Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535
"พ.ร.บ. ทุนของรัฐวิสาหกิจ เหตุใดจึงไม่มีใครผลักดันจริงจัง"             
โดย ธัชมน หงส์จรรยา
 


   
search resources

สมชาย ภคภาสนว์วัฒน์
พันศักดิ์ วิญญรัตน์




เมื่อประมาณต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กระทรวงการคลังเสนอร่างพระราชบัญญัติทุนของรัฐวิสาหกิจต่อคณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญให้เปลี่ยนทุนของรัฐวิสาหกิจเป็น "หุ้น" เพื่อนำออกจำหน่ายแก่ประชาชนและจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

นั่นหมายถึงว่า รัฐวิสาหกิจทั้งหลายต้องจัดรูปเป็นบริษัท กลายสภาพเป็นเอกชนมากขึ้น ซึ่งนับเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะไม่ทำให้การระดมทุนเพื่อขยายกิจการรัฐวิสาหกิจเป็นภาระแก่รัฐบาลมากนัก

ความสำคัญของ พ.ร.บ. นี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจำเป็นแค่ไหน ซึ่ง พันศักดิ์ วิญญรัตน์ อดีตประธานคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ ให้ความเห็นว่า ถ้ามี พ.ร.บ. แปรรูปออกมาอย่างชัดเจน ก็จะทำให้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีขบวนการขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ไม่ต้องเสียเวลาแก้กฎหมายทีละฉบับ แต่ที่ทุกวันนี้ไม่มี พ.ร.บ. ปรากฏให้เห็นเพราะความเกรงใจเครื่องแบบสีเขียวที่ยึดสมรภูมิรัฐวิสาหกิจไว้แน่น

ในขณะที่ สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักทรัพย์ มองว่าไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เพราะความต้องการขยายสาธารณูปโภคจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการแปลี่ยนแปลงภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาล

สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ทุนของรัฐวิสาหกิจอาจสรุปได้ดังนี้

(1) ให้ทุนของรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยกฎหมายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติ

ประกาศคณะปฏิวัติ พระราชกฤษฎีกา หรือมติคณะรัฐมนตรี (ยกเว้นรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจำกัดหรือมีทุนเรือนหุ้นอยู่แล้ว) เปลี่ยนเป็นทุนเรือนหุ้นโดยให้กำหนด ถือความตามวงที่รัฐวิสาหกิจได้รับจากงบประมาณแผ่นดินหรือกระทรวงการคลัง แบ่งเป็นหุ้นสามัญมีมูลค่าหุ้นเท่ากันชำระเต็มค่าแล้ว และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

(2) รัฐวิสาหกิจใดที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่น้อยกว่า 70% ให้รัฐวิสาหกิจนั้นเป็นบริษัทจำกัด โดยกรรมการของรัฐวิสาหกิจนั้นต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดกับกระทรวงพาณิชย์โดยไม่ชักช้า ส่วนรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ไม่น้อยกว่า 70% คณะกรรมการทุนของรัฐวิสาหกิจอาจเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้เป็นบริษัทจำกัดก็ได้

(3) ให้มี "คณะกรรมการทุนของรัฐวิสาหกิจ" ขึ้นประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวน 6 คน โดยมีผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

ก. ให้มีอำนาจดำเนินการให้รัฐวิสาหกิจที่มีทุนเป็นทุนเรือนหุ้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐ

มนตรีดังนี้

1.เสนอให้รัฐวิสาหกิจใดที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นตั้งแต่ 70% ขึ้นไปเป็นบริษัทจำกัด

2. กำหนดมูลค่าของสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจก่อนนำหุ้นออกขาย

3. กำหนดชนิด จำนวน และมูลค่าหุ้น

4. กำหนดอัตราส่วนของหุ้น หรือชนิดและจำนวนหุ้นที่จะให้กระทรวงการคลังถือไว้ต่อไป

5. กำหนดอัตราส่วนของหุ้นหรือชนิด และจำนวนหุ้นขั้นต่ำที่จะขายให้แก่พนักงาน และลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจรวมทั้งกำหนดเงื่อนไขในการขายหุ้นคือในกรณีที่พนักงานและลูกจ้างออกจากรัฐวิสาหกิจ

6. กำหนดอัตราส่วนของหุ้นหรือชนิด และจำนวนหุ้นขั้นต่ำที่จะขายให้แก่ประชาชน

7. กำหนดอัตราส่วนของหุ้นหรือชนิด และจำนวนหุ้นขั้นต่ำที่จะขายให้แก่ชาวต่างประเทศ

8. แก้ไขเปลี่ยนแปลง "สิทธิพิเศษ" ขอองรัฐวิสาหกิจ (เช่นสิทธิของการไฟฟ้าฯ ในการเดินสายไฟฟ้าผ่านห้องของเอกชน)

9. พิจารณาการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่รัฐวิสาหกิจ

10. พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ข. ให้ความเห็นชอบในระเบียบข้อบังคับของในส่วนที่เกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้นและการลงคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้น รวมทั้งหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อประโยชน์ในการจดทะเบียนบริษัท

ค. ควบคุมดูแลให้รัฐวิสาหกิจปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกันอยู่ก่อนที่จะแปลงทุนเป็นหุ้น หรือเป็นบริษัทจำกัดก็ให้การค้ำประกันมีผลอยู่ต่อไป จนกว่าจะได้มีการชำระหนี้นั้นครบถ้วย

ภายหลังจากการแปรรูปนี้แล้ว ทุนของรัฐวิสาหกิจก็อาจจะเพิ่มขึ้นได้โดยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น และกำไรสุทธิประจำปีก็สามารถนำมาจัดสรรเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้

อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้ขอถอนเรื่องที่จะนำเสนอกลางคัน ด้วยเหตุผลว่ายังไม่พร้อมพอที่รัฐวิสาหกิจทุกแห่งจะทำได้

ฉะนั้นรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง หากต้องการเปลี่ยนแปลงจากทุนเป็นทุนเรือนหุ้นก็ต้องแก้ พ.ร.บ.ที่ตราขึ้นเพื่อจัดตั้งรัฐวิสาหกิจแห่งนั้น ๆ เอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us