Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2533
บันทึกของบรรษัท 3 ทศวรรษ             
 


   
search resources

บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย - IFCT
Financing




เผลอไปหน่อยเดียวบรรษัทฯ หรือไอเอฟซีที หน่วยงานสถาบันการเงินสินเชื่อระยะยาวเพื่อการอุตสาหกรรมของไทยแห่งนี้มีอายุยืนยาวมาครบ 30 ปีแล้ว และในวาระเดียวกันก็เปิดตึกใหม่ บ่งบอกถึงการเติบใหญ่มั่นคง แม้ปัญหาการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่กระหน่ำบรรษัทฯ ในช่วงปีที่ผ่านมาจะยังคงอยู่ต่อไปก็ตาม

และในโอกาสแห่งนี้ ผู้บริหารของบรรษัทฯก็ได้ให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ที่มีสงพงษ์ สวัสดิภักษ์ เป็นหัวเรือใหญ่จัดทำ บันทึกประวัติศาสตร์เล่มนี้ขึ้นมา และให้บริษัทแม็ชบอกซ์เป็นผู้ออกแบบ จุดเด่นของบันทึกเล่มนี้คงไม่ใช่รูปเล่มที่สวยงามที่บรรษัทฯ ทุ่มทุน ล้านบาท แต่เพียงอย่างเดียว แต่หากอยู่ที่การจัดทำเนื้อหาที่ไม่ได้บรรลุแต่เพียงประวัติศาสตร์ของบรรษัทล้วน ๆ แต่ได้เชื่อมโยงพัฒนการของอุตสาหกรรมและเหตุการณ์เศรษฐกิจของประเทศเข้าไปด้วย

ประวัติศาสตร์ของบรรษัทเล่มนี้ก็เลยมีเนื้อหาบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยเข้าไปด้วย

ก็เหมือนกับช่วงที่ธนาคารกรุงเทพครบ 37 ปี และฉลองเปิดตึกใหม่ที่สีลมก็จัดทำบันทึกประวัติศาสตร์ของธนาคารเมื่อปี 2524 ในลักษณะเดียวกับของบรรษัทฯ โดยผู้จัดทำของธนาคารยุคนั้นให้ชื่อบันทึกเล่มนั้นว่า "กว่าจะถึงวันนี้"

ว่ากันว่า ยุคนั้น ธนาคารกรุงเทพลงทุนจัดทำบันทึกประวัติศาสตร์ "กว่าจะถึงวันนี้" เป็นเงินไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท โดยมีประจวบ อินอ๊อด และสุรศักดิ์ นานานุกูล เป็นหัวเรือใหญ่จัดทำ และให้วิโรจน์กลั่นเปา นักเขียน นักวิชาการ ประจำธนาคาร (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นผู้บันทึก

ในบันทึก 3 ทศวรรษของบรรษัทฯ ได้ระบุว่า พระองค์เจ้าวิวัฒนไทย ซึ่งขณะนั้น (ปี 2502) เป็นประธานกรรมการแบงก์ไทยทนุ เป็นผู้จัดการคนแรกของบริษัทฯ และเป็นผู้ดำริให้รัฐบาลสมัยนั้น ปรับสถานภาพของธนาคารเพื่อการอุตสาหกรรมที่รัฐจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2495 แต่ประสบความล้มเหลวในการประกอบกิจการมาเป็นบรรษัทฯที่บริหารแบบเอกชน โดยวิธีโอนสินทรัพย์สุทธิ 13 ล้านบาทมาให้บรรษัทฯ

ซึ่งดำริของพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยนั้น ตรงกับความต้อกงารของธนาคารโลกด้วยดังที่ธนาคารโลกได้มีหนังสือลงวันที่ 27 พ.ค. 2502 ว่า ควรจะให้ธนาคารอุตสาหกรรมมีสถานะใหม่เป็น "LET US HOPE THE NEW INSTITUTION WILL BE A FREER AGENT"

รากฐานที่สำคัญ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ประสงค์ให้บรรษัทฯดำเนินธุรกิจในลักาณะสถานบันการเงินอุตสาหกรรมในลักษณะเป็นสถานบันการเงิน เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมมากกว่าค้ากำไรเหมือนธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ

พูดอีกนัยหนึ่ง บทบาทของบรรษัทฯถูกกำหนดให้เข้าไปช่วยเหลือก่อตั้งและพัฒนาอุตสหกรรมเอกชน ทั้งในรูปแบบการให้สินเชื่อ ความรู้การจัดการทางวิชการแก่เอกชนที่ประสงค์ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม

การกำเนิดของบรรษัทฯ จึงเกิดขึ้นในเงื่อนไขประวัติศาสตร์ธุรกิจไทย ที่กำลังปรับเปลี่ยนตัวเองจากสังคมการค้ามาเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่มีการผลิตตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

"ลูกค้ารายแรกของบรรษัทฯคือ บริษัทอุตสหกรรมผลิตสังกะสีของบริษัทผาแดง บรรษัทฯก็เป็นผู้หนึ่งที่ริเริ่มให้การสนับสนุนก่อตั้งขึ้น หรือแม้แต่การให้ความช่วยเหลือกิจการอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหา บรรษัทฯก็ได้เข้าไปช่วยเหลือให้สามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้ อย่างกรณีของบริษัทเจเนอรัลฟูดส์ โพลทรีย์ (ไทย) ในเครือกลุ่มบริษัท ป.เจริญพันธ์ ของเจริญ ศิริมงคลเกษม ที่เมื่อปี 2528 ประสบปัญหาขาดทุนอย่างน่าวิตก บรรษัทฯก็ได้เข้าไปช่วยประนอมหนี้ให้พร้อมอุดหนุนการเงินแก่บริษัทจนฟื้นตัวเติบใหญ่มาจนปัจจุบัน" บันทึกของบรรษัทเล่มนี้ได้กล่าวไว้สะท้อนอย่างแจ่มชัดถึงบทบาทของบรรษัทตามที่รัฐบาลและพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้วางไว้

ในบันทึกฯ ได้ชี้ให้เห็นว่าตลอดทศวรรษแรกสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ยังไม่มีอะไรสลับซับซ้อนมากนัก กลไกอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศยังไม่มีอะไรผันผวนจนส่งแรกระทบฐานะการบริหารเงินของบรรษัทฯ และธุรกิจอุตสาหกรรมเอกชน เนื่องจากรัฐบาลในสมัยนั้นใช้กลไกอัตราแลกเปลี่ยนตายตัว และรัฐบาลสหรัฐฯยังไม่ได้เลิกอิงค่าดอลลาร์ไว้กับทองจนกระทั่งปี 2514

ในยุคกลางทศวรรษที่ 2 ของบรรษัทฯ ประยูร กาญจนดุลได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้จัดการทั่วไปของบรรษัทฯ ยุคนี้เป็นยุคที่เศรษฐกิจโลกและกลไกอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนอย่างมากค่าเงินเยน และดอยซ์มาร์ก ถีบตัวสูงขึ้น ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง ประยูรต้องใช้ความสามารถอย่างมากในการประคองเสถียรภาพเงินทุนที่บรรษัทฯ กู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนา "ปี 2516 บรรษัทฯ ได้ประสบกับความสำเร็จในการเจรจากับกระทรวงการคลังให้เข้ารับภาระความเสี่ยง ผลการขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทกับเงินตราสกุลต่าง ๆ จากแหล่งเงินกู้ทุกแหล่งจากเดิมเฉพาะธนาคารโลก ขณะเดียวกันก็ประสบผลสำเร็จในการให้ปรับมาตรการรับภาระความเสี่ยงขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยนที่ลูกค้าบรรษัทฯแบกรับอยู่มาเป็นให้บรรษัทฯรับผิดชอบเอง เนื่องจากลูกค้าของบรรษัทฯเริ่มลังเลที่จะเบิกเงินที่บรรษัทฯให้กู้หรือบางรายถึงกับยกเลิกไปเลย" บันทึกประวัติศาสตร์ 3 ทศวรรษ บรรษัทฯระบุไว้ถึงเหตุการณ์ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ถือไว้ว่า เป็นจุดเริ่มต้นที่มาของปัญหาวิกฤติการณ์ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของบรรษัทในยุคปัจจุบัน

วารี พงษ์เวช ก้าวขึ้นมาเป็นผู้จัดการทั่วไปของบรรษัทฯช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้สืบต่อจากประยูร กาญจนดุล (2517) ยุคของวารีเป็นยุคของเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เนื่องจากโอเปคขึ้นราคาน้ำมัน วารีได้ดำเนินมาตรการปรับปรุงระบบบริหารภายในให้เข้มแข็งขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นยุคที่บรรษัทฯขยายบทบาทเข้าไปร่วมลงทุนในธุรกิจแขนงที่เชื่อมโยงกับธนาคารเพื่อการพัฒนาอย่างครบวงจร อาทิเช่น ปี 2518 ได้จัดตั้งบริษัทกองทุนรวมขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาตลาดทุนโดยระดมเงินออมของประชาชนมาบริหารในรูปการออกหน่วยลงทุนต่าง ๆ (UNIT TRUST) ปี 2520 ร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัทจัดการอุตสาหกรรม เพื่อให้คำปรึกษาด้านเทคนิคและการจัดการอุตสาหกรรมและบริษัทไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อสร้างโรงงานสำเร็จรูปให้เช่าซื้อระยะยาวหรือขายแก่นักลงทุนอุตสาหกรรม ปี 2521 จัดตั้งบริษัทไทยโอเรียนลีสซิ่ง เพื่อให้เช่าซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ระยะยาว

เหตุนี้ถ้าจะกล่าวว่ายุคของวารี เป็นยุคของการวางรากฐานให้บรรษัทฯเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสมบูรณ์แบบก็ไม่ผิดนัก

ทศวรรษที่ 3 ของบรรษัทฯเป็นยุคของศุกรีย์ แก้วเจริญ นักบริหารหนุ่มจากธนาคารแห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ ศุกรีย์เป็นนักบริหารร่วมสมัยในสถานการณ์เศรษฐกิจและกลไกตลาดเงินมีความสลับซับซ้อน

ยุคนี้เป็นยุคของความใฝ่ฝันที่ต้องการจะนำสถานภาพของบรรษัทฯไปสู่สถานบันการเงินสินเชื่อระยะยาวเพื่อการอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ขณะเดียวกันก็เป็นยุคที่บรรษัทเจริญเติบโตอย่างขีดสุด เป็นสถาบันการเงินที่เข้มแข็งในการร่วมบุกเบิกอุตสาหกรรมพื้นฐานเพื่อการส่งออก เช่น ถลุงแร่ สังกะสี ของบริษัทผาแดง

แต่อย่างไรก็ตาม กล่าวสำหรับฐานของหนี้สินที่ใช้ในการประกอบการแล้ว ยุคนี้เป็นยุคที่โครงสร้างการพึ่งแหล่งเงินทุนภายนอกของบรรษัทฯออกดอกผลให้เห็นจนประสบมรสุมความผันแปรของค่าเงินตราสกุลต่าง ๆ มากที่สุดเหตุผลมี 2 ข้อ คือ หนึ่ง-รัฐบาลได้ลดค่าเงินบาทลงจากการปรับระบบตะกร้าในกองทุนรักษาระบบอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อปี 2527 จนมีผลให้บรรษัทฯขาดทุนทางบัญชีจากค่าอัตราแลกเปลี่ยน สอง-บรรษัทมีฐานะเงินเยนในแหล่งเงินที่ใช้ในการประกอบกิจการในสัดส่วนที่สูงที่สุด ประมาณ 30-40%

ทศวรรษที่สามของบรรษัทฯในยุคของศุกรีย์ จึงเป็นยุคของความพยายามแก้ปัญหาพื้นฐาน มรสุมขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ในบันทึกได้ระบุว่า "ปี 2526 บรรษัทฯเป็นสถาบันแรกที่ทำ CURRENCY SWAP เงินกู้สกลเยนเป็นสวิสฟรังซ์ ปี 2529 ทำ MATURITY SWAP เงินกู้ปอนด์สเตอลิงค์จาก 6 ปีเหลือปีเดียว จากแหล่งเงินกู้บรรษัทฯ เครือจักรภาพของอังกฤษและในปี 2531 ก็ได้ทำ CURRENCY และ MATURITY SWAP จากแหล่งเงินกู้ปอนด์สเตอลิงค์เดียวกันอีกครั้งหนึ่ง"

สิ้นทศวรรษที่ 3 ของบรรษัทจากเนื้อหาในบันทึกฯ ได้ชี้ให้เห็นว่า โครงสร้างที่กำหนดสถานภาพของบรรษัท ต้องมีการปรับเปลี่ยนใหม่ให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการของกลไกการเงิน และตลาดเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่ผันแปรไปอย่างรวดเร็ว สถาบันสินเชื่อระยะยาวเพื่อการอุตสาหกรรมเป็นรูปแบบโครงสร้างใหม่ที่บรรษัทฯใฝ่ฝันถึงทศวรรษหน้านี้เหมือนกับกำลังจะบอกว่าตลอด 3 ทศวรรษของบรรษัทฯ ผู้นำในองค์กรแห่งนี้ทุกคนตั้งแต่พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ จนศุกรีย์ แก้วเจริญ ล้วนจบประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ในองค์กรแห่งนี้แล้ว และภารกิจประวัติศาสตร์ใหม่กำลังจะได้รับการสืบทอดไปสู่อัศวิน คงสิริ และสุธี สิงห์เสน่ห์ ที่จะนำพานาวาลำนี้ไปสู่ความใฝ่ฝันการเป็นสถาบันสินเชื่อระยะยาวเพื่อการอุตสาหกรรมให้ได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us