Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 ตุลาคม 2550
คลังชี้ศก.ปี51เอื้อจัดเก็บฉลุยจีดีพีโต5%การเมืองคลี่คลาย             
 


   
search resources

Economics




“ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล” คาดจัดเก็บรายได้ปี 51 ได้ตามเป้า 1.49 ล้านบาท ขยายตัวจากปี 50 ถึง 6.1% ขณะที่จีดีพีจะเติบโตที่ 5% เหตุเศรษฐกิจการเมืองคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภคและนักลงทุน ขณะที่การจัดเก็บปี 50 ปิดหีบได้ทะลุเป้ากว่า 2.56 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.8% จากปีที่แล้วรับอานิสงส์จากการยุบเลิกทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน 3.69 หมื่นล้านบาท

นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การเก็บรายได้ปีงบประมาณ 2551 จะสามารถทำได้ตามเป้าที่1.49 ล้านล้านบาท สูงกว่าการจัดเก็บจริงในปีงบประมาณที่ผ่านมา 6.1% เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี2551 จะขยายตัว 5% อัตราเงินเฟ้อ 3% ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงในปี 2550 ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ จะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนกลับคืนมา

"หากไม่มีปัจจัยนอกเหนือความคาดหมายที่จะทำให้เศรษฐกิจเกิดความผันผวนอย่างรุนแรงแล้วก็คาดว่า ด้านการจัดหารายได้ของรัฐบาลคงเป็นไปตามที่ประมาณการ”

นอกจากนี้ ปัญหาเรื่อง ค่าเงินบาทที่แข็ง อัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมันที่สูง จะคลี่คลายลง ทำให้การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนฟื้นตัวขึ้นมาได้เร็วขึ้น โดยมองว่านักลงทุนควรจะใช้จังหวะนี้ตัดสินใจการลงทุนหลังจากที่ชะลอมานาน เนื่องจากขณะนี้ปัจจัยลบต่างๆ กำลังหมดไป และยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรไปลงทุนในต่างประเทศ

นายศุภรัตน์ กล่าวว่า สำหรับผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 - กันยายน 2550) บรรลุผลเกินเป้าหมาย โดยจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 25,600 ล้านบาท และสูงกว่าปีงบประมาณ 2549 จำนวนถึง 105,912 ล้านบาท รายได้รัฐบาลจัดเก็บได้รวม 1,445,600 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,420,000 ล้านบาท จำนวน 25,600 ล้านบาท หรือ 1.8% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากได้รับรายได้พิเศษจากการยุบเลิกทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน 36,951 ล้านบาท

นอกจากนี้ หากย้อนไปดูที่เคยคาดการณ์ไว้ จำนวน 1,390,000 ล้านบาท (ซึ่งใช้เป็นฐานในการทำประมาณการรายได้ปีงบประมาณ 2551) ก็จะสูงกว่า 55,600 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.0 และแม้แต่ตัดรายได้พิเศษจากการยุบเลิกทุนรักษาระดับฯ ออกแล้ว การจัดเก็บรายได้จะเท่ากับ 1,408,649 ล้านบาท ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ 18,649 ล้านบาท (1.3%) ทั้งนี้ โดยที่รายได้จาก 3 กรมจัดเก็บสังกัดกระทรวงการคลังก็ยังสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ 26,242 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.8 ส่วนการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการและปีที่แล้วมากพอสมควร จำนวน 13,479 และ 8,964 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะเดียวกันก็ใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ไว้

เมื่อพิจารณาจากการจัดเก็บรายได้ของปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ภาวะการจ้างงานของประเทศก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยพิจารณาจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บจากเงินเดือน (ภงด 1) ที่ขยายตัวถึง 8.5% การทำธุรกิจค้าขายระหว่างกันโดยดูจากภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการรับจ้างทำของ และการให้บริการระหว่างภาคธุรกิจยังมีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีที่ประมาณ 5.9% และการจับจ่ายใช้สอยในประเทศก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแม้จะไม่สูงเหมือนในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากผลการจัดเก็บภาษีการบริโภคโดยรวม ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากสินค้าประเภทต่างๆ ซึ่งอัตราการขยายตัวเทียบกับปีก่อนยังมีการขยายตัวในระดับหนึ่ง ยกเว้นกรณีภาษีรถยนต์ที่มีการชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อการจัดเก็บรายได้ภาษีปีนี้ ได้แก่ (1) การแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งทำให้มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินบาทลดลง 4.2% แม้ปริมาณการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3.4% และการนำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัว 6.3% ก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทจึงส่งผลกระทบต่อภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เก็บจากการนำเข้าสินค้าประเภทต่างๆ และกระทบต่ออากรขาเข้าเอง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่มีการส่งออกเป็นธุรกิจหลักก็ได้รับผลกระทบจากรายได้ที่เป็นเงินบาทที่ลดลง

(2)สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง และดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงในปีก่อน มีผลกระทบต่อการลงทุน และการบริโภคสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าคงทน เช่น เครื่องจักร ภาษีรถยนต์ เป็นต้น ทำให้ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าดังกล่าวชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด (3)การกันสำรองของสถาบันการเงินเพื่อรองรับมาตรฐานบัญชี IAS 39 มีผลทำให้กำไรที่ต้องเสียภาษีของระบบสถาบันการเงินโดยรวมลดลง ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล

สำหรับฐานะเงินคงคลังของประเทศ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2550 มีจำนวนทั้งสิ้น 132,138 ล้านบาท สูงกว่าเวลาเดียวกันของปีก่อนประมาณ 2,803 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริหารจัดการด้านรายจ่าย ดังนั้น เมื่อพิจารณาว่าจะจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปี 2551 ได้ตามเป้าหมาย จึงกล่าวได้ว่า ฐานะเงินคงคลังของประเทศยังมีความมั่นคงอยู่มาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us