Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543
"ชีวิตที่เลือกแล้วของ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช"             
 

   
related stories

วชิราวุธวิทยาลัย Holistic Quality Education
90 ปี วชิราวุธวิทยาลัย
วิถีชีวิต เด็กวชิราวุธวิทยาลัย
สายสัมพันธ์นักเรียนเก่าวชิราวุธ

   
search resources

โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
ชัยอนันต์ สมุทวณิช




ภาพของ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย คนปัจจุบัน ที่ปรากฏต่อสาธารณชนทั่วไปนั้น ช่างดูเป็นนักวิชาการที่เครียดขรึม ดูเป็นผู้ดี เป็นศักดินาเก่าอย่างที่หลายคนเคยค่อนขอด แต่ถ้าหากได้สัมผัสตัวจริง และ รับรู้เรื่องราวไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดจากผู้ใกล้ชิด และการอ่านหนังสือของเขาบางเล่ม หรืองานเขียนของเขาบางชิ้น ถึงจะรู้ว่าตัวจริงนั้น ช่างห่างไกลจากภาพ ที่เห็นด้วยสายตามากนัก

ศ.ดร.ชัยอนันต์จำได้แม่นยำว่า ท่านได้เข้าไปเป็นนักเรียนเก่าวชิราวุธ เมื่อปี 2439 รุ่นที่ 33 หมายเลขประจำตัว 1687 ในสมัยพระยาภะรตราชาเป็น ผู้บังคับการ และหมายเลข ที่กระหวัดเกี่ยวโยงใยกับชีวิตของเขายังมีหมายเลข 145 ชื่อขันธ์พงส์ สาครบุตร ซึ่งเป็นพ่อตาหมายเลข 2147 คือ ชัยสิริ สมุทวณิช น้องชาย ต่อมาก็ยังมีหมายเลข 4631 ชื่อพชร สมุทวณิช ลูกชายคนโต

ตั้งแต่พ่อตา ศ.ดร.ชัยอนันต์เอง มาถึงน้องชายชัยสิริ และพชร ลูกชาย เทียบได้ว่าเป็นคน 3-4 รุ่นที่อยู่ในยุคสมัย ที่ต่างกัน แต่ได้รับการกล่อมเกลาแบบเดียวกัน

เมื่อเข้าชั้นประถม 2 คณะเด็กเล็ก ที่วชิราวุธใหม่ๆ นั้น บิดาของเขาคือ พล.ต.ต.ชนะ ในขณะนั้น เป็นเพียงข้าราชการชั้นผู้น้อย ปู่ของท่านชื่อเชิด สมุทวณิช มียศเป็นทหารเรือ ที่ร่ำลือกันว่าเป็นเพลย์บอยรุ่นแรกๆ ของสยาม คือ เป็นบุตรเศรษฐีเมืองสมุทรสงคราม ส่วนย่าบุญเ ที่ยง เป็นบุตรสาวคนใหญ่ ของเจ้าสัวอากร ฮกหงวน แซ่แต้

ปู่เชิดมียศเป็นนายเรือโท และเป็นผู้ขอพระราชทานนามสกุล สมุทวณิช จากรัชกาล ที่ 6 (จากหนังสือชีวิต ที่เลือกได้ โดยชัยอนันต์ สมุทวณิช)

คุณตาของอาจารย์ชัยอนันต์ เป็นคนจังหวัดระยอง เป็นข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เคยเป็นนายอำเภอกบินทร์บุรี ในนามหลวงกำแหงมหึมา ต่อมาเป็นหลวงอนันต์นรานนท์ ซึ่งภายหลังได้ลาออกจากราชการ และเป็นทนายความอยู่ ที่นั่น

ก่อนเข้าไปเป็นนักเรียนวชิราวุธ ได้ไปอยู่โรงเรียนประจำบ้านป้าครู ซึ่งเป็นโรงเรียน ที่อยู่ในบริเวณสนามหลังของโรงเรียนวชิราวุธ ป้าครูคือ ครูเนี้ยน สโรชมาน ซึ่งเป็นญาติโรงเรียนนี้จะเรียกว่าเป็นโรงเรียนอนุบาลของวชิราวุธก็ ว่าได้เพราะเด็กผู้ชาย ที่นี่ทั้งหมดเตรียมเข้าโรงเรียนวชิราวุธทั้งสิ้น

ในวัยเด็ก ที่วชิราวุธ เขามี เพื่อน ที่มาจากชนชั้นกลางระดับสูงขึ้นไปทั้งสิ้นมีทั้งพวก หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ หากเป็น เพื่อน ที่มาจากต่างจังหวัด ก็จะเป็นลูกพ่อ ค้าคหบดี หรือผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าครองนครทั้งนั้น เช่น พวก ณ เชียงใหม่, ณ เชียงตุง เป็นต้น

เพื่อนสนิทของเขาคนหนึ่งคือ โกศัลย์ คูสำราญ นักเรียนดีติดบอร์ด 1 ใน 50 ของประเทศไทย และต่อมาคือ ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัย Oxford ในขณะที่ ศ.ดร. ชัยอนันต์ เองนั้น จบ ม.8 ที่วชิราวุธ ด้วยคะแนน 57.3% เท่านั้น แต่สิ่งนี้ กลับเป็นเรื่องเล่า ที่อาจารย์ภูมิใจมากๆ ว่าเป็นพวก ที่เรียนไม่เก่งแต่ใฝ่ดี เพราะต่อมาก็สามารถสอบเข้าไปศึกษาต่อในคณะรัฐศาสตร์แผนกนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ และเมื่อศึกษาไปเพียง 1 ปี ก็สอบชิงทุนโคลัมโบไป ศึกษาต่อ ที่มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ประเทศนิวซีแลนด์ สำเร็จปริญญาโท และ เอกทางรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกาในปี 2511 (ในปี 2542 ได้รับดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ และรางวัลนักศึกษาเก่าดีเด่นจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน)

เริ่มต้นชีวิตการทำงานในเมืองไทย เมื่อปี 2510 ที่กรมวิเทศสหการ หลังจากนั้น ก็เข้าไปเป็นอาจารย์ ที่คณะ รัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ต่อมาได้โอนย้ายมาสอน ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ

สมัย ที่ยังเป็นอาจารย์ใหม่ สอนนิสิตนักศึกษาอยู่นั้น เป็นยุคที่เสียงเรียก ร้องประชาธิปไตยกำลังกึกก้อง บทเพลง เพื่อชีวิตเริ่มดังกระหึ่มเมือง ตัวเขา เองถูกจับตาอย่างมากด้วยความไม่ไว้วางใจ ฝ่ายซ้ายว่าเขาเป็นขวา เพราะเป็นนักเรียนเก่าวชิราวุธ เป็นพวกมีคราบของศักดินาจับอยู่รอบตัว ในขณะฝ่ายขวามองว่าเป็นซ้าย เพราะจะมีบทความแสดงความคิดเห็น ที่ขัด แย้งกับรัฐบาลตลอดเวลา

ในขณะเดียวกันลูกศิษย์ของเขาทั้ง ที่นิด้า และจุฬาฯ เองก็คงสับสน ครุ่นคิดกับอาจารย์ท่านนี้เหมือนกัน เพราะเริ่มต้นชีวิตทางวิชาการด้วยการแสวงหาภูมิปัญญาไทยมาสอนลูกศิษย์ เอาเรื่อ งปีศาจ หรือความรักของวัลยา ของเสนีย์ เสาวพงศ์ ซึ่งเคยเป็นหนังสือต้องห้ามในสมัยหนึ่ง มาให้นักศึกษาอ่าน และวิเคราะห์

ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ที่ยืนหยัด ต่อต้านเผด็จการร่วมกันกับนิสิตนักศึกษา ด้วยการอภิปราย ร่วมชุมนุมในวาระต่างๆเสมอมา แต่กลับประกาศชัดว่าไม่ได้เชื่อมั่นในลัทธิคอมมิวนิสต์

หลายคนมองว่าภาพของคนหัวเอียงซ้ายตอนนั้น ก็ไม่น่าจะเป็น ศ.ดร.ชัยอนันต์สมัยนั้น แต่งกายทันสมัย ขับรถสปอร์ตเซลิก้า และเบนซ์สลับกันมาสอนด้วยซ้ำไป

และบางคนก็เหล่มองท่านอย่างงุนงง เมื่อเห็นชอบทานแอสพารากัสสี ขาวอวบอบราดซอส ชอบไข่ปลาคาร์เวียร์ หรือซื้อกระเป๋า Dior ฝากภรรยา

ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับ สุภาธร สาครบุตร มีบุตร 3 คน คือ พชร พลอย และพลายแก้ว

ในด้านการเมือง เคยดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกมา ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2535 จนปี 2540 เป็นผู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ.2539 และ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสมัยแรก ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน

ในบั้นปลายของชีวิตอาจารย์ชัยอนันต์ เลือกกลับมารับใช้วชิราวุธวิทยาลัย ตั้งแต่ ปี 2539 ในตำแหน่งผู้บังคับการ และเริ่มต้นงานหว่านหน่อพืชพันธุ์ใหม่ ในแผ่นดิน ในแปลงเกษตร ที่อุดมสมบูรณ์ ในรั้ววชิราวุธวิทยาลัย โดยหวังอย่างแรงกล้าว่า ระบบการศึกษาแบบใหม่จะเป็นเหมือนน้ำ เป็นเหมือนปุ๋ย ที่ จะคอยหล่อเลี้ยงสร้างเด็กรุ่นใหม่ ผู้สร้างสังคมใหม่ ที่สมบูรณ์ให้กับแผ่นดิน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us