Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2533
สวนป่ายูคาสร้างเศรษฐกิจและรักษาระบบนิเวศน์วิทยาได้ถ้า…             
โดย วิลาวัณย์ วิวัฒนากันตัง
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคล ดร.สถิต วัชรกิตติ

   
search resources

สถิตย์ วัชรกิตติ




แนวโน้มการพัฒนาอุตสาหกรรมป่าไม้ของไทยต่อไปจะต้องใช้ไม้จากสวนป่า จะเป็นไม้ขนาดเล็ก โรงเลื่อยต่าง ๆ จะต้องหันมาใช้ไม้เล็ก จะเห็นว่าแถวยุโรปเขาใช้ไม้เล็กเพราะป่าธรรมชาติไม่มีเหลือแล้ว โรงเลื่อยที่มีอยู่จึงต้องปรับตัวตามวัตถุดิบที่เปลี่ยนไป

ปัญหาสำคัญ เราจะต้องหาวิธีใช้ไม้ให้คุ้มค่าที่สุด ไม่ให้มีเศษเหลือเลยต้องใช้อย่างประหยัดและใช้อย่างชาญฉลาดเพราะที่ผ่านมา บ้านเราใช้ไม้ฟุ่มเฟือยมาก ไม้เล็กไม้น้อยเราทิ้งหมด น่าเสียดายมาก อย่างไม้สักท่อนเล็ก ๆ เราทิ้งเลย ทั้งที่เอามาใช้ทำฐานปลั๊กไฟ ใช้รองจาน รองหม้อได้ดีกว่าพลาสติก

รัฐบาลจะต้องส่งเสริมการใช้ไม้ด้อยค่า เพราะไม้มีค่าอย่างไม้สัก ไม้ตะเคียน ตอนนี้หมดแล้ว ไม้ด้อยค่านั้นสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าได้ด้วยการนำไป TREAT น้ำยาทางเคมี ผึ่งแห้ง อัดพลาสติกเข้าไม้ จะได้คุณภาพเท่ากับทำจากไม้มีค่าต่างประเทศทำกันมาก เรียกว่า PLATIC WOOD นอกจากนี้ ยังมีที่เราละเลยก็คือ ไม้ไผ่ ไฟเบอร์บอร์ด อันนี้เรามีที่ลำพูน แต่ไม่แพร่หลาย ทั้งที่มีวัตถุดิบอยู่มาก

ส่วนโรงงานเยื่อกระดาษก็ควรจะเกิดขึ้น ซึ่งเราต้องนำเข้าปีละหลายพันล้านบาทและแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่คนไม่กล้าไปลงทุน โดยเฉพาะเยื่อใยยาว ไม่มีคนกล้าลงทุน นโยบายรัฐบาลไม่แน่นอน และไม้สนเองก็มีข้อจำกัดที่ต้องใช้เวลาปลูก 10ปีขึ้นไป จึงใช้ได้ SENSITIVE ต่อไผ่ตายแล้วไม่แตกหน่อ ปลูกได้ดีทางภาคเหนือ ติดปัญหาการขนส่งซึ่งศูนย์กลางยังอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่เอกชนให้ความสนใจในระยะยาว

การลงทุนถ้าต้องเสี่ยงแบบสวนกิตติแบบนี้ตายแน่….. การลงทุนโรงเยื่อขนาดกลางประมาณสี่พันล้านบาท ขนาดใหญ่หมื่นล้าน เมื่อจะลงทุนก็ต้องมั่นใจวัตถุดิบ กรณีสวนกิตติเขาจึงต้องสร้างสวนป่าเอง เพราะมิฉะนั้นแล้ว อยู่ ๆ ถ้าวัตถุดิบไม่พอป้อน ขาดทุน

การสร้างโรงเยื่อจึงต้องมีไม้พอที่จะหมุนเวียนมาป้อนเป็นวัตถุดิบได้ทุกรอบปี การที่จะหวังพึ่งชาวบ้านก็อาจจะเกิดความไม่แน่นอน อย่างโรงงานแตงกวาอัดกระป๋องที่อำเภอฮอด มีการประกันราคาให้ชาวบ้านป้อนวัตถุดิบ พอมีคนอื่นให้ราคาสูงกว่า โรงงานก็ไม่มีวัตถุดิบ ทำได้แค่ 3 ปี มีอิสราเอลมาช่วยด้านเทคโนโลยี แต่ตอนนี้เจ๊งไปแล้ว ที่พูดกันว่าเราผลิตเยื่อใยยาวไม่ได้เพราะไม่มีวัตถุดิบนั้น ผมอยากจะเรียกว่าเราทำได้ ทางฟินแลนด์และอีกสามสี่ประเทศเข้ามาสำรวจ แต่เขาก็ไม่กล้าเสี่ยง เพราะไม้สนของเราที่มีอยู่ขณะนี้ประมาณไม่น้อยกว่า 6 แสนไร่นั้นเป็นของกรมป่าไม้ทั้งหมด จะปลูกในที่สูง ซึ่งเรามองว่าเพื่อรักษาต้นน้ำลำธาร

อันที่จริง ถ้าจะใช้ประโยชน์จากไม้สนและรักษาต้นน้ำด้วยพร้อมกันได้ โดยเวลาตัดไม้มาใช้ให้ตัดเป็นบล็อก ไม่ทำให้ต้นไม้ตาย การตัดจะต้องไม่ตัดเป็นผืนใหญ่ แต่จะมีต้นทุนสูงในช่วงแรก

นอกเหนือจากป่าธรรมชาติแล้ว การสร้างป่าเศรษฐกิจ มีวิธีที่จะรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีได้ถนอมระบบนิเวศน์วิทยาได้

อย่างวิธีการตัดไม้เพื่อใช้ประโยชน์โดยไม่ให้เสียสภาพแวดล้อมก็มีข้อปฏิบัติของมันอยู่ และมีสอนในวิชาการป่าไม้ และเป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกยอมรับกัน

การปรับพื้นที่ก็มีวิธีที่เป็นสากลและเป็นวิชาการก็คือ พวกตอไม้ เศษไม้ จะใช้วิธีการเผา เพราะถ้าไม่เผาก็จะไปเบียดบังพื้นที่ปลูก เพราะพวกตออาจจะมีกิ่งที่ยังไม่ตาย อาจจะทำให้เกิดปัญหาต่อรากไม้ ถ้าเผาก็ไม่เกิดปัญหา

ตอและเศษไม้ต่าง ๆ ถ้าใช้ประโยชน์ได้ก็นำไปใช้ แต่ถ้าใช้ไม่ได้ ก็ต้องนำไปเผาอันเป็นวิธีสากลหรือไม่อีกวิธีก็คือ ปล่อยทิ้งไว้ให้ผุไปเองกลายเป็นปุ๋ยต่อไป แต่ไม่นิยม หรือเอาไปที่อื่น ซึ่งก็ยุ่งยากในการขนส่ง ขณะที่วิธีการเผาจะประหยัดที่สุด แต่จะเสียเวลาในการรวบรวมกอง และต้องระวังที่อาจจะไหม้แปลงอื่นได้ง่าย

สำหรับกรณีสวนกิตติ ผมคิดว่าบริษัททำเกินแน่ เพราะมีคนรับว่าให้ทำไปก่อน ไม่อย่างนั้นเขาคงไม่กล้าทำ ทางเราเองก็ติดตามอยู่นะว่าใครที่ตั้งใจลงทุนทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบ้าง เรื่องโค่นป่าเขาคงไม่ทำ แต่จะมีปัญหาข้อกฎหมาย

ผมมีลูกศิษย์จากที่นี่ไปทำงานอยู่ 7 คนจากวนศาสตร์ก็เยอะ พอมีข่าวเรื่องนี้เกิดขึ้น ลูกศิษย์ติดต่อเชิญผมให้ไปดูพื้นที่ว่าจริง ๆ พวกนี้ไฟแรงกลัวทางอาจารย์เข้าใจผิดว่าเขาไปหนุนช่วยนายทุนให้โค่นป่า

พื้นที่เหล่านั้นเป็นป่ามันสำปะหลังมาก่อน แต่ทีนี้ เขาผิด…ผิดตรงที่เขาเอาตอไม้ เศษไม้ไปฝัง ผมพูดกับลูกศิษย์ ผมบอก…ใครสอนให้ฝัง เขาก็บอกว่า เสนอบริษัทไปแล้ว แต่ทางบริษัทยืนยันที่จะใช้วิธีฝังในการปรับสภาพพื้นที่ ซึ่งทำได้เร็วกว่า ยิ่งเขามีความพร้อมในการลงทุนเครื่องจักรเครื่องมือมาก ก็ยิ่งทำได้เร็วกว่าหลายเท่า แต่จริง ๆ ควรเผา จะมีวิธีเลยว่าเก็บริบเผาริบยังไง

พอบริษัทเขาทำแบบนี้ ทำให้เกิดปัญหา เพราะดูใหญ่โตน่ากลัว เหมือนทำลายป่า แต่เราต้องยอมรับว่า การใช้แทรกเตอร์เป็นการปรับสภาพพื้นที่ที่จะทำให้ต้นไม้ขึ้นดี การขุดฝังถ้ายิ่งลึกก็ยิ่งเสียค่าใช้จ่ายมาก แต่ถ้าขุดไม่ลึกพอก็จะทำให้รากไม้เดิมหยั่งลึกออกไปในดิน พอปลูกต้นไม้ใหม่ก็จะทำให้ล้มง่าย

พูดถึงยูคาลิป ผมว่าไม่ได้เป็นต้นไม้ปีศาจอย่างที่เข้าใจ ผมคิดว่า ถ้าชาวบ้านได้สัมผัส เขาจะชอบ มันให้รายได้ดีกว่า ปลูกง่าย ตัดแล้วไม่ต้องปลูกก็ขึ้นได้ เช่น ที่โคกผีบ้า จ.มหาสารคาม เขาปลูกยูคาลิปป้อนให้โรงงานฟินิกซ พัลพ์

เราต้องเข้าใจว่า ตรงไหนดินดีก็ไม่ควรปลูกยูคาลิป ควรปลูกอย่างอื่นที่เป็นการเพิ่มมูลค่าและทำให้ใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุดดีกว่า แต่ถ้าพื้นที่แล้ง เสื่อมโทรม โอเคอันนี้ปลูกยูคาลิป

ทาง F.A.O. (FOOD AND AGRICULTURE ORGANIZATION OF THE UNITED NATIONS) เคยทำวิจัยดู ROOT ZONE ของยูคาลิป ซึ่งคนกลัวกันว่าจะทำลายระบบนิเวศน์วิทยา แต่มีข้อสรุปที่ชัดเจนออกมาเลยว่า…ปลูกพืชอื่นได้ สัตว์ต่าง ๆ ก็อยู่ได้

ยูคาลิปใช้ธาตุอาหาร และดึงน้ำใต้ดินมาใช้เยอะ ก็เกรงว่าจะทำให้ปลูกไม้อื่นไม่ได้ อันนี้อยู่ที่การบำรุงรักษา อย่างหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่สี่ จ.ศรีสะเกษ ปลูกยูคาลิปแล้วปลูกข้าวไร่ปลูกถั่วได้ ที่นั่นปลูกยูคาลิปไว้เยอะ เมื่อใบสลายตัวแล้วจะเป็นปุ๋ย และตอนยูคาลิปยังเป้นต้นเล็ก วัวก็ยังกิน

โดยทั่วไป พื้นที่ดินเค็มหรือแล้งมาก ๆ ปลูกยางก็ไม่ขึ้น แต่ที่สวนป่าสมเด็จที่กาฬสินธุ์ เขาปลูกยูคาลิปก่อน ต่อมาก็ปลูกต้นยางใต้ร่มยูคาลิป ก็ขึ้นได้ดี ยูคาลิปจึงเป็นไม้ที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า "ไม้พี่เลี้ยง"

ครั้งแรกที่เชลล์จะทำสวนป่ายูคาลิป เด็กผมไปต่อต้านด้วย ผมถามเหตุผล เขาบอกว่า ที่ไปร่วมด้วยเพราะกลัวป่าดีถูกทำลาย ผมบอกว่า การที่เขาต้องลงทุนอย่างนี้ ถ้าทำลายป่า ขาข้างหนึ่งก็อยู่ในตะรางแล้ว และการที่ไปคัดค้านต่อต้านก็ต้องเข้าใจให้ชัดเจนก่อนว่า จริง ๆ มันเป็นอย่างไรกันแน่

บางที เราพูดด้วยข้อมูลด้านเดียว คนไม่รู้จริงก็พูดไป คนรู้จริงก็ไม่พูด ที่จริงกระทรวงเกษตรฯ เขารู้ข้อมูลเรื่องนี้ดี แต่กลับบอกให้ทางวนศาสตร์เป็นคนพูด ผมบอก เราไม่มีพาวเวอร์เหมือนราชการ

ถ้าดูต้นไม้ชนิดอื่น อย่ากระถินยักษ์ กระถินณรงค์ในที่หนาวจะปลูกไม่ขึ้น แต่ยูคาลิปอยุ่ที่ไหนขึ้นได้หมด

อย่างแผนการจัดพื้นที่ป่าชุมชนในโครงการอีสานเขียว ผมแนะให้ปลูกไม้อเนกประสงค์ เช่น ตะเคียน จามจุรีป่า สะเดา งิ้ว หง้า (ญี่ปุ่นต้องการเอาสีไปผสมอาหาร) หรือไผ่หวาน เป็นต้น ส่วนยูคาลิป ผมเสนอให้จำกัดปลูกในพื้นที่ดินเค็ม ดินแห้ง

หากเทียบระหว่างยูคาลิปกับมันสำปะหลังแล้วต้องการธาตุอาหารจากดินไม่ต่างกัน ปลูกมัน 3 ปีที่แถบนั้นเสื่อมหมด อันนี้เรารู้กันอยู่ แต่จะต่างกันตรงที่ยูคาลิปจะใช้น้ำมากกว่าตรงนี้ เราจะต้องมีวิธีการบำรุงรักษาที่ดี

อย่างที่สวนกิตติ เขาขุดเป็นหลุมรอบ ๆ โคนต้น ปรับดินให้เป็นร่องระหว่างแนวต้น และมีร่องน้ำใหญ่เป็นระยะนั้น ถือว่าเป็นการปรับสภาพพื้นที่เก็บรักษาน้ำและให้ปุ๋ยให้อยู่ในแปลงสวน

ที่คุณตั้งคำถามกรณีที่เขาพูดว่า ด้วยวิธีการอย่างนี้ ปลูกยูคาลิปแล้ว 10 ปี จะทำให้พื้นที่นั้นปลูกต้นไม้อื่นได้ดีจริงหรือไม่นั้น อันนี้….ถูกต้อง

เมื่อเราพูดถึงป่าเศรษฐกิจก็เหมือนกับว่า เราไม่สนใจชาวบ้าน อันนี้ได้มีการจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำกันแล้วว่า ตรงไหนจะเป็นป่าอนุรักษ์ตรงไหนเป็นป่าเศรษฐกิจหรือพื้นที่พืชไร่ทั่วไป ส่วนที่เป็นป่าอนุรักษ์ ป่าธรรมชาติ รัฐบาลก็ต้องมีมาตรการที่จะรักษาไว้ให้ได้จริง ๆ ต้องแยกกันให้ชัดเจน

สำหรับป่าเศรษฐกิจที่กำหนดไว้ 25% ของพื้นที่ป่าทั่วประเทศ ตอนนี้ยังขาดอยู่ 11% หรือ 38 ล้านไร่ ถ้าให้เป็น INDUSTRIAL FOREST ก็ต้องใช้ผืนใหญ่ อย่างฟินแลนด์ เขามีนโยบายให้เอกชนทำชัดเจนถึงขนาด 3 แสนเฮกเตอร์

ขณะเดียวกัน ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจนี้ เราทำเป็นป่าชุมชนได้ ให้เป็น PRODUCTIVE FOREST ให้ชุมชนได้ประโยชน์และรู้สึกเป็นเจ้าของ ซึ่งผมคิดว่าสำหรับบ้านเราคงต้องร่วมกับรัฐวิสาหกิจให้เป็นพี่เลี้ยงก่อน

อย่าง ออป. (องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้) เคยคิดจะร่วมทุนกับเอกชน เพื่อพัฒนาไม้สนทำโรงเยื่อใยยาวขนาดกลางที่เชียงใหม่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ตอนนั้นตั้งใจจะให้เป็นโครงการหลวงและเป็นโครงการตัวอย่าง โดยขอทุนจากฟินแลนด์ แต่เขาไม่ให้โดยบอกว่า นโยบายของเขามุ่งช่วยทางอัฟริกา แต่ผมคิดว่า เขากลัวเราแย่งตลาดมากกว่า เพราะเยื่อใยยาว เราต้องนำเข้าจากฟินแลนด์ แคนาดา และสวีเดนเป็นหลัก

ปัญหาของเราไปหนักที่กฎหมายไม้เอื้ออำนวย หยุมหยิมมาก และไม่มีการวางแผนระยะยาว กรมป่าไม้ปลูกไม้สน ปลูกยูคาลิป แต่ไม่มีแผนชัดเจนว่าปลูกแล้วจะพัฒนาการใช้ประโยชน์ยังไง

แล้วปัญหาพื้นที่เสื่อมโทรมที่จับจองขณะนี้ที่ทำโดยไม่ถูกต้องมีประมาณครึ่งหนึ่ง ผมคิดว่า ก่อนอื่นรัฐบาลจะต้องเคลียร์ให้ชัดก่อนว่า ส่วนไหนที่ไม่มีเจ้าของ ต้องส่งคืนให้รัฐเช่นเดียวกับกรมประมงที่เริ่มทำแล้ว คือ พื้นที่ป่าชายเลน ถ้าไม่มี นส.3 ก็ยึดคืน ต่อจากนั้นมาดูว่าตรงไหนจะให้เป็นป่าเศรษฐกิจหรือป่าชุมชน ซึ่งคิดว่าน่าจะมีสัดส่วนสัก 10% ของป่าเศรษฐกิจที่กำหนดไว้ 25%

การสำรวจภาคพื้นที่ดินก็ต้องลงไปทำแล้วเช็กกันออกมาให้ชัดเลย และต้องเร่งให้ทันต่อการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ที่ผมอยากจะย้ำก็คือ อุตสาหกรรม SMALL WOOD WORKING เรามองข้ามอย่างน่าเสียดาย คิดดูสิ… ญี่ปุ่นเขาใช้ประโยชน์จากไม้เศษเล็กเศษน้อยเอาหมด ตอนนี้เขาทำเขียงมาขายในเมืองไทย เห็นแล้วที่เซ็นทรัล ถ้าเทียบไม้ขาวของญี่ปุ่นกับไม้มะขามของเราแล้ว ของเราดีกว่าเยอะ

ไต้หวันอีกประเทศ ใช้เศษไม้ทำอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะ เขาเก่งทางด้าน KNOC DOWN ผลิตเครื่องใช้ในบ้านเป็นลักษณะถอดชิ้นได้ แพ็คง่าย ขนส่งสะดวก นี่เขากำลังจะส่งปากกาที่ใช้เศาไม้ทำด้านมาขายในเมืองไทย คิดดู…แค่ไม้ที่ใช้ไม่เกิน 5 บาท แต่วางขายอยู่ 600 บาท ผมเสียดาย ถ้าเทียบไม้อบเชยบ้านเราแล้วคุณภาพดีกว่า และยังมีไม้อีกหลายชนิดที่เราควรพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจ

อย่างทางแคนาดา เขาเคยคิดที่จะช่วยเหลือเรา แต่เขาก็จะสนับสนุนแค่ SMALL WOOD WORKING เขาบอกอันนี้ช่วยเต็มที่ แต่ถ้าเป็นโรงเยื่อกระดาษ เขาคงไม่ช่วยนะ

เพราะฉะนั้น รัฐบาลต้องรีบเคลียร์กฎหมายให้ชัด แต่เดิมเราห้ามตัดไม้เล็ก เพราะกลัวว่าถ้าตัดไม้เล็กแล้วจะไม่มีไม้ใหญ่ใช้ ซึ่งตอนนั้นเรายังไม่คิดว่า ป่านั้นเราสามารถปลูกหรือพัฒนาขึ้นใหม่ได้ อย่างยุโรป เขาปลูกมาแล้วสี่ห้าร้อยปี แต่เราเพิ่งปลูกนานที่สุดแค่ 60 ปี

ผมเคยพูดในที่ประชุมป่าไม้ เราไม่จริงจัง พอต่างชาติเลิกให้ความช่วยเหลือ เราก็เลิกทำ เป็นประจำ อย่าง VILLAGE WOOD ก็เหมือนกัน พอเลิกให้ทุนสนับสนุน เลบเลิกตามเขาไปด้วย

แล้วเรื่องโรงเยื่อกระดาษก็อีก… ผมว่าต่างประเทศเขาอิจฉาเรามากกว่า หรือคนไทยกันเองบางกลุ่มเขาคงไม่อยากให้เกิด

อย่างกรณีสวนกิตติ ผมว่า…น่าสงสาร

ถ้านโยบายรัฐบาลไม่แน่นอนแบบนี้…คงไม่มีใครกล้าลงทุนอีกเลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us