Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535
"เหมืองบ้านปูผู้หาญกล้าท้าทายกับ กฟผ."             
โดย ธัชมน หงส์จรรยา
 


   
search resources

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เหมืองบ้านปู
เมธี เอื้ออภิญญกุล
Electricity




เมธี เอื้ออภิญญกุล กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทเหมืองบ้านปูผู้นี้กำลังคิดโครงการใหญ่ หาญกล้าจะผลิตไฟฟ้าแข่งกับ กฟผ. แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่มีโอกาส จึงต้องเปลี่ยนท่าทีเป็นขอร่วมทุน ซึ่ง ณ วันนี้ กฟผ. ก็ยังเมินอยู่

แม้ว่า กฟผ. จะเมิน แต่เขาก็ยังยืนยันที่จะทำโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่มาบตาพุดต่อขนาดกำลังการผลิตประมาณ 300 เมกะวัตต์ เงินลงทุนเบื้องต้น 400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 20,000 ล้านบาท บนเนื้อที่ 1,500 ไร่

เหมืองบ้านปูซุ่มศึกษามานานโดยใช้บริษัทมารูนี่ คู่หูจากญี่ปุ่นเป็นผู้ร่วมทำโครงการศึกษา และร่วมทุนด้วยโดยกำหนดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จประมาณสิ้นปี 2535 นี้

ไฟฟ้านี้จะขายในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เขาบอกว่ามีลูกค้ารายใหญ่รออยู่แล้ว ทั้งเชลล์และคาลเท็กซ์ เตรียมตัวเป็นลูกค้าพร้อมกับร่วมลงทุนด้วย เพราะกิจการเหล่านี้ต้องการใช้พลังงานไอน้ำพอ ๆ กับต้องการใช้ไฟฟ้า

"ผมไม่ได้จะแข่งกับ กฟผ. เรารู้ตัวว่าสู้ไม่ได้อยู่แล้วแต่ที่ผมทำ เพราะผมต้องการไอน้ำมาขายให้ลูกค้าในกลุ่มปิโครเคมีซึ่งในขณะที่ผลิตไอน้ำก็สามารถผลิตไฟได้ด้วย อย่างนี้จะไม่ทำได้อย่างไรกัน"

ขนาดกำลังการผลิต 300 เมกะวัตต์ มีลูกค้าจองแล้ว 100 เมกะวัตต์ยังเหลืออีก 200 เมกะวัตต์ ต้องขายให้ กฟผ. แต่ที่ผ่านมา กฟผ. ไม่มีระเบียบรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตที่เกิน 50 เมกะวัตต์ ซึ่งปัญหานี้กำลังเป็นอุปสรรคสำหรับบริษัท

แหล่งข่าวกล่าวว่า เหตุที่ กฟผ.ไม่รับซื้อจากผู้ผลิตที่สามารถผลิตเหลือใช้เกิน 50 เมกะวัตต์เพราะว่า กฟผ. ยังไม่อยากส่งเสริมให้ภาคเอกชนผลิตไฟเอง

"ผมว่า กฟผ. น่าจะเปิดโอกาสให้กับเอกชนบ้าง ไม่ใช่มองว่าเอกชนไม่พร้อมอยู่เรื่อย" เมธีกล่าวและเสนอตัวว่าเหมืองบ้านปูพร้อมจะลงทุนร่วมกับ กฟผ. ด้วยความเชื่อมั่นในคุณภาพถ่านหินของตนในอัตราส่วนที่เหมืองบ้านปูถือหุ้นน้อยกว่าแค่ 40% ก็ยอม

เขากล่าวว่าถ่านหินที่ใช้ไม่ใช่ลิกไนต์ ของเขานำเข้าจากอินโดนีเซีย ซึ่งขณะนี้ส่งออกขายญี่ปุ่นปีละ 150 ล้านตัน ปัจจุบันอัตราความเสี่ยงเกี่ยวกับราคาน้ำมันมีสูงจึงควรกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงไปยังวัตถุดิบชนิดอื่นบ้าง โดยให้มีสัดส่วนพอ ๆ กัน แต่ขณะนี้ประเทศไทยผูกอยู่กับน้ำมันมากเกินไปเท่านั้น

เมธี พูดสนับสนุนวัตถุดิบของตนเองว่า ถ่านหินถูกค้นพบว่ามีจำนวนมากกว่าน้ำมันถึง 3 เท่า ส่วนแก๊สธรรมชาตินั้นยังมีน้อยที่ขุดพบในอ่าวไทยก็ถูกจองไว้สำหรับสร้างโรงไฟฟ้าหมดแล้ว ถ้าจะต้องซื้อกับมาเลเซีย หรือเวียดนาม ซึ่งมีความไม่แน่นอนก็จะเสี่ยงอีกเช่นกันทางที่ปลอดภัยจึงควรเลือกใช้ถ่านหินให้มากขึ้น

เขาอธิบายว่าถ่านหินก็คือน้ำมันฟอสซิลฟิวด์เหมือนกัน การเผาน้ำมันเผาถ่านหินเกิดผลกระทบข้างเคียงเหมือนกัน และที่คนกลัวมากคือ CO2 ไม่ใช่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เขาเรียกปฏิกิริยาเรือนกระจก เกิดขึ้นได้หลายอย่าง แม้กระทั่งวัวที่เรอออกมาก็เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก เผาน้ำมันก็เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก เผาถ่านหินก็เกิดปฏิกิริยาข้างเคียงเหมือนกัน แต่เราป้องกันได้ เรามีเทคโนโลยีที่จับปฏิกิริยาดังกล่าวได้ถึง 99.99% แล้วตัวที่เกิดซัลเฟอร์ก็สามารถป้องกันได้ โดยวิธีการเผาไหม้สมัยใหม่เขาเรียกว่าฟิวไดเบส หรือ ฟิวแก๊ส คือ ทำถ่านหินให้เป็นแก๊สก่อนแล้วเผมเหมือนแก๊สเลย

อย่างไรก็ตาม เขาคงต้องพยายาม ทำให้ กฟผ. ยอมรับในความสามารถเสียก่อนจึงจะเสนอทั้งถ่านหินและโครงการโรงไฟฟ้าสำเร็จ เขาเองก็หวังว่า มติ ครม. ที่ออกมาเมื่อ 12 กันยายนนี้จะช่วยเขาได้ เพราะ ครม. ให้ กฟผ. ดำเนินการสอดคล้องกับสิ่งที่เขาต้องการคือปี 2536/2537 ให้ กฟผ. จัดเตรียมออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนมาลงทุนโครงการโรงไฟฟ้า ปี 2537/2538 ให้ชวนเอกชนมาลงทุนในโรงไฟฟ้าที่จะสร้างในปี 2538-2544 ในรูปแบบ IPP (INDEPENDNT POWER PRODUCER) คือ แต่ละโครงการเป็นอิสระต่อกัน แต่ต้องขายให้ กฟผ. เท่านั้น ส่วนปี 2538/2539 นั้นให้ กฟผ. เข้าตลาดหลักทรัพย์

เหมืองบางปูพอใจในมตินี้เป็นอย่างยิ่ง แต่ยังไม่แน่ใจว่าในทางปฏิบัติ EGCO จะกวาดเรียบทุกโครงการหรือไม่ เพราะรายนั้นเป็นเต็งจ๋า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us