"สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงนั้น มิใช่ว่าเพียงจะให้สร้าง
เด็กตัวอย่างให้มีมาตรฐานอันเดียวกันทั้งหมด คือ ให้เป็นเด็กมัธยมอันรุ่งโรจน์
แต่ละคนมีคะแนนนับเป็นพันๆ ไมล์ เช่นนั้น หามิได้ ข้าพเจ้าต้องการที่จะสร้างคนหนุ่ม
อันมีความสามารถ คนหนุ่มผู้ ซึ่งมีกำลังกาย และใจใสสะอาด และเป็นผู้ ซึ่งเต็มใจคอยจะทำการหนักอันอนาคต
จะพึงนำมาให้ไม่ว่าจะชนิดใด ข้าพเจ้าไม่ต้องการให้คนหนุ่มเป็นเสมือน อนุสาวรีย์แห่งการเล่าเรียน
และได้ผ่านการสอบไล่ทั้งหมดของท่านด้วยเกียรตินิยม อย่างสูง ข้าพเจ้าไม่ต้องการเป็นประหนึ่งตำราเดินได้
สิ่งที่ขัาพเจ้าต้องการก็ คือ ชายหนุ่มอันมีลักษณะผึ่งผาย ซื่อตรง มีความ สัตย์
มีนิสัย และ ความคิดบริสุทธิ์สะอาด...
ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงข้าพเจ้าต้องการจะให้การศึกษามีความหมายว่า แปลงเด็กให้เป็นคนหนุ่ม
ที่ผึ่งผาย และเป็นพลเมืองดี และมิให้น้ำหนักของหลักสูตร บดขยี้บุคลิกลักษณะของเขา
และข้าพเจ้าต้องการให้การศึกษาเป็นสิ่งเพลิดเพลินสำหรับเด็ก เพื่อว่า ในภายหน้าเขาเหล่านั้น
จะได้หวนรำลึกถึงชีวิต ที่ได้ผ่านมาเมื่ออยู่ในโรงเรียนว่า เป็นสิ่งสนุก
ข้าพเจ้าไม่ต้องการให้เอาโรงเรียนของข้าพเจ้าไปเปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่นๆ
ซึ่งมีจุดประสงค์ต่างกัน ถ้าข้าพเจ้าต้องการโรงเรียน ประเภทธรรมดาแล้ว ข้าพเจ้าก็คงจะได้สร้างโรงเรียนเช้ามาเย็นกลับ
หาใช่โรงเรียนกินนอน"
ข้อความเบื้องต้น เป็นพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่พระราชทานไปยัง มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.
เปีย มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เมื่อท่านมีพระราชดำริในการจัดตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้น
เมื่อปี 2453
พระราชประสงค์ของพระองค์ เมื่อสมัยเกือบ 100 ปีมาแล้วนั้น สอด คล้องกับแนวความคิดของคนรุ่นใหม่อย่างไม่น่าเชื่อ
เพราะสภาพของการศึกษา ที่ กำลังถูกบูชายัญบนแท่นของ ตารางจัดอันดับ ซึ่งเกิดขึ้นในเมืองไทยมาช้านาน
ด้วยการคัดเลือกคนโดยการแพ้คัดออก หรือการให้คุณค่าการพัฒนาตนเอง เพื่อชนะผู้อื่นมาเป็นการพัฒนาตน
เพื่อชนะตน กำลังมีการพูดถึงกันมากขึ้น การปฏิรูปการศึกษากำลังเป็นเรื่อง
อยู่ในความสนใจของคนส่วนใหญ่ ในขณะที่แนวความคิด ที่ชัดเจนของโรงเรียนนานาชาติ
ในเรื่องของ การสอนให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ และมีความสามารถในการอธิบายได้
เป็นจุดขายสำคัญ ที่ผู้ปกครองรุ่นใหม่กำลังต้องการ รวมทั้ง การพยายามให้ลูกหลานของตนได้มีโอกาสเข้าไปเรียนในโรงเรียนประถม
สาธิต และการแสวงหาโรงเรียนทางเลือกอื่นๆ
พระราชประสงค์เบื้องต้น ผู้บังคับการวชิราวุธทุกท่านได้น้อมนำมา ปฏิบัติ
และปรับเปลี่ยนให้เหมาะแก่ยุคสมัยตลอดเวลา
ในปี 2453 รัชกาล ที่ 6 ได้พระราชทาน ที่ดิน 99 ไร่ บริเวณสวนกระจัง ระหว่างถนนซางฮี้ใน
ถนนดวงเดือน และคลองเปรมประชากรให้เป็นที่ตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก และพระราชทานเงิน
เพื่อการก่อสร้าง 781,000 บาท และยังมีทุนทรัพย์อีก 100,000 บาท พระราชทานให้ฝากธนาคารไว้
เพื่อดำเนินงาน ของโรงเรียน ค่าของเงินขณะนั้น เงินเดือนข้าราชการชั้นสัญญาบัตร
ขั้นต้น เดือนละ 20 บาทเท่านั้น ในปีสุดท้ายแห่งรัชกาลของพระองค์ กระทรวงธรรมการ
ได้จัดงบประมาณผูกพันทุกปีที่จะจ่ายเงิน 120,000 บาท ให้แก่โรงเรียน และต่อมาในยุคผันผวนทางการเมือง
เงินนี้ถูกลดลงมาเหลื อ 3 หมื่นบาท และเมื่อปี 2496 รายได้ของโรงเรียนจะได้รับจากกระทรวงศึกษาธิการ
ปีละ 750,000 บาท
ท่านเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่มีการสร้างโรงเรียน แทนการสร้าง
พระอารามหลวงประจำรัชกาล แต่การอบรม ของโรงเรียนนี้มีพื้นฐานทางการอบรมมาจากวัด
รัชกาล ที่ 6 สามารถผูกวัด ไว้กับโรงเรียนได้ ก็คือ วชิราวุธ มีการสร้างหอสวดมนต์
มีการแบ่งเป็นคณะเหมือนวัด และมี การสวดมนต์เช้า-เย็น เป็นจริยธรรม ที่ปฏิบัติจริง
เพราะเป็นโรงเรียนประจำ ที่มีทั้งบ้าน วัด และโรงเรียน
ในปีแรกๆ ของการตั้งโรงเรียนนั้น ได้มีการระดมนักเรียนอังกฤษหนุ่มๆ เข้ามาเป็นอาจารย์โรงเรียนนี้
นอกจากนักเรียนไทย ที่จบการศึกษาจากอังกฤษ แล้ว โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ยังมีครูชาวอังกฤษ
และ ครูชาวอินเดีย ที่จบจากมหาวิทยาลัย OXFORD และ CAMBIDGE ถึง 5 คน (จากหนังสือครบรอบ
80 ปีวชิราวุธวิทยาลัย)
ในปี 2469 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวงกับโรงเรียนราชวิทยาลัย
ซึ่งเป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ไว้ด้วยกัน และพระราช ทานนามว่าวชิราวุธวิทยาลัย
วชิราวุธวิทยาลัย ได้ดำเนินการปกครองตามแบบโรงเรียนพับลิคสกูล ของอังกฤษ
ซึ่งมีหลักการปกครองอบรมตามแนวทางประชาธิปไตย รู้จักปกครองตนเอง และปกครองกันเอง
คือ รุ่นพี่ปกครองรุ่นน้อง โดยมีผู้กำกับคณะ เป็นคนกำกับดูแลนักเรียนทุกคน
เหมือนลูกอีกชั้นหนึ่ง
ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ท่านแรกคือ พระยาบรมบาทบำรุง (พิณ ศรีวรรธนะ)
บุตรของ หลวงพินิจโภคัย (พัฒน์) และนางพินิจโภคัย (น้อย) หลังจากจบการศึกษา
ที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบแผนกภาษาอังกฤษ ได้ย้ายไปศึกษาต่อ ที่โรงเรียนราชวิทยาลัย
ต่อมาได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาต่อ วิชาอักษรศาสตร์ และครุศาสตร์
ณ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ขณะอายุได้ 17 ปี เมื่อสำเร็จจากการศึกษาได้
รับประกาศนียบัตร อาจารย์ได้เดินทางกลับมารับราชการที่กระทรวงธรรมการ ต่อมาได้บรรจุเป็นครูโรงเรียนมหาดเล็กในพระบรมหาราชวัง
จากนั้น ได้เข้ามาเป็นอาจารย์ใหญ่ผู้บังคับการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2461
ยุคพระยาบรมบาทบำรุง 1 นั้น เขามีความเห็น ไม่ตรงกับคณะกรรมการโรงเรียน ในข้อที่ว่าควรมีแผนกเด็กเล็ก
รับเด็กตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไป ไว้อบรมสั่งสอนแล้วทยอยส่งเข้าโรงเรียนเด็กใหญ่
(เมื่อแรกตั้งวชิราวุธนั้น รับเฉพาะเด็กโตอายุ 14 ขึ้นไป ตามการปฏิบัติของโรงเรียนพับลิคสกูลในอังกฤษ)
เขาจึงได้กราบบังคมทูลขอย้ายไปรับราชการในตำแหน่งอื่น เมื่อปี 2469 (จากหนังสือ
แรกเริ่มวชิราวุธ ชัยอนันต์ สมุทวณิช เรียบเรียง)
ปี 2469 พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) หรือ ครูเจ้าคุณ ได้รับโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นผู้บังคับการฯ แทนพระบรมบาท บำรุง เป็นบุตรของพระยาเทพประชุน (ปั้น)
ปลัดทูลฉลองกรมพระกลาโหม และคุณหญิงจัน เริ่มเรียน ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ
แล้วย้ายไปเรียน ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่ออายุ 15 ปี สอบได้ทุนเล่าเรียนหลวง
"King"s Scholarship" ไป ศึกษา ณ โรงเรียนโชรสเบอรี่ (Shrews bury School)
ประเทศอังกฤษ และ ได้เข้าศึกษาต่อด้านวิชาครู วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
จาก มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
ครูเจ้าคุณท่านนี้ อยู่ในตำแหน่ง 7 แต่ได้เป็น ผู้ที่วางรากฐานการศึกษา
และการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยตามพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่แรกเริ่มอย่างแท้จริง โดยได้วางแนวทางตามแบบอย่างของ
Shrews bury School ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ ตาม ที่ได้ไปศึกษามา ได้กำหนดให้วันพฤหัสฯ
ตอนบ่ายเป็นวันพิเศษสำหรับกิจกรรม ส่งเสริมประสบการณ์ และความรู้รอบตัวของนักเรียน
เช่นเดียวกับโรงเรียนโชรสเบอรี่ มีโครงการThuresday Afternoon รายการส่วนใหญ่จะเน้นไปในเรื่องบรรยายพิเศษ
เพื่อเปิดโลกทัศน์เด็ก ในวัย 9-16 ปี ให้กว้างขวางออกไป โดยครูเจ้าคุณเป็นผู้เล่าเรื่องความรู้ต่างๆ
ทั้งทางด้าน ประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์โลกในขณะนั้น ให้นักเรียนได้รู้ โรงเรียนโชรสเบอรี่ได้
มีโครงการ Thursday Afternoon เพื่อการนี้ตั้งแต่ครูเจ้าคุณเรียนอยู่ตราบเท่า
ทุกวันนี้ (จากหนังสือ แรกเริ่ม ที่วชิราวุธ ชัยอนันต์ สมุทวณิช)
โรงเรียนโชรสเบอรี่นี้เป็นโรงเรียนเก่าแก่ ที่มีชื่อเสียงมาก ตั้งแต่ ค.ศ.
1552 โดยพระเจ้าเอ็ดวาร์ด ที่ 6 โรงเรียนนี้ มีนักเรียนเก่า ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ
และของประเทศอื่นๆ มากมาย เช่น Sir. Philip Sidney Charles Darwin
คณะนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย เคยได้เขียนถึงความประทับใจครูเจ้าคุณ
ไว้ในหนังสือแรกเริ่ม ที่วชิราวุธว่า
"นอกจากเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในต่างประเทศแล้ว บางครั้งท่านก็สอนเรื่องธรรมดาพื้นๆ
เช่น การกีฬา และอนามัยด้วย เช่น
ข้าพเจ้าจำได้ดีที่สุด เมื่อคุณครูเข้ามาเป็นผู้บังคับการใหม่ๆ นั้น ข้าพเจ้า
เพิ่งเริ่มเล่นฟุตบอล และได้เล่นเป็น ผู้รักษาประตู ที่สนามเด็กเล็กใกล้คณะผู้บังคับการ
ขณะนั้น ลูกบอลไปชุลมุน อยู่ทางประตูฝ่ายตรงข้าม ข้าพเจ้ามีโอกาสกระทำพิธีเอาชนะ
ซึ่งจำไม่ได้ว่า ไปเรียนมาจากไหน พิธีนั้น คือ ถ่มน้ำลายเป็นวงรอบประตูของเรา
เมื่อข้าพเจ้าประกอบพิธีไปได้สักค่อนทาง ก็เห็น ผู้บังคับการเดินเลียบสนามฟุตบอลมุ่งหน้าไปทางห้องเรียนเหลือง
คุณครู ปรายสายตามา ที่ข้าพเจ้าชั่วขณะเดียวเท่านั้น แล้วก็เดินต่อไป ข้าพเจ้าใจหายวูบ
ถึงแม้อายุเพียง 9 ขวบ แต่ก็พอสำนึกได้ว่า กิจกรรม ที่ข้าพเจ้ากำลัง ประกอบอยู่นั้น
ค่อนข้างส่อกิริยาทรามอยู่ไม่ใช่น้อย
ในการประชุมอบรม 2-3 วันต่อมา พอคุณครูเอ่ยถึงน้ำลาย หัวใจ ข้าพเจ้าแทบจะตกไปอยู่ปลายเท้า
ตอนนั้น เป็นเด็กเล็กนั่งอยู่แถวหน้าเสียด้วย ข้าพเจ้าคาดว่า คุณครูจะประณามการถ่มน้ำลายว่าเป็นกิริยา
ที่ชั่ว แต่ ข้าพเจ้าคาดผิด ครูกลับสอนเรื่องสรีรศาสตร์ สอนว่า น้ำลายเป็นของดี
เป็นของช่วยย่อยอาหารอย่างวิเศษ ไม่ควรจะมาบ้วนทิ้งเล่นเสียเปล่าๆ
หลังสมัยครูเจ้าคุณ การประชุมอบรมนักเรียนทั้งโรงเรียนได้ขาดหายไป แต่ในสมัยศาสตราจารย์ดร.ชัยอนันต์
สมุทวณิช ก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ อย่างมาก จะเห็นได้จากการเชิญผู้มีความรู้ภายนอกเข้าไปบรรยายให้นักเรียน
ฟังอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้น ในสมัยของครูเจ้าคุณได้มีการปรับปรุงหลักสูตร และคุณวุฒิ ของครู
เช่น เพิ่มครูเฉพาะวิชาขึ้น รวมทั้งมีครูชาวอังกฤษ และฝรั่งเศสเข้ามาหลายคน
ได้มีการวางหลักสูตรอย่าง รอบด้าน แม้งบประมาณในสมัยนั้น มีน้อยมาก แต่ก็ได้สร้างตึกเรียนใหม่
เช่น วชิรมงกุฎ สร้างตึกพยาบาล สร้างหอนาฬิกา และเป็นผู้เริ่มให้นักเรียนต้องสวดมนต์ก่อนเข้านอนทุกคืน
ต้องฟังเทศน์เดือนละครั้ง
และยังเป็นผู้วางรากฐานในเรื่องของการกีฬาให้กับวชิราวุธ เพราะสมัยนั้น
ผู้ศึกษาอยู่ ที่อังกฤษนั้น เป็นผู้ที่เรียนดี และเก่งในเรื่องกีฬาอย่างมาก
เมื่อ กลับยังเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะฟุตบอลแห่งสยามคนแรก ด้วย กีฬารักบี้
ซึ่งเป็นกีฬา ที่สร้างชื่อเสียงให้กับวชิราวุธ ก็เกิดขึ้นสมัยนี้ ครูสอนรักบี้คนแรกคือ
หม่อมเจ้าประสพศรี จีรประวัติ (จากหนังสือ พระราชทานเพลิงศพพระยาปรีชานุสาสน์)
ได้เป็นผู้เริ่มให้นักเรียนต้องสวดมนต์ก่อนเข้านอนทุกคืน ต้องฟังเทศน์เดือนละครั้ง
ต้องมีความรักชาติ ต้องเล่นกีฬาทุกวัน ต้องขยันขันแข็งในการเล่า เรียน ต้องรักหมู่คณะ
ต้องเสียสละ เพื่อส่วนรวม
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2 476 ท่านได้กราบบังคมลาออกจากราชการ และ ได้ดำเนินกิจการทางด้านหนังสือพิมพ์
โดยทำหนังสือ สยามนิกร สยามครอนิเกิล รวมทั้ง ทำธุรกิจอื่นๆ อีกมาก บุตรชายของท่าน
ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และกุศะ ปันยารชุน
ปี 2476 พระยาบรมบาทบำรุง ได้กลับมาเป็น ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยอีกครั้ง
คราวนี้ได้สร้างตึก คณะเด็กเล็กขึ้น แล้วจัดหาครูฝรั่ง ที่มีภริยาแล้วมาเป็น
ผู้กำกับ คณะครูสตรี ที่เข้ามาในช่วงนั้น ส่วนใหญ่จะจบมาจากโรงเรียนกุลสตรี
วังหลังแทบทั้งสิ้น
พ.ศ.2478 พระพณิชยสารวิเทศ (ผาด มนธาตุผลิน) ได้เข้าไปเป็นผู้บังคับการ
ต่อจากพระยาบรมบาทบำรุง โดยเป็นบุตรของสิบเอกพร้อม นายทหารมหาดเล็ก และ นางทองอยู่
เรียน ที่โรงเรียนสวนกุหลาบจนจบมัธยม 6 ต่อมาได้ทุนจากรัฐบาลไปศึกษา ที่โชรสเบอรี่
พับลิคสกูล ที่ประเทศอังกฤษ และเข้าศึกษาต่อ ที่มหาวิทยาลัยมิงแฮม ทางด้านพาณิชยการ
และวิชาครู
ในสมัยของการเป็นผู้บังคับการ ในฐานะเป็นนักเรียนโชรสเบอรี่เช่นเดียว กับพระยาปรีชานุสาสน์
ดังนั้น ระบบการปกครองของวชิราวุธวิทยาลัย ที่พระยาปรีชานุสาสน์ นำแบบอย่างของโชรสเบอรี่มาใช้
จึงได้รับการสานต่อ ในระยะหลังโดยพระพณิชยสารวิเทศ
นับว่าในยุคแรกของวชิราวุธวิทยาลัย นักเรียนเก่า พับลิคสกูล โชรสเบอรี่
สองคนได้ดำเนินการปกครองวชิราวุธวิทยาลัยอย่าง โชรสเบอรี่ติดต่อกัน ตั้งแต่
พ.ศ.2469-2485
พ.ศ.2486 พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) ได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการคนต่อไป
ท่านเป็นบุตรของหลวงราชดรุณรักษ์ (ม.ร.ว.สะอาด อิศรเสนา) และนางเอี่ยมราชดรุณร
ักษ์ จบจากโรงเรียน ราชวิทยาลัย และสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวง ตอนต้นไปศึกษา
ณ โรงเรียนเอาน์เดล (Oundle Public School) แล้วจึง เข้าเรียนมหาวิทยาลัยลอนดอน
ศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์ใน วิชาเคมีวิทยาควบไปกับวิชาการศึกษา
โดยได้รับเพียงอนุปริญญา ก็ถูกเรียกตัวกลับเมืองไทย เพราะทางกรุงเทพฯ เปิดหลักสูตรการศึกษาใหม่
ทำให้ครู ที่สอนอยู่ในชั้นสูงมีไม่เพียงพอ
พระยาภะรตราชา ได้อยู่ในตำแหน่งผู้บังคับการ จนอนิจกรรม รวมระยะเวลาทั้งสิ้น
32 ปี 11 เดือน นับว่าเป็นผู้บังคับการที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด (หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ
พระยาภะรตราชา) และเป็นผู้บังคับบัญชาในใจของนักเรียนเก่าวชิราวุธหลายๆ ท่าน
ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เคยกล่าวถึงความเป็นผู้นำ ที่ น่าประทับใจของพระยาภะรตราชาไว้ว่า
"เราเล่นรักบี้ ซ้อมกีฬากัน ฝนตกท่านไม่ได้เล่นอะไรด้วย แต่ท่านมายืนขอบสนาม
ตากฝนกับพวกเราทั้ง ที่ อายุท่านมากแล้ว เปียกโชกไปทั้งตัว และอีกทีเราโวยเรื่องอาหารไม่ดี
ท่านไม่พูดอะไร ท่านเดินไป ที่โรงอาหาร ลากเก้าอี้มานั่งกินกับเรา มาตักข้าวซิ
อร่อยไอ้นี่ดี แหมเรากินแทบไม่ลง" (ภาวะผู้นำของศิษย์เก่าวชิราวุธวิทยาลัย
โดยสุทธินี คำภา)
"โรงเรียนของเรานี่ดี ที่สอนให้เราเล่นกีฬา ไม่ใช่เรียนจนหัวโตอย่างเดียว
ยังจำได้ว่าใกล้สอบ ม.8 แล้ว โรงเรียนอื่นเขาดูหนังสือกัน จะบ้าตาย พวกเรา
ยังตื่นเช้าขึ้นมาซ้อมกีฬากันเลย ปีหนึ่งใกล้สอบแล้วผมเล่นบาส ล้มลงแขน ขวากระแทกพื้นหักจนเข้าเฝือก
เสียงผู้บังคับการบอกว่า ไม่เป็นไรกำจร ถึงเธอจะเข้าสอบไม่ได้ ผู้บังคับการก็จะให้เธอเลื่อนชั้น
(กำจร สถิรกุล ให้สัมภาษณ์ไว้ใน ภาวะผู้นำของศิษย์เก่า วชิราวุธวิทยาลัย
โดยสุทธินี คำภา)
อาจารย์สมปอง มีชัย อาจารย์จากหมวดภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นอาจารย์ เก่าแก่ของวชิราวุธ
จบจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี 2507 สอนอยู่ ที่นี่
ประมาณ 36 ปี และมีโอกาสได้สัมผัสกับท่านผู้บังคับการ มาถึง 3 ท่านคือ เจ้าพระยาภะรตราชา
ศาสตราจารย์ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.ชัยอนัน ต์ สมุทวณิช ได้เล่าให้
"ผู้จัดการ" ฟังว่า
"ถ้าเอ่ยถึงพระยาภะรตราชาจะรู้สึกว่าท่านเป็นผู้ใหญ่มาก เพราะท่านเป็น พระยาอายุ
70 กว่าปี เป็นคุณปู่เราได้เลยเพราะตอนนั้น เราเป็นครูเด็กๆ ด้วย หน้าตาท่านก็ขึงขัง
เอาจริงเอาจัง เราก็กลัวซี สมัยก่อนครูทุกคนจะกลัวท่านหมด การมาสายนี่ ไม่มีเลยไม่ต้องมีการเซ็นชื่อหรอก
เพราะทุกคนไม่กล้าสาย 6 โมงครึ่ง ท่าน เองก็เริ่มออกมาจากบ้านพักแล้วเหมือนกัน
มาถึงก็เดินตรวจดูมาเรื่อยแล้ว เข้ามาทักทายครูในห้องพักครูก่อน ที่จะเข้าห้องทำงาน
สมัยนั้น เด็กจะกลัวครู กลัวผู้บังคับการมาก เพราะท่านอาจจะขึ้นตรวจตอนไหนก็ได้
ใครลืมหนังสือ เรียนไม่ได้เลย ท่านเดินตรวจทุกโต๊ะ ใครลืมก็จะถูกลงโทษ ส่วนใหญ่ท่านใช้
วิธีตบไหล่ป้าบ ข้างหลังไหล่ ไม่ใช้ไม้เรียว ตอนแรกก็กลัวเหมือนกัน ตกใจ
ในสมัยท่านครูทุกคนจะต้อง เข้าร่วมกิจกรรม ปัญหา ที่จะต้องบอกว่า มีธุระ
ต้องไปรับลูก ลูกป่วยไม่สบาย จะไม่มีใครกล้าลา แต่ผู้บังคับการคนนี้ท่านไม่บังคับ
ท่านบอกว่าขึ้นอยู่กับใจ อย่างเช่น มีคำสั่งอะไรออกมา ถามท่านว่าจะต้องเซ็นไปมั้ย
ท่านบอกว่าไม่ต้องตามใจ ท่าน เป็นคนที่ครูทั่วไปรวมทั้งนักเรียนเกรงใจ แต่ไม่เกรงกลัว
แต่ท่านพระยาภะรตราชา ด้วยบุคลิกท่านหรืออะไรก็ตามทำให้เกรงกลัวด้วย
ส่วนทางด้านหลักสูตรการศึกษา สมัยนั้น หลักสูตรการศึกษาก็เป็นไป ตามแบบกระทรวงเสียเป็นส่วนใหญ่
จะไม่ค่อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก"
2519 ศาสตราจารย์ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการต่อจากพระยาภะรตราชา
ซึ่งเป็นบิดา โดยเป็นนักเรียนทุนสมเด็จพระราชบิดาชุดแรก และไปศึกษาต่อ ที่โรงเรียนเอาท์เดล
แล้วเข้าศึกษาต่อ ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์จนสำเร็จ ปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์
(เคมีวิทยา) แล้วจึงศึกษาต่อปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว
ก็เข้าศึกษาต่อปริญญาโทอีกค รั้ง และได้รับปริญญาเอกด้วย ตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
(หนังสืออนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ)
ดร.กัลย์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการประมาณ 20 ปี อาจารย์หม่อมหลวงสุภาวดี
จรูญโรจน์ ได้กล่าวถึงภาพของผู้บังคับการคนนี้ว่า ท่านจะเป็นคุณปู่ใจดี ตัวใหญ่ร่างใหญ่
และอารมณ์ดี ยิ้มตลอดเวลา
ในปี 2522 ดร.กัลย์ได้รับตำแหน่งเป็นองคมนตรี และยังดำรงตำแหน่งอื่นๆ เช่น
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นสมาชิกผู้เริ่มก่อตั้งคณะกรรมการ โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ช่วงเวลายาวนานต่อเนื่องเกือบ
50 ปีที่วชิราวุธ เป็นเวลา ที่พระยาภะรตราชา และบุตรชายเป็นผู้บังคับการวชิราวุธ
จะครบรอบ 90 ปี ในเดือนธันวาคมปีนี้ ดังนั้น ก็เท่ากับว่า เวลากว่าครึ่งหนึ่งของ
ที่นี่ 2 ท่านนี้เป็นผู้บริหาร ซึ่งได้ดำเนิน การจัดการโรงเรียนตามพระราชประสงค์ของรัชกาล
ที่ 6 ทุกประการ เด็กวชิราวุธ เป็นที่ยอมรับว่า มีระเบียบวินัยที่ดี เช่นเดียวกับการมี
ชื่อเสียงทางด้านการกีฬา ในขณะที่ ทางด้านการเรียน ก็ได้สร้างผู้มีชื่อเสียงในสายงานราชการ
และธุรกิจอย่างต่อ เนื่อง โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนตามกระทรวงศึกษาธิการทุกประการ
ปี 2539 ศาสตราจารย์ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้เข้ามาเป็นผู้บังคับการคนใหม่
ปี 2543 ครบรอบ 90 ปี วชิราวุธวิทยาลัย เป็นปีที่ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในเรื่องการเรียนการสอน
โดยยังยึดมั่นใน พระราชประสงค์ของรัชกาล ที่ 6 ตามพระราชหัตถเลขาอย่างเหนียวแน่น
และกำลังเป็นที่จับตามองอย่างสนใจของคนทั่วไป