว่าปีนี้ทั้งปีค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นๆ ของประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย

ทั้งนี้ ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ฉบับเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ระบุว่า ทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ประเมินว่า การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(เอฟดีไอ) ประกอบกับการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลทั้งสิ้น 7.4 พันดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่กดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ หากพิจารณาการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในรูปดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ซึ่งคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับสกุลเงินของประเทศต่างๆ ที่มีความสำคัญทางด้านการค้าระหว่างประเทศกับไทยนำมาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก พบว่า ดัชนีค่าเงินบาทล่าสุดในเดือนกันยายนหรือไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ระดับ 78.28 แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยประมาณ 0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 เพราะแม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงค่าเงินสกุลต่างๆ ของประเทศในภูมิภาคส่วนใหญ่ แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ เช่น เยน และยูโร

ส่วนดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง(REER) ซึ่งนำดัชนีค่าเงินบาทมาปรับราคาเปรียบเทียบ เพื่อให้สะท้อนถึงความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของประเทศ ล่าสุดในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 90.99 แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยของไตรมาสที่ 2 ประมาณ 0.4% โดยในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นการแข็งค่าที่น้อยกว่าการแข็งค่าขึ้นของดัชนีค่าเงินบาท เนื่องจากระดับราคาในประเทศเพิ่มขึ้นน้อยกว่าระดับราคาของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งโดยรวม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้ประกอบการและผู้ผลิตเตรียมปรับราคาสินค้าในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลให้ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริงเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของไทยลดลง

ด้านนักค้าเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ค่าเงินบาทปิดตลาดวานนี้ (24 ต.ค.)อยู่ที่ระดับ 34.14-34.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการเคลื่อนไหวระหว่างวันค่อนข้างเหงียบเหงา แม้จะมีข่าวอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนของจีนแข็งค่าขึ้นทะลุ 7.5 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่จีนเริ่มใช้ระบบตะกร้าเงินในปี 2005 หลังกลุ่มจี7 เรียกร้องให้จีนเร่งปรับขึ้นอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนให้เร็วขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ตามมองว่าการแข็งค่าของเงินหยวนนั้นอาจจะมีผลกระทบต่อค่าเงินประเทศอื่น ๆ แต่จะไม่มีผลกระทบต่อค่าเงินบาทอย่างแน่นอน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us