Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2533
ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ธุรกิจที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศ             
 


   
search resources

อุกฤษ มงคลนาวิน




สำนักกฎหมาย ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน จะมีอายุครบรอบ 20 ปีพอดีในเดือนธันวาคม 2533 นี้ ซึ่งมีอายุไล่เลี่ยกันกับอายุของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งสองแห่งดูเหมือนจะเป็นสถาบันทางกฎหมายที่มีทิศทางในการเจริญเติบโต ที่เกือบจะเรียกว่า เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

จะต่างกันก็แต่เพียงคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น เป็นที่ประสิทธิประสาทความรู้ทางกฎหมาย ซึ่งไม่อาจจะดำเนินการธุรกิจทางกฎหมายได้ ในขณะที่สำนักกฎหมาย ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นสถานประกอบการทางธุรกิจวิชาชีพกำหมายแท้ ๆ

ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นอีกคนหนึ่งที่เป็นผลิตผลนิติศาสตรบัณฑิตในยุคเริ่มต้น การพัฒนาประชาธิปไตยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งบ้านเมืองกำลังต้องการวิศวกรทางสังคมอย่างมากในการร่วมกันพัฒนาชาติ ไม่ว่านักกฎหมาย นักเศรษฐศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ หรือแม้แต่นักบัญชี

บัณฑิตจากธรรมศาสตร์จำนวนมาก ถูกป้อนเข้าไปรองรับภาระงานในภาครัฐบาลแทนที่ข้าทาสบริวาร และผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวงโดยตรงในระบบการปกครองดั้งเดิม

ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นคนหนึ่งในจำนวนบัณฑิตจากธรรมศาสตร์เพียงน้อยนิดที่มไเข้าไปอยู่ในวงราชการ เขาตัดสินใจที่จะเป็นทนายความ โดยเข้าอยู่ในสังกัดสำนักงานทนายความชมพู อรรถจินดา ที่โด่งดังมากในยุค 30 ปีก่อน

แต่ทำทนายอยู่สำนักงานชมพูได้ไม่นานนัก ดร.อุกฤษก็ได้รับทุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ไปศึกษากฎหมายต่อ และก็ได้ใช้เวลาในคราวเดียวกันเรียนจนจบปริญญาเอกทางด้านกฎหมาย

ดร.อุกฤษมีโอกาสดีกว่าทนายความคนอื่น ๆ จากการที่เขาได้รับทุนให้ไปศึกษายังต่างประเทศ ซึ่งได้เรียนรู้ทั้งวิชากฎหมาย ภาษา ตลอดทั้งวัฒนธรรมของชาวต่างชาติดีกว่า เขากลับเข้ามาอยู่กับสำนักงานชมพูได้ระยะหนึ่ง ก็ถูกชวนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เข้าร่วมเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายในแผนกวิชากฎหมายในคณะรัฐศาสตร์ พร้อมกับเตรียมการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ขึ้นมาจนสำเร็จ

"ขณะนั้นก็ได้เริ่มมีกระแสต่อต้านทนายความฝรั่งที่เข้ามาหากินในเมืองไทยขึ้นมาแล้ว ผมก็เห็นว่าในขณะที่เราต่อต้านเขา แต่ปรากฏว่าตัวเราเองยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย และก็ยังไม่มีการพัฒนาคนของเราให้ขึ้นมามีความสามารถพิที่จะเป็นที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศได้ คงจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากที่จะกีดกันเขา หนทางที่ดีที่สุดสำหรับเรานั้นควรจะหันกลับมาเริ่มต้นพัฒนาคนของเราให้ทันเขาเสียก่อน อันนี้เป็นจุดหนึ่งที่ผมตัดสินใจหันหน้าเข้ามาเป็นอาจารย์สอนหนังสือ และก็เตรียมการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์จุฬาฯ ขึ้นมา ซึ่งจะเห็นได้ว่า โครงสร้างหลักสูตรหรือการเรียนการสอนขงเราสร้างขึ้นมาในขณะนั้น และก็พัฒนามาเรื่อยจนถึงปัจจุบันนี้ ก็เพื่อรองรับวัตถุประสงค์นี้โดยตรง" ดร.อุกฤษ มงคลนาวินพูดเหตุผลที่ต้องเข้ารับราชการและการเริ่มต้นก่อตั้งคณะนิติศาสตร์จุฬาฯ ขึ้นมาเมื่อ 20 ปีก่อน

ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดระหว่างนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์กับนิติศาสตร์จุฬาฯ คือ หลักสูตรดั้งเดิมของนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์นั้นได้ทุ่มเน้นการเรียนกฎหมายเพียง 4 เล่มหลัก คือ ประมวลกฎหมายแพ่ง ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง นอกนั้นก็จะเป็นกฎหมายมหาชนเสียส่วนใหญ่ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง

นิติศาสตร์จุฬาฯ ได้เพิ่มวิชากฎหมายที่ทางธรรมศาสตร์ยังขาดอยู่เข้ามาไว้ในหลักสูตรด้วย โดยเฉพาะกฎหมายเอกชน หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เศรษฐกิจ และกฎหมายระหว่างประเทศ

"ยิ่งกว่านั้น เราเน้นที่จะให้นิสิตของเราเก่งทางด้านภาษาต่างประเทศ ตลอดทั้งเรียนรู้วัฒนธรรมของเขาด้วย" ดร.อุกฤษกล่าว

เมื่อก่อตั้งคณะนิติศาสตร์จุฬาฯ สำเร็จ ดร.อุกฤษก็ขึ้นเป็นคณบดีคนที่ 2 หลังจากคณบดีคนแรกอยู่ได้เพียงปีเดียวก็เกษียณอายุราชการออกไป

แนวทางการพัฒนานิติศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาฯ ค่อนข้างได้ผลตามเป้าหมายดี เมื่อจบออกมาแล้วสามารถประกอบอาชีพการงานเป็นทนายความที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศไทยได้ ซึ่งจะด้วยเหตุผลที่คนเข้าเรียนจุฬาฯ นั้นเป็นคนที่มีพื้นฐานทางด้านภาษาดีอยู่แล้วจากระบบการคัดเลือกเข้าเรียน หรือฐานะทางบ้านของเหล่านิสิตทั้งหลายก็ค่อนข้างดีด้วย โอกาสที่จะไปเรียนต่อยังต่างประเทศก็สูงกว่าบัณฑิตจากธรรมศาสตร์

แต่ไม่ว่าจะไปเรียนต่อยังต่างประเทศหรือออกมาประกอบอาชีพการงาน ดร.อุกฤษก็ยังมีบทบาทสำคัญในการให้คำปรึกษาแนะนำที่จะให้เน้นไปทางด้านกฎหมายธุรกิจ

"คือ ถ้าจะออกไปทำงาน ผมก็แนะนำเขาว่าให้เข้าทำงานในสำนักงานกฎหมายของฝรั่งเขาเสียก่อน ถ้าจะเรียนต่อ ผมก็บอกว่าต้องเรียนกฎหมายธุรกิจแล้วกลับมาประกอบอาชีพในบ้านเรา ซึ่งมีมากมายเหลือเกิน" อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์จุฬาฯ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

นักกฎหมายจากธรรมศาสตร์ส่วนใหญ่จะอยู่ในวงราชการทั้งด้านตุลาการ อัยการ ทนายความ หรือนิติกรในกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ในขณะที่นิติศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาฯ มักจะอยู่ทางภาคธุรกิจเอกชนเสียส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในบรรดาสำนักงานที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศนั้นเกินกว่าครึ่งหนึ่งเป็นทีมของนักกฎหมายจากจุฬาฯ

จึงมักจะเป็นข้อเปรียบเทียบกระแนะกระแหนกันในวงการทนายความว่า ทนายความจากจุฬาฯ นั้นไม่ใช่ทนายความที่แท้จริง เพราะไม่ค่อยได้ขึ้นว่าความในศาล ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็โต้กลับว่า คนที่หากินกับการว่าความนั้นเป็นพวกกินตามตีนโรงตีนศาล

ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ออกมาตั้งสำนักกฎหมายของตัวเองขึ้นมาหลังจากอยู่เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์จุฬาฯ ได้ 6 ปี และสำนักงานทีเขาตั้งขึ้นมานั้นเน้นที่จะให้คำปรึกษาด้านกฎหมายธุรกิจมากกว่าด้านคดีความในโรงศาล

"ผมเป็นคนชาตินิยมมาก เมื่อตัวเองได้วางแนวการพัฒนานักกฎหมายของไทยขึ้นมารองรับงานทางด้านที่ปรึกษากฎหมายธุรกิจให้ได้แล้ว ก็ลองมาตั้งสำนักงานของตัวเองขึ้นมาให้เป็นของไทยแท้ ๆ ดูซิว่า จะสามารถทำได้หรือไม่ ผมเริ่มต้นด้วยตัวของผมเองคนเดียว ทั้ง ๆ ที่มีนักกฎหมายชาวฝรั่งเข้ามาขอร่วมด้วยหลายคนทั้งในรูปของหุ้นส่วนและลูกจ้าง ผมก็ยังปฏิเสธไป เพราะอยากจะให้สำนักกฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นของคนไทยแท้ ๆ ไม่ให้มีฝรั่งปนอยู่เลย เพื่อเป็นตัวอย่างว่าคนไทยเราก็สามารถทำได้จะได้เป็นกำลังสำหรับลูกศิษย์ของเราด้วย จนถึงวันนี้เราก็ได้พิสูจน์แล้ว และก็เป็นกำลังใจอย่างดีแก่ลูกศิษย์ลูกหาของเราว่าคนไทยเราก็ทำได้" ดร.อุกฤษ กล่าวถึงตอนเริ่มต้นเปิดสำนักงาน

ปัจจุบันมีทนายความในสังกัดแผนกต่าง ๆ ของสำนักงานร่วม 100 คน ไม่รวมพนักงานด้านอื่น ๆ โดยไม่มีฝรั่งเข้ามาปะปนอยู่เลย นอกจากทนายความต่างประเทศตามโครงการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านกฎหมายเท่านั้น

ทนายความทุกคนมีเงินเดือนประจำสูงกว่ามาตรฐานทั่วไป มีเงินแบ่งปันพิเศษตอนสิ้นปี โดยคำนวณจากกำไรที่ทนายความคนนั้น ๆ ทำมาตลอดทั้งปี โดยมีส่วนแบ่งสูงถึง 40% มีสวัสดิการทุกอย่างทั้งสำหรับตัวเอง และลูกเมีย มีค่ารักษาพยาบาลโดยไม่จำกัดโรค โรงพยาบาล และจำนวนค่ารักษา มีทุนเรียนต่อต่างประเทศ ช่วยเหลือเงินดาวน์บ้าน ดาวน์รถยนต์ โดยไม่คิดดอกเบี้ยและจัดงานแต่งงานให้ สวัสดิการนี้มีให้แก่พนักงานทุกคนตั้งแต่คนทำความสะอาดขึ้นไป

ปัจจุบันนอกจาก ดร.อุกฤษจะเป็นที่รู้จักกันในฐานะนักการเมืองสายแต่งตั้ง คือ ประธานวุฒิสมาชิกสำหรับประชาชนทั่วไปแล้ว ในวงการธุรกิจ ดร.อุกฤษยังเป็นคนที่มีความร่ำรวยในระดับแนวหน้าของเมืองไทย ซึ่งเป็นที่สงสัยกันว่าความรวยของเขานั้นมาจากการค้าอย่างอื่นหรือมาจากการประกอบอาชีพทนายความ ซึ่งเจ้าตัวบอกว่ารายได้ทั้งหมดได้มาจากการประกอบอาชีพนักกฎหมาย ส่วนเรื่องการทำสถานที่พักผ่อนตากอากาศที่หาดจอมเทียมนั้นเป็นการทำเป็นตัวอย่างเฉย ๆ ไม่ได้มุ่งทำกำไร เพราะขณะที่เขาทำนั้นยังไม่มีใครสนใจที่จะไปพัฒนาที่ดินแบบนั้นมาก่อน ส่วนเงินที่นำไปลงทุนนั้นก็เป็นเงินรายได้จากการประกอบอาชีพทนายความโดยแท้

แม้ปัจจุบันนี้การที่เขาเข้าไปจับธุรกิจสร้างสนามกอล์ฟและสวนเกษตรก็ทำไปเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่นักลงทุนทั้งหลายว่า การลงทุนนั้นจะต้องให้มีผลด้านการพัฒนาด้วย ไม่ใช่ทำเพื่อจะกอบโกยกำไรเพียงอย่างเดียว ก็สามารถจะทำธุรกิจได้ และสุดท้ายนั้นต้องการให้อนุสรณ์สำหรับคนรุ่นหลังทั้งหมดนี้จะพิสูจน์ให้เห็นว่ากำไรที่ได้จากทำธุรกิจเหล่านี้ไม่ได้เอาเข้ากระเป๋าตัวเอง แต่จะทำอะไรให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งจะมีข่าวออกมาเร็ว ๆ นี้ว่าจะเอากำไรที่ได้จากการทำสวนเกษตรและสนามกอล์ฟกว่า 100 ล้านบาทไปทำอะไร

"งานในอาชีพนักกฎหมายนั้นยังเป็นงานหลักสำหรับผมยังคงนั่งทำงานอยู่ทุกวัน โดยหลังจากพ้นวาระการเป็นประธานรัฐสภาแล้วก็มีเวลาให้กับงานในสำนักงานนี้มากขึ้น การพัฒนานักกฎหมายก็ยังคงต้องทำกันต่อไป" เจ้าของสำนักกฎหมาย ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน กล่าว

ในโอกาสจะครบรอบ 20 ปีของสำนักกฎหมาย ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ในวันที่ 4 ธันวาคม 2533 ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะมีการฉลองเปิดตึกใหม่มูลค่านับร้อยล้านบาท ซึ่งหัวใจสำคัญยิ่งกว่านั้นสำหรับการฉลองครบ 20 ปีก็คือ ภายในบริเวณตึกที่กว้างขวางใหญ่โตนั้นเป็นที่สถานบริการประชาชนทางกฎหมายถึงสองส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนที่เป็นห้องประชุมใหญ่ขนาดพอ ๆ กับโรงหนังสำหรับการจัดอบรมสัมมนาวิชาการทางกฎหมาย โดยเปิดให้ทุกคนเข้าใจโดยไม่คิดมูลค่าใด ๆ ทั้งสิ้น และส่วนที่สองจะเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ทั้งชั้นของตึก มีหนังสือเกี่ยวกับกฎหมายจากทั่วทุกมุมโลกบรรจุไวที่นั่นอย่างพร้อมเพรียงที่สุดเพื่อบริการแก่ประชาชนทั่วไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us