Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2533
บัมเบิ้ล บี 1+1 2             

โดย ขุนทอง ลอเสรีวานิช
 

   
related stories

ยูนิคอร์ด กว่าจะถึงปลายทาง

   
search resources

ยูนิคอร์ด, บมจ.
บัมเบิ้ลบี ซีฟู้ด
ดำริห์ ก่อนันทเกียรติ
Food and Beverage




"ถ้าคำนวณตามมูลค่าการตลาดปัจจุบันจะตกประมาณห้าถึงหกร้อยล้านเหรียญ ในขณะที่เราจ่ายเงินซื้อมาแค่ 283 ล้านเหรียญเท่านั้น" ดำริห์บอกว่าไม่ว่าราคาบัมเบิ้ล บี จะเป็นเท่าไรก็ตาม เมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้แล้ว เขาคิดว่าคุ้มค่า

หลังจากยูนิคอร์ดเข้าเป็นเจ้าของบัมเบิ้ล บี โดยผ่านบริษัทยูนิกรุ๊ปแล้ว ดำริห์ยังคงใช้ผู้บริหารชุดเดิมต่อไป เพียงแต่มีการสับเปลี่ยนตำแหน่งเท่านั้น โดยตัวเขาเองรั้งเก้าอี้ประธานบริษัทและประธานกรรมการบริหาร (CHIEF EXECUTIVE OFFICER) กำหนดนโยบายให้ทีมบริหารเดิมทำตาม และเน้นการควบคุมทางด้านการเงินเป็นพิเศษที่จะต้องมีการรายงานกันโดยตรงถึงตัวอย่างสม่ำเสมอ

หลักในการควบคุมการบริหารงานที่ดำริห์ใช้กับทีมงานที่บัมเบิ้ล บี คือ การควบคุมโดยวิธีงบประมาณ (BUDGETARY CONTROL) และตั้งเป้าหมายกำไรขั้นต่ำในระยะต้นนี้ปีละ 20 ล้านเหรียญ

ไตรมาสสุดท้ายของปี 2532 ซึ่งเป็นสามเดือนแรกหลังจากบัมเบิ้ล บี เป็นของยูนิคอร์ดแล้ว เป็นไตรมาสที่มีกำไรมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของบัมเบิ้ล บี ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2442

ตัวเลขในงบประมาณการกำไรขาดทุนที่ยังไม่ได้สอบทานเฉพาะช่วงสามเดือนสุดท้ายของปี 2532 บัมเบิ้ล บี มีกำไรสุทธิ 1.9 ล้านเหรียญสหรัฐ จากยอดขาย 81.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

"ต้นทุนของเราลดลงอย่างน้อย 10-12.5 เปอร์เซ็นต์ นี่อย่างน้อยนะ" ดำริห์เปิดเผยถึงสาเหตุที่กำไรเพิ่มขึ้น

ต้นทุนสำคัญที่ลดลงไปคือ ต้นทุนทางด้านภาษีและต้นทุนแรงงาน

บัมเบิ้ล บี มีโรงงานแปรรูปปลาทูน่าอีควาดอร์ แล้วส่งไปบรรจุกระป๋องที่มายาเกซในเปอร์โตริโก ตอนที่ยูนิคอร์ดซื้อบัมเบิ้ล บีนั้น ได้ซื้อโรงงานผลิตอาหารทะเลกระป๋อง ที่ SANTA FE SPRING รัฐแคลิฟอร์เนียจาก PILLSBURY 7 ล้านเหรียญด้วยเพื่อดัดแปลงเป็นโรงงานทำปลาทูน่ากระป๋อง

เนื่องจากการส่งปลาทูน่ากระป๋องจากเปอร์โตริโก้เข้าไปขายยังฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของบัมเบิ้ล บีนั้น มีค่าขนส่งสูง ยูนิคอร์ดจึงใช้โรงงานที่ SANTA FE SPRING เป็นที่บรรจุปลาใส่กระป๋องป้อนให้กับตลาดในฝั่งตะวันตกแทน ให้โรงงานเปอร์โตริโก้เป็นฐานการผลิตสำหรับตลาดในฝั่งตะวันออกเท่านั้น

นอกจากนั้นแล้ว แรงงานที่เปอร์โตริโก้ยังสูงมาก ซึ่งยูนิคอร์ดต้องใช้การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานต่อหน่วยเป็นการลดต้นทุนผลิตแทน ในขณะเดียวกันก็พยายามลดกำลังการผลิตลงทีละน้อย โดยใช้ฐานการผลิตจากโรงงานยูนิคอร์ดที่มหาชัยเพราะมีต้นทุนถูกกว่ามาก ถึงแม้จะบวกค่าขนส่งและภาษีแล้วก็ยังถูกกว่า

ยูนิคอร์ดส่งปลาทูน่ากระป๋องทั้งที่เป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพ SEMIFINISHED PRODUCT คือ เนื้อปลาทูน่าที่ผ่านกรรมวิธีการแปรรูปเรียบร้อยแล้วที่เรียกกันว่า FROZEN LOINS ไปบรรจุกระป๋องที่ SANTA FE SPRING แทนที่จะส่งเป็นปลาทูน่ากระป๋องสำเร็จรูปเข้าไปเลย

อัตราภาษีขาเข้าของปลาทูน่ากระป๋องในสหรัฐฯ คือ 12.5% ในขณะที่การส่งเป็น FROZEN LOINS เสียภาษีเพียง 0.25% เท่านั้น บัมเบิ้ล บี เก็บตกจากต้นทุนทางภาษีนี้ได้ถึงปีละ 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ !

"ปีนี้ยอดขายของบัมเบิ้ล บี จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะต้นทุนถูกลง ราคาของเราจะลดลงนิดหน่อยทำให้เจาะตลาดได้มากขึ้น" ดำริห์พูดถึงการใช้ประโยชน์จากต้นทุนแรงงานและภาษีที่ลดลงในการบุกตลาด

ปลาทูน่าของบัมเบิ้ล บีนั้น มีราคาแพงกว่ายี่ห้ออื่นเล็กน้อย เพราะวางตำแหน่งสินค้าไว้ในระดับสูงกว่า มีส่วนแบ่งตลาด 17.6% เป็นอันดับสามรองจาก STARKIST (35.8%) และ CHICKEN OF THE SEA (18.9%)

ยูนิคอร์ดใช้เนื้อปลาในการทำปลาทูน่ากระป๋องวันละ 300 ตัน ส่งให้บัมเบิ้ล บี 200 ตันที่เหลือผลิตให้กับลูกค้ารายอื่น ๆ ในยุโรป ญี่ปุ่น และผู้จำหน่ายที่เป็นคู่แข่งของบัมเบิ้ล บี ในสหรัฐฯ เองด้วย

"ทีแรกเราจะไม่ขาย แต่มาคิดอีกทีถ้าเรามไขาย เขาก็ซื้อจากผู้ผลิตรายอื่ไนด้ ก็เลยขายให้บัมเบิ้ล บี แข่งกับคู่แข่งด้วยตัวของมันเอง"

นอกเหนือจากปลาทูน่าแล้ว ยูนิคอร์ดยังมีแผนการที่จะส่งกุ้งแช่แข็งเข้าไปขายในสหรัฐฯ โดยผ่านเครือข่ายทางการตลาดของบัมเบิ้ล บีเองด้วย แทนที่จะต้องขายผ่านคนกลางหรือผู้นำเข้ารายอื่นเหมือนที่เคยเป็นมา

ยูนิคอร์ดได้ตัว AREA MANAGER ประจำลอสแองเจลิสของปูนซิเมนต์ไทยที่ชื่อ ปรีชา ตีรวัฒนานนท์ มาบริหารงานด้านพัฒนาธุรกิจของบัมเบิ้ม บี เพื่อวางแผนนำสินค้าทางด้านอาหารจากประเทศไทยเข้าไปขายในสหรัฐฯ โดยผ่านกลไกทางการตลาดของบัมเบิ้ล บี

"เรากำลังสนใจสัปปะรด เพราะปัจจุบันเรามีโรงสัปปะรดมากแต่ต้องขายผ่านผู้นำเข้า โบรคเกอร์ ตัวแทนจำหน่ายของเรา จะเข้าตรงถึงตลาดโดยผ่านช่องทางของบัมเบิ้ล บีเลย" ดำริห์พูดถึงแนวความคิดในการพัฒนาสินค้าตัวใหม่

ปัจจุบัน บัมเบิ้ล บี มีเครือข่ายการตลาดอยู่ใน 34 รัฐมีช่องทางการกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาด 600 ช่องทาง

"นี่คือ SYNERGY ที่เราได้" ดำริห์สรุปถึงสิ่งที่ยูนิคอร์ดได้มาจากเงิน 283 ล้านเหรียญในการซื้อบัมเบิ้ล บี

แต่คนอย่างดำริห์นั้น คนใกล้ชิดบอกว่า เขามีความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน เป็นไปได้บ้าง เป็นความใฝ่ฝันบ้าง แต่ดำริห์ไม่เคยหยุดนิ่ง

ดำริห์กำลังเจรจาขอซื้อหุ้นบัมเบิ้ล บี ส่วนที่เป็นของ POISSON SHIPPING เพื่อจะได้เป็นผู้ถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียว และมีแผนการที่จะนำหุ้นบัมเบิ้ล บี ออกขายนอกตลาดตอนสิ้นปีนี้ เรื่องที่ใหญ่กว่านั้น คือ

การซื้อกิจกาในต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง !!

"ปีนี้เราจะเน้นที่ตลาดร่วมยุโรป" เขาพูดถึงก้าวต่อไปของยูนิคอร์ด

ยูนิคอร์ดส่งปลาทูน่ากระป๋องไปสหรัฐฯ 54% กลุ่มตลาดร่วมยุโรป 25% อีก 15% เป็นตลาดในญี่ปุ่นและตะวันออกกลาง

ยุโรปจึงเป็นตลาดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ฐานะของยูนิคอร์ดในยุโรปก็เหมือนในสหรัฐฯ ก่อนที่จะซื้อบัมเบิ้ล บี คือ เป็นผู้ผลิตตามคำสั่งของลูกค้า ไม่มีตลาดเป็นของตัวเอง

การรวมตัวเป็นตลาดเดียวของประเทศยุโรปในปี 1992 เป็นตัวเร่งอีกทางหนึ่งที่ทำให้ยูนิคอร์ดต้องรีบเดินหน้าสำหรับการสร้างที่มั่นทางการตลาดในยุโรป

"เราเตรียมตัวแล้ว" เมื่อสองเดือนที่แล้ว ดำริห์เดินทางไปโปรตุเกสเพื่อดูบริษัททางการตลาดปลาทูน่ากระป๋องแห่งหนึ่ง แต่เมื่อเจรจากันแล้ว ดำริห์ไม่สนใจ เพราะถึงแม้บริษัทนี้จะมีส่วนแบ่งตลาด 75% ในโปรตุเกส แต่มียอดขายเพียง 30 ล้านเหรียญต่อปี "ไม่คุ้มกับการที่เราจะไปเสียเวลาให้"

ยุทธศาสตร์ของดำริห์ในการซื้อบริษัทการตลาดในยุโรป คือ เข้าไปในประเทศที่มีข้อจำกัดในการนำเข้าปลาทูน่าและผลิตภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยมากที่สุด เป็นการบุกทะลวงจากภายในโดยการเข้าไปตั้งบริษัทในประเทศนั้นเสียเลย เหมือนอย่างเช่น การซื้อบัมเบิ้ล บี ในสหรัฐฯ และการไปตั้งบริษัทในประเทศอื่น ๆ ของญี่ปุ่น

"เรามองบริษัทที่มีกำลังการผลิตต่ำแต่มีกำลังการขายสูง" นี่คือยุทธศาสตร์ข้อที่สองของเขาในการสร้างฐานทางการตลาดให้เป็นวงจรเดียวกับฐานการผลิตที่ยูนิคอร์ด และประเทศไทยมีความได้เปรียบอยู่แล้ว

ขณะนี้ดำริห์ได้กำหนดเป้าหมายแรกของการซื้อกิจการในยุโรปไว้แล้ว เป็นบริษัทผู้ผลิตปลาทูน่าขนาดเล็กในฝรั่งเศสแต่มีเครือข่ายทางการตลาดที่ใหญ่มาก มีส่วนแบ่งตลาดปลาทูน่าในยุโรป 30% ในขณะเดียวกันก็กำลังมองหาฐานการผลิตจากแอฟริกาซึ่งจะเป็นประเทศที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษีจากฝรั่งเศส

ดำริห์ได้จ้างบริษัทโกลด์แมน แซค เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและเบเคอร์ แอนด์ แมคคินเซย์เป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายในแผนการใหม่นี้แล้ว

"คงต้องใช้เวลาเป็นปี อย่างเร็วก็คงเก้าเดือน" เขาประเมินระยะเวลาที่จะสิ้นสุดการปฏิบัติการนี้ และอาจจะมีเป้าหมายอื่น ๆ อีก "อาจจะเป็นอังกฤษหรืออิตาลี"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us