Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์22 ตุลาคม 2550
ธุรกิจปิโตรเคมีรุ่ง !“ทุนไทย-ต่างชาติ”เล็งขายฐาน-8เดือนยอดลงทุนพุ่ง1.1แสนล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   
search resources

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
Oil and gas




ส.อ.ท.ระบุ EIA กดขยายลงทุน-ลงทุนใหม่กว่า 1.5 แสนล้าน จี้รัฐแก้ไขหวั่นนักลงทุนย้ายฐานหนีไปประเทศอื่นแทน ด้าน BOI เผยยอดอนุมัติลงทุนปิโตรฯในรอบ 9 เดือน 10 โครงการมูลค่าลงทุนรวม1.1แสนล้านและจ่อรอขออนุมัติอีกเพียบ ด้านโบรเกอร์ชี้อนาคตปิโตรฯสดทั้งใน-นอก เพราะ “จีน” เลื่อนโครงการออกไปเพราะขาดบุคลากร พร้อมยืนยันหุ้นในกลุ่มปิโตรฯ ในปีหน้ามีอนาคตทุกตัว

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจปิโตรเคมียังติดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่นิคมฯมาบตาพุดจ.ระยองเพราะประชาชนในพื้นที่ต่อต้านไม่ให้สร้างหรือขยายโครงการลงทุนเพิ่มเติมโดยหลายโครงการใหญ่ๆต้องรอตรวจสอบมาตรฐานก่อน ทำให้นักลงทุนส่วนหนึ่งเริ่มกังวลและอาจจะย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นแทน แต่ภาพรวมสถานการณ์ของธุรกิจกลุ่มปิโตรเคมีทั้งใน-นอกยังไปได้ดีเพราะความต้องการของตลาดจากโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ยังมีความต้องการจำนวนมาก

เผย 13 โครงการยักษ์รอผ่าน EIA

แหล่งข่าวจากกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เปิดเผยกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์ว่า” ว่าขณะนี้ภาคเอกชนมีความกังวลเกี่ยวกับการอนุมัติการลงทุนกิจการปิโตรเคมีในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจ.ระยองที่อยู่ระหว่างการรอผลจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ที่พิจารณาเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) 13 โครงการมูลค่าลงทุนกว่า 1.5 แสนล้านบาทที่อาจจะต้องเลื่อนไปเพื่อรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารงานซึ่งจะกระทบต่อการลงทุนภาพรวมอย่างมาก ภาคเอกชนจึงต้องการให้รัฐบาลช่วง 3 เดือนที่เหลือนี้มีการพิจารณาการลงทุนให้เกิดความชัดเจน เพราะขณะนี้เอกชนกังวลใจมาก ๆ เพราะยังมองไม่ออกว่าหากต้องรอรัฐบาลใหม่มาจะต้องใช้เวลาพิจารณาไปอีกมากน้อยเพียงใด

ซึ่งหากล่าช้าออกไปจะกระทบใน 3 ด้านคือ 1. สถาบันการเงินต่างๆที่เตรียมเจรจาไว้อาจต้องเลื่อนออกไป 2.โครงการที่ต้องการวัตถุดิบต่อเนื่องจากการลงทุนที่เกิดขึ้นอาจต้องชะลอการผลิตกล่าว และ3.เงินลงทุนที่ลากยาวไปอาจมีปัญหาต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพราะอุปกรณ์ล่าสุดมีทิศทางจะแพงขึ้น 20-30% ในระยะยาว

หวั่นสถานการอึมครึมนักลงทุนย้ายฐาน

อย่างไรก็ตามยังยืนยันว่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยองมีความเหมาะสมที่สุดในการ พัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมเพราะติดทะเล มีระบบ ท่อก๊าซธรรมชาติที่เป็นวัตถุดิบรองรับทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพมากที่สุดในอาเซียน ส่วนที่จะหาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ๆที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์นั้น จะมีพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องลมมรสุมและเป็นเส้นทางพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านบ่อยอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนอุตสาหกรรมหนักได้

“ในอนาคตหากความชัดเจนเรื่องสิ่งแวดล้อมยังไม่คืบหน้าอาจทำให้นักลงทุนเกิดความลังเลและย้ายฐานการลงทุนไปต่างประเทศแทน” แหล่งข่าวระบุ

BOIอนุมัติลงแทนแล้ว 1 แสนล้าน

ขณะที่ตัวเลขการขอรับการส่งเสริมลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่าในช่วง 8เดือนที่ผ่านกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขอรับการส่งเสริมและมีการอนุมัติให้การส่งเสริมแล้วจำนวน 10 โครงการเงินลงทุนรวม116,658 ล้านบาทและอยู่ระหว่างรอการอนุมัติจาก BOI อีก11โครงการมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 69,180 ล้านบาท

โดยกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนดังกล่าวอาทิ กลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (บมจ.) ธุรกิจปิโตรเคมีในเครือ, บมจ.ซิเมนต์ไทย, กลุ่มอินโดรามา และบมจ. วีนิไทย ,บมจ.ปตท. เคมิคอล, บริษัทมาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัดผลิต, บมจ.โรงกลั่นน้ำระยอง, บริษัทไทยเอ็มเอ็มเอ จำกัด

ด้านบริษัทหลักทรัพย์โกลเบล็กจำกัด วิเคราะห์ว่าธุรกิจกลุ่มปิโตรเคมียังมีมุมมองในเชิงบวกเนื่องจากแนวโน้มโครงการผลิตปิโตรเคมีหลายโครงการในประเทศจีนจะเลื่อนเปิดดำเนินการออกไปจากกำหนดเดิมจากการขาดแคลนบุคคลากรซึ่งเป็นปัญหาทั้งอุตสาหกรรมทั่วโลก ขณะเดียวกันการลงทุนในกลุ่มปิโตรเคมีที่ Overweight จากความกังวลในเรื่องของโครงการปิโตรเคมีของประเทศจีนในปี 2551-2554 ที่จะเลื่อนออกไปและยังไม่รู้กำหนดการที่ชัดเจนด้วย เนื่องจากปัญหาในเรื่องการขาดแคลนบุคลากรโดยเฉพาะวิศวกรด้านปิโตรเคมีทำให้คาดว่าโครงการขยายกำลังการผลิตปิโตรเคมีในตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็อาจเกิดปัญหาเดียวกันด้วย

โบรกฯชี้ปิโตรฯยังสดในถึงปีหน้า

สำหรับผลกระทบต่ออุปทานปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์คาดว่า จะส่งผลค่อนข้างรุนแรงเนื่องจากปี 2551 ประเทศจีนมีโครงการขยายกำลังการผลิตเอทีลีนจำนวน 1 ล้านตันต่อปีและโครงการขยายกำลังการผลิตเอทีลีนรวมประมาณ 5 ล้านตันต่อปีภายในปี 2552-2554 ที่คาดว่าจะเลื่อนกำหนดการเปิดออกไป ทำให้คาดว่าอุปทานของปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์จะไม่เพิ่มขึ้นมากอย่างที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ ส่วนปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ก็คาดว่าจะมีผลกระทบในลักษณะเช่นเดียวกันกับโครงการผลิตโอเลฟินส์เนื่องจากเป็นปัญหาในเรื่องการขาดแคลนบุคลากรในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจึงคาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบทั้งอุตสาหกรรม

ขณะที่อุปทานของปิโตรเคมีในปี 2551-2554 ที่คาดว่าจะไม่เพิ่มขึ้นตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ จึงทำให้สเปรดของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีโดยเฉลี่ยน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงตลอดปีหน้าเป็นอย่างน้อย ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงมีแนวโน้มที่จะปรับประมาณการณ์ของหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีในปี 2551 เพิ่มขึ้น หุ้นในกลุ่มนี้ที่แนะนำซื้อคือ ATC ถึงแม้ว่าผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/2550 อาจจะลดลงจากปีก่อนแต่ยังมีมุมมองที่ดีต่อ ATC ในอนาคตทั้งเรื่องกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากโครงการอะโรเมติกส์ 2 และสเปรดที่น่าจะทรงตัวในระดับสูงได้ต่อเนื่องในปี 2551 รวมทั้งผลประโยชน์จากการควบรวมกิจการกับ RRC เช่นเดียวกับ PTTCH ที่จะได้รับปัจจัยบวกจากสเปรดของปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ที่มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

ยึดคืน IRPC เป้าหมาย “ประชัย”

อย่างไรก็ดีอาจจะเพราะอนาคตธุรกิจปิโตรเคมีที่สดใสนี่เองอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ “ประชัย เลี่ยวไพรัตน์” อดีตผู้บริหารเดิมและผู้ก่อตั้ง บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือTPI ต้องการยึดคืนธุรกิจในเครือไออาร์พีซี จำกัด (ทีพีไอเดิม) คืนมา เขาจึงสู้ยิบตาหันหน้าเข้าสู่ถนนการเมืองอย่างเต็มตัวในตำแหน่งหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งเขากล่าวยืนยันสั้นๆว่า “ ธุรกิจปิโตรเคมีไม่มีปัญหายังขายได้ และยังสามารถทำกำไรได้ดีด้วย”

สำหรับธุรกิจปิโตรเคมีของกลุ่มไออาร์พีซีนั้นประกอบด้วย 1.โอเลฟินส์ ประกอบด้วย เอทธีลีน โพรพิลีน และ บิวทาไดอีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ ส่วนใหญ่ใช้ป้อนโรงงานในเครือไออาร์พีซีเกือบทั้งหมดกำลังการผลิต 728,000 ตันต่อปี 2. อะโรเมติกส์ เริ่มผลิตได้พร้อมกับโอเลฟินส์ในปี 2540 ประกอบด้วย เบนซิน (Benzene) โทลูอีน (Toluene) ไซลีน (Xylene) หรือ BTX ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 367,000 ตันต่อปี ส่วนใหญ่ใช้ป้อนโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางของบริษัทฯ และจำหน่ายให้บุคคลภายนอกบางส่วน 3.เม็ดพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายที่สำคัญของบริษัทฯ ประกอบด้วย เม็ดพลาสติกชนิด HDPE และ PP เรียกว่า โพลีโอเลฟินส์ (Polyolefins)และกลุ่มเม็ดพลาสติกชนิด ABS/SAN PS และ EPS เรียกว่า สไตเรนิค (Styrenics)ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันตามลักษณะการนำไปใช้งาน และ 4.ผลิตภัณฑ์โพลีออลเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตโพลียูรีเทน ได้แก่ โพลีอีเทอร์โพลีออล โพลีเอสเทอร์โพลีออล พรีโพลีเมอร์ โดยโพลียูรีเทนสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่น โฟมที่ใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ ฟูกโฟมที่ใช้เป็นฉนวนกันการถ่ายเทความร้อนในอุตสาหกรรมก่อ สร้างอาคาร และอุปกรณ์ทำความเย็นต่างๆ และโฟมสังเคราะห์ซึ่งใช้ทำพื้นรองเท้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us