Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2533
โธ่ เสรีอีกแล้ว             
 


   
search resources

พาราพัฒนา, บงล
เสรี จินตนเสรี
Financing




เสรี ที่ว่านี้ ไม่ใช่เสรี ทรัพย์เจริญ คนดังวงการค้าหุ้นจากบริษัทราชาเงินทุนในอดีต แต่เป็นเสรี จินตนเสรี กรรมการผู้จัดการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พาราพัฒนา ที่กำลังจะอำลาสิ้นเดือนมกราคมนี้

เสรี อายุ 48 ปีแล้ว จบเนติบัรฑิตทางกฎหมายจากอังกฤษเคยเป็นเจ้าหน้าที่ระดับบริหารในงานกฎหมายของแบงก์ชาติอยู่ 3 ปี ก่อนที่จะย้ายมาเป็น DEPUTY REPRESENTATIVE OFFICER ของธนาคารเนชั่นแนลเดอ ปารีส (B N P) แห่งฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ

เสรีอยู่ B N P เกือบ 4 ปี ก็ย้ายมาอยู่ไทยพาณิชย์ในฝ่ายธนาคารต่างประเทศแล้วค้าเงินกับยศชั้น VICE PRESIDENT แต่ประมาณ 3 ปี มีโอกาสเป็น SENIOR VICE PRESIDENT แต่ก็ไม่ได้เป็น ก็เลยลาออกเอาดื้อ ๆ ด้วยความเสียใจ ก็พอดีกลุ่มบรรษัทเงินุทนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้ามาถือหุ้น 40% ในบงล. พารา ของกลุ่มอื้อ จือเหลียง ยุคยอดยิ่ง เอื้อวัฒนสกุลเป็นพี่ใหญ่ซึ่งถือหุ้นอยู่ 40% และบรรษัทก็ส่งจักรทิพย์ นิติพนเข้ามาเป็นกรรมการ

จักรทิพย์ ต้องการบุคคลที่สามเป็นคนกลางเข้ามากุมบังเหียน บงล.พาราแทนคนของยอดยิ่งที่เกษียณไป คือไกรสิทธิ์ พิศาลบุตร และก็ไปชักชวนเสรีให้มานั่งเป็นกรรมการผู้จัดการที่บงล.พารา มีอำนาจอนุมัติสินเชื่อไม่เกิน 5 ล้านบาท

"บอร์ดบริหารมี 4 คนคือผมจักรทิพย์ (ปัจจุบันคือ อโนทัย เตชะมนตรีกุล) ยอดยิ่ง และภรรยา" เสรีพูดถึงโครงสร้างอำนาจบริหารบริษัทให้ฟัง

ก่อนหน้าที่เสรีจะเข้าไปทำที่พารา บริษัทแห่งนี้มีปัญหาพื้นฐาน 3 ประการคือ หนึ่ง - ไม่มีการพัฒนาบุคคลในองค์กรให้มีความรู้ ความชำนาญในอาชีพธุรกิจการเงินและค้าหลักทรัพย์ สอง - ไม่มีการบริหารระบบการควบคุมงานด้านสินเชื่อและระบบงานที่ทันสมัย และสาม - ไม่มีการลงทุนในเทคโนโลยีบริหารงานภายใน

เมื่อเสรีเข้าไปก็เริ่มปรับปรุงและแก้ไขปัญหาพื้นบาน 3 ข้อนี้ทันที โดยใช้ทุนดำเนินการประมาณ 10 ล้านบาท ขณะเดียวกันในการปรับปรุงธุรกิจก็ทำ 2 ด้านพร้อมกันไปคือ ด้านหนึ่งเสรีนำแบบการควบคุม และคำขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่ทันสมัยกว่าอย่างไทยพาณิชย์ ที่เขาเคยร่วมงานด้วยมาผสมผสานประยุกต์ใช้กับธุรกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เนื่องจากก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการให้ความสำคัญจุดนี้เลย อีกด้านหนึ่ง เสรีมี IFCT หรือบรรษัทเป็นตัวหนุนอยู่ข้างหลังในฐานะผู้ถือหุ้นการเดินหน้าขยายฐาน LIABILITITES เพื่อไว้ใช้ในการขยายฐาน ASSET (สินเชื่อ) เป็นสิ่งที่เสรีทำอย่างรีบด่วน "แต่ก่อนวงเงิน CALL LOAN จาก INTERBANK มีประมาณ 100 ล้านบาท มาเดี๋ยวนี้พุ่งเป็น 600 ล้านบาท ซึ่งก็ไม่ได้ใช่มาก เราเพียงแต่ตั้งไว้ในยามจำเป็น" เสรีกล่าวถึงผลการสร้างฐานหนี้สิน (LIABILITIES) เพื่อเป็นแหล่งระดมเงินในการปล่อยสินเชื่อที่กว้างขึ้น

การขยายฐาน CALL LOAN จากตลาด INTERBANK เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการยอมรับในเครดิตผู้บริหารและสถานะทางการเงินของบริษัทในสายตาผู้ประกอบธุรกิจการเงินด้วยกัน ขณะเดียวกันก็เท่ากับเป็นการบริหารหนี้สินที่มีต้นทุนต่ำกว่าวิธีการระดมเงินทุนจาก O.D. ที่ผู้บริหารยุคก่อนใช้เป็นประจำ

เสรีเป็นนักกฎหมาย เป็นนักการเงิน ที่ยึดมั่นในหลักการบริหารแบบมีระบบแบบแผนที่ถูกต้องตามจริยธรรมแบบนักกฎหมาย สิ่งนี้เป็นจุดอ่อนที่ทำให้เขาขัดแย้งอยู่บ่อยครั้งในบอร์ดรูมกับยอดยิ่งและภรรยาซึ่งมีวิธีการบริหารแบบเก่า ๆ มีตัวอย่าง อย่างน้อย 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เหตุการณ์แรก เป็นเรื่องการให้สินเชื่อที่เสรีถูกยอดยิ่งเข้าแทรกแซง โดยเฉพาะกรณีที่สินเชื่อที่ขอมานั้นมีความสัมพันธ์ในฐานะผู้ขอเป็นเพื่อน หรือคนรู้จักและอาศัยเหตุนี้เป็นช่องทางพิเศษในการขออนุมติจากเสรี "ครั้งหนึ่งมีขอมาไม่ถึง 1 ล้านบาทด้วยซ้ำ แต่ว่ากันว่าเสรีไม่เห็นด้วย เพราะวิเคราะห์ดูแล้วเสี่ยงเกินไปจึงปฏิเสธ แต่ผู้กู้มีเส้นสายกับยอดยิ่งก็ขอให้ทางยอดยิ่งมาล็อบบี้ขอไว้กับเสรีทางเสรีเป็นคนแข็งยอมหักไม่ยอมงอด้วย ก็ขัดแย้งกัน ทางยอดยิ่งก็ควักกระเป๋าส่วนตัวให้กู้ไปเอง" แหล่งข่าวในบงล.พาราพัฒนาเล่าให้ฟัง "ผู้จัดการ" ฟัง

เหตุการณ์ที่สอง เป็นเรื่องการปรับปรุงสถานที่ให้สำนักงานเสรีอนุมัติให้ใช้ถังแซทส์ เป็นภาชนะในการเก็บและปรับหมุนเวียนในห้องสุขภัณฑ์ วงเงินไม่กี่หมื่นบาท แต่ยอดยิ่งในฐานะกรรมการและประธานกรรมการบริหารไม่เห็นด้วย เนื่องจากแพงเกินไปไม่จำเป็น ใช้ท่อพักบ่อซึมธรรมดาก็พอ ว่ากันว่าเหตุที่ยอดยิ่งไม่เห็นด้วย เพราะไม่รู้จักถังแซทส์ว่ามันคืออะไร

เป็นเรื่องเหลือเชื่อที่ผู้บริหารระดับสูงระดับประธานบริหารลงมายุ่งเรื่องเพียงแค่นี้ และผลถึงกับทำให้ต้องมานั่งขัดแย้งกันแม้ในที่สุดจะเข้าใจกันได้ แต่สำหรับเสรีแล้วเขารู้สึกผิดหวังอย่างรุนแรงในบรรยากาศแบบนั้น แม้เสรีจะยืนยันว่า เป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม

ผลงานปีแรกของเสรีแสดงออกมาชัดว่า ฐานเงินกองทุนขยับสูงขึ้นจาก 64 ล้านบาทเป็น 130 ล้านบาท กำไรสุทธิก่อนหักภาษี ขยับจาก 5 ล้านบาท เป็น 16 ล้านบาท "16 ล้านบาทที่กำไรมา ความจริงน่าจะได้มากกว่านี้ ถ้าไม่โชคร้ายในธุรกิจหลักทรัพย์ที่เราไปรับอันเดอร์ไรน์หุ้น ไอเอฟซีที และเอเซียไฟเบอร์ ซึ่งมันตกลงมาจากราคาขายตอนแรกซึ่งตั้งไว้ที่ 220 บาท (IFCT) แต่มาเหลือแค่ 110 บาท ณ วันที่เราปิดงบบัญชี มันอยู่เหนือการควบคุม เนื่องจาก IFCT ถูกมรสุมการเมืองเล่นงานในปัญหาการเข้ารับภาระผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน" เสรีเล่าถึงผลกำไรที่น่าจะได้มากกว่านี้

แต่อย่างไรก็ตาม แม้ในปีถัดมา ผลกำไรสุทธิก่อนหักภาษีจะเพิ่มขึ้นเป็น 40 ล้านบาท แต่สิ่งที่เสรีภูมิใจในผลงานของตัวเองคือการได้วางรากฐานระบบบริหารภายในและการพัฒนาคน ในบริษัทให้มีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งเขาได้ทุ่มมา 2 ปีเต็ม "มันเป็น HIDDEN VALUE ที่จะตอบแทนออกมาในระยะยาวแก่บริษัท" เสรีกล่าวถึงคุณค่าของมัน

เสรีได้ลาออกจากบงล.พาราพัฒนาแล้ว โดยแจ้งถึงการตัดสินใจครั้งนี้แก่กรรมการเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ มันเป็นบทเรียนที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในสังคมธุรกิจไทย ที่วัฒนธรรมแบบธุรกิจครอบครัวยังฝังแน่นอยู่ จนมืออาชีพคนแล้วคนเล่าเข้าไปได้สักเวลาหนึ่งก็ต้องถอยออกมา ดังที่ก่อนหน้านี้ราวต้นปี 2531 นุกูลประจวบเหมาะ ก็ถอยออกมาจากสยามกลการ หลังจากอยู่ที่นั่นมาได้เพียงปีเศษ ๆ เท่านั้น

แม้การถอยออกจากองค์กรที่ตนเองสร้างสรรค์ขึ้นมา อย่างน่าเสียดายจะไม่ช่ครั้งแรกของเสรี เพราะก่อนหน้านี้ 3 ปีเขาก็ถอยออกมาแล้วจากไทยพาณิชย์อย่างเจ็บปวดด้วยเรื่องของศักดิ์สรีและความยุติธรรมในการประเมินค่าของผลงานจริงอยู่คนอย่างเสรี ความรู้ประสบการณ์นับ 10 ปี ในแวดวงฎหมายและธนาคารมากพอจะทำให้เขาใช้ความรู้ประสบการณ์นั้นทำมาหากินให้กับตนเองได้สบาย ๆ ดังที่เขาบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่าผมกำลังเปิดบริษัทเสรีกรุ๊ปเอสโซซิเอท ทำธุรกิจที่ปรึกษาด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ประเมินราคาที่ดิน ไปจนถึงพัฒนาโครงการ แต่บทเรียนมืออาชีพที่เกิดกับเสรีก็เป็นละครฉากใหญ่อีกฉากหนึ่ง ในสังคมบริหารธุรกิจไทย ที่ผู้กำลังไต่เต้าบันไอมืออาชีพต้องระวังตัวให้สูง เนื่องจากยังมีหนามเสี้ยนของความเป็นจารีตอยู่มากมาย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us