Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535
"เมืองท่าของจีนทั้ง 14 แห่ง"             
 


   
search resources

Economics
China




เทียนจิน- อยู่ห่างจากปักกิ่ง 140 กิโลเมตร ท่าเรือ "ทังจู" ที่นี่เป็นหนึ่งในท่าเรือที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นเขตที่มีการสื่อสารดี และยังมีทางรถไฟเชื่อมกับปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ด้วย

เซี่ยงไฮ้- เป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของจีน ก่อนหน้านี้เซี่ยงไฮ้ยังล้าหลังเซินเจิ้นอยู่มาก แต่ปัจจุบันเซี่ยงไฮ้พัฒนาขึ้นมากทั้งด้านอุตสาหกรรมเคมีและการพาณิชย์ เมืองสำคัญในเขตนี้คือ "ปูดอง" ซึ่งทางรัฐบาลมีแผนให้งบในการพัฒนาถึง 10 พันล้านดอลลาร์

กวงจู- เป็นเมืองหลวงของมณฑลกว้างตุ้ง ซึ่งเป็นเขตที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในเอเชีย จากที่ตั้งอยู่ตรงข้ามเกาะฮ่องกงประกอบกับเศรษฐกิจที่ได้รับการพัฒนามาอย่างดี ทำให้กวงจูเป็นแหล่งดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ ท่าเรือที่นี่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ และเมื่อซูเปอร์ไฮเวย์ของโฮปเวลล์สร้างเสร็จ การติดต่อทางรถยนต์ระหว่างกวงจูกับศูนย์กลางเศรษฐกิจของมาเก๊า, จูไฮ่, เซินเจิ้น และฮ่องกงจะใช้เวลาเพียงชั่วโมงเดียวเท่านั้น

ต้าเหลียน- เป็นเมืองท่าที่ใหญ่เป็นอันดับสองของจีน และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว, สร้างเรือและศูนย์กลางแฟชั่นด้วย ต้าเหลียนมีเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (ECONOMIC AND TECHNOLOGY DEVELOPMENT ZONE) หรืออีทีดีแซทเป็นตัวดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และยังเป็นเขตปลอดภาษีอีกด้วย นักลงทุนจากญี่ปุ่นสนใจต้าเหลียนมากเป็นพิเศษ และได้เข้ามาลงทุนหลายโครงการแล้ว

ฉินฮวงต้า- มีท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีทางรถไฟเชื่อมกับปักกิ่งและเซินเจิ้น เมืองนี้ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่กำแพงเมืองจีนไปบรรจบกับทะเล จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง

ยังไฉ- ตั้งอยู่ตอนปลายของแหลมเจียวดอง จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และมีทางรถไฟที่เชื่อมกับทางรถไฟหลัก ๆ ของประเทศด้วย ถือเป็นเขตที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจมากอีกแห่งหนึ่ง

ชิงเต้า- ชิงเต้าสามารถติดต่อกับฮ่องกงได้โดยเครื่องบิน และมีทางรถไฟเชื่อมเมืองนี้กับปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ และท่าเรือชั้นดีอีกหลายแห่ง แม้เขตอีทีดีแซทจะยังไม่เด่นนักแต่ก็มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอยู่

เหลียนยันกัง- เป็นจุดสุดสายของทางรถไฟที่เชื่อมภาคตะวันออกกับตะวันตก จึงเป็นท่าเรือใหญ่ที่สำหรับผลิตภัณฑ์ถ่านหินที่ส่งมาจากภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศ

นานตง- ที่ท่าเรือที่ทันสมัยและสนามบินอีกแห่งหนึ่ง และยังมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าและโรงงานผลิตเหล็กกล้าด้วย

ฟูจู- เป็นเมืองท่าที่ค้าขายกันอย่างคึกคักมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 และแม้ที่ตั้งที่อยู่ตรงข้ามกับเกาะไต้หวันจะทำให้เกิดปัญหาหลายประการ แต่ฟูจูก็มีท่าเรือและสนามบินที่ดีและเป็นเขตที่คาดว่าจะมีการลงทุนอย่างหนาแน่นในอนาคตอันใกล้

เหวินจู- แม้โครงสร้างพื้นฐานในเหวินจูจะยังไม่พัฒนานัก แต่เหวินจูก็เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมได้เพราะพลวัตรของประชากร สถาบันการเงินที่เข้าไปตั้งในเขตนี้ทำให้เมืองนี้เป็นที่สนใจของอุตสาหกรรมต่าง ๆ

จานจิง- เป็นเมืองท่าที่ค่อนข้างเงียบกว่าเมืองท่าอื่น ๆ แต่มีแววว่าเศรษฐกิจจะกระเตื้องขึ้นกว่านี้เพราะอยู่ติดกับไฮ่หนาน มีถนนเชื่อมกับกวงจูและมีระบบโทรศัพท์ IDD ด้วย

ไบไฮ้- เมืองท่าที่อยู่ติดกับเวียดนามนี้ถูกเลือกให้เป็น "เมืองพิเศษ" เพื่อดึงดูดการลงทุน และคาดว่าไปไฮ้จะสามารถดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการเกษตรได้เป็นอย่างดี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us