Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2533
เอเชียน แปซิฟิค กรุ๊ป : เวนเจอร์ แคปิตอล ตัวจริง             
 


   
search resources

เอเชียน แปซิฟิค กรุ๊ป
ราเกซ สักเสนา




ความสำเร็จจากการเจรจาซื้อบงล. ตะวันออกฟายแน้นซ์ หนึ่งในทรัสต์ 4 เมษาฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าใครคือนักซื้อกิจการตัวจริงในวงการธุรกิจไทย

ชื่อของกลุ่มเอเชียน แปซิฟิคออกจะดูใหม่ในวงการ แต่ชื่อของราเกซ สักเสนา CHIEF OPERATING OFFICER ของกลุ่มฯนั้นไม่ใหม่เลย ออกจะเป็นที่รู้จักกันดีด้วยซ้ำไป นอกจากซื้อตะวันออกฟายแน้นซ์แล้ว เอเชียน แปซิฟิคกรุ๊ปกำลังดำเนินการซื้อกิจการด้านฟาสต์ฟูด กิจการผลิตอาหารสำเร็จรูปและกิจการอิเล็กทรอนิกส์รวม 3-4 แห่งเข้าไว้ในกลุ่มให้ได้ก่อนสิ้นปี 2532 ด้วย

ส่วนปี 2533 ก็มีเป้าหมายเมื่อถึงสิ้นปีหน้ากิจการที่จะซื้อเข้ามาไว้อีกมากกว่า 10 แห่ง คิดเบ็ดเสร็จก็เท่ากับมีกิจการในกลุ่มมากกว่า 50 แห่ง

แล้วจะไม่ให้เรียกกลุ่มนี้ว่าเป็นนักซื้อกิจการตัวจริงได้อย่างไร

การซื้อกิจการที่กลุ่มเอเชียนแปซิฟิคทำนี้ หมายถึงการเลือกพิจารณาร่วมลงทุนกับบริษัทขนาดกลางที่มีแนวโน้มจะเติบโตขยายตัวได้อีกไกลในอนาคตหรือเลือกร่วมทุน เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตให้กับบริษัทเหล่านั้นโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นบริษัทในแขนงธุรกิหนึ่ง โดยเฉพาะแต่ให้กระจายไปในแนวธุรกิจที่กลุ่มมีความชำนาญ

ปัจจุบันเอเชียน แปซิฟิค กรุ๊ปมีบริษัทในเครือที่แยกประเภทธุรกิจได้ดังนี้คือ ธุรกิจการเกษตร เครื่องจักรกล สุขภาพ การบริการอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม/การท่องเที่ยว การค้า การจัดจำหน่ายอิเล็กทรอนิกส์ / คอมพิวเตอร์ INTERNATIONAL INVESTMENT BANK และ RISK ARITAGE

บริษัทสำคัญในกลุ่มได้แก่ PROPERTY SOLUTIONS CO., LTD. ทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ปัจจุบันมีโครงการพัฒนาที่ดินในกรุงเทพฯ 3 แห่งที่พัทยา 1 แห่ง, บ.เอเชีย พอยน์ ในฮ่องกงให้บริการการเงินเพื่อส่งเสริมการลงทุน, บ.นมอีสาน จก.ผลิตภัณฑ์นม, บ.ไรซ์ เอ็นจิเนียริ่ง ซัพพลาย จก. ผลิตเครื่องจักรการเกษตร และบ.ไทยโปรโมชั่น แอนด์ เวนเจอร์ จก. ให้บริการด้านข่าวสาร

บริษัทสำคัญในกลุ่มก่อตั้งขึ้นมาแห่งละหลายปี แต่ตัวเอเชียนแปซิฟิค กรุ๊ปนั้นเพิ่งจะมีขึ้นในราว 1 ปี โดยถือกำเนิดจากการรวมตัวของ 3 บริษัทคือ VENTURE CAPITAL CO., LTD., PROPERTY SOLUTIONS CO., LTD. FARM VENTURES CO., LTD. โดยมี VENTURE CAPITAL ซึ่งเป็นอินเวสเม้นท์ คอมปานีเป็นหัวหอกของกลุ่ม

ราเกซกล่าวกับ "ผู้จัดการไ ว่ากลุ่มเอเชียน แปซิฟิคจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารงานของบริษัทในเครือเหล่านี้ พวกเขาจะมีการบริหารงานที่เป็นเอกเทศของตนเอง แต่ทางกลุ่มฯจะเข้าไปดูในด้านนโยบายการลงทุน และ VENTURE CAPITAL ยังจะดูในเรื่องของโครงสร้างทางการเงินในโครงการต่าง ๆ ของกลุ่มที่จะร่วมกันลงทุนด้วย

ในส่วนของ VENTURE CAPITAL นั้น เป็นชื่อที่คุ้นหูระดับหนึ่งในบรรดาธุรกิจประเภทใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย โดยเกิดขึ้นจากการร่วมลงทุนของธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและสถาบันการเงินหลายแห่ง ทำธุรกิจร่วมทุนกับกิจการหลายประเภทที่มีอนาคตจะเติบโต และเมื่อพัฒนาไประยะหนึ่งจนพอจะมีความมั่นคงแล้ว ก็อาจจะนำบริษัทนั้น ๆ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นบริษัทมหาชน และ VENTURE CAPITAL ก็ขายหุ้นถอนตัวออกมา

VENTURE CAPITAL เป็นเอเซียน แปซิฟิคมาก แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มฯ มาจากการที่บริษัทในฮ่องกง 2 แห่งดได้เข้ามาร่วมถือหุ้นและร่วมบริหารกิจการของกลุ่มด้วย โดยมีนโยบายที่จะซื้อกิจการหลายแห่งในออสเตรเลียและอเมริกาเหนือ

แผนการลงทุนที่น่าสนใจประการหนึ่ง คือเรื่องการซื้อหุ้นส่วนข้างมากของอินเวสเม้นท์โฮลดิ้งแห่งหนึ่ง ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แวนคูเวอร์ โดยมีเป้าหมายที่จะอำนวจความสะดวกทางการลงทุนในประเทศไทยให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ ทั้งนี้จะเน้นการลงทุนในบริษัทที่มีแนวโน้มจะเติบใหญ่ ก่อนที่จะนำบริษัทเหล่านี้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

จะว่าไปแล้วก็คือการดึงเอาทุนต่างชาติเข้ามาเป็นทุนร่วมเสี่ยง (VENTURE CAPITAL กับบริษัทไทยนั่นเอง ซึ่งการทำ VENTURE CAPITAL เป็นเรื่องที่นักธุรกิจต่างชาติคุ้นเคยดีอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของผู้ที่จะทำ VENTURE CAPITAL ได้จำเป็นที่จะต้องเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจหรือเป็นผู้ที่เป็นที่รั้กมักคุ้นในวงการ และนี่เองที่เป็นมูลเหตุของการเกิดข้อความโฆษณาแปลก ๆ ในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษฉบับหนึ่ง

ราเกซกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงนัยยะของข้อความโฆษณานี้ว่า มันเป็นเรื่องการอธิบายวิธีการบริหารงานของกลุ่มเอเชียนแปซิฟิคเท่านั้น "เราต้องการบอกว่าทำไมเราจึงร่วมลงทุนในบริษัทนี้ เราจะทำอะไรในบริษัทนี้บ้าง เราต้องการเปิดเผยหรือประกาศให้ทราบถึงวิธีบริหารธุรกิจของเรา"

การลงประกาศข้อความเช่นนี้จึงไม่ได้มีเป้าหมายที่การหาลูกค้าเหมือนโฆษณาอื่น ๆ ราเกซกล่าวว่าเขาไม่ได้ต้องการลูกค้าจากการประกาศนี้ เพราะขณะนี้เขาก็มีลูกค้ามากมายอยู่แล้ว

ไม่เพียงแต่กลุ่มเอเซียน แปซิฟิคจะมีบริษัทในเครือเพิ่มมากขึ้น ๆ แต่ในจำนวนบริษัทเหล่านั้นมีที่น่าสนใจอยู่หลายแห่ง เช่น บริษัท BISNEWS AGENCY CO., LTD. ซึ่งเป็นบริษัทที่ขายบริการข่าวสารทางธุรกิจ BISNEWS มีโครงการร่วมกับ VENTURE CAPITAL ในการที่จะพัฒนาและขยายการให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่บริษัทและสถาบันการเงินใหญ่ ๆ ในประเทศไทย โดยจะมีการตั้งสำนักข่าว APEX เป็น NEWS SERVICE ที่มีข่าวทั่ว ๆ ไปและข่าวการเงินที่ทันเหตุการณ์ทั้งในและนอกประเทศไว้บริการ

ระบบการรายงานแบบใหม่นี้จะช่วยให้ผู้บริหารของกลุ่ม ASIAN PACIFIC มีข้อมูลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของบริษัทในเครืออย่างชัดเจนถูกต้องและเป็นข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ข้อมูลเหล่านี้จะใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนการขยายตัวของกลุ่มฯ ต่อไปในอนาคต

รูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ของกลุ่ม ASIAN PACIFIC เป็นสิ่งที่น่าสนใจติดตามเป็นอย่างยิ่ง VENTURE CAPITAL มีเกณฑ์การคัดเลือกพิจารณาบริษัที่จะซื้อกิจการหรือตัดสินใจร่วมทุนด้วยอย่งไร จะร่วมกันบริหารกิจการนั้น ๆ อย่างไร ชื่อของราเกซสักเสนาหรือเบิร์ต โรเมโร คือใครมีประวัติความเป็นมาอย่างไรประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่น่าสนใจติดตามทั้งสิ้นโดยเฉพาะเมื่อ ASIAN PACIFIC GROUP กลายเป็น THE REAL VENTURE CAPITAL

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us