Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535
"เฉลิม หาญพาณิชย์ ทำ รพ. ชานเมือง "ต้องใหญ่เท่านั้นจึงจะรอด"             
 


   
search resources

โรงพยาบาลรัตนาธิเบศร์
เฉลิม หาญพาณิชย์
Hospital




ในวัย 37 ปีวันนี้หลายคนอาจจะเพิ่มเริ่มต้นชีวิตธุรกิจโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสายวิชาชีพบริการสาธารณสุข แต่สำหรับหมอเฉลิม หาญพาณิชย์ ประธานกรรมการและแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ เริ่มจะประสบความสำเร็จกับกิจการโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ที่บากบั่นต่อสู้มานานกว่า 8 ปีจนสามารถขยายกิจการออกมาเป็นโรงพยาบาลแห่งที่สองคือโรงพยาบาลรัตนาธิเบศร์

ผู้คนในวงการธุรกิจค่อนข้างคุ้นเคยกับนามสกุลหาญพาณิชย์ เพราะเพียงใจ หาญพาณิชย์-พี่สาวคนโตสุดของตระกูลเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในฐานะเจ้าของแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในเมืองไทย

หมอเฉลิมเป็นพี่น้องคนละท้องเดียวกันของเพียงใจธุรกิจของพี่น้องคู่นี้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวพันกันมาก่อน และพี่น้องตระกูลนี้ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 13 คนต่างก็มีธุรกิจของตัวเอง รพ. รัตนาธิเบศร์เป็นธุรกิจแรกที่พี่น้องสายเดียวกับหมอเฉลิมร่วมกันลงทุน ส่วนโครงการลงทุนร่วมกับเพียงใจนั้นเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่อาจจะถึง 1,000 เตียงอยู่ในโซนกลางใจเมือง

โครงการลงทุนทั้งหมดของหมอเฉลิมมี บ.โรงพยาบาลรัตนาธิเบศร์, บ. โรงพยาบาลเกษมราษฎร์, บ. พิสุทธิกิจ (โรงเรียนอนุบาลเปี่ยมรักและเนิร์สเซอรี่), บ. เรืองจรัส (ทำภัตตาคาร), บ. จรัสแลนด์ ดีเวลลอปเมนท์ ซึ่งทำด้านอสังหาริมทรัพย์

แต่กิจการที่จะเอาเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีเพียงแห่งเดียวคือโรงพยาบาลรัตนาธิเบศร์ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท เป็นโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง บนพื้นที่ 3 ไร่เศษ มูลค่าการลงทุนทั้งหมดประมาณ 500 ล้านบาท มีที่ปรึกษาทางการเงินและการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ บงล. ธนสยาม

เหตุที่ไม่เอาเกษมราษฎร์เข้าจดทะเบียนเพราะต้องการขยายจำนวนเตียงจาก 80 เพิ่มเป็น 150 และต่อไปให้ครบ 500 เตียงก่อน หลังจากนั้นค่อยมาดูอีกทีว่าจะเข้าหรือไม่

ส่วน 2 บริษัทหลังเป็นธุรกิจคนละด้านกับกิจการโรงพยาบาล หมอเฉลิมอธิบายว่า "อันนี้ผมไปร่วมธุรกิจกับแม่และพี่ชายของรัฐมนตรีสุวัจน์ ลิปตวัลลภ จรัสแลนด์ฯ เป็นการซื้อที่ดินเข้าพอร์ตเอาไว้ยังไม่ได้ขยับทำอะไรเท่าไหร่มีที่แหลงฉบัง ที่ราชบุรีประมาณสัก 2 ล้านไร่"

ด้านโครงการลงทุนอื่น ๆ ยังคงเป็นกิจการโรงพยาบาล ซึ่งมีเป้าหมายที่จะทำอีก 5-6 โรงตอนนี้ศึกษาเรื่องที่ดินอยู่ นักลงทุนกลุ่มนี้มีแผนการที่จะเปิดโรงพยาบาลรอบนอกอย่างน้อย 2 ปีต่อ 1 โรง หลังจากที่เปิดโรงพยาบาลรอบนอกได้ครบตามโครงการแล้วก็จะกลับเข้ามาทำโครงการ รพ. ขนาดใหญ่ที่หมอเฉลิมเรียกว่าเป็นตัวแม่บทในใจกลางเมือง

แนวคิดในการทำโรงพยาบาลในเขตชุมชนรอบนอกถือเป็นยุทธศาสตร์ที่เหมาะเจาะกับการขยายตัวของเมืองหลวงในเวลานี้ หมอเฉลิมให้ความเห็นว่า "การทำโรงพยาบาลรอบนอกมีข้อได้เปรียบในแง่ที่มีต้นทุนของที่ดินต่ำ ไม่มีปัญหาการจราจรรุนแรงเหมือนในเขตใจกลางเมือง มีชุมชนใหญ่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย การสร้างโรงพยาบาลจะตอบสนองชุมชนเหล่านี้ในแง่ที่เป็น FACILITY ด้านสุขภาพซึ่งยังขาดอยู่"

ประชากรในชุมชนเกิดใหม่รอบนอกกรุงเทพฯ ในขณะนี้ก็คือคนที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร คนเหล่านี้ได้มีโอกาสซื้อบ้านในเขตชานเมืองเป็นจำนวนมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พวกเขายังคงทำงานในใจกลางเมืองหลวง แต่เมื่อเจ็บป่วยมีปัญหาทางสุขภาพขึ้นมาก็ยังต้องขับรถเข้ามารักษาพยาบาลในใจกลางเมืองอยู่อีกนั้น ถือเป็นวิธีปฏิบัติที่ไม่สะดวก

หมอเฉลิมมองธุรกิจของตัวเองว่าเป็นตัวเสริม เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในบริการด้านสุขภาพแก่ชุมชนแนวคิดนี้ทำให้หมอตั้งเป้าว่าจะทำโรงพยาบาลในย่านชานเมือง

ลูกค้าของหมอเฉลิม ซึ่งเป็นคนทำงานในเมืองนั้นจัดได้ว่าเป็นผู้มีกำลังซื้อพอสมควร คนเหล่านี้ค่อนข้างคุ้นเคยกับสถานพยาบาลในกลางเมืองซึ่งมีระบบและสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

หมอเฉลิมจึงต้องสร้างสถานพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ เหมือนกับโรงพยาบาลใหญ่ในใจกลางเมืองหลวง

ปัญหาสำคัญในการสร้างโรงพยาบาลในเขตรอบนอกไม่ใช่เรื่องการหาที่ดิน หรือเงินลงทุนที่มีวงเงินลงทุนสูงพอกับการสร้างโรงพยาบาลในใจกลางเมืองหลวง แต่อยู่ที่เรื่องบุคลากร ทั้งแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อื่น ๆ

หมอเฉลิมแก้ปัญหาการขาดบุคลากร โดยเริ่มทำการสำรวจจำนวนแพทย์พยาบาล ที่ย้ายมาอยู่ในย่านรัตนาธิเบศร์แล้วติดต่อโดยเสนออัตราเงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ ในอัตราที่ใกล้เคียงกับโรงพยาบาลในส่วนกลาง ซึ่งโดยส่วนมากจะได้รับการตอบสนองด้วยดีเพราะการได้ทำงานใกล้บ้านในองค์กรที่ได้มาตรฐาน ไม่ต้องเจอปัญหาจราจรเป็นสิ่งพึงปรารถนาของคนทำงานส่วนมาก

ด้วยเหตุนี้หมอเฉลิมจึงได้รับการตอบรับจากหมอจำนวนกว่า 100 คนว่าจะเข้ามาร่วมทำงานในโรงพยาบาลรัตนาธิเบศร์ ด้านพยาบาลนั้น หมอก็มีโครงการที่จะให้ทุนการศึกษาตามวิทยาลัยพยาบาลต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไขให้เข้ามาทำงานที่โรงพยาบาลหลังจากจบการศึกษาส่วนผู้ช่วยพยาบาลนั้นก็เปิดการฝึกอบรมเอาเอง

ในด้านการแข่งขันนั้นหมอเฉลิมให้ความเห็นว่า "การเปิดธุรกิจสถานพยาบาลหลายแห่งในบริเวณใกล้เคียงกันนั้นความเสี่ยงอยู่ที่จำนวนเตียงต่อประชากร หากมีจำนวนเตียงสูงกว่าประชากรที่ต้องการการรักษาพยาบาลก็จะมีความเสี่ยงมาก หากมีน้อยก็ไม่มีความเสี่ยง"

นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับวิธีประกอบการ การสร้างความสบายใจให้แก่ชุมชน สำหรับ รพ. เกษมราษฎร์ หมอไม่ห่วงเรื่องการแข่งขันแม้ว่าบนถนนเพชรเกษมจะมี รพ. ตั้งอยู่ถึง 7 โรงก็ตาม

การขยายตัวของโรงพยาบาลในชุมชนเกิดใหม่จะเกิดตามแนวถนน เช่น เส้นวิภาวดีรังสิตจะมี รพ. แพทย์รังสิต รพ. นวนคร เส้นรามอินทรากำลังจะเกิด เส้นบางนา-ตราดมี รพ. ไทยนครินทร์ 350 เตียงของกลุ่มแลนด์มาร์คที่กำลังจะเปิด ฯลฯ บางเส้นก็ไม่มี รพ. เลยเช่นมีนบุรี สุวินทวงศ์ หรือบางเส้นก็มีน้อยเกินไปเช่นธนบุรีปากท่อมีเพียง รพ. บางมดเท่านั้นเป็นต้น

หมอเฉลิมเห็นว่า รพ. เกิดใหม่ในชานเมืองเหล่านี้ต้องเป็น รพ. ใหญ่เท่านั้น เป็น รพ. ชั้นนำมีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมือน รพ. ในเมืองจึงจะอยู่ได้ "หากเป็น รพ. เล็กก็ต้องวิ่งหนีจากตัวเซนเตอร์ตลอดเวลาเพราะเมืองมีการขยายตัวเร็วมากหากไป รพ. ชานเมือง 1 โรงแล้วไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์สมองลูกค้าหรือผู้ป่วยก็ต้องไหลเข้ากรุงเทพฯเหมือนเดิม ดังนั้นการบริการทั้งหมดจะต้องเหมือน รพ. ในกรุงเทพฯ ไม่จำเป็นต้องมีการ REFER ผู้ป่วย"

รพ. ที่ไม่มีเครื่องมือครบครันตามแนวคิดหมอเฉลิมนั้นหมอถือว่าเป็นเพียงโพลีคลีนิคเท่านั้น !!

การลงทุนสร้าง รพ. ตามแนวคิดหมอเฉลิมใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท/1 โรงทั้งนี้คำนวณจากเงินลงทุนต่อเตียงผู้ป่วย คือเตียงละตั้งแต่ 1.2-2.2 ล้านบาทในเวลานี้ อีก 5 ปีข้างหน้าคาดหมายว่าต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 25%

นอกจาก รพ. ในย่านชานเมืองแล้ว หมอเฉลิมยังมีแนวคิดที่จะสร้าง รพ. เฉพาะทางโดยพิจารณา รพ. สำหรับแม่และเด็กซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีจำนวนมากและยังไม่มีใครให้ความสำคัญอย่างจริงจัง รพ. แม่และเด็กนอกจากจะให้บริการด้านการรักษาพยาบาลแล้วยังมีศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก

รพ. นี้อาจจะเป็นโครงการส่วนหนึ่งของ รพ. รัตนาธิเบศร์ในการขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us