Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2533
เอนก ศรีสนิท ละครอีกตัวหนึ่งในเวทีกฎหมายไทย             
 


   
search resources

เอนก แอนด์ อะโซซิเอทส์
เอนก ศรีสนิท




เมื่อปี 2510 นิติศาสตร์บัณฑิตหนุ่มจากรั้วธรรมศาสตร์คนหนึ่งได้สัญญากับคนรักของเขาว่าจะไม่รับราชการอย่างเด็ดขาดในชีวิตของเขา ในคืนวันฉลองปริญญาที่อบอวลไปด้วยบรรยากาศที่ภาคภูมิและแสนจะโรแมนติคคืนนั้น

นิติศาสตร์หนุ่มคนนั้นก็คือ เอนก ศรีสนิท หนุ่มใหญ่วัย 42 ปี ประธานกรรมการสำนักงานที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศ เอนกเดนตันฮอลล์ (ANEK-DENTON HALL INTERNATIONAL LEGAL CONSULTANTS) ซึ่งมีทรัพย์สินรวมไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท และมีเป้าหมายรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 20 ล้านบาท

เอนกเริ่มต้นอาชีพทนายความของเขาโดยเป็นที่ปรึกษากฎหมายประจำบริษัทดิลลิ่งแฮมฟาร์อีสต์ ซึ่งเป็นบริษัทรับสร้างและบริหารสนามบินอู่ตะเภาในยุคที่ฐานทัพอเมริกาในไทยกำลังเฟื่องฟู

"ผมว่ามันเป็นพื้นฐานสำคัญทีเดียวที่ผมหันมาเป็นทนายความที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศในทุกวันนี้ก็คงเป็นเพราะจุดนั้น" เอนกกล่าว

เอนกต้องเข้าไปเกี่ยวข้องและดำเนินการด้านพิธีการ และขออนุญาตต่าง ๆ ให้แก่บริษัทซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย รวมไปถึงการขออนุญาตให้แก่บุคคลต่างชาติต่าง ๆ ที่ทางบริษัทส่งเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นการขออนุญาตอยู่อาศัยและทำงานในเมืองไทย พิธีการทางภาษีและแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ฐานทัพอเมริกากำลังจะถอนทัพออกจากเมืองไทยไปนั้น มีเรื่องที่จะต้องดำเนินการมากมาย เขาบอกว่ามีกระทั่งการขออนุญาตขน และเคลื่อนย้ายอาวุธและวัตถุระเบิด

เมื่อสนามบินอู่ตะเภาปิดลงเอนกได้รู้จักฝรั่งชาวเยอรมันคนหนึ่งชื่อ ครูเกอร์จึงได้เข้าหุ้นกันตั้งสำนักงานกฎหมายขึ้นในปี 2513

ครูเกอร์เป็นนักกฎหมายชาวเยอรมันที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา พวกสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ต่าง ๆ เขาเข้ามาในเมืองไทยในฐานะตัวแทนที่ปรึกษากฎหมายของตลาดร่วมยุโรปหรืออีอีซี ประจำประเทศไทยเขาจึงเป็นนักกฎหมายคนแรกที่ร่วมกับเอนกผลักดันให้มีการออกกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ในประเทศไทย

เอนกบอกว่าการเริ่มต้นกับครูเกอร์เปิดสำนักงานครูเกอร์แอนด์ อะโซซิเอทส์ เริ่มด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 100,000 บาทเท่านั้น โดยครูเกอร์เป็นคนลงหุ้นด้วยเงินสดจำนวน 50,000 บาท แต่เขาลงหุ้นด้วยแรงตีค่าเป็นเงิน 50,000 บาทเท่ากัน

จากการทำงานกินเงินเดือนประจำเขาได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ลงทุนและบริหารกิจการเองในชีวิตที่เพิ่งประกอบอาชีพนี้ได้เพียง 2 ปี เอนกรับผิดชอบในการดำเนินการทั้งหมดนับตั้งแต่การจดทะเบียนบริษัท ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ขอใบอนุญาตประกอบการทางธุรกิจต่าง ๆ ให้แก่ชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในเมืองไทย ซึ่งทำให้เขายิ่งกว้างขวางมากขึ้นทั้งในแง่ของการให้บริการที่หลากหลายขึ้น การมีความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐในงานที่เขาให้บริการแก่ลูกค้า และปริมาณของลูกค้าก็มีมากขึ้น

กิจการของสำนักงานครูเกอร์ แอนด์ อะโซซิเอทส์ ดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีกำไรพองามแต่น่าเสียดายที่เพียงปีเดียวต่อมาชีวิตของเขาต้องมาเริ่มต้นกันใหม่อีกครั้งเมื่อครูเกอร์เสียชีวิตลง ในขณะที่มีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 6 คนแล้ว

"ในขณะที่ครูเกอร์เสียชีวิตลงนั้นเราเริ่มมีรายได้ที่ดี จากที่ผมทำงานเพียงคนเดียวก็มีพนักงานเช้ามาช่วยงานถึง 6 คน ซึ่งจะทำต่อไปก็ได้ผมมีความเชื่อมั่นว่าทำได้ แต่พวกเรา 5-6 คนไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นว่าจะทำได้เลยปิดกิจการลง ซึ่งก็เป็นจังหวะเดียวกันกับที่ทางสำนักงานควาร์ซ่ากำลังต้องการคนและติดต่อมาทางผม ผมก็เลยต่อรองเอาพรรคของเราเข้าไปทั้งทีม" เอนกเล่าถึงจุดต่อสำคัญในชีวิตทนายความของเขาอีกช่วงหนึ่ง

ปี 2514 เอนก และทีมงานเข้าไปร่วมงานกับสำนักงานควาร์ซ่า ซึ่งเป็นสำนักงานของชาวฟิลิปปิ้นส์ที่เข้ามาเปิดสาขาในเมืองไทย โดยเริ่มจากทนายความธรรมดาจนถึงปี 2520 เขาจึงได้รับความไว้วางใจให้ขึ้นเป็นหุ้นส่วนและมีตำแหน่งเป็นกรรมการผั้ดการและผู้จัดการสำนักงานในประเทศไทย

ที่ควาร์ซ่าทำให้ อเนก ศรีสนิท ได้รับประสบการณ์ที่กว้างขวางมากขึ้นทั้งในรูปแบบของการให้บริการที่ปรึกษากฎหมายแก่ชาวต่างประเทศ ซึ่งหลากหลายมากขึ้น และประสบการณ์ในการบริหารคนซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเช่นกัน

ปัญหาที่เอนกประสบด้วยตนเองในการทำงานร่วมกับสำนักงานต่างชาาติที่เข้ามาเปิดสำนักงานเมืองไทยคือเขาไม่เคยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทย ไม่เคยมีแผนงานที่จะพัฒนาทนายความคนไทยในสำนักงาน ตลอดทั้งไม่ส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพการงานจึงปรากฎว่ามีทนายความเข้ามาทำงานในระยะสั้น ๆ แล้วลาออกไปสูงมาก เขาจึงเหนื่อยอยู่กับการฝึกคนทำงานรุ่นแล้วรุ่นเล่าเมื่อเป็นงานแล้วก็ออกไป ซึ่งจะโทษทนายก็ไม่ได้ เพราะนายจ้างไม่มีสิ่งที่เขาหวังในเขาเลย

"ผมจึงเสนอให้มีการปรับปรุงการบริหารและแผนการพัฒนาทนายความไปยังควาร์ซ่าที่ฟิลิปปินส์ ปรากฏว่าเขาไม่เอาด้วยกับผมหลายครั้ง ผมเลยยื่นคำขาดว่าถ้าไม่ปรับปรุงก็จะขอลาออก ซึ่งเขาเลือกเอาทางยอมให้ผมออก ผมก็ออกมาโดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรให้เขาว่าผมจะไม่เอาลูกความและพนักงานติดตัวออกไปด้วนแม้แต่คนเดียว ผมจึงได้เดินออกมาตั้งแต่วันนั้น" เอนกเล่าถึงอดีตของเขาด้วยท่าทีที่ราบเรียบแต่หนักแน่นตามแบบฉบับของเขา รวมเวลาที่เขาทำงานให้แก่ควาร์ซ่าถึง 10 ปีพอดี

เอนกเป็นคนที่ใจเย็นสุภาพเรียบร้อย นบน้อมถ่อมตน แต่มีเสน่ห์ภูมิฐานน่าเชื่อถือสมกับอาชีพที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศที่ได้ซึมซับเอาวัมนธรรมนักกฎหมายต่างประเทศมาได้อย่างแนบแน่น แต่คนใกล้ชิดของเอนกเองบอกว่าเวลางานเขาเป็นคนที่เอาจริงเอาจังมาก กับลูกน้องเขาจะเป็นคนที่เคร่งครัดในระเบียบวินัยอย่างฉกาจ และกับครอบครัวนั้นเขาเป็น FAMILY MAN อย่างสมบูรณ์

การเริ่มต้นอีกครั้งของเราคือเปิดสำนักงานเอนก แอนด์ อะโซซิเอทส์ ด้วยทุน 500,000 บาท เป็นของเขาคนเดียว จ้างเลขาและพนักงานรับส่งเอกสารเข้ามาช่วยงานใหม่เพียง 2 คน โดยเช่าตึกสำนักงานที่ซอยสมประสงค์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่เมื่อปี 2525

เอนกบอกว่าเงิน 500,000 บาทนั้นคือเงินที่เขาสะสมมาจากการประกอบอาชีพของเขาล้วน ๆ

ในยุคที่การค้าและการลงทุนของชาวต่างชาติได้หลั่งไหลเข้ามาเมืองไทยอย่างมากมายมหาศาลเกิดนิติกรรมสัญญาที่จะต้องใช้นักกฎหมายขึ้นมากเป็นเงาตามตัว แต่ปรากฎว่างานบริการทางด้านนี้กลับไปตกอยู่ในมือของทนายความต่างประเทศกันหมด ส่วนทนายไทยนั้นยังคงวุ่นวายอยู่กับการให้บริการการต่อสู้ดำเนินคดีกันในโรงในศาลกันเสียส่วนใหญ่

ทั้งนี้เพราะกลไกการตลาดบริการด้านนี้ได้ตกอยู่ในมือของชาวต่างชาติกันหมด นอกจากนั้นยังเกิดจากการตื่นตัวของทนายไทยที่จะพัฒนาตนเองมาทางด้านนี้มีน้อย ทั้งในด้านภาษาวัฒนธรรมและความรู้ความเข้าใจในกฎหมายระหว่างประเทศ และที่สำคัญผู้รักษากฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวในการให้การคุ้มครองอาชีพทางด้านนี้ไม่เคยดูแลว่ามีการละเมิดกฎหมายกันอย่างไร ทั้งไม่คิดที่จะปรับปรุงแก้ไข แม้แต่สภาพทนายความเองก็ยังไม่เคยเห็นหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาพุดคุยกันมากไปกว่าเรื่องที่จะเอาชนะคะคานกัน ในเรื่องผลประโยชน์ระหว่างกรรมการในสภาด้วยกัน

กฎหมายไทยในปัจจุบันแม้จะไม่อนุญาตให้ทนายความและสำนักกฎหมายต่างด้าวเข้ามาทำมาหากินในเมืองไทยเช่นอาชีพสงวนสำหรับคนไทนในสาขาอื่น ๆ แต่ปรากฎว่ามีสำนักงานกฎหมายของชาวต่างชาติเข้ามาเปิดให้บริการอย่างองอาจเปิดเผยอยู่กว่า 20 แห่ง ยังไม่รวมถึงที่หากินกันอย่างลับ ๆ ล่อ ๆ ทั้งที่แฝงตัวอยู่ในแผนกกฎหมายของบริษัทขนาดใหญ่ บริษัทที่ปรึกษาทางการค้าและการลงทุน รวมถึงการเข้ามาในรูปของมูลนิธิและกองทุนต่าง ๆ กระทั่งบริษัทนักสืบที่หากินกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันอีกนับเป็นร้อย ๆ แห่งในขณะนี้ โดยมีคนไทยบางคนยอมเป็นเครื่องมือของคนต่างด้าวเหล่านั้นอย่างออกหน้าออกตา

"นักกฎหมายรวมถึงผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่น ๆ ด้วยที่แฝงตัวเองเข้ามาในรูปแบบต่าง ๆ ถ้าเปรียบกับสงครามสมัยก่อนมันก็คือไส้ศึกดี ๆ นี่เอง พวกเหล่านี้รู้ไส้รู้พุงเมืองไทยดีกว่านไทยของเราเองเสียอีกในขณะที่เราไม่ค่อยจะรู้เรื่องของเขาเลย ไม่ทราบเป็นเพราะอะไรรัฐบาลไทยจึงไม่ดูแลควบคุมพวกนี้อย่างจริงจัง" ผู้สันทัดกรณีคนหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการ" อย่างน่ากลัว

เอนกพูดถึงกรณีเดียวกันนี้ว่า นอกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เอาใจใส่ควบคุมดูแลอย่างจริงจังแล้ว เขายังเห็นว่ามันเกิดขึ้นเพราะความเปราะบางของนักกฎหมายไทยเองด้วยนักกฎหมายไทยนอกจากจะอ่อนด้อยทางด้านภาษาและวัฒนธรรมต่างชาติแล้ว ยังเป็นกลุ่มอาชีพที่ไม่มีการตื่นตัวที่จะพิทักษ์ผลประโยชน์ของตัวเอง

เขายอมรับว่าสัญญาทางการค้าและการลงทุนที่ผู้ประกอบการไทยทำขึ้นกับชาวต่างชาตินั้น ลอกเลียนที่พิมพ์มาแล้วเรียบร้อยจากต่างประเทศไม่เคยได้รับการตรวจสอบและรับรองโดยนักกฎหมายไทยเลย

"ผู้ประกอบการของเราบางคนเซ็นสัญญากันแล้วเรียบร้อยยังไม่รู้ว่าสัญญานั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร เซ็นไปแล้วค่อยเอามาให้ทนายแปลให้ก็มีหรือร้ายยิ่งกว่านั้นจนเกิดมีการเบี้ยวกันขึ้นมาจึงค่อยมาเปิดเอาสัญญามาดู ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นสัญญาที่เสียเปรียบเขาทกที" อเนก ศรีสนิท กล่าวเสริม

ในขณะที่มาตรการให้การคุ้มครองผู้ประกอบการในการรับรองสัญญาโดยนักกฎหมาย หรือรัฐบาลไทยนั้นยังไม่เกิดขึ้นทางด้านนักกฎหมายไทยที่พอจะรู้เรื่องกฎหมายด้านนี้ก็เพียงน้อยนิดเต็มที

ในบรรดาทนายความเมืองไทยร่วม 30,000 คน ปรากฏว่ามีทนายความสัญชาติไทยที่ทำมาหากินในด้านนี้เพียง 2000 กว่าคนเท่านั้นเอง และส่วนใหญ่ก็เป็นลูกจ้างในสำนักงานของชาวต่างชาติ

อเนก ศรีสนิท คือคนในจำนวนอันน้อยนิดนั้นตัดสินใจกระโดดออกสร้างสำนักงานปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศของไทยแท้ ๆ อย่างท้าทายและเสี่ยงต่อการล้มเหลวเป็นอย่างยิ่ง

ถึงวันนี้เขาได้ต่อสู้มายาวนานถึง 7 ปี ถ้าจะเรียกว่าความพร้อมทั้งทางด้านการเงิน การทอง และการบริหารงานภายในของเขาในวันนี้คือสิ่งที่จะอ้างอิงถึงความสำเร็จของเขาได้ ก็เรียกได้ว่าเขาประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง ซึ่ง "ผู้จัดการ" ประเมินค่าทรัพย์สินที่เป็นทั้งอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์และคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญอย่างมากในธุรกิจประเภทนี้จำนวนร่วม 60 คนในสำนักงานของเขาแล้วถ้าจะน้อยกว่า 200 ล้านบาท ก็คงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง

เอนกย้ายสำนักงานเอนก แอนด์ อะโซซิเอทส์ ซึ่งอยู่ในห้องแถวย่านเพชรบุรีตัดใหม่ ขึ้นอยู่บนทาวเวอร์ใจกลางย่านธุรกิจของประเทศอย่างถนนสุรวงศืเมื่อต้นปี 2531 ที่ผ่านมาด้วยทุนเริ่มต้น 3 ล้านบาท เพียงไม่ข้ามปีเขาตัดสินใจซื้อชั้น 19 ของอาคารวอลท์สตรีททาวเวอร์ที่เขาเช่าอยู่นั้นในราคา 16 ล้านบาท และเริ่มต้น พ.ศ.ใหม่ในปี 2532 ที่ผ่านมาเขาตัดสินใจซื้อเพิ่มให้เต็มทั้งชั้นอีก 6 ล้านบาท เอนกยอมรับว่าเขาจะต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 15 ล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป้ารายได้ของเขาจะต้องไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาทต่อปี

เขาบอกว่าเงินทุนทั้งหมดเป็นเงินที่เขาหามาได้จากอาชีพนี้เพียง 30% นอกนั้นกู้ธนาคาร อเนก ศรีสนิท ในวัย 43 ปี เขาก้าวเข้าสู่หนุ่มใหญ่เช่นเดียวกับประสบการณ์ที่เขาได้สั่งสมมาเป็นเวลายาวนานและหลายรูปแบบ การเดินไปข้างหน้าของเขาคราวนี้จึงเป็นฝ่ายต่อมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายรอง

"เมื่อเราโตแล้วก็มีสำนักกฎหมายในต่างประเทศติดต่อมาขอร่วมทุนหลายราย ซึ่งตรงกับความคิดของผมอยู่พอดีหลังจากผมใช้เวลาเลือกผู้ที่จะร่วมลงทุนอยู่นานผมจึงตัดสินใจเอากับสำนักงานกฎหมายเดนตันฮอลล์ (DENTON HALL BURAIN & WARRENS) แห่งประเทศอังกฤษ ซึ่งมีอายุการก่อตั้งมานานกว่า 100 ปี มีสำนักงานเปิดให้บริการอยู่ทั่วโลก แต่เพิ่งเข้ามาในย่านตะวันออกไกลเมื่อปี 2519 โดยตั้งสำนักงานสาขาที่ฮ่องกง สิงคโปร์ และโตเกียว" เอนกกล่าว

สิ่งที่เอนกบอกว่ากำลังคิดอยู่นั้นคือแผนการพัฒนาคนและสำนักงานให้ขั้นเท่าเทียมสากล

การกลับไปร่วมกับสำนักงานต่างประเทศคราวนี้เอนกเป็นฝ่ายเลือก โดยเสนอเงื่อนไขคือจะต้องมีการถ่ายทอดความรู้ให้ทนายคนไทยอย่างต่อเนื่องโดยจะต้องรับทนายฝ่ายไทยไปทำงานในประเทศอังกฤษอย่างน้อยปีละ 3 คน ต้องส่งคนที่มีความชำนาญเฉพาะด้านเข้ามาร่วมทำงานในไทยเป็นการประจำ จะต้องส่งฤอร์ฟแวร์ที่ใช้ในสำนักงานต่างปรเทศทั้งหมดเข้ามาใช้และถ่ายทอดให้ฝ่ายไทยได้เรียนรู้ รวมทั้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จะต้องมีการสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง

"ทางเดนตันฮอลล์เขายินดีตามเงื่อนไขที่ผมเสนอ แล้วผมก็เดินทางไปดูการทำงานของเขาด้วยตนเองหลายสัปดาห์จึงได้ตัดสินใจทำสัญญาร่วมลงทุนกันขึ้น เพราะผมคิดแล้วว่าต้องได้ตามเงื่อนไขที่ผมเสนอเท่านั้นทนายไทยถึงจะพัฒนาขึ้นไปสู่ระดับนานาชาติเขาได้" เอนกพูดกับ "ผู้จัดการ" ด้วยสีหน้าของผู้กำชัยชนะ หลังจากสำนักงานเอนกแอนด์อะโซซิเอทส์ของเขาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อเนก-เดนตันฮอลล์" อย่างเท่าเทียมกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us