|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สหวิริยาสตีลฯฟันธงราคาเหล็กถูกไม่มีให้เห็น หลังเกิดการควบรวมกิจการของยักษ์ใหญ่วงการเหล็กทำให้ซัปพลายลดลง และราคาพลังงานที่สูงขึ้น ด้านวิกฤตเหล็กแท่งส่อเค้ายืดเยื้อ2ปีจนกว่าจะมีกำลังการผลิตใหม่เข้ามา แนะรัฐบาลเร่งสนับสนุนอุตสาหกรรมต้นน้ำให้เกิดขึ้นหลังคู่แข่งอย่างเวียดนามจี้ก้น
นายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)(เอสเอสไอ) เปิดเผยสถานการณ์วิกฤตเหล็กแท่งว่า การควบรวมกิจการของบริษัทผู้ผลิตเหล็กยักษ์ใหญ่ของโลกในช่วงปีที่ผ่านมา ส่งผลให้มีปริมาณการผลิตเหล็กลดน้อยลง รวมทั้งจีนมีการจำกัดการส่งออกเหล็กแท่ง โดยอุดหนุนการส่งออกเหล็กขั้นปลายแทน ส่งผลให้ราคาเหล็กสำเร็จรูปกับเหล็กขั้นกลางใกล้เคียงกันมาก เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะต่อเนื่องไปอีก 1.6 -2 ปีข้างหน้าจนกว่าจะมีกำลังการผลิตใหม่จากรัสเซีย และบราซิลเข้ามา ทำให้สถานการณ์เหล็กเข้าสู่ภาวะปกติ
ปัจจุบันราคาเหล็กแท่งทรงยาวอยู่ที่ตันละ 590 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน เหล็กแท่งทรงแบนอยู่ที่ 560-570 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนอยู่ที่ 600 กว่าดอลลาร์สหรัฐ/ตัน โดยมีส่วนต่างระหว่างวัตถุดิบกับผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (แก็ป)สูงถึง 200 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน
สำหรับราคาเหล็กเชื่อว่าจะอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกหลายปี เนื่องจากมีการควบรวมกิจการผู้ผลิตเหล็กจำนวนมาก และวัตถุดิบก็ตกอยู่ในมือผู้ผลิตเพียงไม่กี่ราย รวมถึงราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นผู้บริโภคคงต้องยอมรับสภาพว่าราคาเหล็กจะไม่ต่ำเหมือนในอดีตอีกต่อไปแล้ว
จากราคาเหล็กที่ปรับตัวสูงขึ้นนี้เอง ทำให้ไทยในฐานะประเทศผู้นำเข้าเหล็กเสียโอกาส เนื่องจากไทยไม่มีอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ หรือโรงถลุงเหล็ก ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลไทยควรให้ความสนใจและผลักดันให้เกิดขึ้น เพราะประเทศคู่แข่งอย่างจีนและอินเดียล้วนแต่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ตั้งโรงงานรัฐบาลก็จะดำเนินการเวนคืนที่ดินให้ รวมถึงระบบสาธารณูปโภค ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศดังกล่าวมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว
หรือแม้แต่ เวียดนามก็จะกลายเป็นคู่แข่งของไทยในอนาคต เนื่องจากรัฐบาลเวียดนามมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจรที่ชัดเจน มีการจัดสรรที่ดิน และให้สิทธิประโยชน์ รวมทั้งประเทศเวียดนามยังมีแร่เหล็ก ถ่านหิน น้ำมันและก๊าซฯ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไทยจะเสียเปรียบเรื่องการสนับสนุนจากภาครัฐ แต่บริษัทฯเชื่อว่าการแข่งขันในอุตสาหกรรมเหล็กแล้วสุดท้ายอยู่ที่ต้นทุนของโครงการ ซึ่งไทยมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคไปถึงระดับหนึ่ง รวมทั้งเทคโนโลยี บุคลากรมีความรู้ความสามารถ ทำให้อุตสาหกรรมนี้พัฒนาต่อไปได้
นายวิน กล่าวต่อไปว่า จากวิกฤติเหล็กแท่ง ทางสหวิริยาสตีลฯหันไปเน้นการผลิตเหล็กคุณภาพพิเศษแทนเพื่อหนีการแข่งขันเหล็กแผ่นคุณภาพทั่วไป หรือเหล็กก่อสร้าง เพื่อจะได้ไม่ต้องแข่งขันกับเหล็กราคาถูกจากจีน ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯมีการผลิตเหล็กคุณภาพพิเศษคิดเป็น 50%ของรายได้รวม ส่วนจะมีการเพิ่มสัดส่วนการผลิตเหล็กคุณภาพพิเศษมากกว่านี้จำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติม ซึ่งบริษัทได้มีการปรับปรุงเทคโนโลยีมาโดยตลอด
|
|
|
|
|